เทคนิควิธีปลูก ถั่วเหลือง

ถั่ว เหลืองเป็นพืชน้ำมันที่สำคัญของโลกเนื่องจาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งการบริโภคเมล็ดและน้ำมัน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และใช้กากเป็นอาหารสัตว์ ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น สีทาบ้าน ปลาทูน่ากระป๋อง พลาสติก และกาว เป็นเหตุให้ความต้องการใช้ ถั่วเหลือง ขยายตัวมาโดยตลอด การผลิตในประเทศยัง ไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์เป็นพืชบำรุงดิน

ปัญหาของพืช ข้อจำกัด และโอกาส 
ศักยภาพของพันธุ์ทำให้ผลผลิตต่ำ
เมล็ดพันธุ์มีคุณภาพต่ำ เสื่อมคุณภาพเร็ว
เกษตรกรขาดความรู้ในการใช้เครื่องนวดให้เหมาะสมเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์
การกระจายเมล็ดพันธุ์ดียังไม่ทั่วถึ
มีศัตรูพืชรบกวนมาก เช่น โรค แมลง และวัชพืช ทำให้ผลผลิตลดลง 30-80 เปอร์เซ็นต์
ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น การเลือกใช้พันธุ์ และการใช้ปุ๋ยตามชนิดของดิน แต่ละแหล่งปลูกยังไม่เหมาะสม
โอกาสที่เกษตรกรจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่เฉพาะเจาะจงในแต่ละแหล่งปลูก
ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูง แต่ยังมีความต้องการมาก

ี้
1. พันธุ์ สจ.4
สจ.4 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ Acadian กับ Tainung 4 ในปี พ.ศ. 2513 ณ สถานีทดลองพืชไร่แม่โจ้ (ปัจจุบัน คือ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่) โดยการคัดเลือกแบบสืบประวัติ (Pedigree selection) จนถึงชั่วที่ 7 จึงนำเข้าเปรียบเทียบในท้องถิ่นต่าง ๆ ปรากฏว่ามีการปรับตัวได้ดี และให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้รับรองพันธุ์ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2519
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 300 กก./ไร่
2. มีความทนทานต่อโรคราสนิมและแอนแทรคโนส
ลักษณะประจำพันธุ์
1. ตาหรือขั้วของเมล็ดค่อนข้างเล็ก มีสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดสีเหลือง
2. ลาต้นไม่ทอดยอด มีดอกสีม่วง
3. เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง
4. ปลูกได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 95 วัน
พื้นที่แนะนำ
เป็นพันธุ์ที่ปรับตัวได้กว้าง จึงใช้เป็นพันธุ์แนะนำที่สามารถปลูกได้ทั่วไปทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ลงไปถึงภาคกลาง
ข้อควรระวัง
หลีกเลี่ยงการปลูกในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคใบจุดนูน เนื่องจากพันธุ์นี้ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคใบจุดนูน ซึ่งมักระบาดมากในการปลูกช่วงกลางฤดูฝน (กรกฎาคม)
2. พันธุ์ สจ.5
พันธุ์ สจ.5 เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ Tainung 4 กับพันธุ์ สจ.2 ในปี 2513 ณ สถานีทดลองพืชไร่แม่โจ้ (ปัจจุบัน คือ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่) ทำการคัดเลือกแบบสืบประวัติ (Pedigree selection) และประเมินผลผลิตในหลายท้องที่ มีการเจริญเติบโต ปรับตัวได้ดี ผลผลิตสูงสม่ำเสมอจึงได้รับการเสนอรับรองพันธุ์ โดยกรมวิชาการเกษตร ในปี พ.ศ. 2523
ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตสูง 320 กก./ไร่
2. ทนทานต่อโรคใบด่าง โรคราสนิม และโรคแอนแทรคโนส
3. ทนต่อสภาพดินที่มีความชื้นสูง หรือดินแฉะในช่วงการปลูกได้มากกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60
4. เมล็ดมีความงอกความแข็งแรงดี ลำต้นแข็งแรง
ลักษณะประจำพันธุ์
1. ตาหรือขั้วเมล็ดมีลักษณะเช่นเดียวกับพันธุ์ สจ.4 คือ มีสีน้ำตาลอ่อน
2. ลำต้นไม่ทอดยอด มีดอกสีม่วง ฝักแก่มีสีน้ำตาลเข้ม
3. อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 100 วัน
พื้นที่แนะนำ
เป็นพันธุ์ที่ใช้แนะนำปลูกได้ทั่วไป เช่นเดียวกับพันธุ์ สจ.4 เนื่องจากเป็นการคัดพันธุ์แบบปรับตัวได้กว้าง จึงใช้ปลูกได้ทั่วไปในแหล่งปลูกถั่วเหลืองของประเทศไทย
ข้อควรระวัง
เช่นเดียวกับพันธุ์ สจ.4 คือ หลีกเลี่ยงการใช้พันธุ์นี้ปลูกในเขตที่มีการระบาดของโรคใบจุดนูน
3. พันธุ์เชียงใหม่ 60
ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ได้จากการคัดเลือกจากคู่ผสมระหว่างพันธุ์ Williams x สจ.4 เมื่อปี 2518 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ จำนวน 22 คู่ผสม คัดเลือกรุ่นลูกโดยวิธีสืบประวัติเพื่อหาสายพันธุ์ที่ให้ ผลผลิตสูงทนทานต่อโรคที่สำคัญ กรมวิชาการเกษตรพิจารณาเป็นพันธุ์รับรองวันที่ 30 กันยายน 2530
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 280-350 กิโลกรัมต่อไร่
2. มีความทนทานต่อโรคราสนิม โรคใบจุดนูน และโรคราน้ำค้างดีกว่าพันธุ์ สจ.4 และสจ.5
3. สามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้กว้าง เหมาะสำหรับใช้เป็นพันธุ์ปลูกทุกสภาพท้องถิ่น
ลักษณะประจำพันธุ์
1. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ โคนต้นอ่อนสีเขียวอ่อน ดอกสีขาว ขนสีน้ำตาล เปลือกหุ้มเมล็ดแห้งสีเหลือง ตาเมล็ดแก่สีน้ำตาล เมล็ดแก่รูปร่างค่อนข้างกลม ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะลำต้นไม่ทอดยอด แตกกิ่งน้อย ขึ้นอยู่กับระยะปลูกและจำนวนต้นต่อไร่
2. ลักษณะทางการเกษตร ผลผลิตเฉลี่ย 260-360 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนฝักต่อต้น 50 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 2 เมล็ด น้ำหนัก 100 เมล็ด 15 กรัม ความสูง 40-64 เซนติเมตร จำนวนข้อ 12 ข้อ จำนวนกิ่งน้อย อายุออกดอก 35 วัน อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน
พื้นที่แนะนำ
ปลูกได้ทุกแหล่งปลูกถั่วเหลือง
ข้อควรระวัง
1. อ่อนแอต่อสภาพดินที่มีความชื้นสูงหรือมีน้ำขัง การปลูกในฤดูแล้งในเขตชลประทาน ไม่ควรให้น้ำขังหรือในฤดูฝนควรระบายน้ำออกจากแปลงก่อนปลูก
2. เมล็ดพันธุ์เสื่อมความงอกเร็วถ้าเก็บในสภาพอุณหภูมิห้อง
4. พันธุ์สุโขทัย 2
ถั่วเหลืองพันธุ์สุโขทัย 2 ได้จากการคัดเลือกจากคู่ผสมระหว่างสายพันธุ์ 7016 และพันธุ์สุโขทัย 1 ได้พิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2538
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสูงประมาณ 290-310 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ร้อยละ 7
2. มีความต้านทานต่อโรคที่สำคัญ 3 ชนิด คือ โรคราน้ำค้าง โรคใบจุดนูน และโรคไวรัสใบด่าง
3. มีคุณภาพเมล็ดพันธุ์ (ความงอกและความแข็งแรง) ดีกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 และมีปริมาณเมล็ดเขียวน้อยประมาณร้อยละ 0.2-2.2
4. มีปริมาณโปรตีน ในเมล็ดเฉลี่ยร้อยละ 39
ลักษณะประจำพันธุ์
โคนต้นอ่อนสีม่วง ดอกสีม่วง ขนที่ฝักสีน้ำตาลเข็ม ฝักแก่สีน้ำตาลดำ เปลือกหุ้มเมล็ดแห้งสีเหลือง ขั้วเมล็ดแก่สีดำ รูปร่างเมล็ดแก่ค่อนข้างกลม ใบในระยะออกดอกเต็มที่มีสีเขียวเข้ม ขนาดของใบย่อยเล็ก รูปร่างของใบแคบ ลักษณะลำต้นแบบกึ่งทอดยอด ลักษณะการเจริญเติบโตแบบ Indeterminate น้ำหนัก 100 เมล็ด 14.9 กรัม และมีดัชนีเก็บเกี่ยวร้อยละ 52
พื้นที่แนะนำ
เหมาะสำหรับปลูกในเขตภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ปลูกได้ทั้งในฤดูแล้ง ต้นและปลายฤดูฝน สำหรับในเขตภาคเหนือตอนบน ไม่ควรปลูกในช่วงกลางและปลายฤดูฝน
ข้อควรระวัง
ถั่วเหลืองพันธุ์สุโขทัย 2 ไม่เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่ดินมีความเป็นกรดจัด (pH < 5.5) และดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ นอกจากนี้ไม่ควรปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน ในช่วงกลางถึงปลายฤดูฝน เพราะอ่อนแอต่อโรคราสนิม
5. ถั่วเหลืองผิวดำพันธุ์สุโขทัย 3
ถั่วเหลืองผิวดำพันธุ์สุโขทัย 3 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง F3 (Fort Lamy x Chiang Mai 60) x Chiang Mai 60 เมื่อปี 2528 ที่สถานีทดลองพืชไร่ศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย คัดเลือกรุ่นลูกโดยวิธีสืบประวัติ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีการปรับตัวได้ดีในแต่ละแหล่งปลูก และให้ผลผลิตสูง โดยคัดเลือกจากลักษณะการติดฝักดกสมบูรณ์มีน้ำหนักต่อ 100 เมล็ด สูงมีคุณภาพเมล็ดดีเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์เชียงใหม่ 60 ทำการประเมินผลผลิตในศูนย์วิจัย สถานีทดลองพืชไร่ และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ปี 2533-2538 เป็นเวลา 6 ปี รวมทั้งหมด 54 แปลงทดลอง ได้พิจารณาเป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2542
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 298 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ร้อยละ 9
2. เมล็ดพันธุ์มีความงอกดีและเก็บรักษาไว้ได้นาน
3. ต้านทานต่อแมลงศัตรูถั่วเหลือง เช่น ไส้เดือนฝอย ด้วงถั่วเหลือง
4. ต้านทานต่อโรคแอนแทรคโนสในระยะเมล็ด
5. ต้านทานปานกลางต่อโรคราน้ำค้าง
ลักษณะประจำพันธุ์
1. ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ โคนต้นอ่อนสีเขียวอ่อน ดอกสีขาว ขนสีน้ำตาล ฝักแก่สีน้ำตาล เปลือกหุ้มเมล็ดแห้งสีดำ สีตาเมล็ดแก่สีดำ เมล็ดแก่รูปร่างค่อนข้างกลม ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะลำต้นไม่ทอดยอด
2. ลักษณะทางการเกษตร ผลผลิตเฉลี่ย 298 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนฝักต่อต้น 41 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 2 เมล็ด น้ำหนัก 100 เมล็ด 13 กรัม ความสูง 70 เซนติเมตร จำนวนข้อต่อต้น 15 ข้อ จำนวนกิ่งต่อต้น 1.5 กิ่ง อายุออกดอก 30-38 วัน อายุเก็บเกี่ยว 87-98 วัน
3. คุณสมบัติทางเคมี
- ไขมัน 21 เปอร์เซ็นต์
- โปรตีน 38 เปอร์เซ็นต์
พื้นที่แนะนำ
- ปลูกได้ทุกแหล่งปลูกถั่วเหลือง
ข้อควรระวัง
- ควรมีการประสานงานระหว่างผู้ปลูกกับตลาดก่อน เนื่องจากเป็นถั่วเหลืองผิวดำตลาดอาจไม่รับซื้อ
- เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นน้ำนมถั่วเหลือง (น้ำเต้าหู้) มีสีคล้ายสีช็อคโกแลต
6. พันธุ์เชียงใหม่ 2
ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 2 เป็นพันธุ์ที่มีอายุสั้นสามารถปลูกได้ 3 ฤดูต่อปี ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์เชียงใหม่ 60 x IAC 13 เมื่อปี 2530 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ คัดเลือกรุ่นลูกชั่วที่ 1 ถึงชั่วที่ 7 ในฤดูแล้งต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน ระหว่างปี 2531-2533 เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ปรับตัวตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมได้กว้าง มีความต้านทานต่อโรคที่สำคัญในแต่ละฤดูปลูก นำสายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ทำการประเมินผลผลิต ในศูนย์วิจัย สถานีทดลองในไร่เกษตรกร และทดสอบในไร่เกษตรกร ในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี 2534-2539 เป็นเวลา 6 ปี จำนวนทั้งหมด 173 แปลงทดลอง พิจารณาเป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2541
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 234 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 1 ร้อยละ 7
2. เป็นพันธุ์อายุสั้นมีอายุเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 77 วัน เท่ากับพันธุ์นครสรรค์ 1
3. เมล็ดพันธุ์มีความงอกดี
4. ปลูกได้ 3 ฤดูต่อปี คือ ฤดูแล้ง ต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝน และสามารถใช้ปลูกในระบบปลูกพืชได้
ลักษณะประจำพันธุ์
1. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ โคนต้นอ่อนสีม่วง ดอกสีม่วง ขนสีน้ำตาลอ่อน ฝักแก่สีน้ำตาล เปลือกหุ้มเมล็ดแห้งสีเหลือง ตาเมล็ดแก่สีน้ำตาล เมล็ดแก่รูปร่างค่อนข้างกลม ใบสีเขียว ลักษณะลำต้นไม่ทอดยอก
2. ลักษณะทางการเกษตร ผลผลิตเฉลี่ย 234 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนฝักต่อต้น 30 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 2 เมล็ด น้ำหนัก 100 เมล็ด 15 กรัม ความสูง 49 เซนติเมตร จำนวนข้อต่อต้น 12 ข้อ จำนวนกิ่งต่อต้น 2.3 กิ่ง อายุออกดอก 26 วัน อายุเก็บเกี่ยว 77 วัน
3. คุณสมบัติทางเคมี ไขมัน 19 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 38 เปอร์เซ็นต์
พื้นที่แนะนำ
ปลูกได้ทุกแหล่งปลูกถั่วเหลือง พันธุ์เชียงใหม่ 2 สามารถปรับตัวตอบสนองต่อทุกสภาพแวดล้อมทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะแหล่งปลูกถั่วเหลืองที่สำคัญ
ข้อควรระวัง
ในการปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 2 ควรปลูกระยะระหว่างแถว 30-40 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 20 เซนติเมตร จำนวนต้น 3-4 ต้นต่อหลุม
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

