เห็ดฟางเป็นเห็ดที่เพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี มีอายุการเพาะสั้นประมาณ 10-15 วัน วัสดุที่นำมาเพาะเห็ดฟางมีหลากหลาย เช่น เปลือกถั่วเขียว, ทะลายปาล์มน้ำมัน. มันเส้น, ผักตบชวา, ต้นกล้วยสับแห้ง, ขี้เลื่อย, ฟางข้าวและตอซังข้าวการเพาะเห็ดฟางมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากเหมือนกับการเพาะเห็ดอื่นๆ ไม่ต้องมีการนึ่งฆ่าเชื้อในวัสดุเพาะ ซึ่งมีองค์ประกอบในการเพาะง่ายๆ ได้แก่
1. วัสดุเพาะหลัก ได้แก่ ฟางข้าว, ตอซังข้าว, เปลือกถั่วเขียว, ขี้เลื่อยเก่าที่เพาะเห็ดถุงมาแล้วเป็นต้น
2. หัวเชื้อเห็ดฟาง
3. อาหารเสริม ได้แก่ ต้นกล้วยสับแห้ง, ผักตบชวา, ปุ๋ยคอกเก่าผสมกับดินร่วนในอัตรา 1:10 โดยปริมาตร และรำละเอียด
4. พลาสติกใส
5. แบบพิมพ์ รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาด 40x40x110-120 เซนติเมตร

วิธีการเพาะ
เตรียมพื้นที่เพาะเห็ด โดยให้พื้นดินมีความชื้นหมาดๆ และแช่ฟางข้าว, ตอซังข้าวหรือวัสดุที่ใช้เพาะทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน รวมทั้งอาหารเสริมให้เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถจัดเตรียมได้ ส่วนหัวเชื้อเห็ดฟางแต่ละถุง ให้ขยี่หัวเชื้อกระจายออกจากกันและแบ่งเป็น 4 ส่วน เท่าๆ กันเพื่อใส่ลงในแต่ละชั้นของกองฟาง หัวเชื้อ 1 ถุงใช้ได้ 1 กอง จากนั้นให้วางแบบพิมพ์ในพื้นที่เพาะเห็ดความยาวตามตะวัน
pic-4
ขั้นตอนการเพาะ
1. นำฟางที่แช่ไว้ขึ้นจากน้ำมาใส่ในแบบพิมพ์ กดด้วยมือให้แน่นสูงจากพื้นประมาณ 10 เซนติเมตร โรยอาหารเสริมลงบนวัสดุเพาะรอบๆ ทั้ง 4 ด้าน จากนั้นใช้หัวเชื้อที่เตรียมไว้โรยรอบทั้ง 4 ด้านเช่นเดียวกัน ก็เสร็จในชั้นที่หนึ่งpic-3
2. เมื่อทำชั้นแรกเสร็จ ก็นำฟางใส่ลงในแบบพิมพ์สูงจากชั้นแรกอีก 10 เซนติเมตร ใส่อาหารเสริมและหัวเชื้อเหมือนกับชั้นแรก ทำจนครบ 4 ชั้นต่อกอง ก็ถือว่าเสร็จในกองที่ 1
3. ทำการยกแบบพิมพ์ออกจากกองฟาง และวางแบบพิมพ์ให้ห่างจากกองแรกประมาณ 15 เซนติเมตร และให้ดำเนินเพาะเหมือนกองแรก โดยปกติกองเพาะเห็ดฟาง 10 กอง เรียกว่า 1 แปลง
4. เมื่อเพาะเห็ดฟางได้ 5-10 กองแล้วก็จะนำพลาสติกใสมาคลุมกองฟาง เพื่อป้องกันความชื้นและเพิ่มอุณหภูมิภายในกองให้สูงขึ้น โดยให้ชายพลาสติกคลุมเหลื่อมกันบนสันกองและให้ชายโดยรอบห่างจากขอบข้างด้านละ 15-20 เซนติเมตร และทำการพลางแสงโดยรอบกองฟางด้วยฟางข้าวอีกครั้งหนึ่ง ในหน้าร้อนทิ้งไว้ 8-10 วัน ในหน้าหนาวทิ้งไว้ 15-20 วัน เห็ดฟางก็จะออกดอกและเก็บผลผลิตได้
pic-25. การเก็บผลผลิตดอกเห็ด ให้เลือกเก็บดอกเห็ดที่ตูมเต็มที่ จะได้คุณภาพดีที่สุด การเพาะเห็ดฟางในหนึ่งรุ่นจะเก็บผลผลิตได้ต่อเนื่องเป็นเวลา 3 วัน ก็จะเก็บเกี่ยวได้หมด โดยเฉลี่ยผลผลิตต่อกองได้ประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม ให้บรรจุดอกเห็ดในภาชนะที่โปร่ง เช่น ตะกร้าหรือเข่ง ไม่ควรบรรจุเห็ดในถุงพลาสติก เพราะจะทำให้ดอกเห็ดบานเร็วขึ้น

