คำนำ
ปลาหมอไทย เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทย ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่ประชาชนทุกระดับชนชั้นของสังคมไทย นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถประกอบอาหารได้หลากหลาย ทั้งแกง ต้ม ทอด ย่างหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกทั้งเป็นปลาที่มีความทนทาน ทรหด อดทนสูง เพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ (labyrinth organ) จึงอาศัยอยู่ได้ในบริเวณที่มีน้ำน้อยๆ หรือที่ชุ่มชื้นได้เป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม ผลผลิตส่วนใหญ่ ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยกรมประมง รายงานว่า ปี 2543 มีผลผลิตปลาหมอไทยทั้งหมด 7,200 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 207 ล้านบาท เป็นผลผลิตปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ 6,730 เมตริกตัน และการเพาะเลี้ยง 470 เมตริกตัน โดยบริโภคในรูปปลาสด 84 % ปลาร้า 12 % นอกจากนั้นอีก 4 % ทำปลาเค็มตากแห้ง รมควันและอื่นๆ
ปัจจุบัน แม้ว่าการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก มักกระจุกอยู่บางท้องที่หรือเลี้ยงกันแบบหัวไร่ ปลายนา แต่จัดเป็นปลาที่มีศักยภาพ ทั้งการผลิตและการตลาดเพื่อส่งออกสูง กล่าวคือ (1) สามารถเพาะเลี้ยงในอัตราความหนาแน่นสูง และเจริญเติบโต ในภาวะคุณสมบัติของดินและน้ำที่แปรปรวนสูงได้ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำค่อนข้างเป็นกรดหรือพื้นที่ดินพรุ ดินเปรี้ยวตลอดจนนาข้าว นากุ้งทิ้งร้างได้ (วิทย์ และคณะ, 2533; ศราวุธ และคณะ, 2539; กรมประมง, 2541; อนันต์ และคณะ, 2541) สามารถขนส่งและจำหน่ายในรูปปลาสดมีชีวิตระยะทางไกลๆ อันสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ ที่นิยมใช้ปลาสดมีชีวิตประกอบอาหาร (2) อุปสงค์ของตลาดมีสูงมาก โดยเฉพาะปลาขนาดใหญ่ (3?5 ตัว/กิโลกรัม) ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ เช่น ตลาดตะวันออกกลาง จีน ไต้หวัน เกาหลีและมาเลเซีย มีความต้องการไม่ต่ำกว่า 100 เมตริกตัน/ปี ในช่วงเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม ของทุกปี ขณะที่ผลผลิตไม่เพียงพอและปริมาณไม่แน่นอน (สัตว์น้ำจืด, 2547)
ลักษณะรูปร่าง
ปลาหมอไทยมีลำตัวป้อมค่อนข้างแบน ความยาวประมาณ 3 เท่าของความลึก ลำตัวมีสีน้ำตาลเหลืองปนดำ ส่วนท้องสีจางกว่าส่วนหลัง เกล็ดแข็งแบบ ctenoid ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 17-18 ก้าน และก้านครีบอ่อน 9-10 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 9-10 ก้าน และก้านครีบอ่อน 10-11 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 2 ก้าน และก้านครีบอ่อน 5 ก้าน ครีบอกมีก้านครีบอ่อนทั้งหมด 15 ก้าน กระดูกสันหลังมี 26-28 ข้อ ตำแหน่งตั้งต้นของครีบหลัง ครีบอก ครีบท้องอยู่ในแนวเดียวกัน เส้นข้างตัวแบ่งขาดเป็น 2 ตอน จำนวนเกล็ดบนเส้นข้างตัวตอนบน 14-18 เกล็ด ตอนล่าง 10-14 เกล็ด ปลายกระดูกกระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยัก แหลมคมมากและส่วนล่างของกระพุ้งแก้มแบ่งแยกอิสระ เป็นกระดูกแข็งสำหรับปีนป่าย เรียกว่า ichy feet กระดูกกระพุ้งแก้มงอพับได้ หางเป็นแบบมนกลมเล็กน้อย ตามลำตัวมีแถบสีดำ 7-8 แถบ และที่โคนหางมีจุดสีดำกลม ซึ่งซีดจางหายไปได้เมื่อเวลาตกใจ ปากอยู่ตอนปลายสุดของหัวและเฉียงขึ้นเล็กน้อย ริมฝีปากยืดหดไม่ได้ มีฟันแหลมคม เหนือริมฝีปากบนก่อนถึงตาทั้งสองข้าง เป็นหนามแหลมคม บริเวณหนามแหลมของปลายกระดูกกระพุ้งแก้มจะมีลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อสีดำติด อยู่ทั้งสองข้าง ปลาหมอไทยมีอวัยวะช่วยหายใจ (labryrinth organ) อยู่ในช่องเหงือกใต้ลูกตา จึงทำให้สามารถอยู่บนบกได้นานๆ (สมโภชน์, 2545) นักวิทยาศาสตร์บางท่านให้ข้อสังเกตว่าปลาหมอ ปลาตีนและปลามีปอด (lung fish) อาจเป็นรอยต่อหรือสะพานทางพันธุกรรมของการวิวัฒนาการจากปลาซึ่งเป็นสัตว์น้ำ สู่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ลักษณะที่สำคัญบางประการของปลาหมอไทย ดังรูป
ปลาหมอไทยมีลำตัวป้อมค่อนข้างแบน ความยาวประมาณ 3 เท่าของความลึก ลำตัวมีสีน้ำตาลเหลืองปนดำ ส่วนท้องสีจางกว่าส่วนหลัง เกล็ดแข็งแบบ ctenoid ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 17-18 ก้าน และก้านครีบอ่อน 9-10 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 9-10 ก้าน และก้านครีบอ่อน 10-11 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 2 ก้าน และก้านครีบอ่อน 5 ก้าน ครีบอกมีก้านครีบอ่อนทั้งหมด 15 ก้าน กระดูกสันหลังมี 26-28 ข้อ ตำแหน่งตั้งต้นของครีบหลัง ครีบอก ครีบท้องอยู่ในแนวเดียวกัน เส้นข้างตัวแบ่งขาดเป็น 2 ตอน จำนวนเกล็ดบนเส้นข้างตัวตอนบน 14-18 เกล็ด ตอนล่าง 10-14 เกล็ด ปลายกระดูกกระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยัก แหลมคมมากและส่วนล่างของกระพุ้งแก้มแบ่งแยกอิสระ เป็นกระดูกแข็งสำหรับปีนป่าย เรียกว่า ichy feet กระดูกกระพุ้งแก้มงอพับได้ หางเป็นแบบมนกลมเล็กน้อย ตามลำตัวมีแถบสีดำ 7-8 แถบ และที่โคนหางมีจุดสีดำกลม ซึ่งซีดจางหายไปได้เมื่อเวลาตกใจ ปากอยู่ตอนปลายสุดของหัวและเฉียงขึ้นเล็กน้อย ริมฝีปากยืดหดไม่ได้ มีฟันแหลมคม เหนือริมฝีปากบนก่อนถึงตาทั้งสองข้าง เป็นหนามแหลมคม บริเวณหนามแหลมของปลายกระดูกกระพุ้งแก้มจะมีลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อสีดำติด อยู่ทั้งสองข้าง ปลาหมอไทยมีอวัยวะช่วยหายใจ (labryrinth organ) อยู่ในช่องเหงือกใต้ลูกตา จึงทำให้สามารถอยู่บนบกได้นานๆ (สมโภชน์, 2545) นักวิทยาศาสตร์บางท่านให้ข้อสังเกตว่าปลาหมอ ปลาตีนและปลามีปอด (lung fish) อาจเป็นรอยต่อหรือสะพานทางพันธุกรรมของการวิวัฒนาการจากปลาซึ่งเป็นสัตว์น้ำ สู่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ลักษณะที่สำคัญบางประการของปลาหมอไทย ดังรูป
ขนาดลำตัว
- ความยาว ประมาณ 7-23 เซนติเมตร
- ความยาวลำตัวมากกว่า 3 เท่าของความลึก หรือป้อม แบน
- ขนาดที่ตลาดต่างประเทศต้องการ คือ 3-6 ตัว/กิโลกรัม โดยทั่วไปท้องตลาดมีจำหน่าย ขนาด 7-12 ตัว/กิโลกรัม