พื้นที่ดอน หรือที่ลุ่มไม่มีน้ำท่วมขัง ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร
ดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า1.5 เปอร์เซ็นต์ ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.5 - 7.0
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 15-35 องศาเซลเซียส
ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,000 - 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
ฤดูปลูก(ช่วงปลูกที่เหมาะสม)

ในสภาพนา เป็นการปลูกในฤดูแล้ง (กลางธันวาคม -กลางมกราคม) หลังเก็บเกี่ยวข้าวให้ตัดตอซังทิ้งไว้ในนา
ในสภาพไร่ เป็นการปลูกในฤดูฝน
ต้นฝน (พฤษภาคม-กลางมิถุนายน)
กลางฝน (กรกฏาคม)
ปลายฝน (สิงหาคม)
การเตรียมดิน

ในสภาพนา โดยไม่ต้องไถหรือพรวนดิน และขุดร่องระบายน้ำรอบกระทงนาและผ่านกลางแปลงกว้าง 30 เซนติเมตร ลึก 20 เซนติเมตร
ในสภาพไร่ ให้ไถด้วยผาลสาม 1 ครั้ง ลึก 15-20 เซนติเมตร ตากดิน 7-10 วัน พรวนด้วยผานเจ็ด 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง ปรับดินให้สม่ำเสมอ

ถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ให้หว่านปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000-1,500 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนกลบ
ถ้าดินมีค่าความเป็นกรดด่างต่ำกว่า 5.5 ให้หว่านปูนขาวอัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนกลบ

วิธีการปลูก
ใช้เมล็ดพันธุ์ อัตรา 12-15 กิโลกรัมต่อไร่ คลุกกับไรโซเบียม 200 กรัม โดยใช้ น้ำตาลทราย 75 กรัม ละลายน้ำ 300 มิลลิลิตร เป็นสารยึดเกาะ แล้วปลูกทันที
ในสภาพนา
ใช้ไม้ปลายแหลมทำหลุมกว้าง 2-3 เซนติเมตร ลึก 3-4 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ดพันธุ์ 4-5 เมล็ดต่อหลุม
ในสภาพไร่
ระยะปลูก 50x20 เซนติเมตร หยอดเมล็ด 4-5 เมล็ดต่อหลุม ได้ประมาณ 64,000 ต้นต่อไร่
ถ้าใช้เครื่องปลูก เครื่องจะปลูกแบบโรยเป็นแถว ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร จำนวน 20-25 ต้น ต่อแถวยาว 1 เมตร ได้ประมาณ 64,000-80,000 ต้นต่อไร่
การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
ในสภาพนา
ในช่วงการปลูกข้าว ถ้าให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 หรือ 16-20-0 แล้ว ควร ให้ปุ๋ยสูตร 0-46-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปลูกถั่วเหลือง
ในช่วงการปลูกข้าว ถ้าไม่ได้ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 หรือ 16-20-0 ควรให้ปุ๋ยสูตร 0-46-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปลูกถั่วเหลือง
ในสภาพไร่ ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรหว่านปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมเตรียมดิน หรือปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยข้างแถว เมื่อถั่วเหลืองอายุไม่เกิน 20 วันหลังปลูก

การให้น้ำ 
1. ไม่ควรให้ถั่วเหลืองขาดน้ำในช่วงออกดอกจนถึงติดฝัก เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก (25-35%)
2. ให้น้ำทุกครั้งเมื่อค่าการระเหยสะสมครบ 60 มิลลิเมตร (ใช้ระยะเวลา 11-15 วัน แล้วแต่สภาพภูมิอากาศ) ตลอดฤดูปลูกให้น้ำประมาณ 5-6 ครั้ง
3. ปริมาณน้ำที่ให้แต่ละครั้ง เท่ากับ 70% ของค่าการระเหย หรือให้น้ำ 42 มิลลิเมตร เมื่อค่าการระเหยสะสมครบ 60 มิลลิเมตร รวมเป็นปริมาณน้ำที่ให้ทั้งหมด 210 มิลลิเมตร หรือ 336 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ (ไม่รวมปริมาณน้ำที่ให้ทันทีหลังปลูกประมาณ 40 มิลลิเมตร)
4. ในการปลูกถั่วเหลืองไม่ว่าจะเป็นพันธุ์อายุสั้น ปานกลาง หรือยาว ไม่ควรลดจำนวนครั้ง และปริมาณให้น้ำ การขาดน้ำที่ระยะ V47 (ข้อที่ 4 ของต้นถั่วเหลืองที่ใบขยายตัวเต็มที่), R1 (ดอกเริ่มบาน) หรือ R3 (เริ่มออกฝัก) จะทำให้ผลผลิตลดลง (12-44%) และขนาดเมล็ดลดลง
5. ในกรณีที่มีน้ำจำกัด สามารถลดจำนวนครั้งและปริมาณการให้น้ำลงได้บ้าง โดยให้น้ำครั้งสุดท้ายเมื่อถั่วเหลืองเติบโตที่ระยะ R6 (ฝักบนข้อที่ 1-4 จากส่วนยอด มีเมล็ดเต็มฝัก) โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้น้ำจนถึงถั่วเหลืองเริ่มมีฝักแรกแก่ 50% (ประมาณระยะ R7-R8) อย่างไรก็ตามไม่ควรหยุดให้น้ำก่อนถึงระยะ R6 เพราะจะทำให้ผลผลิต และขนาดเมล็ดลดลง
6. ในกรณีที่มีน้ำไม่เพียงพอ ควรใช้วัสดุคลุมดิน (ฟางข้าวอัตรา 2 ตัน/ไร่) เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลงน้อยกว่าไม่ใช้วัสดุคลุมดิน 10-18%

