เป็น ระบบเกษตรกรรมแบบพื้นบ้านที่กระจายอยู่ในหลายวัฒนธรรม ปัจจุบันนั้นหลงเหลืออยู่ในหมู่ชาวเขา บนที่สูงของภาคเหนือและตะวันตกของประเทศ โดยเป็นระบบการเพาะปลูกในพื้นที่หนึ่ง ในช่วงเวลาหนึ่ง จากนั้นจะย้ายพื้นที่เพาะปลูกไปยังพื้นที่ใหม่ เพื่อให้พื้นที่เดิมเริ่มฟื้นความอุดมสมบูรณ์ แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เดิมอีกครั้งหนึ่ง อาจจะทุก ๆ 5-9 ปี แล้วแต่สภาพพื้นที่ และวัฒนธรรมของชนเผ่า การปลูกพืชในระบบไร่หมุนเวียนเป็นการปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยมีข้าว ผัก และพืชใช้สอยต่าง ๆ ปลูกรวมกันอยู่ในระบบเป็นจำนวนมาก และอาจถือได้ว่าเป็นรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน ที่สามารถรักษาความหลากหลายทางชีวภาพไว้ได้มากที่สุดระบบหนึ่ง ในขณะที่เกษตรกรที่รักษาระบบเกษตรกรรมเช่นนี้มีกฎเกณฑ์ ที่จะต้องเคารพคุณค่า และนอบน้อมต่อธรรมชาติ ดังคำกล่าวที่ว่า “ใช้ประโยชน์จากน้ำ ต้องรักษาน้ำ ใช้ประโยชน์จากป่า จักต้องรักษาป่า” เป็นต้น 
ระบบไร่หมุนเวียนตกอยู่ภายใต้วิบากกรรมมาเนิ่นนาน ด้วยถูกเข้าใจว่าเป็นระบบไร่เลื่อนลอยที่ทำลายป่าไม้บนพื้นที่สูง ทั้ง ๆ ที่ เป็นระบบที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ ด้วยภูมิปัญญาของผู้คนที่อาศัยดำรงวิถีชีวิตใกล้กับธรรมชาติ และยังให้ความเคารพต่อธรรมชาติมากกว่าเกษตรกรกลุ่มใด ๆ 
การฟื้นฟูไร่หมุนเวียนให้ดำเนินไปได้โดยสามารถตอบสนองต่อการผลิตอาหารและ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไปพร้อม ๆ กัน จะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของการจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูง รวมทั้งเป็นการให้การยอมรับต่อสิทธิของชุมชนท้องถิ่นที่ได้ระบุไว้ในรัฐ ธรรมนูญ (1) 
หลักการของ "ระบบไร่หมุนเวียน" (2)

ระบบนี้เน้นการปลูกข้าวไร่เป็นพืชหลัก ผสมกับการปลูกพืชอาหารท้องถิ่น เช่น พริก มะเขือ งาดำ ฟักเขียว ฟักทอง น้ำเต้า มะระ ถั่วเขียว ถั่วดำ ข้าวโพด พืชตระกูลแตง และพันธุ์ข้าวพื้นบ้านกว่า 40-50 สายพันธุ์ เตรียมพื้นที่ด้วยการตัดฟันและเผาก่อนการปลูกข้าวไร่ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จึงย้ายพื้นที่เพาะปลูกไปแปลงอื่นที่ได้ปล่อยไว้ให้พักตัวแล้ว และปล่อยให้พื้นที่ซึ่งเพิ่งทำการผลิตได้มีการพักตัวตามธรรมชาติ โดยอาศัยกลไกธรรมชาติจากพื้นที่ป่าที่อยู่โดยรอบแปลงในการพื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งรูปแบบการจัดการแปลงมี 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1. การทำไร่แบบแปลงรวม
ชาวบ้านในชุมชนจะใช้พื้นที่ไร่เหล่าผืนเดียวกันทำไร่ในแต่ละปี ไม่มีใครเป็นเจ้าของพื้นที่ชัดเจน แต่ละครอบครัวอาจหมุนเวียนไปทำพื้นที่เดิมหรืออาจจะเป็นครอบครัวใหม่เข้ามา ทำแทนได้
2. การทำไร่แบบแปลงกระจาย
การทำไร่แบบนี้แต่ละครอบครัวเลือกพื้นที่ไร่เหล่าที่เหมาะสมเพื่อทำไร่ โดยไม่ได้ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน แต่กระจายเป็นหย่อมๆ ที่ดินมักมีเจ้าของในระดับครัวเรือน
ขั้นตอนระบบไร่หมุนเวียน ประกอบด้วย การเลือกพื้นที่ (ก.พ.-มี.ค.) การฟันไร่ (มี.ค.) การเผาไร่และริบไร่ (เม.ย.) การเพาะปลูก (พ.ค.) การเอาหญ้า (ประมาณ 3-4 รอบ พ.ค.-ก.ย.) การเก็บเกี่ยวและตีข้าว (ต.ค.-พ.ย.) ซึ่งความยั่งยืนของการเกษตรรูปแบบนี้อยู่ที่การปล่อยให้แปลงไร่หมุนเวียนได้ มีการพักตัวตามธรรมชาติเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ก่อนที่จะมีการหมุนเวียนกลับมาใช้พื้นที่เดิมทำการเพาะปลูกอีกครั้ง และการเตรียมพื้นที่โดยใช้องค์ความรู้ในการจัดการ ได้แก่ ตัดต้นไม้เหลือตอไว้ให้สามารถแตกกอใหม่ได้ ไม่ตัดฟันไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ควบคุมการเผาไม่ให้ไฟลุกลามออกไปนอกแปลงปลูก