การเพาะเห็ดฟาง







กล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยที่นิยมบริโภคในประเทศมีคุณค่าทางอาหาร เหมาะสมสำหรับการรับประทานทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ปลูกค่อนข้างง่าย

การปลูก

วิธีปลูก:
- ปลูกในช่วงฤดูฝน
- ปลูกด้วยหน่อใบแคบ หรือต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะปลูกเลี้ยงเนื้อเยื่อ
- เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม.
- ผสมดินปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟส จำนวน 50 กรัม เข้าด้วยกันใน หลุมให้สูง ประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
- ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุมโดยระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
- ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากหลุมทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
- ดึงถุงพลาสติกออกโดยระวังอย่าให้ดินแตก
- กลบดินที่เหลือลงในหลุม
- กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น
- คลุมดินบริเวณโคนต้นด้วยฟางข้าว หรือหญ้าแห้ง
- รดน้ำให้ชุ่ม
ระยะปลูก:
2.5 x 3 เมตร , 2.5 x 2.5 เมตร
จำนวนต้นต่อไร่:
จำนวนต้นเฉลี่ย 200 ต้น/ไร่ , 250 ต้น/ไร่

การดูแลรักษา

การใส่ปุ๋ย:
ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ 15-15-15 อัตรา 1 กิโลกรัม ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 4 ครั้ง ๆ ละ 250 กรัม ดังนี้
ครั้งที่ 1 ใส่หลังปลูก 1 สัปดาห์ ใช้สูตร 15-15-15
ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 15-15-15
ครั้งที่ 3 ใส่หลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 15-15-15
ครั้งที่ 4 ใส่หลังจากครั้งที่ 3 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 13-13-21

การให้น้ำ:
ปริมาณของน้ำนั้นขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ความชุ่มชื้นของดิน ปริมาณลมที่พัดผ่านจะทำให้การคายน้ำมาก จึงไม่ควรปล่อยให้ผิวหน้าดินแห้งติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากรากจะหาอาหารอยู่บริเวณผิวดิน จึงทำให้หยุดชะงักการเจริญเติบโต

การตัดแต่งหน่อ:
ตัดแต่งหน่อหลังจากปลูกประมาณ 3-4 เดือน จะมีหน่อขึ้นมารอบ ๆ โคนให้ตัด ไปเรื่อยจนกว่าจะเริ่มออกปลี หรือหลังปลูกแล้วประมาณ 7-8 เดือน ควรมีการไว้หน่อทดแทน 1-2 หน่อ โดยหน่อที่ 1 และที่ 2 ควรมีอายุห่างกันประมาณ 4 เดือน เพื่อให้ผลกล้วยมีความอุดมสมบูรณ์ โดย เลือกหน่อที่อยู่ในทิศทางที่ตรงกันข้าม

การตัดแต่งใบ:
ควรตัดแต่งใบช่วงที่ต้นเริ่มโตจนถึงเก็บเกี่ยว โดยเลือกใบแก่ และใบที่เป็นโรคออก ตัดให้เหลือประมาณ 7-12 ใบ เพื่อป้องกันต้นกล้วยโค่นช่วงออกปลี เพื่อใช้ใบปรุงอาหาร และเพิ่มความเจริญเติบของผลกล้วย
การเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวกล้วยระยะใดขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการขนส่ง หากขนส่งไปขายไกล ๆ อาจตัดกล้วยเมื่อความแก่ประมาณ 75% การดูลักษณะความอ่อนแก่ของกล้วย อาจดูจากลักษณะผล เช่น ดูขนาดลูกกล้วย เหลี่ยมกล้วย หรือใช้วิธีการนับอายุจากวันแทงปลี หรือวันตัดปลีในการตัดจะต้องพิจารณาถึงต้นสูงหรือเตี้ย ถ้าสูงก็ให้ตัดบริเวณโคนต้น เพื่อให้ต้นเอียงลงมา โดยให้อีกคนหนึ่งจับหรือรับเครือกล้วยไว้ จะต้องเหลือก้านให้ยาวพอสมควร นำไปยังโรงเรือนเพื่อคัดขนาดบรรจุต่อไป 

การปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว
นำเครือกล้วยแขวนไว้บนราว ปล่อยให้ยางไหลจนแห้ง 
ทำความสะอาดถูกผลหรือบริเวณปลายผลที่มีกลีบแห้งติดอยู่ออกให้หมf แยกเครือกล้วยออกเป็นหวี ๆ อย่างระมัดระวังอย่าให้รอยตัดช้ำ คัดเลือกผลที่มีรอยตำหนิ หวีที่ไม่ได้ขนาดออก จุ่มในน้ำผสมสารไธอาเมนตาโซล แล้วผึ่งลมหรือเป่าให้แห้ง บรรจุหีบห่อ/บรรจุลงเข่งโดยมีใบตองรอง เพื่อป้องกันบอบช้ำ

การปลูกกล้วยน้ําว้า

การปลูกและดูแลรักษาพริก

ขั้นตอนในการปลูกมะนาวนอกฤดู โดยการปลูกในวงบ่อปูนซีเมนต์

การเตรียมวงบ่อซีเมนต์

วงบ่อซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร หรือตามที่หาได้ รวมฐานรองก้นบ่อ ราคาประมาณ 200 บาทฐานรองก้นบ่อต้องเป็นชนิดที่ไม่เชื่อมกับวงบ่อโดยตรง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำที่รดลงไปขังอยู่ด้านล่าง และกันไม่ให้รากมะนาว แทงลงดินออกจากบ่อ  แต่ละบ่อควรวางห่างกัน ประมาณ 1 - 2  เมตรสถานที่วางวงบ่อซีเมนต์ที่ปลูกมะนาวจะต้องได้รับแสงแดดตลอดทั้งวันเท่านั้นและวัสดุปลูกจะต้องเน้นในเรื่องของการระบายน้ำที่ดี

การเตรียมดิน

ขั้นตอนนี้สำคัญ เพราะการจำกัดพื้นที่การปลูกและต้องการให้มะนาวเจริญเติบโต ได้ตามปกติดินที่ใช้จะต้องดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง ในการเตรียมดินปลูกทำดังนี้คือใช้อัตราดินร่วน 3 ส่วนผสมกับปุ๋ยหมัก 2 ส่วนหรืออีกสูตรหนึ่งคือดินร่วน 3 ส่วนผสมกับปุ๋ยคอก 1 ส่วน ข้อสำคัญดินที่ใช้ควรเป็นดินชั้นบน หรือหน้าดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ สูง  โดยนำดินที่ผสมแล้วใส่ในวงบ่อซีเมนต์ แล้วพูนดินปลูกขึ้นมาอีกเล็กน้อย

การคัดเลือกพันธุ์มะนาว

มะนาวที่จะนำมาปลูกต้องพิจารณาถึงขนาดของผล ปริมาณน้ำต่อผลการปฏิบัติดูแลรักษาง่าย ทนทานต่อโรค และแมลงและให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งพันธุ์ที่แนะนำได้แก่  มะนาวน้ำหอม มะนาวตาฮิติ   มะนาวหนังคันธุลี    ส่วนมะนาวแป็นรำไพ   ให้ผลดีเช่นกันแต่เป็นโรคแคงเกอร์มากกว่า

  

นำต้นมะนาวจากกิ่งตอนหรือต้นปักชำ

ต้นที่สมบูรณ์แข็งแรงเอามาปลูกลงในวงบ่อซีเมนต์ที่จัดเตรียมไว้แล้ว ควรมีการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ 1-3 วันต่อครั้ง นอกจากนี้ควรแสริมปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโต โดยใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 รองก้นหลุมก่อนปลูกแล้วใส่หลังจากปลูกทุก 1-2  เดือน อัตรา 1 ช้อนแกง ต่อต้น ส่วนในระยะบังคับให้ออกดอกติดผลควรใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12  อัตรา 1 ช้อนแกงต่อต้นหลังการใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรมีการรดน้ำให้ชุ่ม เมื่อมะนาวอายุได้ 8 เดือน หรือ 1 ปีขึ้นไป ให้เริ่มบังคับมะนาวให้ออกดอก ติดผลตามต้องการ