การเก็บเกี่ยว
ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เก็บเกี่ยวตามช่วงอายุของพันธุ์ที่ปลูก หรือเมื่อ 95 เปอร์เซ็นต์ของฝักแก่เปลี่ยนสีตามพันธุ์

วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
นวดด้วยเครื่องนวดที่มีความเร็วรอบประมาณ 350-500 รอบต่อนาที ขณะที่ความชื้นในเมล็ดประมาณ 15-17 เปอร์เซ็นต์
นำเมล็ดที่นวดแล้วไปผึ่งแดด 1-3 แดด เพื่อลดความชื้นในเมล็ด เหลือประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์
บรรจุเมล็ดถั่วเหลืองในกระสอบป่าน ที่ไม่ชำรุด สะอาด ปากกระสอบ ตัดแต่งให้เรียบร้อย และเย็บปากกระสอบด้วยเชือกฟาง
ศัตรูถั่วเหลืองและการป้องกันกำจัด
โรคที่สำคัญ
โรคราสนิม เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะเป็นแผลจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก ด้านใต้ใบถ้าระบาดรุนแรงทำให้ใบไหม้และร่วงก่อนกำหนด ป้องกันโดยการหลีกเลี่ยงช่วงปลูก ทำลายซากพืชที่เป็นโรค ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมื่อโรคเริ่มระบาด
โรคใบจุดนูน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะเป็นแผลจุดสีเขียวแกมเหลืองที่ใต้ใบ ถ้าอาการรุนแรง ใบจะเหลืองและร่วงก่อนกำหนด ระบาดรุนแรงในช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าว เข้าทำลายได้ง่าย ป้องกันโดยไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เป็นโรค ทำลายซากพืชที่เป็นโรค ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมื่อโรคเริ่มระบาด
โรคราน้ำค้าง เกิดจากเชื้อรามีลักษณะเป็นแผลจุดสีเหลืองแกมเขียวด้านบนของใบ ต่อมาขยายใหญ่แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดแผลไม่แน่นอน พบเส้นใยสีเทาของเชื้อราบริเวณแผลด้านใต้ใบ ป้องกันโดยไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เป็นโรค ใช้พันธุ์ต้านทาน คลุกเมล็ดก่อนปลูก

แมลงศัตรูที่สำคัญ
หนอนแมลงวันเจาะลำต้นถั่ว วางไข่ในเนื้อเยื่อใต้ใบอ่อน หนอนเจาะไชชอนเข้าไปกัดกินที่ไส้กลาง ของลำต้นและใต้ผิวเปลือกบริเวณโคนต้น แล้วเข้าดักแด้ ทำให้ต้นถั่วเหลืองแคระแกร็น ผลผลิตลดลง ถ้าระบาดมากจะทำให้ต้นถั่วเหลืองตาย ระบาดรุนแรงในระยะกล้า ป้องกันโดยคลุก เมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก หลีกเลี่ยงช่วงปลูก
หนอนเจาะฝักถั่ว วางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆที่กลีบดอก ฝักอ่อนหนอนจะ เจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในฝัก จะเจาะฝักออกมาเพื่อเข้าดักแด้ตาม เศษซากพืช ระบาดรุนแรงในระยะติดฝัก เมื่ออากาศแห้งแล้งและอุณหภูมิสูง
แมลงหวี่ขาวยาสูบ วางไข่เป็นฟองเดี่ยวสีเหลืองอ่อน ตัวอ่อนมีลักษณะ คล้ายรูปไข่สีเหลืองปนเขียว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบถั่ว ทำให้ต้นแคระแกร็น ฝักผิดปกติ เป็นพาหะนำโรคใบยอดย่น
มวนเขียวข้าว วางไข่เป็นกลุ่มหลายแถว ตัวอ่อนวัยแรกจะรวมกันเป็นกลุ่ม ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและฝักอ่อน ทำให้ฝักลีบ
มวนเขียวถั่ว วางไข่เรียงเป็น 2 แถว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและฝักอ่อน ทำให้ฝักลีบ
มวนถั่วเหลือง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและฝัก ทำให้ฝักลีบ
สัตว์ศัตรูที่สำคัญ
หนู เป็นสัตว์ฟันแทะศัตรูสำคัญของถั่วเหลือง ทำลายโดยขุดเมล็ด กินก่อนงอก กัดต้นอ่อนและเจาะกินเฉพาะเมล็ดอ่อนภายในฝัก ป้องกันกำจัดโดย

กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูก และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยของหนูใช้กับดัก หรือกรงดัก
เมื่อสำรวจร่องรอย รูหนู ประชากรหนูและความเสียหายอย่างรุนแรงของ ถั่วเหลืองให้ใช้วิธีป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน คือ ใช้กับดักหรือกรงดัก ร่วมกับการใช้เหยื่อพิษตามคำแนะนำ
ศัตรูธรรมชาติ
ศัตรูธรรมชาติมีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงและสัตว์ศัตรูพืช ในการป้องกันกำจัดศัตรูถั่วเหลืองควรใช้วิธีการที่ปลอดภัย เพื่ออนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ ที่พบทั่วไป ได้แก่

แมลงห้ำ มี 1 ชนิด คือ ด้วงเต่า หนอนและตัวเต็มวัยกัดกินไข่และตัวอ่อน ของแมลงหวี่ขาวยาสูบ
แมลงเบียน มี 2 ชนิด คือ แตนเบียนไข่มวน วางไข่ในไข่ของมวนเขียวข้าว มวนเขียวถั่ว และมวนถั่วเหลือง ทำให้ไข่ของมวน มีสีดำและไม่ฟักเป็นตัว แตนเบียนแมลงหวี่ขาว วางไข่ในตัวอ่อนและดักแด้ของแมลงหวี่ขาวยาสูบ เมื่อไข่ฟักเป็นหนอน จะดูดกินและเจริญเติบโตอยู่ ภายใน ทำให้ซากดักแด้แข็งติดอยู่ใต้ใบถั่วเหลือง
นกฮูก นกแสก เหยี่ยว พังพอนและงู เป็นศัตรูธรรมชาติจับกินหนูสัตว์ศัตรูของถั่วเหลือง
การป้องกันกำจัดวัชพืช
ไถดิน 1 ครั้ง ตากดิน 7-10 วัน พรวน 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง
กำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานหรือเครื่องจักรกล เมื่ออายุ 15-20 วัน หรือก่อน ถั่วเหลืองออกดอก
คลุมดินด้วยเศษซากวัชพืชหรือฟางข้าวทันทีหลังปลูก
ในกรณีที่การกำจัดวัชพืชด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ควรพ่นสารกำจัดวัชพืช ตามคำแนะนำ การแปรรูป และผลิตภัณฑ์
ถั่วเหลืองเป็นพืชโปรตีนสูง การแปรรูปผลิตภัณฑ์สามารถเพิ่มมูลค่าของผลผลิตได้ จากการทดลองปฏิบัติได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิตมากมาย
คุณค่าทางอาหารของถั่วเหลือง
ถั่วเหลือง เป็นพืชที่ให้โปรตีนสูงกว่าเนื้อสัตว์ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางด้านป้องกันการเกิดโรคอีกหลายชนิด เช่น ลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด ลดไขมัน ลดความดัน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยเสริมฮอร์โมนเพศหญิง และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ ลดการเกิดมะเร็ง แต่อย่างไรก็ตาม การบริโภคอาหารจากถั่วเหลืองยังไม่มากเท่าที่ควร ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ กรมวิชาการเกษตร ได้พัฒนาการแปรรูปถั่วเหลืองในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างกระแสการบริโภคให้มากยิ่งขึ้น และทุกคนจะได้มีสุขภาพดี นอกจากนี้เกษตรกรจะได้ผลิตถั่วเหลือง ให้มีคุณภาพสูงยิ่ง ๆ ขึ้นอีก ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย
องค์ประกอบที่สำคัญของเมล็ดถั่วเหลือง

พลังงาน 411.0 กิโลกรัมแคลอรี่
ความชื้น 11.1 กรัม/100 กรัม
โปรตีน 34.0 กรัม/100 กรัม
ไขมัน 18.7 กรัม/100 กรัม
คาร์โบไฮเดรท 26.7 กรัม/100 กรัม
กากใย 4.7 กรัม/100 กรัม
เถ้า 4.8 กรัม/100 กรัม
แร่ธาตุต่าง ๆ
แคลเซี่ยม 245.0 มิลลิกรัม/100 กรัม
ฟอสฟอรัส 500.0 มิลลิกรัม/100 กรัม
เหล็ก 10.0 มิลลิกรัม/กรัม
วิตามินต่าง ๆ
ไทอามีน 0.7 มิลลิกรัม/100 กรัม
ไรโบฟลาวิน 0.2 มิลลิกรัม/100 กรัม
ไนอาซีน 1.5 มิลลิกรัม/100 กรัม
วิตามินซี 14.0 มิลลิกรัม/100 กรัม

