มะละกอ เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามเพราะมะละกอเป็นไม้ผลที่ คนไทยนิยมบริโภคทั้งผลดิบและผลสุก ทั่วทั้งประเทศไม่มีภาคไหนไม่บริโภคมะละกอ  มะละกอใช้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมได้หลายอย่าง เช่น เนื้อมะละกอดิบ สามารถนำไปประกอบอาหาร อย่างเช่นส้มตำที่กินกันทุกครัวเรือน มะละกอแช่อิ่ม ดองเค็ม ผลมะละกอสุกทานเป็นผลไม้ และแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ ซอส ผลไม้กระป๋อง แยม ลูกกวาด เปลือกมะละกอใช้เป็นอาหารสัตว์ สีผสมอาหาร ยางมะละกอใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ ผลิตน้ำปลา อาหารกระป๋อง อุตสาหกรรมเคมีและเครื่องสำอางเป็นต้น


               ปัจจุบันความนิยมของมะละกอมีสูงมากในบ้านเรา มีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจตามความต้องการของตลาดเป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องยอมแพ้ไปไม่ถึงดวงดาวเพราะมะละกอมีโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หาย ขาดได้คือ โรคจุดวงแหวนซึ่งถ้าสวนไหนโรคนี้เข้าแล้วมักจะเสียหายทั้งแปลง ทำให้ผู้ปลูกค่อนข้างเข็ดขยาดกับการปลูกมะละกอ ซึ่งสมัยก่อนจะมีการปลูกมะละกอกันแทบทุกบ้าน แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีคนกล้าปลูกเพราะกลัวโรคนี้กันทั้งนั้น จึงมีการนำเข้าสายพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาปลูกทดแทนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น มะละกอทานสุกเป็นส่วนใหญ่ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์เช่น        
         1 มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์  ลักษณะทั่วไปของมะละกอฮอลแลนด์ลำต้นใหญ่ กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ ดอกออกเป็นช่อ ติดผลดก อายุเก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักประมาณ  2-3กิโลกรัมต่อผล เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ความหวาน 12-14 องศาบริกซ์ ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม ผิวเรียบ เก็บผลผลิตเมื่อลูกเริ่มเป็นแต้มสีส้ม ผลผลิตราว 5-8ตัน ต่อไร่ ราคาตลาดรับซื้อกิโลกรัมละ 10 – 18 บาทต่อกิโลกรัม  ความต้องการของตลาดสูง แต่ปัจจุบันมีผู้หันมาปลูกพันธุ์นี้กันเยอะมาก ทำให้ราคาตลาดค่อนข้างผันผวน
         2 มะละกอพันธุ์เรดเลดี้(red lady) เป็นมะละกอลูกผสมพันธุ์ใหม่ที่เปิดตัวสายพันธุ์มากว่า 3 ปีแล้ว  มะละกอสายพันธุ์นี้มีจุดเด่นคือ ให้ผลผลิตและติดผลเร็ว ลำต้นสูง 80 เซนติเมตรก็สามารถติดดอกออกผลได้เร็ว โดยในแต่ละต้นมีจำนวนผลดกเฉลี่ย 30 ผลต่อต้น ลักษณะผลสั้นจนถึงยาวรี น้ำหนักเฉลี่ย 1,500 – 2000 กรัม ผลที่เกิดจากต้นตัวเมียจะมีลักษณะกลม-สั้น เนื้อสีส้มแดง เนื้อหนาสีส้มแดง กรอบ กลิ่นหอม ความหวาน 13 บริกซ์ เหมาะสำหรับรับประทานสุกหรือดิบ ทนทานต่อการขนส่งได้ดี เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเร็ว ต้านทานโรคใบจุดวงแหวนที่เกิดจากไวรัสได้เป็นอย่างดี  ราคาตลาดรับซื้อกิโลกรัมละ 10-18 บาทต่อกิโลกรัม ความต้องการของตลาดเป็นที่นิยมอีกสายพันธุ์หนึ่ง แต่ราคากล้าค่อนข้างแพงและหายากทำให้มีผ็คนให้ความสำคัญน้อยกว่าพันธุ์ ฮอลแลนด์
          3 มะละกอพันธุ์ขอนแก่น 80 เป็นพันธุมะละกอที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ให้มีความทนทานต่อโรค จุดวงแหวนซึ่งเป็นการผสมข้ามพันธุ์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรขอนแก่น ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ต้นเตี้ยมีความสูงเฉลี่ย 1.32 เมตร ผลแรกเริ่มสุกภายใน 7 เดือน โดยให้ผลผลิต 6,300 กิโลกรัมต่อไร่ ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักเฉลี่ย 770 กรัม ผิวเป็นมัน เปลือกเรียบ เนื้อแน่น สุกช้า ทนทานต่อการขนส่ง เมื่อผลสุกเนื้อมีสีแดงอมส้ม รสชาติหอมหวาน ความหวานเฉลี่ย 13.12 องศาบริกซ์ทั้งยังมีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวนดีด้วย แต่ความต้องการของตลาดภายในประเทศยังมีน้อย แต่ตลาดส่งออกมีการส่งไปขายยังประเทศฮ่องกง ไต้หวันแทนมะละกอฮาวาย อนาคตคาดว่าจะมีศักยภาพที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าเพื่อกินสุก ทั้งภายในประเทศและส่งออก
          มะละกอพันธุ์ปากช่อง 1 พัฒนาสายพันธุ์โดยสถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ลำต้นสีเขียวปนม่วงเล็กน้อย ใบมี 7 แฉกใหญ่ กว้าง 50-60 เซนติเมตร ยาว 45-50 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียวปนม่วงยาว 70-75 เซนติเมตร อายุ 8 เดือน ก็เริ่มเก็บผลได้ มีน้ำหนักผล 350-500 กรัม เนื้อสีส้มหนา 1.8 เซนติเมตร เมื่อสุกเนื้อไม่เละและมีรสหวาน กลิ่นหอม เปอร์เซ็นต์ความหวาน 12-14 องศาบริกซ์ ในระยะเวลา 18 เดือน จะให้ผลผลิตต้นละ 30-40 กิโลกรัม ค่อนข้างทนต่อโรคใบด่าง การตลาดยังไม่ค่อยแพร่หลาย แต่ความต้องการของตลาดต่างประเทศสูง
           มะละกอพันธุ์แขกดำ  เป็นพันธุที่ได้รับความนิยมในอดีต แต่เนื่องจากอ่อนแอต่อโรคจุดวงแหวน ได้ถูกการพัฒนาไปผสมข้ามพันธุ์กับต่างประเทศจนเกิดเป็นพันธุ์แขกดำท่าพระ เป็นมะละกอ GMO ทำให้เกิดปัญหาขึ้นทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนในข้อมูลทำให้การบริโภค พันธุ์นี้มีน้อยลง เนื้อสุกสีแดงส้มแต่เนื้อเละ มีกลิ่นค่อนข้างรุนแรงทำให้ในปัจจุบันไม่ค่อยมีผู้ปลูกสักเท่าไร