การปลิดดอก และผลมะนาวที่ออกในฤดูกาล

หลังจากปลูกมะนาวในวงบ่อได้ประมาณ 6 เดือน มะนาวบางพันธุ์อาจมีการออกดอกติดผลบ้างเล็กน้อย ก่อนถึงช่วงบังคับให้มะนาวออกดอกติดผลในเดือน กันยายน- พฤศจิกายน มะนาวที่ออกดอกก่อนหน้านี้ ควรเด็ดออก หรือปลิดออกทั้งหมด

การคลุมโคนต้นด้วยพลาสติก

ก่อนถึงช่วงบังคับให้มะนาวออกดอกติดผลนอกฤดูกาล ประมาณ 1 เดือน เช่นบังคับให้มะนาวออกดอกในเดือนกันยายนหรือเดือนตุลาคม ให้ผู้ปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์ งดให้น้ำในเดือนสิงหาคม หรือ เดือนกันยายน แล้วนำพลาสติก (ผ้าพลาสติกกันฝน) มาคลุมปากวงบ่อด้านโคนต้นไม่ให้น้ำซึมลงไปในดินปลูกภายในวงบ่อ ได้ประมาณ 15-30 วัน ใบมะนาวในวงบ่อซีเมนต์จะเริ่มเหี่ยวหรือใบร่วง แตกต่างกันในแต่ละพันธุ์

การปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์

ควรจะเก็บเกี่ยวผลผลิต เฉพาะช่วงนอกฤดูหรือช่วงหน้าแล้งเท่านั้น ไม่ควรปล่อยให้มะนาวออกดอกติดผลอยู่บนต้นตลอดปี มะนาวที่ปลูกในวงบ่อซีเมนต์จะทรุดโทรมเร็วกว่าปกติ เมื่อสังเกตเห็นมะนาวขาดน้ำ  มีใบเหี่ยว หรือใบร่วงมากแล้ว  ให้นำพลาสติกคลุมโคนต้นออก แล้วดำเนินการให้น้ำและปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อต้น เมื่อมะนาวมีการออกดอกและติดผลแล้ว ควรมีการให้น้ำและปุ๋ยเพื่อบำรุงต้นและผลมะนาวตามปกติ จนกว่าจะเก็บเกี่ยวผลผิตในช่วงฤดูแล้ง

 

การเก็บเกี่ยว

หลังจากมะนาวออกดอกติดผล ได้ประมาณ 4-5 เดือน ก็สามารถจะเก็บเกี่ยวผลผลิตสู่ตลาดได้  ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ ถ้าเป็นมะนาวน้ำหอม มะนาวพันธุ์นี้จะมีน้ำตั้งแต่ผลเล็กๆผู้ปลูกสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ภายใน 3-4 เดือน ถ้าสังเกตมะนาวที่ปลูกในวงบ่อซีเมนต์ มีการติดผลมาก (ผลดก)เมื่อถึงช่วงอายุเก็บเกี่ยวแล้วควรดำเนินการเก็บเกี่ยวสู่ตลาดเลย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้บนต้นนานๆ ต้นมะนาวจะต้องใช้อาหารมาเลี้ยงหรือบำรุงผลมะนาว เป็นเวลานานกว่าปกติต้นมะนาวอาจทรุดโทรมได้ง่าย และควรระมัดระวัง อย่าให้กิ่งฉีกหัก และผลมะนาวช้ำ จะวางตลาดได้ไม่นาน

การตัดแต่งกิ่ง

หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตมะนาวนอกฤดูกาล(มะนาวหน้าแล้ง) หมดแล้ว ควรมีการตัดแต่งกิ่งที่ฉีกหัก กิ่งที่แตกกิ่งไม่เป็นระเบียบ กิ่งที่เป็นโรคหรือกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ออก