คุณค่าทางด้านสุขภาพ
เลซินติน พบในทุก ๆ เซลล์ของร่างกายมนุษย์ สัตว์ และของพืชผักต่าง ๆ สำหรับในเซลล์มนุษย์นั้นจะพบเลซินตินหนาแน่นที่สุดในสมอง ตับ ไต และในกระดูกอ่อน ถั่วเหลืองมีเลซินตินสูงมากถึง 1,480 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และในบ้านเรามีอาหารดังกล่าวอุดมสมบูรณ์ ถ้าเราสามารถรับประทานอาหารเหล่านี้เพียงวันละ 100 กรัม ร่างกายจะได้เลซินตินเกินต้องการ
ประโยชน์ของเลซินตินต่อร่างกาย
1. ทำหน้าที่เป็นตัวละลายโคเลสเตอรอลไตรกรีเซอไรค์ และไขมันอื่น ๆ ที่อยู่ในหลอดเลือดให้แตกตัวเป็นอนุภาคเล็กที่สุด และแล้วไขมันที่แตกตัวเหล่านี้จะรวมตัวเข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับโลหิตไหล เวียน ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เลซินตินจึงเป็นสารอาหารป้องกันไม่ให้ไขมันดังกล่าวไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด แคบลงและตีบตันในที่สุด
2. ป้องกันไขมันเกาะที่ตับ และอวัยวะที่สำคัญอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานไม่สะดวก
3. เลซินติน เป็นส่วนประกอบของแผ่นเนื้อเยื่อบาง ๆ หุ้มรอบเส้นใยประสาท (Myelin)
4. เลซินติน เป็นตัวที่ทำให้เกิดโคลีน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างสารเคมี ชนิดหนึ่งสำหรับระบบประสาทที่ให้สัญญาณในการสื่อสาร ผู้ที่ร่างกายมีระดับโคลีนต่ำ จะทำให้จิตใจหดหู่เศร้าหมอง หลงลืม และไม่มีสมาธิ อาการเหล่านี้มักเกิดกับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ โคลีนจะช่วยปล่อยฮอร์โมนวาโสเพรสซิน (Vasopressin) ออกมา ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวกับความจำ การเรียนรู้ การควบคุมปริมาณของปัสสาวะ และควบคุมความดันโลหิต
5. เลซินตินทำหน้าที่ซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ ส่งเสริมการทำงานของเซลล์ให้มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ ให้ความชุ่มชื่น แข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ตับ ไต และต่อมไร้ท่อ ตลอดถึงการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
6.รักษาผิวพรรณ ลดรอยด่างรอยตกกระบนผิวหนัง และสีคล้ำรอบขอบตา เนื่องจากการเกาะของไขมัน
7. ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของโคเลสเตอรอลในถุงน้ำดี
8. ควบคุมและส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทให้ปกติสม่ำเสมอไม่ให้มีความกระวนกระวายใจ ไม่ให้เหนื่อยง่ายหรืออ่อนเพลียได้ง่าย
อาหารที่เสริมฤทธิ์เลซินติน ได้แก่

วิตามินอี จะช่วยให้เลซินตินทำงานในร่างกายอย่างได้ผล เพราะจะทำงานประสานกัน และส่งเสริมกันและกันโดยเฉพาะผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน วิตามินอี จะทำให้การใช้อินซูลินในร่างกายน้อยลงด้วย
วิตามินบี 5 และแคลเซี่ยมจะช่วยเปลี่ยนเลซินตินเป็นโคลีน ซี่งช่วยควบคุมการทำงานของสมอง
ขนาดรับประทานไม่มีมาตรฐานกำหนดไว้ เพราะว่าร่างกายสามารถสร้างเองได้ แต่อย่างไรก็ดี ธรรมดาแล้ว แนะนำให้รับประทานครั้งละ 1,200 มิลลิกรัม วันละ 1-2 ครั้ง
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเลซินตินในแง่ของกระบวนการกักกัน (Blood-brain barrier)
กระบวนการกักกันนี้จะคอยป้องกันสมองไม่ให้รับสิ่งต่าง ๆ จากกระแสโลหิตโดยตรง อย่างไรก็ดี มีสารบางอย่างที่สามารถซึมผ่านกระบวนการกักกันนี้ได้ สารนั้นได้แก่ เลซินติน สุรา ยานอนหลับ และยาระงับประสาทต่าง ๆ (Narcotics) หมายความว่า ทุกครั้งที่เรารับประทานสิ่งดังกล่าวแล้ว มันจะมีผลถึงสมองทันที ที่เข้าไปในกระแสโลหิต ดังนั้น เลซินตินจึงเป็นอาหารเสริมที่ถึงสมองทันทีรับประทาน สำหรับผู้ที่ดื่มสุราหรือรับประทานยาพวกนี้ จะเห็นได้ชัดว่ามีผลกับสมองโดยตรงและไปถึงประสาทที่ให้สัญญาณในการสื่อสาร หรือ ที่เรียกว่า เซลล์สื่อประสาท ซึ่งควรจะระวังมาก ๆ นอกจากจะทำลายสุขภาพของสมองและระบบประสาทแล้ว ยังทำให้เกิดอาการขี้ลืมด้วย สตรีวัยก่อนหมดประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือนแล้วก็ตามจะมีความเสี่ยงใน การเป็นโรคกระดูกผุบาง แพทย์จึงมักรักษาโดยการให้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งจะมีปัญหาตามมาอีก คือ มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่เต้านมถ้าใช้ยาฮอร์โมนทดแทนนานเกิน 5 ปีขึ้นไป (ยังต้องรอผลการศึกษาใหม่ว่าอาจจะมีโอกาสน้อยหรือไม่เป็นเลย?) ในสารสกัดจากถั่วเหลืองจะมีสารชื่อ ISOFLAVONES ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ในสตรีวัยทอง เพราะออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (PHYTOESTROGEN) แต่อ่อนกว่ามาก จะช่วยเพิ่มมวลกระดูกให้หนาแน่นขึ้น (bonemass) โดยลดการละลายแคลเซียมออกจากกระดูก นอกจากนี้แล้ว ISOFLAVONES ยังลดอาการหมดประจำเดือนอย่างอื่น ๆ อีก เช่น อาการร้อนวูบวาบเหลื่อแตก ไขมันสูง ช่องคลอดแห้งอารมณ์ไม่ปกติ เป็นต้น ในสัตว์ทดลองปรากฏว่า ช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งช่องคลอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งต้องการการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก

การแปรรูปถั่วเหลือง
เต้าเจี้ยว

ส่วนผสม

ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม
แป้งสาลีหรือแป้งข้าวจ้าวคั่วพอเหลืองนวล 400 กรัม (ใช้แป้งสาลีจะได้เต้าเจี้ยวที่มีกลิ่นหอมกว่า)
น้ำเกลือจำนวน 2 ลิตร (เตรียมจากเกลือ 400 กรัม ผสมน้ำ 2 ลิตร ต้มให้เดือด)
ส่าเชื้อรา แอสเปอร์จิลลัสออไรซี่ (Aspergillus oryzae) 1 ช้อนชา (แต่ถ้าใช้ถั่วเหลือง 25 กก. ใช้เชื้อรา 2 ช้อนโต๊ะ ก็พอเพียง)
วิธีทำ
1. ต้มถั่วเหลืองพอสุก ทิ้งไว้ให้เย็นและผึ่งบนตะแกรงให้หมาด
2. นำส่าเชื้อราผสมแป้งเล็กน้อยคลุกเคล้าให้ทั่ว
3. นำถั่วเหลืองใส่กระด้งไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 ซม. แล้วเกลี่ยให้สม่ำเสมอ
4. ใส่แป้งที่ได้คลุกเชื้อราวางบนถั่วกลางกระด้ง
5. ใส่เชื้อราที่ผสมแป้งลงไปบนแป้งกลางกระด้งแล้วคลุกแป้งกับเชื้อราให้เข้ากันอีกครั้ง
6. คลุกเคล้าเมล็ดถั่วกับแป้งให้แป้งติดเมล็ดอย่างสม่ำเสมอทุกเมล็ด
7. เกลี่ยถั่วเหลืองให้หนา 2-3 ซม. ปิดด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำบิดพอหมาด ๆ
8. นำกระด้งไปวางบนชั้นในห้องซึ่งพื้นที่วางโปร่งมีการระบายอากาศ
9. หลังจากทิ้งไว้ 3-4 วัน จะมีเชื้อราสีเขียวอมเหลืองคลุมถั่วทั้งหมด
10.คลุกถั่วเหลืองในกระด้งให้เมล็ดแยกออกจากกัน (ในระหว่างการคลุก เชื้อรา จะฟุ้งกระจายดังนั้นควรคลุมกระด้งด้วยพลาสติกใสกันการฟุ้งกระจาย และควรใส่ถุงมือยางด้วย)
11.นำถั่วใส่ตุ่มเคลือบแล้วเติมน้ำเกลือ (การเตรียมน้ำเกลือควรทำล่วงหน้าไว้ก่อน 1 วัน)
12.ปิดฝาตุ่มแล้วยกไปตั้งกลางแจ้ง ระวังอย่าให้ถูกน้ำค้างหรือน้ำฝน (ในระหว่างการดอง ควรใช้พายคนให้ทั่วสัปดาห์ละครั้ง)
13.หลังการหมักไว้นาน 3-4 เดือน นำไปต้มจนเดือดนาน ๆ เพื่อให้เชื้อราตายและหยุดการเจริญ แล้วเติมน้ำตาลทราย 100 กรัม ยกลง
14.ล้างขวดให้สะอาด พร้อมฝาแล้วต้มขวดด้วยน้ำที่ร้อนเดือด แล้วลวกฝาจุกด้วยน้ำเดือด (เพื่อมิให้ขวดแตก ควรบรรจุน้ำเย็นลงในขวดและนอนขวดในหม้อต้ม แล้วต้มจนเดือดขวดจะไม่แตก
15.บรรจุเต้าเจี้ยวลงขวด ทิ้งไว้จนเต้าเจี้ยวเย็น แล้วจึงปิดฝาให้สนิทไม่ให้อากาศเข้าได้เก็บไว้รับประทานได้นานเป็นปี
แหล่งผลิตเชื้อราสำหรับทำเต้าเจี้ยว
ร้านกิจมงคลชัย 47 หมู่ 7 ต.โพสะ อ.เมือง จ.อ่างทอง 14000
การลงทุนทำเต้าเจี้ยวสำหรับเต้าเจี้ยวใช้เมล็ดถั่วเหลือง 10 กิโลกรัม
อุปกรณ์
วัตถุดิบ 200-300 บาท
รายได้ 1,250 บาท
กำไรสุทธิ 300-400 บาท
คุ้มทุน 2-3 เดือน
แรงงาน 600 บาท 1-2 คน