          จากสถานการณ์ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่หันมาปลูกมะละกอทานสุกกันเป็นจำนวน มาก เป็นเหตุให้มะละกอดิบขาดตลาด ซึ่งการบริโภคมะละกอดิบนั้นมีทุกวัน ทุกครัวเรือน เพราะถือว่าเป็นอาหารประจำชาติ จนทุกวันนี้ราคาขายของมะละกอดิบที่ชาวบ้านต้องซื้อกันถึง กิโลกรัมละ 15 บาท ยังหาไม่ค่อยจะ ดังนั้น สถาบันพัฒนาศักยภาพเกษตรกร จึงได้ทำการวิจัยและหาข้อมูลเพื่อหาพืชเศรษฐกิจที่จะทำให้เกษตรกรผู้ปลูก สามารถลืมตาอ้าปากได้จึงส่งเสริมการปลูกมะละกอทานดิบ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน ความต้องการของตลาดค่อนข้างสูง จึงอยากจะแนะนำมะละกอทานดิบให้แก่สมาชิกได้พิจารณาดังนี้
           1.มะละกอพันธุ์ครั่ง  เป็นมะละกอไทยเพื่อทำส้มตำโดยเฉพาะเป็นสายพันธุ์มะละกอที่ศูนย์และพัฒนา อาชีพการเกษตร จังหวัดมหาสารคามสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่4 จังหวัดขอนแก่น กรมส่งเสริมการเกษตร ได้พัฒนาสายพันธุ์เพื่อการผลิตเป็นมะละกอดิบใช้ทำสำหรับส้มตำโดยเฉพาะ ด้วยลักษณะเด่นตรงที่เป็นมะละกอที่ให้ผลผลิตสูงหลังจากย้ายต้นกล้าลงปลูกใน แปลงใช้เวลาปลูกเพียง 5-6 เดือน เริ่มเก็บเกี่ยวผลดิบจำหน่ายเป็นมะละกอส้มตำได้ เนิองของมะละกอพันธุ์ครั่งจะมีความกรอบและรสชาติหวาน เมื่อเก็บผลดิบลงมาจากต้นจะคงสภาพในอุณหภูมิปกติโดยไม่เหี่ยว ปัจจุบันมีความต้องการในตลาดสูงแต่จากการสังเกตุลักษณะของการออกดอกและติดผล ของมะละกอสายพันธุ์นี้คือในช่วงเดือนที่ 9  หลังปลูกลงดินผลผลิตจะหมดในรุ่นแรกหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหมดคอแรก ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวทำให้ไม่สามารถให้ผลผลิตได้ต่อเนื่อง
            2.มะละกอพันธุ์แขกนวล ดำเนิน เป็นมะละกอที่ในวงการส้มตำถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่ทำส้มตำได้อร่อยที่สุด เนื่องจากมีความกรอบและหวานกว่ามะละกอที่ทำส้มตำทุกพันธุ์ ทำให้ราคาในตลาดสำหรับมะละกอพันธุ์นี้พุ่งไปถึงกิโลกรัมละ 15-18 บาทในปัจจุบัน ราคาที่พ่อค้าเข้าไปซื้อถึงสวน ณ ปัจจุบันให้ราคาถึงกิโลกรัมละ 5 บาทสำหรับมะละกอดิบแล้วถือว่าเป็นราคาที่สูงมาก ซึ่งลักษณะเด่นของมะละกอแขกนวล ดำเนิน นั้นเป็นมะละกอทานดิบหรือมะละกอส้มตำให้ผลผลิตในรุ่นแรกที่อายุ 5 เดือนขึ้นไป ซึ่งผลผลิตที่ได้ในเบื้องต้นประมาณต้นละ 20-30กิโลกรัมต่อต้นต่อเดือนโดยจะเก็บเกี่ยวผลผลิตเดือนละ 2-3 ครั้ง และสามารถให้ผลผลิตต่อเนื่องถ้าการดูแลการจัดการเรื่องธาตุอาหารดีจะไม่ทำ ให้เกิดอาการขาดคอรวงสามารถให้ผลผลิตต่อเนื่องถึง 2 ปี นับว่าเป็นมะละกอที่จัดได้ว่าเป็นที่พืชเศรฐกิจที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก คุ้มค่าต่อการลงทุน อีกทั้งตลาดยังมีความต้องการสูง เฉลี่ยต่อต้นแล้วผลผลิตที่ได้เท่ากับต้นละ200-300กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ถ้า 1 ไร่ปลูกระยะห่าง 2x2 เมตร 1ไร่ปลูก 400 ต้นจะได้ผลผลิตเฉลี่ย8-10ตันต่อไร่ต่อปี ถ้าราคาตลาดรับซื้อที่กิโลกรัมละ 4 บาท จะได้รายได้โดยประมาณ320,000-400,000 บาทต่อไร่ ซึ่งการเก็บมะละกอพันธุ์นี้ จะเก็บตอนน้ำหนักประมาณ 1.2-1.5 กิโลกรัมซึ่งถือว่าเป็นมะละกอที่ยังอ่อนมากทำให้การเข้าทำลายของโรคจุดวง แหวนน้อยลง จึงถือว่าเป็นมะละกอที่เกษตรกรน่าจะหันมาทดลองปลูกดู ซึ่งการปลูกสามารถทำได้ดังนี้
   การปลูกและดูแลรักษามะละกอพันธุ์แขกนวล ดำเนิน
การปลูกมะละกอแขกนวล ดำเนิน นิยมปลูกโดยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าลงแปลงปลูกเมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 1 เดือน
วิธีการเพาะเมล็ด
-         นำเมล็ดมะละกอแช่น้ำอุ่น 60 องศา แล้วแช่ต่อด้วย โปรพลัส No.1 ทิ้งไว้ 1 คืน สังเกตดูเมล็ดจะบวม พอง
-         นำเมล็ดมะละกอมาเพาะในถุงดินที่เตรียมไว้โดยใช้ถุงดำขนาด 5x8 นิ้ว ใส่วัสดุปลูกประกอบด้วยดิน 1 ส่วน ปุ๋ยชีวภาพ 1  ส่วน และ แกลบดำ 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน  โดยใส่เมล็ดมะละกอที่แช่แล้วถุงละ 3 เมล็ด
-         รดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ7-10 วันเมล็ดก็จะเริ่มงอก
-         ทำการรดน้ำพอชุ่มวันละครั้ง
-         เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าแล้ว ให้พ่น โปรพลัส No.1  หลังจากงอกได้ 7วัน
-         ฉีด โปร-ฟอส ทุกๆ 7 วันจนถึงย้ายกล้า
ขั้นตอนการเตรียมดินและปลูกมะละกอพันธุ์แขกนวล ดำเนิน
-         ทำการเตรียมพื้นที่ โดยการไถด้วยผาน 3  แล้วฉีดกระตุ้นการแตกของเมล็ดหญ้าด้วยน้ำหมักชีวภาพแล้วหว่านด้วยแกลบขี้ไก่ ประมาณ 400-600กิโลกรัมต่อไร่ และหว่านตามด้วยปูนโดโลไมท์ 100-200 กิโลกรัมต่อไร่  ธาตูโบรอน ในรูปของสารบอแรกซ์ อัตร 2-3 กิโลกรัม ต่อไร่ หว่านวัสดุปรับปรุงดินให้ทั่วแล้วฉีดด้วยน้ำหมักชีวภาพ แล้วไถกลบ ทิ้งไว้ประมาณ5-7 วันจะมีเมล็ดหญ้าแตกขึ้นมา ก็ทำการไถพรวนด้วยผาน 7 อีกครั้งหนึ่ง
-         มะละกอพันธุ์นี้ชอบดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุมาก ไม่ชอบน้ำขัง และควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอไม่ทนดินเกลือไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง   มะละกอพันธืนี้จะเจริญเติบโตได้ดี ถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่  มะละกอมีก้านใบยาวและกลุ่ใบจะมีมากที่ยอด จึงไม่ควรปลูกมะละกอให้ชิดกันเกินไป จะทำให้ไม่สะดวกในการป้องกันกำจัดศัตรูของมะละกอ
-         ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 2.5x2.5 เมตร หรือ 3x3 เมตรแหล่งปลูกมะละกอควรอยู่ใกล้เมืองหรือมีทางคมนาคมสะดวก เนื่องจากผลผลิตที่ได้ค่อนข้างมีปริมาณมากจะทำให้การขนส่งได้สะดวก
-         หลังจากไถด้วยผาน 7 แล้วควรฉีดพื้นให้ทั่วด้วยเชื้อราไตรโครเดอร์มา เพื่อป้องกันเชื้อที่อยู่ในดิน
การเตรียมแปลงปลูก