การใส่ปุ๋ยและเพิ่มดิน

การใส่ปุ๋ยและเพิ่มดินปลูกหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตและตัดแต่งกิ่งมะนาว ที่ปลูกในวงบ่อแต่ละปีแล้ว ควรนำดินร่วนผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ที่สลายตัวแล้ว
1 ส่วนผสมให้เข้ากันดีแล้วนำมาใส่เพิ่มในวงบ่อให้เต็มปากบ่อ มีลักษณะพูนขึ้นมาเล็กน้อย และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1.5 ช้อนแกง ต่อต้นรดน้ำดูแลรักษามะนาวในวงบ่อซีเมนต์ให้สมบูรณ์ แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อบังคับให้ออกดอกติดผลในปีต่อไป

ปลูกมะนาวนอกฤดู

เป็น ระบบเกษตรกรรมแบบพื้นบ้านที่กระจายอยู่ในหลายวัฒนธรรม ปัจจุบันนั้นหลงเหลืออยู่ในหมู่ชาวเขา บนที่สูงของภาคเหนือและตะวันตกของประเทศ โดยเป็นระบบการเพาะปลูกในพื้นที่หนึ่ง ในช่วงเวลาหนึ่ง จากนั้นจะย้ายพื้นที่เพาะปลูกไปยังพื้นที่ใหม่ เพื่อให้พื้นที่เดิมเริ่มฟื้นความอุดมสมบูรณ์ แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เดิมอีกครั้งหนึ่ง อาจจะทุก ๆ 5-9 ปี แล้วแต่สภาพพื้นที่ และวัฒนธรรมของชนเผ่า การปลูกพืชในระบบไร่หมุนเวียนเป็นการปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยมีข้าว ผัก และพืชใช้สอยต่าง ๆ ปลูกรวมกันอยู่ในระบบเป็นจำนวนมาก และอาจถือได้ว่าเป็นรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน ที่สามารถรักษาความหลากหลายทางชีวภาพไว้ได้มากที่สุดระบบหนึ่ง ในขณะที่เกษตรกรที่รักษาระบบเกษตรกรรมเช่นนี้มีกฎเกณฑ์ ที่จะต้องเคารพคุณค่า และนอบน้อมต่อธรรมชาติ ดังคำกล่าวที่ว่า “ใช้ประโยชน์จากน้ำ ต้องรักษาน้ำ ใช้ประโยชน์จากป่า จักต้องรักษาป่า” เป็นต้น 
ระบบไร่หมุนเวียนตกอยู่ภายใต้วิบากกรรมมาเนิ่นนาน ด้วยถูกเข้าใจว่าเป็นระบบไร่เลื่อนลอยที่ทำลายป่าไม้บนพื้นที่สูง ทั้ง ๆ ที่ เป็นระบบที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ ด้วยภูมิปัญญาของผู้คนที่อาศัยดำรงวิถีชีวิตใกล้กับธรรมชาติ และยังให้ความเคารพต่อธรรมชาติมากกว่าเกษตรกรกลุ่มใด ๆ 
การฟื้นฟูไร่หมุนเวียนให้ดำเนินไปได้โดยสามารถตอบสนองต่อการผลิตอาหารและ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไปพร้อม ๆ กัน จะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของการจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูง รวมทั้งเป็นการให้การยอมรับต่อสิทธิของชุมชนท้องถิ่นที่ได้ระบุไว้ในรัฐ ธรรมนูญ (1) 
หลักการของ "ระบบไร่หมุนเวียน" (2)