ตลาด สามารถบรรจุขายส่งตามร้านอาหารและวางขายตามร้านทั่วไปหรือขายส่งเป็นกิโลกรัม
พล่าเต้าเจี้ยว
ส่วนผสม

เต้าเจี้ยว 1 ถ้วย
น้ำส้มมะขาม 1/2 ถ้วย
น้ำมะกรูด 2 ช้อนโต๊ะ
ตะไคร้หั่นฝอย 1/2 ถ้วย
หอมแดงซอย 1/2 ถ้วย
มะเขือเปราะซอย 1/2 ถ้วย
ขิงหั่นฝอย 1 / 4 ถ้วย
ใบมะกรูดหั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูหั่น 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ผสมเต้าเจี้ยวกับน้ำส้มมะขาม และน้ำมะกรูด คลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. ใส่ตะไคร้ หอมแดง มะเขือเปราะ ใบมะกรูด พริกขี้หนู เคล้าให้ทั่ว
3. ตักใส่ถ้วย แต่งหน้าด้วยขิง ใบมะกรูด พริกขี้หนูเล็กน้อยรับประทานกับผักสด เช่น แตงกวา มะเขือ ถั่วฝักยาว ฯลฯ
หมายเหตุ เต้าเจี้ยวที่นำมาปรุงอาหารนี้ หากเป็นเต้าเจี้ยวที่ทำเองจะ มีรสชาติกลมกล่อมพอดี ไม่ต้องเติมน้ำตาลอีก แต่ถ้าเป็นเต้าเจี้ยวที่ซื้อตามท้องตลาดจำเป็นต้องเติมน้ำตาลอีกเล็กน้อย
เต้าหู้ขาว
ส่วนผสม

ถั่วเหลือง 500 กรัม (สำหรับทำเต้าหู้ขาว 4 แผ่น)
น้ำสะอาด 2.5 ลิตร
แมกนีเซียมซัลเฟต 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ล้างถั่วให้สะอาด แช่น้ำประมาณ 3-4 ชม. แล้วสงขึ้นจากน้ำ
2.ตวงน้ำ 2.5 ลิตร ปั่นกับถั่วแล้วกรองเอากากออก
3. นำน้ำนมมาต้มให้เดือด ยกลง ให้อุณหภูมิของน้ำนมลดลง เหลือประมาณ 80 องศาเซสเซียส หรือรอให้เย็น 2-3 นาที่ (ถ้ามีเทอร์โมมิเตอร์วัดก็ยิ่งดีเพราะอุณหภูมิของน้ำนม มีความสำคัญที่จะทำให้เต้าหู้จับตัวเป็นก้อน)
4.เตรียมสารแมกนีเซียมซัลเฟต 2ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำเปล่า 1 ใน 3 ถ้วย คนจนแมกนีเซียมซัลเฟตละลายสีใส พออุณหภูมิของน้ำนมถั่วเหลืองลดลงมาได้ 80 องศาเซลเซียส เทแมกนีเซียมซัลเฟต ลงในน้ำนม ค่อย ๆ เทวน ใช้พายค่อย ๆ คนเบา ๆ จนเห็นว่ามีตะกอนเป็นก้อนสีขาวแยกตัวออกมา เอาผ้าขาวรองในพิมพ์ตักตะกอนขาวใส่ในพิมพ์ แล้วทับด้วยผ้าขาวบางอีกที่ แล้วใช้นำหนักพอเหมาะกับพิมพ์ กดทับก้อนเต้าหู้ไว้ เพื่อกำจัดน้ำและเต้าหู้จับเป็นก้อน ก็จะได้เต้าหู้ขาว ที่อุดมด้วยโปรตีน นำไปประกอบอาหารได้ตามต้องการ
หมายเหตุ

แมกนีเซียมซัลเฟตหรือดีเกลือหาซื้อได้ตามร้านขายยาจีนทั่วไป
ถ้าใส่ดีเกลือมาก จะทำให้เต้าหู้ขาวมีรสขม
พิมพ์ที่ใช้ทำเต้าหู้เราอาจใช้ตะกร้าพลาสติก หรือตะกร้าไม้ไผ่มีรูด้านล่าง และด้านข้างให้น้ำออกได้ 2 ใบซ้อนกัน ขนาดประมาณ 5 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว ลึก 3-4 นิ้ว
การลงทุนทำเต้าหู้ขาว
อุปกรณ์
วัตถุดิบ 100 บาท
รายได้ 500 บาท
กำไรสุทธิ 300 บาท
คุ้มทุน 2-3 เดือน
แรงงาน 700 บาท 1 คน

ตลาดทำขายตามตลาดสดทั่วไป จุดที่น่าสนใจ สามารถนำไปทอดขายเป็นอาหารว่าง ตามตลาดหรือทอดขายหน้าบ้านได้
เต้าฮวย
ส่วนผสม

น้ำนมถั่วเหลืองชนิดข้น 6 ถ้วยตวง
หินอ่อน (แคลเซี่ยมซัลเฟต) 2 ช้อนโต๊ะ
แป้งมันสำปะหลัง 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. เตรียมน้ำนมถั่วเหลือง โดยใช้ถั่วเหลือง 500 กรัม ต่อน้ำ 2.5 ลิตร (วิธีเตรียมเช่นเดียวกับเต้าหู้ขาว)
2.นำน้ำนมถั่วเหลืองตั้งไฟให้เดือดพล่าน
3. เตรียมละลายหินอ่อนและแป้งมันรวมกัน ใส่น้ำพอสมควร เทลงในชามอ่าง หรือถังไม้ อย่าให้ตะกอน
4.รีบเทน้ำนมถั่วเหลืองที่ต้มเดือดลงในชามอ่างโดยเร็วไม่ต้องคน เต้าฮวยจะแข็งตัวภายใน 5 นาที
5.ทิ้งให้เย็น รับประทานกับน้ำขิง โรยด้วยงาดำคั่วป่น จะช่วยเสริมแคลเซียมได้อีกนาน
หมายเหตุ หินอ่อนหรือเจี๊ยะกอ ลักษณะเป็นก้อนสีเทาอ่อน หาซื้อได้จากร้านขายยาจีนทั่วไป แต่เป็นหินอ่อนที่ยังไม่ได้สะตุเอาน้ำออก วิธีสะตุเอาน้ำออกก็คือนำไปเผาไฟจนเป็น ก้อนขาว แล้วนำมาบดให้ละเอียดและร่อนเก็บไว้ในภาชนะปิดสนิทไม่ให้อากาศเข้าได้ จะใช้ทำเต้าฮวยได้อีกนาน
นมถั่วเหลือง (น้ำเต้าหู้)
ส่วนผสม

ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม
น้ำสะอาด 12 ลิตร
น้ำตาลทรายขาว 1 กิโลกรัม
ใบเตยล้างสะอาด 5 ใบตัดเป็นท่อน ๆ
เกลือเสริมไอโอดีน 2 ช้อนชา
วิธีทำ
1. แช่ถั่วเหลืองในน้ำสะอาดนาน ประมาณ 6 ชั่วโมง
2.เทน้ำออกแล้วล้างให้สะอาด
3.สงขึ้นจากน้ำแล้วนำมาบดกับน้ำสะอาด 12 ลิตร
4.กรองกากถั่วเหลืองออกด้วยผ้าขาวบาง
5. นำน้ำถั่วเหลืองที่ได้มาต้มกับใบเตยให้เดือดแล้วใส่น้ำตาลและเกลือคนให้น้ำตาลละลายยกลงกรองอีกครั้ง รับประทานได้
หมายเหตุ ขณะต้มต้องหมั่นคนอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะไหม้ได้ง่าย การลงทุนนมถั่วเหลือง
(น้ำเต้าหู้) ถั่วเหลือง 5 กิโลกรัม
การลงทุนทำนมถั่วเหลือง (น้ำเต้าหู้)
อุปกรณ์ระยะยาว
วัตถุดิบ
รายได้
กำไรสุทธิ
แรงงานในครอบครัว 15,000 บาท
150 บาท
525 บาท
375 บาท
2 คน

ตลาด บรรจุขวดส่งตามบ้านและส่งขายตามโรงเรียนต่าง ๆ
ไอศครีมถั่วเหลือง
ส่วนผสม

ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม
น้ำสะอาด 12 ลิตร
น้ำตาลทราย 17 กิโลกรัม
เกลือป่น 2 ช้อนชา
ใบเตยล้างสะอาดตัดเป็นท่อน ๆ ละ 5 ใบ
วิธีทำ
1.แช่ถั่วเหลืองในน้ำสะอาด ประมาณ 6 ชั่วโมง เทน้ำทิ้ง แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด
2. สงขึ้นจากน้ำ แล้วบดกับน้ำสะอาด 12 ลิตร
3.กรองกากถั่วเหลืองออก
4.นำน้ำนมถั่วเหลืองมาต้มกับใบเตยพอเดือดใส่น้ำตาลทรายเกลือคนให้ละลาย
5.กรองอีกครั้ง แล้วทิ้งให้เย็น
6.นำมาผสมข้าวโพดหวาน ขนุน ฯลฯ แล้วเข้าเครื่องปั่นจนแข็งรับประทานได้
หมายเหตุ