อาหารและนิสัยการกินอาหาร
ปลาหมอไทยเป็นปลากินเนื้อ (carnivorous fish) จึงเป็นปลาผู้ล่า (predator) สัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่าและชอบกินอาหารที่ผิวน้ำและกลางน้ำ อย่างไรก็ตาม สามารถกินเมล็ดข้าว ธัญพืช ปลวก ตัวอ่อนแมลงน้ำ ตั๊กแตน กุ้งฝอยหรือลูกปลาเล็กปลาน้อยที่มีชีวิตหรือตายแล้วเป็นอาหาร หลังจากลูกปลาฟักออกจากไข่เป็นตัว ระยะ 3 วันแรก จะใช้ถุงอาหาร (yolk sac) เป็นอาหาร แล้วจะเริ่มกินอาหารมีชีวิตขนาดเล็กๆ (zooplankton feeder) พวกprotozoa, rotifer, copepod, ostracod, ไรแดงและลูกน้ำ เป็นอาหาร หลังจากฟันปลาพัฒนาสมบูรณ์แล้ว จึงสามารถกินตัวอ่อนแมลง สัตว์หน้าดิน (benthos) ลูกกุ้งและลูกปลาวัยอ่อน ตลอดจนอาหารสำเร็จรูปเป็นอาหารได้
การเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย
การเลือกสถานที่
การเลือกสถานที่ก่อสร้างบ่อเพาะพันธุ์ อนุบาล และเลี้ยงปลา เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญยิ่งและส่งผลต่อผลสำเร็จในการประกอบการลงทุนหรือไม่ ดังนั้น ในการเลือกสถานที่และออกแบบฟาร์ม ควรดำเนินการด้วยความรอบคอบ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. ลักษณะดิน
ที่ดินควรเป็นพื้นที่ราบ ดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย น้ำไม่รั่วซึมง่าย สามารถเก็บกักน้ำได้ 4-6 เดือน ไม่ควรเลือกพื้นที่ที่เป็นดินทราย ดินปนกรวด หรือป่าพรุที่ดินเป็นกรดจัดหรือพื้นที่ทางน้ำผ่าน ซึ่งน้ำมักไหล
ท่วมหลากอย่างรุนแรงในฤดูฝน จักทำให้ยุ่งยากในการจัดการฟาร์ม
2. ลักษณะน้ำ
พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลองหรืออ่างเก็บน้ำ ที่มีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดปีหรืออยู่ในเขตชลประทาน หากเป็นพื้นที่ที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ต้องคำนวณปริมาณน้ำฝนที่ตกในรอบปีด้วย ควรหลีกเลียงห่างไกลจากเขตดูดทรายในแม่น้ำ น้ำมักขุ่นมากและเขตโรงงานอุตสาหกรรม บ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่อยู่ในเขตพื้นที่น้ำจืด นาข้าวทิ้งร้าง สามารถเลี้ยงปลาหมอไทยได้หากอยู่ในย่านที่รับอิทธิพลจากความเค็มที่ไม่เกิน 7.5 ส่วนในพัน จะกระตุ้นให้ปลากินอาหารมากขึ้น เนื้อปลาเหนียว นุ่ม รสชาติอร่อยและปราศจากกลิ่นโคลน ส่งผลให้จำหน่ายได้ราคาสูงกว่าปกติ
3. แหล่งพันธุ์ปลา ตลาดและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน
เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการฟาร์มปลา จำเป็นต้องพิจารณาสถานที่มีระบบคมนาคมสะดวก มีไฟฟ้าหรือสัญญาณโทรศัพท์เข้าถึง อยู่ไม่ไกลจากแหล่งเพาะพันธุ์ปลา สามารถลำเลียงลูกปลามาเลี้ยงสะดวกหรือไม่ไกลจากตลาดซื้อขายปลา แม้ว่าหลังจากจับปลาจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงปากบ่อ แต่หากพื้นที่เลี้ยงอยู่ใกล้ตลาดหรือท่าปลา จะทำให้ได้เปรียบในการขนส่งผลผลิตเพื่อการจำหน่าย เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น