ระบบนี้เน้นการปลูกข้าวไร่เป็นพืชหลัก ผสมกับการปลูกพืชอาหารท้องถิ่น เช่น พริก มะเขือ งาดำ ฟักเขียว ฟักทอง น้ำเต้า มะระ ถั่วเขียว ถั่วดำ ข้าวโพด พืชตระกูลแตง และพันธุ์ข้าวพื้นบ้านกว่า 40-50 สายพันธุ์ เตรียมพื้นที่ด้วยการตัดฟันและเผาก่อนการปลูกข้าวไร่ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จึงย้ายพื้นที่เพาะปลูกไปแปลงอื่นที่ได้ปล่อยไว้ให้พักตัวแล้ว และปล่อยให้พื้นที่ซึ่งเพิ่งทำการผลิตได้มีการพักตัวตามธรรมชาติ โดยอาศัยกลไกธรรมชาติจากพื้นที่ป่าที่อยู่โดยรอบแปลงในการพื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งรูปแบบการจัดการแปลงมี 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1. การทำไร่แบบแปลงรวม
ชาวบ้านในชุมชนจะใช้พื้นที่ไร่เหล่าผืนเดียวกันทำไร่ในแต่ละปี ไม่มีใครเป็นเจ้าของพื้นที่ชัดเจน แต่ละครอบครัวอาจหมุนเวียนไปทำพื้นที่เดิมหรืออาจจะเป็นครอบครัวใหม่เข้ามา ทำแทนได้
2. การทำไร่แบบแปลงกระจาย
การทำไร่แบบนี้แต่ละครอบครัวเลือกพื้นที่ไร่เหล่าที่เหมาะสมเพื่อทำไร่ โดยไม่ได้ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน แต่กระจายเป็นหย่อมๆ ที่ดินมักมีเจ้าของในระดับครัวเรือน
ขั้นตอนระบบไร่หมุนเวียน ประกอบด้วย การเลือกพื้นที่ (ก.พ.-มี.ค.) การฟันไร่ (มี.ค.) การเผาไร่และริบไร่ (เม.ย.) การเพาะปลูก (พ.ค.) การเอาหญ้า (ประมาณ 3-4 รอบ พ.ค.-ก.ย.) การเก็บเกี่ยวและตีข้าว (ต.ค.-พ.ย.) ซึ่งความยั่งยืนของการเกษตรรูปแบบนี้อยู่ที่การปล่อยให้แปลงไร่หมุนเวียนได้ มีการพักตัวตามธรรมชาติเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ก่อนที่จะมีการหมุนเวียนกลับมาใช้พื้นที่เดิมทำการเพาะปลูกอีกครั้ง และการเตรียมพื้นที่โดยใช้องค์ความรู้ในการจัดการ ได้แก่ ตัดต้นไม้เหลือตอไว้ให้สามารถแตกกอใหม่ได้ ไม่ตัดฟันไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ควบคุมการเผาไม่ให้ไฟลุกลามออกไปนอกแปลงปลูก

ระบบ ไร่หมุนเวียนเน้นการเพาะปลูกพืชอาหารสำหรับไว้บริโภคในครัวเรือน แต่ไม่เน้นการสร้างผลผลิตส่วนเกินสำหรับขาย ไร่หมุนเวียนจำเป็นต้องมีพื้นที่ป่าขนาดใหญ่รองรับ เพื่อให้ธรรมชาติช่วยในการฟื้นฟูที่ดินหลังการเพาะปลูก ซึ่งกลายเป็นข้อจำกัดสำคัญ เพราะปัจจุบันรัฐมีนโยบายการอนุรักษ์ป่าและควบคุมการใช้พื้นที่สูงอย่างเข้ม งวด


หมายเหตุ
(1) คัดลอกและเรียบเรียง จากหนังสือ เกษตรกรรมยั่งยืน วิถีเกษตรเพื่อความเป็นไท ; สมัชชาเกษตรกรรมทางเลือกครั้งที่ 3; มหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืน: ฟื้นฟูวิถีชีวิตไท เพื่ออธิปไตยของชาติ. 
(2) คัดลอกและเรียบเรียง จากหนังสือ รูปแบบและเทคนิคเกษตรยั่งยืน : องค์ความรู้และประสบการณ์จากเกษตรกรในพื้นที่โครงการนำร่องเพื่อพัฒนา เกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย; ไพบูลย์ เฮงสุวรรณ และคณะ; สมัชชาเกษตรกรรมทางเลือกครั้งที่ 3; มหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืน: ฟื้นฟูวิถีชีวิตไท เพื่ออธิปไตยของชาติ.