ถ้าทำไอศครีมรับประทานในครอบครัว นำเข้าตู้เย็นช่องแช่แข็ง (ยังไม่ต้องใส่ข้าวโพดหรือขนุน)
เมื่อเริ่มแข็งตัว นำออกมาใช้ส้อมตี หรืออาจใช้เครื่องผสมอาหารตีให้ละเอียดเสียก่อน แล้วจึงใส่ข้าวโพดหรือขนุน นำเข้าตู้เย็นอีกครั้งจนกระทั่งแข็งตัว นำออกมารับประทานได้
การลงทุนทำไอศครีมถั่วเหลือง
อุปกรณ์ระยะยาว
วัตถุดิบ
รายได้
คุ้มทุน
แรงงาน 15,000-17,000 บาท
100 บาท
400 บาท/12 ลิตร
6 เดือน
1 คน

ตลาด ส่งร้านอาหาร/ขายเองย่านชุมชน จุดที่น่าสนใจ เป็นอาหารคลายร้อนแล้วให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก
ขนมรังผึ้งเชียงใหม่
ส่วนผสม

แป้งถั่วเหลือง 2 1/2 ถ้วยครึ่ง
นมถั่วเหลือง 1 ถ้วย
น้ำมันถั่วเหลือง 1/2 ถ้วย
ไข่แดงตีพอแตก (ขนาดกลาง) 5 ฟอง
เกลือป่นเสริมไอโอดีน 1/2 ช้อนชา
วานิลลา 2 ช้อนชา
ไข่ขาว (ขนาดกลาง) 5 ฟอง
น้ำตาลทรายไม่ฟองสี 3 /4 ถ้วย
วิธีทำ
1.ผสมแป้งถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง และเกลือ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วค่อย ๆ เทน้ำมันผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันใส่ไข่แดงเคล้าผสมให้ทั่ว อย่าให้แป้งเป็นเม็ด
2.ตีไข่ขาวให้ฟูแข็ง ค่อย ๆ โรยน้ำตาลที่ละน้อยจนหมด
3.เทส่วนผสมในข้อที่ 1 ลงในส่วนผสมข้อที่ 2 ใช้พายคนไปทางเดียวกันเบา ๆ ให้เข้ากัน ใส่วานิลลา คนอีกครั้ง
4.ตักหยอดใส่พิมพ์ขนมรังผึ้ง (ใช้พิมพ์รังผึ้งไฟฟ้าจะดีที่สุด) แต่ใช้พิมพ์รังผึ้งแบบใช้ถ่านจะติดพิมพ์ไม่เป็นรูปร่าง ถ้าไม่มีพิมพ์ก็ใช้หยอดบนกระทะแบนที่ทาน้ำมัน ซึ่งทำเช่นเดียวกับแพนเค้กก็ได้หรือถ้ามีเตาอบก็ใส่ถ้วยอบหรืออบพิมพ์ขนมไข่ ก็ได้เช่นเดียวกัน
ขนมรังผึ้งเชียงใหม่ ต่อส่วนผสม 1 ครั้ง
อุปกรณ์
วัตถุดิบ
รายได้
กำไรสุทธิ
แรงงาน 500 บาท
35 บาท
175 บาท
140 บาท
1 คน

ตลาด ทำขายตามตลาดสดทั่วไป จุดที่น่าสนใจ สามารถนำไปขายตามตลาด
ซุปถั่วเหลือง
ส่วนผสม

น้ำสะอาด 6 ถ้วย
แครอทหั่นฝอย 1 ถ้วย
เต้าหู้หั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเล็ก ๆ 1 ถ้วย
หอมใหญ่หั่นชิ้นเล็ก ๆ 1/2 ถ้วย
เต้าเจี้ยวบดละเอียด 1/3-1/2 ถ้วย
ต้นหอมญี่ปุ่นซอยละเอียด 1 ถ้วย (ใช้ต้นหอมแบ่งแทนได้)
วิธีทำ
1.ต้มน้ำให้เดือด ใส่แครอท เต้าหู้แข็ง ต้มให้สุก แล้วใส่หอมใหญ่
2. แบ่งตักน้ำซุป 1/2 ถ้วย ใส่เต้าเจี้ยวลงละลายในน้ำซุป แล้วเทใส่หม้อตามเดิม คนให้เข้ากัน
3. ตักใส่ถ้วย โรยด้วยต้นหอมญี่ปุ่น รับประทานได้
หมายเหตุ

ผักที่ใส่ในซุป จะเปลี่ยนเป็นฟักทอง ผักใบเขียว หรือเห็ดก็ได้
ใช้เต้าเจี้ยวที่ทำเอง จะมีความเค็มน้อย และกลิ่นหอม
ต้นหอมญี่ปุ่น มีวางจำหน่ายโดยโครงการดอยคำ
ใช้เต้าหู้ทอด แล้วซอยเป็นแผ่นบาง ๆ ใส่เพิ่มอีกได้
ขนมหม้อแกงถั่วเหลือง
ส่วนผสม

ถั่วเหลืองนึ่งสุกบดละเอียด 1 กิโลกรัม
ไข่เป็ด 20 ฟอง
น้ำตาลปิ๊บ 1.5 กิโลกรัม
หัวกะทิ 1 กิโลกรัม
เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
หอมแดง 10-15 หัว
น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
ใบเตย 5-6 ใบ
แป้งสาลี 1.5 ถ้วย
วิธีทำ
1. นำถั่วเหลืองที่แช่น้ำไว้ 8-10 ชั่วโมง สงขึ้นแล้วนำมานึ่ง
2.ต่อยไขใสภาชนะ ตีให้ละเอียดแล้วนำส่วนผสม (น้ำตาล เกลืด กะทิ ผสมให้เขช้ากับใบเตยบด กรองด้วยผ้าขาวบาง นำถั่วเหลืองและแป้งสาลีลงผสม คนให้เข้ากัน แล้วนำไปบดให้ละเอียด
3.นำส่วนผสมใส่กระทะทองเหลือง ตั้งไฟกวนให้ข้นเหนียว แล้วใช้น้ำมันพืชทาพิมพ์ให้มัน
4.เทใส่พิมพ์อะลูมิเนียม แล้วใช้น้ำมันทาหน้าอีกที่นำไปเข้าตู้อบ อุณหภูมิ 175 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 45นาที่ พอหน้าขนมเริ่มเหลืองแตกมัน ยกออก รอให้ขนมเย็น จึงตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม โรยหน้าด้วยหอมเจียว
ขนมที่อบเรียบร้อยแล้วต้นทุนการผลิต
วัตถุดิบ
รายได้
กำไรสุทธิ
แรงงาน 119 บาท
140-170 บาท
31-61 บาท
1 คน

ขนมหม้อแกงที่ทำสามารถผลิตได้ 2 ถาด ถาดละ 42 ชิ้น
เค้กถั่วหลือง
ส่วนผสม

ผลไม้แต่งหน้าขนม
ผลไม้กระป๋อง 1- 1/2 ถ้วย (สับปะรดแว่น เงาะ ลิ้นจี่ สตรอเบอรี่ วางไว้บนตะแกรงเอาน้ำออกให้หมด
ผลไม้แห้ง 1/2 ถ้วย (กล้วยตาก ลำไยแห้งหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
ส่วนผสมหน้าขนม
น้ำตาลทรายแดง (น้ำตาลอ้อย) 1/3 ถ้วย
เนยสด 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำผลไม้กระป๋อง 1/3 ถ้วย (น้ำสับปะรดแว่น)
ส่วนผสมตัวขนม
แป้งถั่วเหลือง 1 ถ้วย
แป้งสาลีชนิดทำเค้ก 1 ถ้วย
ผงฟู 2 ช้อนชา
เกลือ 1/4 ช้อนชา
เนยสด 1 ถ้วย
ไข่ไก่ขนาดกลาง 4 ฟอง (หรือขนาดใหญ่ 3 ฟอง)
นมถั่วเหลือง 2 ช้อนโต๊ะ
วานิลลา 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 3/4 ถ้วย
วิธีทำหน้าขนม
1. ใส่น้ำตาลทรายแดงลงในหม้อ เติมน้ำผลไม้ ตั้งไฟให้เดือดและเคี่ยวไฟอ่อน ๆ จนเป็นยางมะตูม แล้วใส่เนยสดคนจนละลาย ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น
2.นำพิมพ์ขนมมาทาเนยให้ทั่ว แล้ววางผลไม้จัดวางให้สวยงาม
3. เทส่วนผสมข้อ 1 ลงไป แล้วพักไว้
วิธีทำตัวขนม
1.ร่อนแป้งถั่วเหลือง และแป้งสาลี แล้วตวงอย่างละ 1 ถ้วย ผสมแป้งทั้ง 2 ชนิดเข้าด้วยกัน ใส่ผงฟูและเกลือ ร่อนอีก 1 ครั้ง พักไว้
2. ตีเนยกับน้ำตาลจนเป็นครีมขาวฟู

การปลูกถั่วเหลืองให้ได้ผลผลิตดี

                                       เทคนิควิธีปลูก ถั่วเหลือง

ถั่ว เหลืองเป็นพืชน้ำมันที่สำคัญของโลกเนื่องจาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งการบริโภคเมล็ดและน้ำมัน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และใช้กากเป็นอาหารสัตว์ ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น สีทาบ้าน ปลาทูน่ากระป๋อง พลาสติก และกาว เป็นเหตุให้ความต้องการใช้ ถั่วเหลือง ขยายตัวมาโดยตลอด การผลิตในประเทศยัง ไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์เป็นพืชบำรุงดิน