ระบบ ไร่หมุนเวียนเน้นการเพาะปลูกพืชอาหารสำหรับไว้บริโภคในครัวเรือน แต่ไม่เน้นการสร้างผลผลิตส่วนเกินสำหรับขาย ไร่หมุนเวียนจำเป็นต้องมีพื้นที่ป่าขนาดใหญ่รองรับ เพื่อให้ธรรมชาติช่วยในการฟื้นฟูที่ดินหลังการเพาะปลูก ซึ่งกลายเป็นข้อจำกัดสำคัญ เพราะปัจจุบันรัฐมีนโยบายการอนุรักษ์ป่าและควบคุมการใช้พื้นที่สูงอย่างเข้ม งวด


หมายเหตุ
(1) คัดลอกและเรียบเรียง จากหนังสือ เกษตรกรรมยั่งยืน วิถีเกษตรเพื่อความเป็นไท ; สมัชชาเกษตรกรรมทางเลือกครั้งที่ 3; มหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืน: ฟื้นฟูวิถีชีวิตไท เพื่ออธิปไตยของชาติ. 
(2) คัดลอกและเรียบเรียง จากหนังสือ รูปแบบและเทคนิคเกษตรยั่งยืน : องค์ความรู้และประสบการณ์จากเกษตรกรในพื้นที่โครงการนำร่องเพื่อพัฒนา เกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย; ไพบูลย์ เฮงสุวรรณ และคณะ; สมัชชาเกษตรกรรมทางเลือกครั้งที่ 3; มหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืน: ฟื้นฟูวิถีชีวิตไท เพื่ออธิปไตยของชาติ.

ระบบไร่หมุนเวียน

เป็น ระบบเกษตรกรรมแบบพื้นบ้านที่กระจายอยู่ในหลายวัฒนธรรม ปัจจุบันนั้นหลงเหลืออยู่ในหมู่ชาวเขา บนที่สูงของภาคเหนือและตะวันตกของประเทศ โดยเป็นระบบการเพาะปลูกในพื้นที่หนึ่ง ในช่วงเวลาหนึ่ง จากนั้นจะย้ายพื้นที่เพาะปลูกไปยังพื้นที่ใหม่ เพื่อให้พื้นที่เดิมเริ่มฟื้นความอุดมสมบูรณ์ แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เดิมอีกครั้งหนึ่ง อาจจะทุก ๆ 5-9 ปี แล้วแต่สภาพพื้นที่ และวัฒนธรรมของชนเผ่า การปลูกพืชในระบบไร่หมุนเวียนเป็นการปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยมีข้าว ผัก และพืชใช้สอยต่าง ๆ ปลูกรวมกันอยู่ในระบบเป็นจำนวนมาก และอาจถือได้ว่าเป็นรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน ที่สามารถรักษาความหลากหลายทางชีวภาพไว้ได้มากที่สุดระบบหนึ่ง ในขณะที่เกษตรกรที่รักษาระบบเกษตรกรรมเช่นนี้มีกฎเกณฑ์ ที่จะต้องเคารพคุณค่า และนอบน้อมต่อธรรมชาติ ดังคำกล่าวที่ว่า “ใช้ประโยชน์จากน้ำ ต้องรักษาน้ำ ใช้ประโยชน์จากป่า จักต้องรักษาป่า” เป็นต้น 
ระบบไร่หมุนเวียนตกอยู่ภายใต้วิบากกรรมมาเนิ่นนาน ด้วยถูกเข้าใจว่าเป็นระบบไร่เลื่อนลอยที่ทำลายป่าไม้บนพื้นที่สูง ทั้ง ๆ ที่ เป็นระบบที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ ด้วยภูมิปัญญาของผู้คนที่อาศัยดำรงวิถีชีวิตใกล้กับธรรมชาติ และยังให้ความเคารพต่อธรรมชาติมากกว่าเกษตรกรกลุ่มใด ๆ 
การฟื้นฟูไร่หมุนเวียนให้ดำเนินไปได้โดยสามารถตอบสนองต่อการผลิตอาหารและ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไปพร้อม ๆ กัน จะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของการจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูง รวมทั้งเป็นการให้การยอมรับต่อสิทธิของชุมชนท้องถิ่นที่ได้ระบุไว้ในรัฐ ธรรมนูญ (1) 
หลักการของ "ระบบไร่หมุนเวียน" (2)