ระบบไร่หมุนเวียน

ระบบ การผลิตทางการเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีสังเคราะห์ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรม เกษตรอินทรีย์ให้ความสำคัญสูงสุดในการปรับปรุงบำรุงดิน โดยเชื่อว่า หากดินมีความอุดมสมบูรณ์ ย่อมทำให้พืชและสัตว์ที่เจริญเติบโตจากผืนดินนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ตามไป ด้วย มนุษย์ที่บริโภคผลผลิตจากไร่นาอินทรีย์ ก็จะได้รับอาหารที่มีคุณภาพดีและปลอดภัย
เกษตรอินทรีย์มีจุดเริ่มต้นจากยุโรปและต่อมาได้แพร่หลายไปยังสหรัฐอเมริกา และทั่วโลกจนปัจจุบัน กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิตทางการเกษตรที่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง มีการพัฒนาระบบตลาด และมาตรฐานการผลิตมารองรับเป็นการเฉพาะ แต่จริงๆ แล้ว นี่คือวิธีการผลิตของปู่ยาตายาวชาวไทยและจีนมาแต่อดีต คนจีนปลูกผักก็เอาปุ๋ยอินทรีย์มาบำรุงดิน สำหรับประเทศไทย การบุกเบิกเกษตรกรรมอินทรีย์และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เกิดจากการผลักดันขององค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานร่วมกับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ยโสธร และเชียงใหม่ ประสบการณ์การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ขององค์กรพัฒนาเอกชน จนสามารถพัฒนาการตลาดอินทรีย์ทั้งในและต่างประเทศ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้พรรคการเมืองนำนโยบายเกษตรอินทรีย์ไปใช้สำหรับการหาเสียง จนในที่สุดนโยบายเกษตรกรรมอินทรีย์ได้ถูกบรรจุไว้ในนโยบายของประเทศ
อย่างไรก็ตามหากเกษตรอินทรีย์พัฒนาไปในทิศทางที่มุ่งเน้นการค้าเป็นหลัก มุ่งผลิตพืชเชิงเดี่ยว หรืออยู่ภายใต้ระบบและการผูกขาดของบริษัทขนาดใหญ่ แทนที่จะมุ่งในเรื่องของความมั่นคงด้านอาหาร การทำเกษตรอินทรีย์ดังกล่าว ก็จะไม่ถือว่าเป็นเกษตรกรรมอินทรีย์ที่แท้จริง และผิดหลักการเกษตรกรรมยั่งยืน


หลักการของ "เกษตรอินทรีย์" (2)
เกษตรอินทรีย์ให้ความสำคัญสูงสุดต่อ ”ดิน” เนื่องจากดินเป็นรากฐานของทุกสิ่ง โฮวาร์ด ผู้บุกเบิกเกษตรอินทรีย์ยุคใหม่ ได้วางหลักการสำคัญไว้ 7 ประการ คือ
สุขภาพที่ดีเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งปวงที่อุบัติขึ้นมาบนโลก
สุขภาพที่ดีตามกฎข้อที่หนึ่ง ต้องใช้กับทั้ง ดิน พืช สัตว์ และมนุษย์ โดยสุขภาพที่ดีของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวจะเชื่อมโยงประสานสัมพันธ์ดุจสายโซ่ เส้นเดียวกัน
ความอ่อนแอและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับดิน จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่ที่อยู่สูงกว่า จนกระทั่งถึงมนุษย์ซึ่งยืนอยู่บนสุดของห่วงโซ่แห่งความสัมพันธ์
ปัญหาการระบาดของโรคแมลงทั้งในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่นั้น คือปัญหาในห่วงโซ่ที่สองและสาม (พืช-สัตว์)
ปัญหาเรื่องสุขภาพของคนในสังคมสมัยใหม่เป็นผลต่อเนื่องมาจากปัญหาความล้มเหลวที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่ที่สองและสาม
สุขภาพที่ไม่ดีของพืช สัตว์และมนุษย์เป็นผลต่อเนื่องมาจากสุขภาพที่ไม่ดีของดิน การแก้ปัญหาเรื่องสุขภาพโดยการพัฒนายา และคิดค้นวิธีการรักษาโรคต่างๆ ไม่อาจทำให้สุขภาพดีขึ้นได้ถ้าละเลยความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การปรับเปลี่ยนการพัฒนาที่ถูกต้องจึงต้องสำนึกในปัญหาที่เกิดขึ้น ยอมรับกฎและบทบาทอันซับซ้อนของธรรมชาติ โดยการคืนทุกสิ่งที่เหลือจากการใช้ประโยชน์ให้กับผืนดินผสมผสานการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ และไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการรบกวนต่อกระบวนการสะสมธาตุอาหารที่ดำเนินการโดยสิ่งมีชีวิติเล็กๆ ซึ่งอาศัยในดิน
ดังนั้น มโนทัศน์ของดินในหมู่นักเกษตรอินทรีย์จึงเป็นคนละแบบกับที่นักเกษตรเคมีเข้า ใจ นักเกษตรอินทรีย์เชื่อว่าดินใต้ฝ่าเท้าของมนุษย์นั้นมีชีวิต ความอุดมสมบูรณ์ของดินมิได้เป็นภาพของดินซึ่งมีแร่ธาตุที่พืชต้องการไม่กี่ ชนิด แต่เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในดินเป็นจำนวนมาก การใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวเพื่อผลิตอาหารจะทำให้สมดุลของธาตุอาหารรอง เสียไป และจะมีผลต่อคุณภาพของอาหารนั้นในที่สุด