ปัญหาของพืช ข้อจำกัด และโอกาส 
ศักยภาพของพันธุ์ทำให้ผลผลิตต่ำ
เมล็ดพันธุ์มีคุณภาพต่ำ เสื่อมคุณภาพเร็ว
เกษตรกรขาดความรู้ในการใช้เครื่องนวดให้เหมาะสมเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์
การกระจายเมล็ดพันธุ์ดียังไม่ทั่วถึ
มีศัตรูพืชรบกวนมาก เช่น โรค แมลง และวัชพืช ทำให้ผลผลิตลดลง 30-80 เปอร์เซ็นต์
ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น การเลือกใช้พันธุ์ และการใช้ปุ๋ยตามชนิดของดิน แต่ละแหล่งปลูกยังไม่เหมาะสม
โอกาสที่เกษตรกรจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่เฉพาะเจาะจงในแต่ละแหล่งปลูก
ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูง แต่ยังมีความต้องการมาก

ี้
1. พันธุ์ สจ.4
สจ.4 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ Acadian กับ Tainung 4 ในปี พ.ศ. 2513 ณ สถานีทดลองพืชไร่แม่โจ้ (ปัจจุบัน คือ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่) โดยการคัดเลือกแบบสืบประวัติ (Pedigree selection) จนถึงชั่วที่ 7 จึงนำเข้าเปรียบเทียบในท้องถิ่นต่าง ๆ ปรากฏว่ามีการปรับตัวได้ดี และให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้รับรองพันธุ์ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2519
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 300 กก./ไร่
2. มีความทนทานต่อโรคราสนิมและแอนแทรคโนส
ลักษณะประจำพันธุ์
1. ตาหรือขั้วของเมล็ดค่อนข้างเล็ก มีสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดสีเหลือง
2. ลาต้นไม่ทอดยอด มีดอกสีม่วง
3. เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง
4. ปลูกได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 95 วัน
พื้นที่แนะนำ
เป็นพันธุ์ที่ปรับตัวได้กว้าง จึงใช้เป็นพันธุ์แนะนำที่สามารถปลูกได้ทั่วไปทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ลงไปถึงภาคกลาง
ข้อควรระวัง
หลีกเลี่ยงการปลูกในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคใบจุดนูน เนื่องจากพันธุ์นี้ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคใบจุดนูน ซึ่งมักระบาดมากในการปลูกช่วงกลางฤดูฝน (กรกฎาคม)
2. พันธุ์ สจ.5
พันธุ์ สจ.5 เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ Tainung 4 กับพันธุ์ สจ.2 ในปี 2513 ณ สถานีทดลองพืชไร่แม่โจ้ (ปัจจุบัน คือ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่) ทำการคัดเลือกแบบสืบประวัติ (Pedigree selection) และประเมินผลผลิตในหลายท้องที่ มีการเจริญเติบโต ปรับตัวได้ดี ผลผลิตสูงสม่ำเสมอจึงได้รับการเสนอรับรองพันธุ์ โดยกรมวิชาการเกษตร ในปี พ.ศ. 2523
ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตสูง 320 กก./ไร่
2. ทนทานต่อโรคใบด่าง โรคราสนิม และโรคแอนแทรคโนส
3. ทนต่อสภาพดินที่มีความชื้นสูง หรือดินแฉะในช่วงการปลูกได้มากกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60
4. เมล็ดมีความงอกความแข็งแรงดี ลำต้นแข็งแรง
ลักษณะประจำพันธุ์
1. ตาหรือขั้วเมล็ดมีลักษณะเช่นเดียวกับพันธุ์ สจ.4 คือ มีสีน้ำตาลอ่อน
2. ลำต้นไม่ทอดยอด มีดอกสีม่วง ฝักแก่มีสีน้ำตาลเข้ม
3. อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 100 วัน
พื้นที่แนะนำ
เป็นพันธุ์ที่ใช้แนะนำปลูกได้ทั่วไป เช่นเดียวกับพันธุ์ สจ.4 เนื่องจากเป็นการคัดพันธุ์แบบปรับตัวได้กว้าง จึงใช้ปลูกได้ทั่วไปในแหล่งปลูกถั่วเหลืองของประเทศไทย
ข้อควรระวัง
เช่นเดียวกับพันธุ์ สจ.4 คือ หลีกเลี่ยงการใช้พันธุ์นี้ปลูกในเขตที่มีการระบาดของโรคใบจุดนูน
3. พันธุ์เชียงใหม่ 60
ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ได้จากการคัดเลือกจากคู่ผสมระหว่างพันธุ์ Williams x สจ.4 เมื่อปี 2518 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ จำนวน 22 คู่ผสม คัดเลือกรุ่นลูกโดยวิธีสืบประวัติเพื่อหาสายพันธุ์ที่ให้ ผลผลิตสูงทนทานต่อโรคที่สำคัญ กรมวิชาการเกษตรพิจารณาเป็นพันธุ์รับรองวันที่ 30 กันยายน 2530
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 280-350 กิโลกรัมต่อไร่
2. มีความทนทานต่อโรคราสนิม โรคใบจุดนูน และโรคราน้ำค้างดีกว่าพันธุ์ สจ.4 และสจ.5
3. สามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้กว้าง เหมาะสำหรับใช้เป็นพันธุ์ปลูกทุกสภาพท้องถิ่น
ลักษณะประจำพันธุ์
1. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ โคนต้นอ่อนสีเขียวอ่อน ดอกสีขาว ขนสีน้ำตาล เปลือกหุ้มเมล็ดแห้งสีเหลือง ตาเมล็ดแก่สีน้ำตาล เมล็ดแก่รูปร่างค่อนข้างกลม ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะลำต้นไม่ทอดยอด แตกกิ่งน้อย ขึ้นอยู่กับระยะปลูกและจำนวนต้นต่อไร่
2. ลักษณะทางการเกษตร ผลผลิตเฉลี่ย 260-360 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนฝักต่อต้น 50 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 2 เมล็ด น้ำหนัก 100 เมล็ด 15 กรัม ความสูง 40-64 เซนติเมตร จำนวนข้อ 12 ข้อ จำนวนกิ่งน้อย อายุออกดอก 35 วัน อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน
พื้นที่แนะนำ
ปลูกได้ทุกแหล่งปลูกถั่วเหลือง
ข้อควรระวัง
1. อ่อนแอต่อสภาพดินที่มีความชื้นสูงหรือมีน้ำขัง การปลูกในฤดูแล้งในเขตชลประทาน ไม่ควรให้น้ำขังหรือในฤดูฝนควรระบายน้ำออกจากแปลงก่อนปลูก
2. เมล็ดพันธุ์เสื่อมความงอกเร็วถ้าเก็บในสภาพอุณหภูมิห้อง
4. พันธุ์สุโขทัย 2
ถั่วเหลืองพันธุ์สุโขทัย 2 ได้จากการคัดเลือกจากคู่ผสมระหว่างสายพันธุ์ 7016 และพันธุ์สุโขทัย 1 ได้พิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2538
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสูงประมาณ 290-310 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ร้อยละ 7
2. มีความต้านทานต่อโรคที่สำคัญ 3 ชนิด คือ โรคราน้ำค้าง โรคใบจุดนูน และโรคไวรัสใบด่าง
3. มีคุณภาพเมล็ดพันธุ์ (ความงอกและความแข็งแรง) ดีกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 และมีปริมาณเมล็ดเขียวน้อยประมาณร้อยละ 0.2-2.2
4. มีปริมาณโปรตีน ในเมล็ดเฉลี่ยร้อยละ 39
ลักษณะประจำพันธุ์
โคนต้นอ่อนสีม่วง ดอกสีม่วง ขนที่ฝักสีน้ำตาลเข็ม ฝักแก่สีน้ำตาลดำ เปลือกหุ้มเมล็ดแห้งสีเหลือง ขั้วเมล็ดแก่สีดำ รูปร่างเมล็ดแก่ค่อนข้างกลม ใบในระยะออกดอกเต็มที่มีสีเขียวเข้ม ขนาดของใบย่อยเล็ก รูปร่างของใบแคบ ลักษณะลำต้นแบบกึ่งทอดยอด ลักษณะการเจริญเติบโตแบบ Indeterminate น้ำหนัก 100 เมล็ด 14.9 กรัม และมีดัชนีเก็บเกี่ยวร้อยละ 52
พื้นที่แนะนำ
เหมาะสำหรับปลูกในเขตภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ปลูกได้ทั้งในฤดูแล้ง ต้นและปลายฤดูฝน สำหรับในเขตภาคเหนือตอนบน ไม่ควรปลูกในช่วงกลางและปลายฤดูฝน
ข้อควรระวัง
ถั่วเหลืองพันธุ์สุโขทัย 2 ไม่เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่ดินมีความเป็นกรดจัด (pH < 5.5) และดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ นอกจากนี้ไม่ควรปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน ในช่วงกลางถึงปลายฤดูฝน เพราะอ่อนแอต่อโรคราสนิม
5. ถั่วเหลืองผิวดำพันธุ์สุโขทัย 3
ถั่วเหลืองผิวดำพันธุ์สุโขทัย 3 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง F3 (Fort Lamy x Chiang Mai 60) x Chiang Mai 60 เมื่อปี 2528 ที่สถานีทดลองพืชไร่ศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย คัดเลือกรุ่นลูกโดยวิธีสืบประวัติ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีการปรับตัวได้ดีในแต่ละแหล่งปลูก และให้ผลผลิตสูง โดยคัดเลือกจากลักษณะการติดฝักดกสมบูรณ์มีน้ำหนักต่อ 100 เมล็ด สูงมีคุณภาพเมล็ดดีเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์เชียงใหม่ 60 ทำการประเมินผลผลิตในศูนย์วิจัย สถานีทดลองพืชไร่ และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ปี 2533-2538 เป็นเวลา 6 ปี รวมทั้งหมด 54 แปลงทดลอง ได้พิจารณาเป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2542
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 298 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ร้อยละ 9
2. เมล็ดพันธุ์มีความงอกดีและเก็บรักษาไว้ได้นาน
3. ต้านทานต่อแมลงศัตรูถั่วเหลือง เช่น ไส้เดือนฝอย ด้วงถั่วเหลือง
4. ต้านทานต่อโรคแอนแทรคโนสในระยะเมล็ด
5. ต้านทานปานกลางต่อโรคราน้ำค้าง
ลักษณะประจำพันธุ์
1. ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ โคนต้นอ่อนสีเขียวอ่อน ดอกสีขาว ขนสีน้ำตาล ฝักแก่สีน้ำตาล เปลือกหุ้มเมล็ดแห้งสีดำ สีตาเมล็ดแก่สีดำ เมล็ดแก่รูปร่างค่อนข้างกลม ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะลำต้นไม่ทอดยอด
2. ลักษณะทางการเกษตร ผลผลิตเฉลี่ย 298 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนฝักต่อต้น 41 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 2 เมล็ด น้ำหนัก 100 เมล็ด 13 กรัม ความสูง 70 เซนติเมตร จำนวนข้อต่อต้น 15 ข้อ จำนวนกิ่งต่อต้น 1.5 กิ่ง อายุออกดอก 30-38 วัน อายุเก็บเกี่ยว 87-98 วัน
3. คุณสมบัติทางเคมี
- ไขมัน 21 เปอร์เซ็นต์
- โปรตีน 38 เปอร์เซ็นต์
พื้นที่แนะนำ
- ปลูกได้ทุกแหล่งปลูกถั่วเหลือง
ข้อควรระวัง
- ควรมีการประสานงานระหว่างผู้ปลูกกับตลาดก่อน เนื่องจากเป็นถั่วเหลืองผิวดำตลาดอาจไม่รับซื้อ
- เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นน้ำนมถั่วเหลือง (น้ำเต้าหู้) มีสีคล้ายสีช็อคโกแลต
6. พันธุ์เชียงใหม่ 2
ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 2 เป็นพันธุ์ที่มีอายุสั้นสามารถปลูกได้ 3 ฤดูต่อปี ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์เชียงใหม่ 60 x IAC 13 เมื่อปี 2530 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ คัดเลือกรุ่นลูกชั่วที่ 1 ถึงชั่วที่ 7 ในฤดูแล้งต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน ระหว่างปี 2531-2533 เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ปรับตัวตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมได้กว้าง มีความต้านทานต่อโรคที่สำคัญในแต่ละฤดูปลูก นำสายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ทำการประเมินผลผลิต ในศูนย์วิจัย สถานีทดลองในไร่เกษตรกร และทดสอบในไร่เกษตรกร ในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี 2534-2539 เป็นเวลา 6 ปี จำนวนทั้งหมด 173 แปลงทดลอง พิจารณาเป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2541
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 234 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 1 ร้อยละ 7
2. เป็นพันธุ์อายุสั้นมีอายุเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 77 วัน เท่ากับพันธุ์นครสรรค์ 1
3. เมล็ดพันธุ์มีความงอกดี
4. ปลูกได้ 3 ฤดูต่อปี คือ ฤดูแล้ง ต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝน และสามารถใช้ปลูกในระบบปลูกพืชได้
ลักษณะประจำพันธุ์
1. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ โคนต้นอ่อนสีม่วง ดอกสีม่วง ขนสีน้ำตาลอ่อน ฝักแก่สีน้ำตาล เปลือกหุ้มเมล็ดแห้งสีเหลือง ตาเมล็ดแก่สีน้ำตาล เมล็ดแก่รูปร่างค่อนข้างกลม ใบสีเขียว ลักษณะลำต้นไม่ทอดยอก
2. ลักษณะทางการเกษตร ผลผลิตเฉลี่ย 234 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนฝักต่อต้น 30 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 2 เมล็ด น้ำหนัก 100 เมล็ด 15 กรัม ความสูง 49 เซนติเมตร จำนวนข้อต่อต้น 12 ข้อ จำนวนกิ่งต่อต้น 2.3 กิ่ง อายุออกดอก 26 วัน อายุเก็บเกี่ยว 77 วัน
3. คุณสมบัติทางเคมี ไขมัน 19 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 38 เปอร์เซ็นต์
พื้นที่แนะนำ
ปลูกได้ทุกแหล่งปลูกถั่วเหลือง พันธุ์เชียงใหม่ 2 สามารถปรับตัวตอบสนองต่อทุกสภาพแวดล้อมทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะแหล่งปลูกถั่วเหลืองที่สำคัญ
ข้อควรระวัง
ในการปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 2 ควรปลูกระยะระหว่างแถว 30-40 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 20 เซนติเมตร จำนวนต้น 3-4 ต้นต่อหลุม
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

