การปลูกหมาก



หมากเป็นไม้ยืนต้นตระกูลปาล์มเช่นเดียวกับมะพร้าว มีลําต้นสูงชะลูด ขนาดของลําต้นและทรงพุ่มจะแตกต่างจากพืชชนิดอื่น ๆ จึงเหมาะที่จะนํามาปลูกเป็นพืชแซม หรือปลูกแบบสวนหลังบ้าน ซึ่งในปัจจุบันนี้ สามารถส่งหมากออกไปจําหน่ายยังตลาดต่างประเทศในรูปของหมากแห้ง เพื่อนําไปใช้ในอุตสาหกรรมได้หลายชนิด เช่น ใช้ในการฟอกหนัง ทํายารักษาโรค ทําสี และส่งออกในรูปหมากดิบเพื่อบริโภค ฉะนั้น หมากจึงเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะจะนํามาปลูกเพื่อเสริมรายได้แก่เกษตรกรพันธุ์

สามารถแบ่งพันธุ์ตามลักษณะของผลออกเป็น 2 ประเภท คือ พันธุ์ผลกลมแห้น และผลกลมรีการขยายพันธุ์การขยายพันธุ์หมากจะมี 2 ขั้นตอน คือการเพาะเมล็ดจากต้นพันธุ์ดีในแหลงเพาะให้งอกเสียก่อนแล้วจึงนําไปชําในแปลงหรือถุงพลาสติกให้เจริญเติบโตจนได้ขนาดพอเหมาะ ใช้เวลาประมาณ 6 - 8 เดือน จึงนําไปปลูกได้การปลูกหมากเป็นพืชแซมการปลูกหมากแซมพืชเกษตรกรรม เช่น ปลูกตามพื้นที่ว่าเปล่า ตามแนวแดน รั่วกําแพง สามารถปลูกหมาก ในระหว่างแถวหรือ แทรกในระหว่างแถวยางก็ได้
การปลูกหมากแซมในสวนยาง สามารถปลูกแซมในระหว่างแถว หรือหลุ่มว่าง ส่วนในสวนยางแบบยกร่องสามารถปลูกหมากริมคันร่องสวน โดยให้ต้นหมากอยู่ห่างจากต้นยางประมาณ 2 - 3 เมตร และห่างจากขอบร่องสวนประมาณ 0.5 เมตร ถ้าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ําควรขุดหลุม ขนาด 50 x 50 x 50 ซม. แต่ดินที่มีความ


อุดมสมบูรณ์สูง ขนาดหลุมเล็กกว่านี้ได้ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก และหินฟอสเฟต คลุกกับดินชั้นบนแล้ว กลบหลุมด้วยดินที่เหลือฤดูปลูกควรเป็นต้นฤดูฝน หลังจากที่มีฝนตกหนัก 1 - 2 ครั้งการปลูกเวลาปลูกควรตั้งต้นกล้าให้ตรง และให้ด้านบนของผลอยู่ระดับผิวดิน กลบดินให้แน่น ปักหลักค้ําต้นเพื่อกัน ต้นโยก รดน้ําให้ชุ่ม ควรทําร่มบังแดด เพื่อลดการคายน้ํา และป้องกันไม่ให้ใบไหม้การให้น้ําในหมากเล็กควรให้น้ํา 2 - 3 ครั้ง/สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นหมากโต ตกผลแล้วควรให้น้ําสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การให้น้ําแต่ละครั้งควรให้ชุ่มทั่วแปลง แต่ถ้าเป็นหมากที่ปลูกโดยการยกร่อง ถ้าระดับน้ําในร่องสวนสูงพอ คือต่ํากว่าสันร่องประมาณ 50 ซม. อาจให้น้ําน้อยกว่าในที่ราบ

การดูแลรักษาหมากเมื่อปลูกแล้วต้องเอาใจใส่ดูแลรักษาพอสมควร ถ้าปล่อยปละละเลยต้นหมากจะเจริญเติบโตช้า และผลผลิตต่ํา ฉะนั้นจึงควรมีการปฏิบัติดูแลดังนี้การให้น้ําหลังจากปลูกแล้ว ควรรดน้ําให้ชุ่ม และรดน้ําต่อไปอีกประมาณ 1 เดือน โดยรด 2 วันต่อครั้ง ต้นหมากจะเกิดรากใหม่และตั้งตัวได้เมื่อต้นหมากโตแล้วควรดูแลให้น้ําอย่างสม่ําเสมอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งการใส่ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ยหลังจากเก็บเกี่ยวผลหมากหมดแล้ว ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์การกําจัดวัชพืชต้องหมั่นคอยกําจัดวัชพืชรอบ ๆ โคนต้นหมาก และควรพรวนดิน ใส่ปุ๋ย ให้น้ําพร้อมกันไปเลย