-         วัดระยะแปลงปลูกตามความต้องการ ควรปักหลักเล็ก ๆ ห่างจากหลักหลุมปลูก อีก2 หลัก โดยปักให้ห่างข้างละ 50 เซนติเมตร
-         ขุดหลุมปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ขอบหลุมห่างจากหลักกลางประมาณ 25 เซนติเมตร และขุดลึก 50 เซนติเมตร เอาดินขึ้นไว้บนปากหลุมอย่าให้โดนหลักเล็กทั้ง 2 ซึ่งจะเป็นหลักบังคับระยะปลูก
-         ใส่ปุ๋ยคอกเก่า ๆ หรือปุ๋ยชีวภาพ ประมาณ 1 พลั่วหรือครึ่งบุ้งกี๋ลงบนดินที่ขุดขึ้นมา ใส่แร่เทคโตมิคหลุมละ1 กำมือ  ใส่ ร๊อคฟอตเฟตลงไปอีก 100 กรัม คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี แล้วใช้จอบกลบดินลงหลุมให้เสมอปากหลุม
-         ก่อนปลูก หาไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 เมตร ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่ง 0.50 เมตรและ 1  เมตรเป็นเครื่องหมายต้นปลูก เพื่อให้แถวปลูกตรงกันทุกต้น

วิธีการปลูก
-         ให้นำต้นกล้าเรียงกระจายไว้ตามหลุมต่าง ๆ หลุมละหนึ่งถุง หลังจากนั้นกรีดถุงพลาสติกออก เอาต้นกล้าวางให้ตรงตำแหน่งระยะปลูกกลางหลุม กลบดินให้แน่น โดยเฉพาะรอบ ๆ โคนต้นเพื่อให้รากจับดินใหม่ได้เร็ว ต้นจะตรงกันทุกแถวแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
-         เมื่อย้ายลงหลุมแล้ว 1 วันให้ฉีด pro-1 เบอร์1และเบอร์2 สเปรย์บาง ๆ  หลังจากนั้นให้ฉีดคลุมแมลงด้วย บีเอ็ม โปร เพื่อกำจัดไข่และตัวอ่อนและไส้เดือนฝอยรากปมไว้ก่อน

การให้ปุ๋ย
-         หลังจากปลูกมะละกอได้ประมาณ 1 เดือน แล้วเพื่อให้มะละกอเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องควรให้ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 อัตรา 5 กิโลกรัมผสมกับปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 5 กิโลกรัม คลุกด้วยแร่เทคโตมิค 1 กิโลกรัม แล้วหว่านรอบต้น ต้นละ  50 กรัมต่อต้น  ทุกๆ 15 วันต่อหนึ่งครั้ง
-         ในช่วงเดือนแรก จำเป็นที่จะต้องฉีด บี เอ็ม โปร  เพื่อกำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาวซึ่งเป็นพาหะนำพาโรคจุดวงแหวนไว้ทุก ๆ 7-15 วัน  สลับด้วยเมจิค-โปรกับมิราเคิล-โปร ทุก ๆ 15 วัน
-         ในเดือนที่ 2 ให้เปลี่ยนสูตรปุ๋ย เป็นสูตร 46-0-0 อัตรา 3 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยสูตร15-15-15 อัตรา 7 กิโลกรัมคลุกด้วยแร่เทคโตมิค 1 กิโลกรัม หว่านรอบต้น ต้นละ 50 กรัมต่อต้น
-         ทางใบให้ฉีดโปร-ฟอส อัตรา 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตรทุก ๆ 7 วัน  เดือนที่  2 ฉีด โปรพลัส No.1 อีก หนึ่งครั้ง สังเกตดูการเจริญเติบโต
-         ในเดือนที่ 3  จะเริ่มติดดอก ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 18 กิโลกรัม ผสมกับ 0-0-60 อัตรา 2 กิโลกรัม คลุกด้วยแร่เทคโตมิค 2 กิโลกรัม  หว่านให้ทั่ว ๆ
-         ทางใบ ให้ฉีดทำดอกด้วยปุ๋ย สูตร 0-52-34 อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรผสมด้วยเมจิค-โปร อัตรา 20 ซี ซีต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดทุก 7-15 วัน จะทำให้มีดอกอย่างต่อเนื่อง ตลอดให้ฉีดสูตรนี้ทุกเดือนจะทำให้มะละกอมีดอกตลอดไม่ขาดคอรวง และฉีดโปร-1 เดือนละครั้งในทุกเดือน ผลมะละกอจะขยายอย่างต่อเนื่อง
-          ในเดือนที่ 4 จะเริ่มติดผลเล็ก ช่วงนี้อย่าให้ขาดน้ำ และใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21  อัตรา 20 กิโลกรัมคลุกด้วยแร่โปร-ฟอส อัตรา 2 กิโลกรัม หว่านต้นละ 200 กรัมต่อต้น ทุก ๆ 15 วันไปตลอด โดยสังเกตถึงสีของใบเป็นหลัก ถ้ารู้สึกว่าใบเหลือง ให้ผสม ปุ๋ย 46-0-0  อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมด้วย เมจิค-โปรอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
-         ทางใบให้ฉีด บี เอ็ม โปร เพื่อป้องกันแมลงและแมลงหวี่ขาว ฉีดสลับกับเบส ชอยส์-โปรเพื่อป้องกันโรคเกี่ยวกับเชื้อราต่าง ๆ ไว้ เพราะช่วงนี้เมื่อติดลูกจะเริ่มมีเชื้อราเริ่มเข้าทำลาย
  การกำจัดวัชพืช
-         ในระยะที่ปลูกมะละกอใหม่ ๆ เกษตรกรสามารถปลูกพืชแซมร่วมกับมะละกอในช่องว่างระหว่างแถว ระหว่างต้น เมื่อมีวัชพืชขึ้น การดายหญ้าพืชแซมควรดายหญ้ามะละกอไปด้วย แต่การดายหญ้าด้วยจอบควรระวังคมจอบสับต้นหรือรากมะละกอ จะทำให้ต้นมะละกอชะงักการเจริญเติบโต หรือทำให้เกิดโรครากเน่าได้ ทางที่ดีควรใช้เศษหญ้าแห้งหรือฟางข้าวคลุมโคนให้หนา ๆ จะทำให้ไม่มีเมล็ดหญ้างอกใหม่ การปลูกมะละกอนั้นไม่ควรใช่ยากำจัดวัชพืชโดยเด็ดขาด เพราะมะละกอนั้นอ่อนไหวต่อยากำจัดวัชพืชมาก
-          การกำจัดวัชพืชนั้น สามารถใช้ปุ๋ย ยูเรีย ปริมาณ 4 กิโลกรัมผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดวัชพืชในเวลากลางวัน แต่ต้องใส่หัวครอบไม่ให้ฟุ้งกระจายไปโดนใบมะละกอโดยเด็ดขาดจะทำให้ใบไหม้ได้ เมื่อฉีดไปแล้วให้หว่านแร่เทคโตมิคตามลงไปเพื่อจับปุ๋ยกลับมาให้มะละกอได้ กินใหม่ ไม่เสียเปล่า
การออกดอกติดผล
-         มะละกอเป็นพืชที่มีดอก 3 ชนิดอยู่คนละต้น คือ
-         ต้นตัวผู้ จะมีดอกตัวผู้ล้วนเป็นจำนวนมากอยู่บนก้านช่อยาวที่แตกแขนง ถ้าพบควรตัดทิ้งไปเพราะไม่ให้ผลผลิต หรือให้ผลได้ก็ไม่สามารถจำหน่ายได้คุ้มค่าเท่าต้นตัวเมีย
-         ต้นตัวเมีย จะมีแต่ดอกเพศเมียเท่านั้น ดอกจะออกมาจากส่วนมุมด้านใบติดลำต้น เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ รังไข่มีรูปร่างป้อม ให้ผลค่อนข้างกลม ช่องว่างในผลมีมากจึงไม่ค่อยนิยมเช่นกัน