เกษตรกรต้นแบบของเกษตรอินทรีย์ (3)
เกษตรกรต้นแบบของ เกษตรผสมผสาน คือ “คุณอรรณพ ตันสกุล” เกษตรชาวปทุมธานี ซึ่งผ่านประสบการณ์ทำนาและทำไร่ส้มมาก่อนหันมาสนใจทำการเกษตรอินทรีย์ โดยเริ่มแรกทำนาที่ตำบลคลอง 5 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี แต่ประสบปัญหาการระบาดของเพลี้ยจักจั่นสีเขียวจึงหันมายกร่องปลูกส้มเขียว หวานในพื้นที่ประมาณ 51 ไร่ แต่สุดท้ายก็พบว่าสวนส้มต้องใช้สารเคมีจำนวนมาก จึงฉุกคิดได้ว่าแม้จะขายส้มได้มากแต่ตัวเองและลูกน้องใช่ว่าจะมีโอกาสได้ใช้ เงินเหล่านั้น
คุณอรรณพ ตัดสินใจหันมาทดลองนำสมุนไพรใช้ทดแทนสารเคมี เช่น สูตรผสมของสะเดา ข่า และตะไคร้หอม บดรวมกันแล้วแช่น้ำไว้หนึ่งคืนก่อนนำไปผสมน้ำฉีดกับส้มเขียวหวาน ซึ่งพบว่าได้ผลดีสามารถควบคุมเพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรแดง และหนอนชอนใบได้ นอกจากนั้นยังทำการเลี้ยงวัว โดยอาหารวัวได้จากการเกี่ยวหญ้าจากร่องสวนส้มและใช้กากชานอ้อยจากตลาดโดยไม่ ต้องซื้อหาเพียงแต่ต้องใช้แรงงานเพิ่มขึ้น ส่วนกากชานอ้อยที่เหลือจะถูกปล่อยทิ้งไว้ให้ซับเยี่ยวและขี้วัวระยะหนึ่ง เมื่อหมักได้ระยะหนึ่งจะนำไปสุมบริเวณโคนไม้ผลเพื่อช่วยปรับปรุงดินและควบ คุมวัชพืชไปในตัวด้วย
ประสบการณ์เกษตรอินทรีย์ของคุณอรรณพ มีผลกระทบในเชิงความคิดต่อเกษตรกรและนักการเกษตรเป็นจำนวนมาก มีการดัดแปลงสูตรสมุนไพรไปปรับใช้ในนาข้าว แปลงผัก และผลไม้ชนิดอื่นๆ อย่างแพร่หลาย ทำให้วงการเกษตรหันมาให้ความสนใจทำงานวิจัยวิทยาการที่ใช้ทดแทนสารเคมีมาก ยิ่งขึ้น
หมายเหตุ
(1) คัดลอกและเรียบเรียง จากหนังสือ เกษตรกรรมยั่งยืน วิถีเกษตรเพื่อความเป็นไท ; สมัชชาเกษตรกรรมทางเลือกครั้งที่ 3; มหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืน: ฟื้นฟูวิถีชีวิตไท เพื่ออธิปไตยของชาติ. 
(2) คัดลอกและเรียบเรียง จากหนังสือ เกษตรกรรมทางเลือก ความหมาย ความเป็นมา และเทคนิควิธี ; วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ บรรณาธิการ ; สมัชชาเกษตรกรรมทางเลือกครั้งที่ 2; มหกรรมเกษตรและอาหารปลอดสารพิษ. 
(3) คัดลอกและเรียบเรียง จากหนังสือ เกษตรกรรมทางเลือก ความหมาย ความเป็นมา และเทคนิควิธี ; 

เกษตรอินทรีย์