ในการปลูกสะตอหรือหมากเป็นพืชแซมเพื่อเสริมรายได้ นอกจากจะมีการดูแลรักษาที่ดีแล้ว ยังจะต้องคํานึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย ได้แก่ ทรงพุ่มของพืชที่ปลูกร่วมกัน เงินทุน ค่าแรงงาน ความสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษาสวน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในการจัดการภายหลังหมากเป็นพืชที่คู่กับคนไทยมานานแล้ว แม้ในปัจจุบันจะไม่นิยมกินหมากกัน แต่หมากยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ทั้งในรูปหมากสดและหมากแห้ง หมากแห้งใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ฟอกเส้นใย และทํายารักษา โรค และผลหมากสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น ใช้สมานแผล แก้ท้องเสีย รักษาโรคเหงือกและฟัน เป็นต้นแหล่งปลูกที่เหมาะสมสภาพภูมิอากาศหมากเจริญได้ดีในเขตที่มีอากาศอบอุ่นและร้อนชื้น ปริมาณน้ําฝน 1,300 - 1,500 มม./ปี มีฝนตกกระจายสม่ําเสมอตลอดปี ไม่น้อยกว่า 50 มม./เดือน อุณหภูมิที่เหมาะสม 25 - 35 องศาเซลเซียส มีแสงแดดมาก อากาศโปร่งควรเป็นที่โล่งแจ้ง ที่ระดับความสูง 200 - 1,500 เมตร จากระดับน้ําทะเลลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวที่มีการระบายน้ําดีน้ําไม่ขัง มีอินทรียวัตถุสูงการเพาะกล้าแปลงเพาะควรเป็นทราย ดินร่วนปนทราย หรือดินผสมขี้เถ้าแกลบ เพื่อไม่ให้น้ําขัง ควรมีการพรางแสง การวางผลหมากควรวางให้นอน หรือขั้วผลอยู่ด้านบน และวางในทิศทางเดียวกันให้เต็มพื้นที่ (ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร สามารถวางได้ 600-700 ผล) จากนั้นจึงกลบด้วยวัสดุเพาะให้มิด รดน้ําให้ชุ่มทุกวันหลังเพาะประมาณ 2 เดือน (เห็นหน่อแทงขึ้นมา) จึงย้ายลงแปลงชําต่อไป


การเก็บเกี่ยวหมากอ่อน เก็บเมื่ออายุประมาณ 1.5 เดือน หลังดอกบาน (200 ผล/1 กก.) ซึ่งมีตลาดเฉพาะ เช่น ไต้หวันหมากสด เก็บเมื่ออายุ3 - 6 เดือน เปลือกผลมีสีเขียว หมากแก่(หมากสง) เก็บเมื่ออายุ7 - 9 เดือนการแปรรูป

หมากซอย นําหมากดิบ หรือหมากสด เฉาะเอาเนื้อแล้วผ่าเป็น 2 ซีก จากนั้นซอยออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ หนาประมาณ 0.3 ซม. แล้วตากแดดให้แห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากซอย 3-5 กก. หมากกลีบส้ม ใช้หมากดิบปอกเอาเนื้อ แล้วผ่าประมาณ 5-7 กลีบ ตากแดดให้แห้งหมากเสี้ยว ใช้หมากดิบผ่าตามยาว 4-5 ชิ้น แล้วนํามาเจียน แกะเอาเนื้อให้ติดเปลือกนอก ตากแดด ให้แห้งหมากแว่น นําหมากสงที่เปลือกมีสีเขียวปนเหลือง เฉาะเปลือกออก แล้วหั่นหรือไสด้วยเครื่องไสหมากให้เป็นแว่น จากนั้นตากแดดให้แห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากแว่น 14-15 กก.หมากผ่าซีก ใช้หมากสุก ผ่าตามยาวเป็น 2 ซีก นําไปตากแดด 1 แดด แล้วแกะเนื้อออกจากเปลือก ตากแดดอีก 4 - 5 แดด จนแห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากแห้ง 15 กก. ส่วนหมากผ่าสี่และหมากแห้งทั้งเมล็ด ตากแดด 1 แดดแล้วแกะเอาแต่เนื้อเหมือนหมากผ่าซีกการเก็บรักษาหมากแห้ง ควรเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น เมื่อเก็บไว้นาน ๆ ควรนําออก ผึ่งแดดเป็นระยะเพื่อไล่ความชื้นที่สะสมอยู่ในภาชนะ