-         ต้นสมบูรณ์เพศ หรือต้นกระเทย จะมีช่อดอกติดกันเป็นกลุ่ม ต้นสมบูรณ์เพศจะมีดอกสมบูรณ์เพศและดอกตัวผู้อยู่ในช่อดอกเดียวกัน และดอกสมบูรณ์เพศจะมี 3 ชนิดตามตำแหน่งของเกสรตัวผู้ ดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดาทำให้ผลมีรูปร่างทรงกระบอกสวย เป็นที่นิยมของตลาด ผลที่เกิดจากดอกสมบูรณ์เพศที่ดอกตัวผู้ติดอยู่กับรังไข่ทำให้ผลบิดเบี้ยวและ ดอกสมบูรณ์เพศที่ทำให้ผลเป็นพลูลึก ผลจากดอกสมบูรณ์เพศสองชนิดหลังนี้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ดังนั้นเกษตรกรผู้ปลูก ต้องหมั่นคอยตรวจดูและปลิดออกตั้งแต่ผลยังเล็ก ๆ นอกจากนั้นแม้ว่ามีดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา แต่ถ้าช่อดอกแตกแขนงและติดผลดก ผลจะเบียดกันมาก ทำให้ผลเล็กได้ จึงขอแนะนำให้เด็ดผลที่อยู่ที่แขนงบข้างออก ให้เอาไว้แต่ผลที่ปลาย ช่อดอกจึงจะได้ผลใหญ่สม่ำเสมอกันทั้งต้น ถ้าทำทั้งสวนจะทำให้มีขนาดผลเกินมาตรฐาน จะสามารถขายง่ายและป้องกันการโค่นล้มได้อีกด้วย
-         ดังนั้นเมื่อมะละกอที่ปลูกเมื่อมีดอกแล้วจึงจำเป็นต้องคัดให้เหลือต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศเท่านั้น
โรคและแมลงของมะละกอ
-         ไรแดง มีลักษณะคล้ายแมงมุม มี 6 ขา ตัวเล็กมาก จะมีใยคล้าย ๆ แมงมุมอยู่บริเวณยอด หรือเข้าทำลายโดยดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของมะละกอ เช่น ใบ ผล ดอก หรือส่วนอ่อน ๆ ของพืช มักจะระบาดในช่วงที่มีอากาศร้อน และแห้ง ถ้าพบระบาดมากสามารถใช้สารเคมีประเภท ไดฟอน  โพพาไกด์  พอสซ์  ไดโนทีฟูเรน โดยใช้ตามคำแนะนำที่ติดอยู่บนฉลากยา หรือป้องกันด้วยการฉีด บี เอ็ม โปร ป้องกันกำจัดไข่และตัวอ่อนไว้ก่อน ก็จะไม่พบการระบาด
-         เพลี้ยไฟ เป็นศัตรูที่สำคัญของมะละกออีกชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะการทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของพืชเป็นพาหะของเชื้อไวรัส มักระบาดช่วงฤดูร้อน การป้องกันทำได้โดยการฉีดบี เอ็ม โปร สลับกับการฉีดสารเคมีกำจัดซึ่งต้องเปลี่ยนสารอยู่เสมอ ไม่ควรฉีดชนิดใดชนิดหนึ่ง ยาที่ใช้ได้ผลคือ ไดเมทโธเอท คาร์โบซัลแฟน โปรวาโด  อิมิดาคลอพริด แอสเซนด์
-          เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะการทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนอ่อนของต้นมะละกอ เช่น ใบอ่อน ยอดอ่อน ดอกหรือส่วนอ่อนของลำต้น ที่สำคัญเพลี้ยอ่อนยังเป็นพาหะก่อให้เกิดโรคใบด่าง ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงของมะละกอด้วย การป้องกันควรฉีด คลอไพริฟอสผสมกับปิโตเลียม ออยย์ หรือฉีด บี เอ็ม โปร ป้องกันไว้ตลอด
-         แมลงหวี่ขาว  เป็นพาหะสำคัญอีกตัวหนึ่ง มักจะดูดน้ำเลี้ยงและปากเป็นพาหะให้เกิดโรคไวรัสวงแหวนได้ มักจะพบเวลาช่วงเช้าหรือเย็นเมื่อเดินแล้วพบการบินของแมลงปีกขาว ๆ เล้ก ๆ แสดงว่าพบการระบาดแล้ว เมื่อพบการระบาดควรพ่นกำจัดด้วย พอสซ์  สตาร์เกิล  หรือพ่นสลับด้วย บี เอ็ม โปร ให้ฉีดให้ทั่วทั้งบริเวณหญ้าด้วย
-          เพลี้ยแป้ง  มักจะพบระบาดในช่วงฤดูแล้ง เกาะดูดน้ำเลี้ยงใต้ใบ ใบจะหงิก หด จะเข้าเกาะกินบริเวณตาทำให้ลำต้นบิดเบี้ยว ถ้ากินผล ผลจะบิดเบี้ยว  ถ้าระบาดมากทำให้ต้นมะละกอตายได้ การกำจัด ใช้เคมี แอสเซนด์ผสมด้วยไวท์ออยย์ หรือ คลอไพริฟอสผสมด้วยไวท์ออยย์ หรือฉีดสลับกับ บี เอ็ม โปร
-         โรคของมะละกอที่น่ากลัวมีดังนี้
-         โรคใบด่างจุดวงแหวน เกิดจากเชื้อ Papaya ringspot virus เชื้อเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของมะละกอ เข้าต้น จะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวเสียรูป ใบจะหงิกงอเรียวเล็กเหมือนหางเรือใบ จะเหลือแต่เส้นใบดูเหมือนเส้นด้าย และต้นกล้าอาจตายได้หรือไม่เจริญเติบโตในต้นที่โตแล้วใบบิดเบี้ยว หงิกงอ ยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรค และจะสังเกตเห็นลักษณะจุดหรือทางยาวสีตามก้านใบ ลำต้น การติดผลจะไม่ดีหรือไม่ติดเลย  ถ้าเข้าผลมะละกออาจบิดเบี้ยว มีจุดลักษณะเป็นวงแหวน ทั่วทั้งผล แผลมีลักษณะคล้ายสะเก็ด โรคนี้สามารถแพร่ระบาดไปได้โดยมีเพลี้ยอ่อนหลายชนิดเป็นพาหะ โดยเพลี้ยอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรคเชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปาก แมลง ๆย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่ไม่เป็นโรค ก็จะถ่ายเชื้อไวรัส การถ่ายทอดโรคนี้ใช้เวลาสั้นมาก ภายหลังจากมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะแสดงอาการของโรค การป้องกันและกำจัด ต้องใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาฉีดที่แปลงปลูกก่อนที่จะปลูกมะละกอ และฉีดป้องกันด้วยเบส ชอยส์-โปร อยู่เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของไวรัส และต้องคอยหมั่นตรวจดูอย่าให้พบเพลี้ยอ่อน ถ้าพบระบาดต้องรีบกำจัด  ถ้าเป็นมากต้องถอนทิ้งและเผาทำลาย  ถ้าเริ่มแสดงอาการบางต้นให้พ่นสารเคมีประเภทโพลคลอราช+พิโคลนาโซน+สารโปร-พลัส No.1 จึงจะฟื้นตัวได้
-         โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gioeosporeioides ลักษณะอาการของโรค ใบ จะเป็นจุดขอบแผลสีน้ำตาล เนื้อเยื่อส่วนกลางจะมีสีซีดจาง และมักจะขาดเป็นรูทะลุในเวลาต่อมา มักพบจุดดำเล็ก ๆ กระจายทั่วบริเวณแผล ซึ่งคือส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา ผล เห็นได้ชัดเมื่อเกิดกับผลสุก จะเกิดลักษณะแผลกลมฉ่ำน้ำ และยุบลงในแผล ตรงกลางจุดจะมีสปอร์ของเชื้อสีส้มหรือสีชมพูเป็นวงชั้น        ๆ บริเวณแผลและแผลจะลุกลามขยายตัวไปทั่ว ทำให้ผลมะละกอเน่าเสียในเวลารวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพอากาศอบอ้าว  การป้องกัน ควรฉีดสารเคมีตระกูล ดาโคนิล หรือแอนทราโคล หรือโปรคลอราช+คาร์เบนดาซิมถ้าป้องกันใช้เบส ชอยส์-โปร ฉีดตั้งแต่เริ่มติดผลจะทำให้ไม่เกิดอาการของโรคได้

เทคนิคการปลูกมะละกอ