ระบบนี้เน้นการปลูกข้าวไร่เป็นพืชหลัก ผสมกับการปลูกพืชอาหารท้องถิ่น เช่น พริก มะเขือ งาดำ ฟักเขียว ฟักทอง น้ำเต้า มะระ ถั่วเขียว ถั่วดำ ข้าวโพด พืชตระกูลแตง และพันธุ์ข้าวพื้นบ้านกว่า 40-50 สายพันธุ์ เตรียมพื้นที่ด้วยการตัดฟันและเผาก่อนการปลูกข้าวไร่ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จึงย้ายพื้นที่เพาะปลูกไปแปลงอื่นที่ได้ปล่อยไว้ให้พักตัวแล้ว และปล่อยให้พื้นที่ซึ่งเพิ่งทำการผลิตได้มีการพักตัวตามธรรมชาติ โดยอาศัยกลไกธรรมชาติจากพื้นที่ป่าที่อยู่โดยรอบแปลงในการพื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งรูปแบบการจัดการแปลงมี 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1. การทำไร่แบบแปลงรวม
ชาวบ้านในชุมชนจะใช้พื้นที่ไร่เหล่าผืนเดียวกันทำไร่ในแต่ละปี ไม่มีใครเป็นเจ้าของพื้นที่ชัดเจน แต่ละครอบครัวอาจหมุนเวียนไปทำพื้นที่เดิมหรืออาจจะเป็นครอบครัวใหม่เข้ามา ทำแทนได้
2. การทำไร่แบบแปลงกระจาย
การทำไร่แบบนี้แต่ละครอบครัวเลือกพื้นที่ไร่เหล่าที่เหมาะสมเพื่อทำไร่ โดยไม่ได้ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน แต่กระจายเป็นหย่อมๆ ที่ดินมักมีเจ้าของในระดับครัวเรือน
ขั้นตอนระบบไร่หมุนเวียน ประกอบด้วย การเลือกพื้นที่ (ก.พ.-มี.ค.) การฟันไร่ (มี.ค.) การเผาไร่และริบไร่ (เม.ย.) การเพาะปลูก (พ.ค.) การเอาหญ้า (ประมาณ 3-4 รอบ พ.ค.-ก.ย.) การเก็บเกี่ยวและตีข้าว (ต.ค.-พ.ย.) ซึ่งความยั่งยืนของการเกษตรรูปแบบนี้อยู่ที่การปล่อยให้แปลงไร่หมุนเวียนได้ มีการพักตัวตามธรรมชาติเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ก่อนที่จะมีการหมุนเวียนกลับมาใช้พื้นที่เดิมทำการเพาะปลูกอีกครั้ง และการเตรียมพื้นที่โดยใช้องค์ความรู้ในการจัดการ ได้แก่ ตัดต้นไม้เหลือตอไว้ให้สามารถแตกกอใหม่ได้ ไม่ตัดฟันไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ควบคุมการเผาไม่ให้ไฟลุกลามออกไปนอกแปลงปลูก

ระบบ ไร่หมุนเวียนเน้นการเพาะปลูกพืชอาหารสำหรับไว้บริโภคในครัวเรือน แต่ไม่เน้นการสร้างผลผลิตส่วนเกินสำหรับขาย ไร่หมุนเวียนจำเป็นต้องมีพื้นที่ป่าขนาดใหญ่รองรับ เพื่อให้ธรรมชาติช่วยในการฟื้นฟูที่ดินหลังการเพาะปลูก ซึ่งกลายเป็นข้อจำกัดสำคัญ เพราะปัจจุบันรัฐมีนโยบายการอนุรักษ์ป่าและควบคุมการใช้พื้นที่สูงอย่างเข้ม งวด


หมายเหตุ
(1) คัดลอกและเรียบเรียง จากหนังสือ เกษตรกรรมยั่งยืน วิถีเกษตรเพื่อความเป็นไท ; สมัชชาเกษตรกรรมทางเลือกครั้งที่ 3; มหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืน: ฟื้นฟูวิถีชีวิตไท เพื่ออธิปไตยของชาติ. 
(2) คัดลอกและเรียบเรียง จากหนังสือ รูปแบบและเทคนิคเกษตรยั่งยืน : องค์ความรู้และประสบการณ์จากเกษตรกรในพื้นที่โครงการนำร่องเพื่อพัฒนา เกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อย; ไพบูลย์ เฮงสุวรรณ และคณะ; สมัชชาเกษตรกรรมทางเลือกครั้งที่ 3; มหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืน: ฟื้นฟูวิถีชีวิตไท เพื่ออธิปไตยของชาติ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น