การปลูกหมาก

                           การปลูกหมาก



หมากเป็นไม้ยืนต้นตระกูลปาล์มเช่นเดียวกับมะพร้าว มีลําต้นสูงชะลูด ขนาดของลําต้นและทรงพุ่มจะแตกต่างจากพืชชนิดอื่น ๆ จึงเหมาะที่จะนํามาปลูกเป็นพืชแซม หรือปลูกแบบสวนหลังบ้าน ซึ่งในปัจจุบันนี้ สามารถส่งหมากออกไปจําหน่ายยังตลาดต่างประเทศในรูปของหมากแห้ง เพื่อนําไปใช้ในอุตสาหกรรมได้หลายชนิด เช่น ใช้ในการฟอกหนัง ทํายารักษาโรค ทําสี และส่งออกในรูปหมากดิบเพื่อบริโภค ฉะนั้น หมากจึงเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะจะนํามาปลูกเพื่อเสริมรายได้แก่เกษตรกรพันธุ์

สามารถแบ่งพันธุ์ตามลักษณะของผลออกเป็น 2 ประเภท คือ พันธุ์ผลกลมแห้น และผลกลมรีการขยายพันธุ์การขยายพันธุ์หมากจะมี 2 ขั้นตอน คือการเพาะเมล็ดจากต้นพันธุ์ดีในแหลงเพาะให้งอกเสียก่อนแล้วจึงนําไปชําในแปลงหรือถุงพลาสติกให้เจริญเติบโตจนได้ขนาดพอเหมาะ ใช้เวลาประมาณ 6 - 8 เดือน จึงนําไปปลูกได้การปลูกหมากเป็นพืชแซมการปลูกหมากแซมพืชเกษตรกรรม เช่น ปลูกตามพื้นที่ว่าเปล่า ตามแนวแดน รั่วกําแพง สามารถปลูกหมาก ในระหว่างแถวหรือ แทรกในระหว่างแถวยางก็ได้
การปลูกหมากแซมในสวนยาง สามารถปลูกแซมในระหว่างแถว หรือหลุ่มว่าง ส่วนในสวนยางแบบยกร่องสามารถปลูกหมากริมคันร่องสวน โดยให้ต้นหมากอยู่ห่างจากต้นยางประมาณ 2 - 3 เมตร และห่างจากขอบร่องสวนประมาณ 0.5 เมตร ถ้าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ําควรขุดหลุม ขนาด 50 x 50 x 50 ซม. แต่ดินที่มีความ


อุดมสมบูรณ์สูง ขนาดหลุมเล็กกว่านี้ได้ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก และหินฟอสเฟต คลุกกับดินชั้นบนแล้ว กลบหลุมด้วยดินที่เหลือฤดูปลูกควรเป็นต้นฤดูฝน หลังจากที่มีฝนตกหนัก 1 - 2 ครั้งการปลูกเวลาปลูกควรตั้งต้นกล้าให้ตรง และให้ด้านบนของผลอยู่ระดับผิวดิน กลบดินให้แน่น ปักหลักค้ําต้นเพื่อกัน ต้นโยก รดน้ําให้ชุ่ม ควรทําร่มบังแดด เพื่อลดการคายน้ํา และป้องกันไม่ให้ใบไหม้การให้น้ําในหมากเล็กควรให้น้ํา 2 - 3 ครั้ง/สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นหมากโต ตกผลแล้วควรให้น้ําสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การให้น้ําแต่ละครั้งควรให้ชุ่มทั่วแปลง แต่ถ้าเป็นหมากที่ปลูกโดยการยกร่อง ถ้าระดับน้ําในร่องสวนสูงพอ คือต่ํากว่าสันร่องประมาณ 50 ซม. อาจให้น้ําน้อยกว่าในที่ราบ

การดูแลรักษาหมากเมื่อปลูกแล้วต้องเอาใจใส่ดูแลรักษาพอสมควร ถ้าปล่อยปละละเลยต้นหมากจะเจริญเติบโตช้า และผลผลิตต่ํา ฉะนั้นจึงควรมีการปฏิบัติดูแลดังนี้การให้น้ําหลังจากปลูกแล้ว ควรรดน้ําให้ชุ่ม และรดน้ําต่อไปอีกประมาณ 1 เดือน โดยรด 2 วันต่อครั้ง ต้นหมากจะเกิดรากใหม่และตั้งตัวได้เมื่อต้นหมากโตแล้วควรดูแลให้น้ําอย่างสม่ําเสมอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งการใส่ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ยหลังจากเก็บเกี่ยวผลหมากหมดแล้ว ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์การกําจัดวัชพืชต้องหมั่นคอยกําจัดวัชพืชรอบ ๆ โคนต้นหมาก และควรพรวนดิน ใส่ปุ๋ย ให้น้ําพร้อมกันไปเลย