มะละกอ เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามเพราะมะละกอเป็นไม้ผลที่ คนไทยนิยมบริโภคทั้งผลดิบและผลสุก ทั่วทั้งประเทศไม่มีภาคไหนไม่บริโภคมะละกอ  มะละกอใช้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมได้หลายอย่าง เช่น เนื้อมะละกอดิบ สามารถนำไปประกอบอาหาร อย่างเช่นส้มตำที่กินกันทุกครัวเรือน มะละกอแช่อิ่ม ดองเค็ม ผลมะละกอสุกทานเป็นผลไม้ และแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ ซอส ผลไม้กระป๋อง แยม ลูกกวาด เปลือกมะละกอใช้เป็นอาหารสัตว์ สีผสมอาหาร ยางมะละกอใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ ผลิตน้ำปลา อาหารกระป๋อง อุตสาหกรรมเคมีและเครื่องสำอางเป็นต้น


               ปัจจุบันความนิยมของมะละกอมีสูงมากในบ้านเรา มีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจตามความต้องการของตลาดเป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องยอมแพ้ไปไม่ถึงดวงดาวเพราะมะละกอมีโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หาย ขาดได้คือ โรคจุดวงแหวนซึ่งถ้าสวนไหนโรคนี้เข้าแล้วมักจะเสียหายทั้งแปลง ทำให้ผู้ปลูกค่อนข้างเข็ดขยาดกับการปลูกมะละกอ ซึ่งสมัยก่อนจะมีการปลูกมะละกอกันแทบทุกบ้าน แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีคนกล้าปลูกเพราะกลัวโรคนี้กันทั้งนั้น จึงมีการนำเข้าสายพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาปลูกทดแทนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น มะละกอทานสุกเป็นส่วนใหญ่ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์เช่น        
         1 มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์  ลักษณะทั่วไปของมะละกอฮอลแลนด์ลำต้นใหญ่ กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ ดอกออกเป็นช่อ ติดผลดก อายุเก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักประมาณ  2-3กิโลกรัมต่อผล เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ความหวาน 12-14 องศาบริกซ์ ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม ผิวเรียบ เก็บผลผลิตเมื่อลูกเริ่มเป็นแต้มสีส้ม ผลผลิตราว 5-8ตัน ต่อไร่ ราคาตลาดรับซื้อกิโลกรัมละ 10 – 18 บาทต่อกิโลกรัม  ความต้องการของตลาดสูง แต่ปัจจุบันมีผู้หันมาปลูกพันธุ์นี้กันเยอะมาก ทำให้ราคาตลาดค่อนข้างผันผวน
         2 มะละกอพันธุ์เรดเลดี้(red lady) เป็นมะละกอลูกผสมพันธุ์ใหม่ที่เปิดตัวสายพันธุ์มากว่า 3 ปีแล้ว  มะละกอสายพันธุ์นี้มีจุดเด่นคือ ให้ผลผลิตและติดผลเร็ว ลำต้นสูง 80 เซนติเมตรก็สามารถติดดอกออกผลได้เร็ว โดยในแต่ละต้นมีจำนวนผลดกเฉลี่ย 30 ผลต่อต้น ลักษณะผลสั้นจนถึงยาวรี น้ำหนักเฉลี่ย 1,500 – 2000 กรัม ผลที่เกิดจากต้นตัวเมียจะมีลักษณะกลม-สั้น เนื้อสีส้มแดง เนื้อหนาสีส้มแดง กรอบ กลิ่นหอม ความหวาน 13 บริกซ์ เหมาะสำหรับรับประทานสุกหรือดิบ ทนทานต่อการขนส่งได้ดี เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเร็ว ต้านทานโรคใบจุดวงแหวนที่เกิดจากไวรัสได้เป็นอย่างดี  ราคาตลาดรับซื้อกิโลกรัมละ 10-18 บาทต่อกิโลกรัม ความต้องการของตลาดเป็นที่นิยมอีกสายพันธุ์หนึ่ง แต่ราคากล้าค่อนข้างแพงและหายากทำให้มีผ็คนให้ความสำคัญน้อยกว่าพันธุ์ ฮอลแลนด์
          3 มะละกอพันธุ์ขอนแก่น 80 เป็นพันธุมะละกอที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ให้มีความทนทานต่อโรค จุดวงแหวนซึ่งเป็นการผสมข้ามพันธุ์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรขอนแก่น ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ต้นเตี้ยมีความสูงเฉลี่ย 1.32 เมตร ผลแรกเริ่มสุกภายใน 7 เดือน โดยให้ผลผลิต 6,300 กิโลกรัมต่อไร่ ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักเฉลี่ย 770 กรัม ผิวเป็นมัน เปลือกเรียบ เนื้อแน่น สุกช้า ทนทานต่อการขนส่ง เมื่อผลสุกเนื้อมีสีแดงอมส้ม รสชาติหอมหวาน ความหวานเฉลี่ย 13.12 องศาบริกซ์ทั้งยังมีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวนดีด้วย แต่ความต้องการของตลาดภายในประเทศยังมีน้อย แต่ตลาดส่งออกมีการส่งไปขายยังประเทศฮ่องกง ไต้หวันแทนมะละกอฮาวาย อนาคตคาดว่าจะมีศักยภาพที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าเพื่อกินสุก ทั้งภายในประเทศและส่งออก
          มะละกอพันธุ์ปากช่อง 1 พัฒนาสายพันธุ์โดยสถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ลำต้นสีเขียวปนม่วงเล็กน้อย ใบมี 7 แฉกใหญ่ กว้าง 50-60 เซนติเมตร ยาว 45-50 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียวปนม่วงยาว 70-75 เซนติเมตร อายุ 8 เดือน ก็เริ่มเก็บผลได้ มีน้ำหนักผล 350-500 กรัม เนื้อสีส้มหนา 1.8 เซนติเมตร เมื่อสุกเนื้อไม่เละและมีรสหวาน กลิ่นหอม เปอร์เซ็นต์ความหวาน 12-14 องศาบริกซ์ ในระยะเวลา 18 เดือน จะให้ผลผลิตต้นละ 30-40 กิโลกรัม ค่อนข้างทนต่อโรคใบด่าง การตลาดยังไม่ค่อยแพร่หลาย แต่ความต้องการของตลาดต่างประเทศสูง
           มะละกอพันธุ์แขกดำ  เป็นพันธุที่ได้รับความนิยมในอดีต แต่เนื่องจากอ่อนแอต่อโรคจุดวงแหวน ได้ถูกการพัฒนาไปผสมข้ามพันธุ์กับต่างประเทศจนเกิดเป็นพันธุ์แขกดำท่าพระ เป็นมะละกอ GMO ทำให้เกิดปัญหาขึ้นทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนในข้อมูลทำให้การบริโภค พันธุ์นี้มีน้อยลง เนื้อสุกสีแดงส้มแต่เนื้อเละ มีกลิ่นค่อนข้างรุนแรงทำให้ในปัจจุบันไม่ค่อยมีผู้ปลูกสักเท่าไร