ในการปลูกสะตอหรือหมากเป็นพืชแซมเพื่อเสริมรายได้ นอกจากจะมีการดูแลรักษาที่ดีแล้ว ยังจะต้องคํานึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย ได้แก่ ทรงพุ่มของพืชที่ปลูกร่วมกัน เงินทุน ค่าแรงงาน ความสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษาสวน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในการจัดการภายหลังหมากเป็นพืชที่คู่กับคนไทยมานานแล้ว แม้ในปัจจุบันจะไม่นิยมกินหมากกัน แต่หมากยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ทั้งในรูปหมากสดและหมากแห้ง หมากแห้งใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ฟอกเส้นใย และทํายารักษา โรค และผลหมากสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น ใช้สมานแผล แก้ท้องเสีย รักษาโรคเหงือกและฟัน เป็นต้นแหล่งปลูกที่เหมาะสมสภาพภูมิอากาศหมากเจริญได้ดีในเขตที่มีอากาศอบอุ่นและร้อนชื้น ปริมาณน้ําฝน 1,300 - 1,500 มม./ปี มีฝนตกกระจายสม่ําเสมอตลอดปี ไม่น้อยกว่า 50 มม./เดือน อุณหภูมิที่เหมาะสม 25 - 35 องศาเซลเซียส มีแสงแดดมาก อากาศโปร่งควรเป็นที่โล่งแจ้ง ที่ระดับความสูง 200 - 1,500 เมตร จากระดับน้ําทะเลลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวที่มีการระบายน้ําดีน้ําไม่ขัง มีอินทรียวัตถุสูงการเพาะกล้าแปลงเพาะควรเป็นทราย ดินร่วนปนทราย หรือดินผสมขี้เถ้าแกลบ เพื่อไม่ให้น้ําขัง ควรมีการพรางแสง การวางผลหมากควรวางให้นอน หรือขั้วผลอยู่ด้านบน และวางในทิศทางเดียวกันให้เต็มพื้นที่ (ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร สามารถวางได้ 600-700 ผล) จากนั้นจึงกลบด้วยวัสดุเพาะให้มิด รดน้ําให้ชุ่มทุกวันหลังเพาะประมาณ 2 เดือน (เห็นหน่อแทงขึ้นมา) จึงย้ายลงแปลงชําต่อไป


การเก็บเกี่ยวหมากอ่อน เก็บเมื่ออายุประมาณ 1.5 เดือน หลังดอกบาน (200 ผล/1 กก.) ซึ่งมีตลาดเฉพาะ เช่น ไต้หวันหมากสด เก็บเมื่ออายุ3 - 6 เดือน เปลือกผลมีสีเขียว หมากแก่(หมากสง) เก็บเมื่ออายุ7 - 9 เดือนการแปรรูป

หมากซอย นําหมากดิบ หรือหมากสด เฉาะเอาเนื้อแล้วผ่าเป็น 2 ซีก จากนั้นซอยออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ หนาประมาณ 0.3 ซม. แล้วตากแดดให้แห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากซอย 3-5 กก. หมากกลีบส้ม ใช้หมากดิบปอกเอาเนื้อ แล้วผ่าประมาณ 5-7 กลีบ ตากแดดให้แห้งหมากเสี้ยว ใช้หมากดิบผ่าตามยาว 4-5 ชิ้น แล้วนํามาเจียน แกะเอาเนื้อให้ติดเปลือกนอก ตากแดด ให้แห้งหมากแว่น นําหมากสงที่เปลือกมีสีเขียวปนเหลือง เฉาะเปลือกออก แล้วหั่นหรือไสด้วยเครื่องไสหมากให้เป็นแว่น จากนั้นตากแดดให้แห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากแว่น 14-15 กก.หมากผ่าซีก ใช้หมากสุก ผ่าตามยาวเป็น 2 ซีก นําไปตากแดด 1 แดด แล้วแกะเนื้อออกจากเปลือก ตากแดดอีก 4 - 5 แดด จนแห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากแห้ง 15 กก. ส่วนหมากผ่าสี่และหมากแห้งทั้งเมล็ด ตากแดด 1 แดดแล้วแกะเอาแต่เนื้อเหมือนหมากผ่าซีกการเก็บรักษาหมากแห้ง ควรเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น เมื่อเก็บไว้นาน ๆ ควรนําออก ผึ่งแดดเป็นระยะเพื่อไล่ความชื้นที่สะสมอยู่ในภาชนะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น