          จากสถานการณ์ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่หันมาปลูกมะละกอทานสุกกันเป็นจำนวน มาก เป็นเหตุให้มะละกอดิบขาดตลาด ซึ่งการบริโภคมะละกอดิบนั้นมีทุกวัน ทุกครัวเรือน เพราะถือว่าเป็นอาหารประจำชาติ จนทุกวันนี้ราคาขายของมะละกอดิบที่ชาวบ้านต้องซื้อกันถึง กิโลกรัมละ 15 บาท ยังหาไม่ค่อยจะ ดังนั้น สถาบันพัฒนาศักยภาพเกษตรกร จึงได้ทำการวิจัยและหาข้อมูลเพื่อหาพืชเศรษฐกิจที่จะทำให้เกษตรกรผู้ปลูก สามารถลืมตาอ้าปากได้จึงส่งเสริมการปลูกมะละกอทานดิบ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน ความต้องการของตลาดค่อนข้างสูง จึงอยากจะแนะนำมะละกอทานดิบให้แก่สมาชิกได้พิจารณาดังนี้
           1.มะละกอพันธุ์ครั่ง  เป็นมะละกอไทยเพื่อทำส้มตำโดยเฉพาะเป็นสายพันธุ์มะละกอที่ศูนย์และพัฒนา อาชีพการเกษตร จังหวัดมหาสารคามสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่4 จังหวัดขอนแก่น กรมส่งเสริมการเกษตร ได้พัฒนาสายพันธุ์เพื่อการผลิตเป็นมะละกอดิบใช้ทำสำหรับส้มตำโดยเฉพาะ ด้วยลักษณะเด่นตรงที่เป็นมะละกอที่ให้ผลผลิตสูงหลังจากย้ายต้นกล้าลงปลูกใน แปลงใช้เวลาปลูกเพียง 5-6 เดือน เริ่มเก็บเกี่ยวผลดิบจำหน่ายเป็นมะละกอส้มตำได้ เนิองของมะละกอพันธุ์ครั่งจะมีความกรอบและรสชาติหวาน เมื่อเก็บผลดิบลงมาจากต้นจะคงสภาพในอุณหภูมิปกติโดยไม่เหี่ยว ปัจจุบันมีความต้องการในตลาดสูงแต่จากการสังเกตุลักษณะของการออกดอกและติดผล ของมะละกอสายพันธุ์นี้คือในช่วงเดือนที่ 9  หลังปลูกลงดินผลผลิตจะหมดในรุ่นแรกหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหมดคอแรก ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวทำให้ไม่สามารถให้ผลผลิตได้ต่อเนื่อง
            2.มะละกอพันธุ์แขกนวล ดำเนิน เป็นมะละกอที่ในวงการส้มตำถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่ทำส้มตำได้อร่อยที่สุด เนื่องจากมีความกรอบและหวานกว่ามะละกอที่ทำส้มตำทุกพันธุ์ ทำให้ราคาในตลาดสำหรับมะละกอพันธุ์นี้พุ่งไปถึงกิโลกรัมละ 15-18 บาทในปัจจุบัน ราคาที่พ่อค้าเข้าไปซื้อถึงสวน ณ ปัจจุบันให้ราคาถึงกิโลกรัมละ 5 บาทสำหรับมะละกอดิบแล้วถือว่าเป็นราคาที่สูงมาก ซึ่งลักษณะเด่นของมะละกอแขกนวล ดำเนิน นั้นเป็นมะละกอทานดิบหรือมะละกอส้มตำให้ผลผลิตในรุ่นแรกที่อายุ 5 เดือนขึ้นไป ซึ่งผลผลิตที่ได้ในเบื้องต้นประมาณต้นละ 20-30กิโลกรัมต่อต้นต่อเดือนโดยจะเก็บเกี่ยวผลผลิตเดือนละ 2-3 ครั้ง และสามารถให้ผลผลิตต่อเนื่องถ้าการดูแลการจัดการเรื่องธาตุอาหารดีจะไม่ทำ ให้เกิดอาการขาดคอรวงสามารถให้ผลผลิตต่อเนื่องถึง 2 ปี นับว่าเป็นมะละกอที่จัดได้ว่าเป็นที่พืชเศรฐกิจที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก คุ้มค่าต่อการลงทุน อีกทั้งตลาดยังมีความต้องการสูง เฉลี่ยต่อต้นแล้วผลผลิตที่ได้เท่ากับต้นละ200-300กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ถ้า 1 ไร่ปลูกระยะห่าง 2x2 เมตร 1ไร่ปลูก 400 ต้นจะได้ผลผลิตเฉลี่ย8-10ตันต่อไร่ต่อปี ถ้าราคาตลาดรับซื้อที่กิโลกรัมละ 4 บาท จะได้รายได้โดยประมาณ320,000-400,000 บาทต่อไร่ ซึ่งการเก็บมะละกอพันธุ์นี้ จะเก็บตอนน้ำหนักประมาณ 1.2-1.5 กิโลกรัมซึ่งถือว่าเป็นมะละกอที่ยังอ่อนมากทำให้การเข้าทำลายของโรคจุดวง แหวนน้อยลง จึงถือว่าเป็นมะละกอที่เกษตรกรน่าจะหันมาทดลองปลูกดู ซึ่งการปลูกสามารถทำได้ดังนี้
   การปลูกและดูแลรักษามะละกอพันธุ์แขกนวล ดำเนิน
การปลูกมะละกอแขกนวล ดำเนิน นิยมปลูกโดยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าลงแปลงปลูกเมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 1 เดือน
วิธีการเพาะเมล็ด
-         นำเมล็ดมะละกอแช่น้ำอุ่น 60 องศา แล้วแช่ต่อด้วย โปรพลัส No.1 ทิ้งไว้ 1 คืน สังเกตดูเมล็ดจะบวม พอง
-         นำเมล็ดมะละกอมาเพาะในถุงดินที่เตรียมไว้โดยใช้ถุงดำขนาด 5x8 นิ้ว ใส่วัสดุปลูกประกอบด้วยดิน 1 ส่วน ปุ๋ยชีวภาพ 1  ส่วน และ แกลบดำ 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน  โดยใส่เมล็ดมะละกอที่แช่แล้วถุงละ 3 เมล็ด
-         รดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ7-10 วันเมล็ดก็จะเริ่มงอก
-         ทำการรดน้ำพอชุ่มวันละครั้ง
-         เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าแล้ว ให้พ่น โปรพลัส No.1  หลังจากงอกได้ 7วัน
-         ฉีด โปร-ฟอส ทุกๆ 7 วันจนถึงย้ายกล้า
ขั้นตอนการเตรียมดินและปลูกมะละกอพันธุ์แขกนวล ดำเนิน
-         ทำการเตรียมพื้นที่ โดยการไถด้วยผาน 3  แล้วฉีดกระตุ้นการแตกของเมล็ดหญ้าด้วยน้ำหมักชีวภาพแล้วหว่านด้วยแกลบขี้ไก่ ประมาณ 400-600กิโลกรัมต่อไร่ และหว่านตามด้วยปูนโดโลไมท์ 100-200 กิโลกรัมต่อไร่  ธาตูโบรอน ในรูปของสารบอแรกซ์ อัตร 2-3 กิโลกรัม ต่อไร่ หว่านวัสดุปรับปรุงดินให้ทั่วแล้วฉีดด้วยน้ำหมักชีวภาพ แล้วไถกลบ ทิ้งไว้ประมาณ5-7 วันจะมีเมล็ดหญ้าแตกขึ้นมา ก็ทำการไถพรวนด้วยผาน 7 อีกครั้งหนึ่ง
-         มะละกอพันธุ์นี้ชอบดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุมาก ไม่ชอบน้ำขัง และควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอไม่ทนดินเกลือไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง   มะละกอพันธืนี้จะเจริญเติบโตได้ดี ถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่  มะละกอมีก้านใบยาวและกลุ่ใบจะมีมากที่ยอด จึงไม่ควรปลูกมะละกอให้ชิดกันเกินไป จะทำให้ไม่สะดวกในการป้องกันกำจัดศัตรูของมะละกอ
-         ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 2.5x2.5 เมตร หรือ 3x3 เมตรแหล่งปลูกมะละกอควรอยู่ใกล้เมืองหรือมีทางคมนาคมสะดวก เนื่องจากผลผลิตที่ได้ค่อนข้างมีปริมาณมากจะทำให้การขนส่งได้สะดวก
-         หลังจากไถด้วยผาน 7 แล้วควรฉีดพื้นให้ทั่วด้วยเชื้อราไตรโครเดอร์มา เพื่อป้องกันเชื้อที่อยู่ในดิน
การเตรียมแปลงปลูก
-         วัดระยะแปลงปลูกตามความต้องการ ควรปักหลักเล็ก ๆ ห่างจากหลักหลุมปลูก อีก2 หลัก โดยปักให้ห่างข้างละ 50 เซนติเมตร
-         ขุดหลุมปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ขอบหลุมห่างจากหลักกลางประมาณ 25 เซนติเมตร และขุดลึก 50 เซนติเมตร เอาดินขึ้นไว้บนปากหลุมอย่าให้โดนหลักเล็กทั้ง 2 ซึ่งจะเป็นหลักบังคับระยะปลูก
-         ใส่ปุ๋ยคอกเก่า ๆ หรือปุ๋ยชีวภาพ ประมาณ 1 พลั่วหรือครึ่งบุ้งกี๋ลงบนดินที่ขุดขึ้นมา ใส่แร่เทคโตมิคหลุมละ1 กำมือ  ใส่ ร๊อคฟอตเฟตลงไปอีก 100 กรัม คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี แล้วใช้จอบกลบดินลงหลุมให้เสมอปากหลุม
-         ก่อนปลูก หาไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 เมตร ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่ง 0.50 เมตรและ 1  เมตรเป็นเครื่องหมายต้นปลูก เพื่อให้แถวปลูกตรงกันทุกต้น

วิธีการปลูก
-         ให้นำต้นกล้าเรียงกระจายไว้ตามหลุมต่าง ๆ หลุมละหนึ่งถุง หลังจากนั้นกรีดถุงพลาสติกออก เอาต้นกล้าวางให้ตรงตำแหน่งระยะปลูกกลางหลุม กลบดินให้แน่น โดยเฉพาะรอบ ๆ โคนต้นเพื่อให้รากจับดินใหม่ได้เร็ว ต้นจะตรงกันทุกแถวแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
-         เมื่อย้ายลงหลุมแล้ว 1 วันให้ฉีด pro-1 เบอร์1และเบอร์2 สเปรย์บาง ๆ  หลังจากนั้นให้ฉีดคลุมแมลงด้วย บีเอ็ม โปร เพื่อกำจัดไข่และตัวอ่อนและไส้เดือนฝอยรากปมไว้ก่อน

การให้ปุ๋ย
-         หลังจากปลูกมะละกอได้ประมาณ 1 เดือน แล้วเพื่อให้มะละกอเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องควรให้ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 อัตรา 5 กิโลกรัมผสมกับปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 5 กิโลกรัม คลุกด้วยแร่เทคโตมิค 1 กิโลกรัม แล้วหว่านรอบต้น ต้นละ  50 กรัมต่อต้น  ทุกๆ 15 วันต่อหนึ่งครั้ง
-         ในช่วงเดือนแรก จำเป็นที่จะต้องฉีด บี เอ็ม โปร  เพื่อกำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาวซึ่งเป็นพาหะนำพาโรคจุดวงแหวนไว้ทุก ๆ 7-15 วัน  สลับด้วยเมจิค-โปรกับมิราเคิล-โปร ทุก ๆ 15 วัน
-         ในเดือนที่ 2 ให้เปลี่ยนสูตรปุ๋ย เป็นสูตร 46-0-0 อัตรา 3 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยสูตร15-15-15 อัตรา 7 กิโลกรัมคลุกด้วยแร่เทคโตมิค 1 กิโลกรัม หว่านรอบต้น ต้นละ 50 กรัมต่อต้น
-         ทางใบให้ฉีดโปร-ฟอส อัตรา 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตรทุก ๆ 7 วัน  เดือนที่  2 ฉีด โปรพลัส No.1 อีก หนึ่งครั้ง สังเกตดูการเจริญเติบโต
-         ในเดือนที่ 3  จะเริ่มติดดอก ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 18 กิโลกรัม ผสมกับ 0-0-60 อัตรา 2 กิโลกรัม คลุกด้วยแร่เทคโตมิค 2 กิโลกรัม  หว่านให้ทั่ว ๆ
-         ทางใบ ให้ฉีดทำดอกด้วยปุ๋ย สูตร 0-52-34 อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรผสมด้วยเมจิค-โปร อัตรา 20 ซี ซีต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดทุก 7-15 วัน จะทำให้มีดอกอย่างต่อเนื่อง ตลอดให้ฉีดสูตรนี้ทุกเดือนจะทำให้มะละกอมีดอกตลอดไม่ขาดคอรวง และฉีดโปร-1 เดือนละครั้งในทุกเดือน ผลมะละกอจะขยายอย่างต่อเนื่อง
-          ในเดือนที่ 4 จะเริ่มติดผลเล็ก ช่วงนี้อย่าให้ขาดน้ำ และใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21  อัตรา 20 กิโลกรัมคลุกด้วยแร่โปร-ฟอส อัตรา 2 กิโลกรัม หว่านต้นละ 200 กรัมต่อต้น ทุก ๆ 15 วันไปตลอด โดยสังเกตถึงสีของใบเป็นหลัก ถ้ารู้สึกว่าใบเหลือง ให้ผสม ปุ๋ย 46-0-0  อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมด้วย เมจิค-โปรอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
-         ทางใบให้ฉีด บี เอ็ม โปร เพื่อป้องกันแมลงและแมลงหวี่ขาว ฉีดสลับกับเบส ชอยส์-โปรเพื่อป้องกันโรคเกี่ยวกับเชื้อราต่าง ๆ ไว้ เพราะช่วงนี้เมื่อติดลูกจะเริ่มมีเชื้อราเริ่มเข้าทำลาย
  การกำจัดวัชพืช
-         ในระยะที่ปลูกมะละกอใหม่ ๆ เกษตรกรสามารถปลูกพืชแซมร่วมกับมะละกอในช่องว่างระหว่างแถว ระหว่างต้น เมื่อมีวัชพืชขึ้น การดายหญ้าพืชแซมควรดายหญ้ามะละกอไปด้วย แต่การดายหญ้าด้วยจอบควรระวังคมจอบสับต้นหรือรากมะละกอ จะทำให้ต้นมะละกอชะงักการเจริญเติบโต หรือทำให้เกิดโรครากเน่าได้ ทางที่ดีควรใช้เศษหญ้าแห้งหรือฟางข้าวคลุมโคนให้หนา ๆ จะทำให้ไม่มีเมล็ดหญ้างอกใหม่ การปลูกมะละกอนั้นไม่ควรใช่ยากำจัดวัชพืชโดยเด็ดขาด เพราะมะละกอนั้นอ่อนไหวต่อยากำจัดวัชพืชมาก
-          การกำจัดวัชพืชนั้น สามารถใช้ปุ๋ย ยูเรีย ปริมาณ 4 กิโลกรัมผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดวัชพืชในเวลากลางวัน แต่ต้องใส่หัวครอบไม่ให้ฟุ้งกระจายไปโดนใบมะละกอโดยเด็ดขาดจะทำให้ใบไหม้ได้ เมื่อฉีดไปแล้วให้หว่านแร่เทคโตมิคตามลงไปเพื่อจับปุ๋ยกลับมาให้มะละกอได้ กินใหม่ ไม่เสียเปล่า
การออกดอกติดผล
-         มะละกอเป็นพืชที่มีดอก 3 ชนิดอยู่คนละต้น คือ
-         ต้นตัวผู้ จะมีดอกตัวผู้ล้วนเป็นจำนวนมากอยู่บนก้านช่อยาวที่แตกแขนง ถ้าพบควรตัดทิ้งไปเพราะไม่ให้ผลผลิต หรือให้ผลได้ก็ไม่สามารถจำหน่ายได้คุ้มค่าเท่าต้นตัวเมีย
-         ต้นตัวเมีย จะมีแต่ดอกเพศเมียเท่านั้น ดอกจะออกมาจากส่วนมุมด้านใบติดลำต้น เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ รังไข่มีรูปร่างป้อม ให้ผลค่อนข้างกลม ช่องว่างในผลมีมากจึงไม่ค่อยนิยมเช่นกัน
-         ต้นสมบูรณ์เพศ หรือต้นกระเทย จะมีช่อดอกติดกันเป็นกลุ่ม ต้นสมบูรณ์เพศจะมีดอกสมบูรณ์เพศและดอกตัวผู้อยู่ในช่อดอกเดียวกัน และดอกสมบูรณ์เพศจะมี 3 ชนิดตามตำแหน่งของเกสรตัวผู้ ดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดาทำให้ผลมีรูปร่างทรงกระบอกสวย เป็นที่นิยมของตลาด ผลที่เกิดจากดอกสมบูรณ์เพศที่ดอกตัวผู้ติดอยู่กับรังไข่ทำให้ผลบิดเบี้ยวและ ดอกสมบูรณ์เพศที่ทำให้ผลเป็นพลูลึก ผลจากดอกสมบูรณ์เพศสองชนิดหลังนี้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ดังนั้นเกษตรกรผู้ปลูก ต้องหมั่นคอยตรวจดูและปลิดออกตั้งแต่ผลยังเล็ก ๆ นอกจากนั้นแม้ว่ามีดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา แต่ถ้าช่อดอกแตกแขนงและติดผลดก ผลจะเบียดกันมาก ทำให้ผลเล็กได้ จึงขอแนะนำให้เด็ดผลที่อยู่ที่แขนงบข้างออก ให้เอาไว้แต่ผลที่ปลาย ช่อดอกจึงจะได้ผลใหญ่สม่ำเสมอกันทั้งต้น ถ้าทำทั้งสวนจะทำให้มีขนาดผลเกินมาตรฐาน จะสามารถขายง่ายและป้องกันการโค่นล้มได้อีกด้วย
-         ดังนั้นเมื่อมะละกอที่ปลูกเมื่อมีดอกแล้วจึงจำเป็นต้องคัดให้เหลือต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศเท่านั้น
โรคและแมลงของมะละกอ
-         ไรแดง มีลักษณะคล้ายแมงมุม มี 6 ขา ตัวเล็กมาก จะมีใยคล้าย ๆ แมงมุมอยู่บริเวณยอด หรือเข้าทำลายโดยดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของมะละกอ เช่น ใบ ผล ดอก หรือส่วนอ่อน ๆ ของพืช มักจะระบาดในช่วงที่มีอากาศร้อน และแห้ง ถ้าพบระบาดมากสามารถใช้สารเคมีประเภท ไดฟอน  โพพาไกด์  พอสซ์  ไดโนทีฟูเรน โดยใช้ตามคำแนะนำที่ติดอยู่บนฉลากยา หรือป้องกันด้วยการฉีด บี เอ็ม โปร ป้องกันกำจัดไข่และตัวอ่อนไว้ก่อน ก็จะไม่พบการระบาด
-         เพลี้ยไฟ เป็นศัตรูที่สำคัญของมะละกออีกชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะการทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของพืชเป็นพาหะของเชื้อไวรัส มักระบาดช่วงฤดูร้อน การป้องกันทำได้โดยการฉีดบี เอ็ม โปร สลับกับการฉีดสารเคมีกำจัดซึ่งต้องเปลี่ยนสารอยู่เสมอ ไม่ควรฉีดชนิดใดชนิดหนึ่ง ยาที่ใช้ได้ผลคือ ไดเมทโธเอท คาร์โบซัลแฟน โปรวาโด  อิมิดาคลอพริด แอสเซนด์
-          เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะการทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนอ่อนของต้นมะละกอ เช่น ใบอ่อน ยอดอ่อน ดอกหรือส่วนอ่อนของลำต้น ที่สำคัญเพลี้ยอ่อนยังเป็นพาหะก่อให้เกิดโรคใบด่าง ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงของมะละกอด้วย การป้องกันควรฉีด คลอไพริฟอสผสมกับปิโตเลียม ออยย์ หรือฉีด บี เอ็ม โปร ป้องกันไว้ตลอด
-         แมลงหวี่ขาว  เป็นพาหะสำคัญอีกตัวหนึ่ง มักจะดูดน้ำเลี้ยงและปากเป็นพาหะให้เกิดโรคไวรัสวงแหวนได้ มักจะพบเวลาช่วงเช้าหรือเย็นเมื่อเดินแล้วพบการบินของแมลงปีกขาว ๆ เล้ก ๆ แสดงว่าพบการระบาดแล้ว เมื่อพบการระบาดควรพ่นกำจัดด้วย พอสซ์  สตาร์เกิล  หรือพ่นสลับด้วย บี เอ็ม โปร ให้ฉีดให้ทั่วทั้งบริเวณหญ้าด้วย
-          เพลี้ยแป้ง  มักจะพบระบาดในช่วงฤดูแล้ง เกาะดูดน้ำเลี้ยงใต้ใบ ใบจะหงิก หด จะเข้าเกาะกินบริเวณตาทำให้ลำต้นบิดเบี้ยว ถ้ากินผล ผลจะบิดเบี้ยว  ถ้าระบาดมากทำให้ต้นมะละกอตายได้ การกำจัด ใช้เคมี แอสเซนด์ผสมด้วยไวท์ออยย์ หรือ คลอไพริฟอสผสมด้วยไวท์ออยย์ หรือฉีดสลับกับ บี เอ็ม โปร
-         โรคของมะละกอที่น่ากลัวมีดังนี้
-         โรคใบด่างจุดวงแหวน เกิดจากเชื้อ Papaya ringspot virus เชื้อเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของมะละกอ เข้าต้น จะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวเสียรูป ใบจะหงิกงอเรียวเล็กเหมือนหางเรือใบ จะเหลือแต่เส้นใบดูเหมือนเส้นด้าย และต้นกล้าอาจตายได้หรือไม่เจริญเติบโตในต้นที่โตแล้วใบบิดเบี้ยว หงิกงอ ยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรค และจะสังเกตเห็นลักษณะจุดหรือทางยาวสีตามก้านใบ ลำต้น การติดผลจะไม่ดีหรือไม่ติดเลย  ถ้าเข้าผลมะละกออาจบิดเบี้ยว มีจุดลักษณะเป็นวงแหวน ทั่วทั้งผล แผลมีลักษณะคล้ายสะเก็ด โรคนี้สามารถแพร่ระบาดไปได้โดยมีเพลี้ยอ่อนหลายชนิดเป็นพาหะ โดยเพลี้ยอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรคเชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปาก แมลง ๆย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่ไม่เป็นโรค ก็จะถ่ายเชื้อไวรัส การถ่ายทอดโรคนี้ใช้เวลาสั้นมาก ภายหลังจากมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะแสดงอาการของโรค การป้องกันและกำจัด ต้องใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาฉีดที่แปลงปลูกก่อนที่จะปลูกมะละกอ และฉีดป้องกันด้วยเบส ชอยส์-โปร อยู่เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของไวรัส และต้องคอยหมั่นตรวจดูอย่าให้พบเพลี้ยอ่อน ถ้าพบระบาดต้องรีบกำจัด  ถ้าเป็นมากต้องถอนทิ้งและเผาทำลาย  ถ้าเริ่มแสดงอาการบางต้นให้พ่นสารเคมีประเภทโพลคลอราช+พิโคลนาโซน+สารโปร-พลัส No.1 จึงจะฟื้นตัวได้
-         โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gioeosporeioides ลักษณะอาการของโรค ใบ จะเป็นจุดขอบแผลสีน้ำตาล เนื้อเยื่อส่วนกลางจะมีสีซีดจาง และมักจะขาดเป็นรูทะลุในเวลาต่อมา มักพบจุดดำเล็ก ๆ กระจายทั่วบริเวณแผล ซึ่งคือส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา ผล เห็นได้ชัดเมื่อเกิดกับผลสุก จะเกิดลักษณะแผลกลมฉ่ำน้ำ และยุบลงในแผล ตรงกลางจุดจะมีสปอร์ของเชื้อสีส้มหรือสีชมพูเป็นวงชั้น        ๆ บริเวณแผลและแผลจะลุกลามขยายตัวไปทั่ว ทำให้ผลมะละกอเน่าเสียในเวลารวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพอากาศอบอ้าว  การป้องกัน ควรฉีดสารเคมีตระกูล ดาโคนิล หรือแอนทราโคล หรือโปรคลอราช+คาร์เบนดาซิมถ้าป้องกันใช้เบส ชอยส์-โปร ฉีดตั้งแต่เริ่มติดผลจะทำให้ไม่เกิดอาการของโรคได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น