พื้นที่ดอน หรือที่ลุ่มไม่มีน้ำท่วมขัง ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร
ดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า1.5 เปอร์เซ็นต์ ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.5 - 7.0
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 15-35 องศาเซลเซียส
ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,000 - 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
ฤดูปลูก(ช่วงปลูกที่เหมาะสม)

ในสภาพนา เป็นการปลูกในฤดูแล้ง (กลางธันวาคม -กลางมกราคม) หลังเก็บเกี่ยวข้าวให้ตัดตอซังทิ้งไว้ในนา
ในสภาพไร่ เป็นการปลูกในฤดูฝน
ต้นฝน (พฤษภาคม-กลางมิถุนายน)
กลางฝน (กรกฏาคม)
ปลายฝน (สิงหาคม)
การเตรียมดิน

ในสภาพนา โดยไม่ต้องไถหรือพรวนดิน และขุดร่องระบายน้ำรอบกระทงนาและผ่านกลางแปลงกว้าง 30 เซนติเมตร ลึก 20 เซนติเมตร
ในสภาพไร่ ให้ไถด้วยผาลสาม 1 ครั้ง ลึก 15-20 เซนติเมตร ตากดิน 7-10 วัน พรวนด้วยผานเจ็ด 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง ปรับดินให้สม่ำเสมอ

ถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ให้หว่านปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000-1,500 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนกลบ
ถ้าดินมีค่าความเป็นกรดด่างต่ำกว่า 5.5 ให้หว่านปูนขาวอัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนกลบ

วิธีการปลูก
ใช้เมล็ดพันธุ์ อัตรา 12-15 กิโลกรัมต่อไร่ คลุกกับไรโซเบียม 200 กรัม โดยใช้ น้ำตาลทราย 75 กรัม ละลายน้ำ 300 มิลลิลิตร เป็นสารยึดเกาะ แล้วปลูกทันที
ในสภาพนา
ใช้ไม้ปลายแหลมทำหลุมกว้าง 2-3 เซนติเมตร ลึก 3-4 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ดพันธุ์ 4-5 เมล็ดต่อหลุม
ในสภาพไร่
ระยะปลูก 50x20 เซนติเมตร หยอดเมล็ด 4-5 เมล็ดต่อหลุม ได้ประมาณ 64,000 ต้นต่อไร่
ถ้าใช้เครื่องปลูก เครื่องจะปลูกแบบโรยเป็นแถว ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร จำนวน 20-25 ต้น ต่อแถวยาว 1 เมตร ได้ประมาณ 64,000-80,000 ต้นต่อไร่
การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
ในสภาพนา
ในช่วงการปลูกข้าว ถ้าให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 หรือ 16-20-0 แล้ว ควร ให้ปุ๋ยสูตร 0-46-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปลูกถั่วเหลือง
ในช่วงการปลูกข้าว ถ้าไม่ได้ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 หรือ 16-20-0 ควรให้ปุ๋ยสูตร 0-46-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปลูกถั่วเหลือง
ในสภาพไร่ ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรหว่านปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมเตรียมดิน หรือปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยข้างแถว เมื่อถั่วเหลืองอายุไม่เกิน 20 วันหลังปลูก

การให้น้ำ 
1. ไม่ควรให้ถั่วเหลืองขาดน้ำในช่วงออกดอกจนถึงติดฝัก เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก (25-35%)
2. ให้น้ำทุกครั้งเมื่อค่าการระเหยสะสมครบ 60 มิลลิเมตร (ใช้ระยะเวลา 11-15 วัน แล้วแต่สภาพภูมิอากาศ) ตลอดฤดูปลูกให้น้ำประมาณ 5-6 ครั้ง
3. ปริมาณน้ำที่ให้แต่ละครั้ง เท่ากับ 70% ของค่าการระเหย หรือให้น้ำ 42 มิลลิเมตร เมื่อค่าการระเหยสะสมครบ 60 มิลลิเมตร รวมเป็นปริมาณน้ำที่ให้ทั้งหมด 210 มิลลิเมตร หรือ 336 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ (ไม่รวมปริมาณน้ำที่ให้ทันทีหลังปลูกประมาณ 40 มิลลิเมตร)
4. ในการปลูกถั่วเหลืองไม่ว่าจะเป็นพันธุ์อายุสั้น ปานกลาง หรือยาว ไม่ควรลดจำนวนครั้ง และปริมาณให้น้ำ การขาดน้ำที่ระยะ V47 (ข้อที่ 4 ของต้นถั่วเหลืองที่ใบขยายตัวเต็มที่), R1 (ดอกเริ่มบาน) หรือ R3 (เริ่มออกฝัก) จะทำให้ผลผลิตลดลง (12-44%) และขนาดเมล็ดลดลง
5. ในกรณีที่มีน้ำจำกัด สามารถลดจำนวนครั้งและปริมาณการให้น้ำลงได้บ้าง โดยให้น้ำครั้งสุดท้ายเมื่อถั่วเหลืองเติบโตที่ระยะ R6 (ฝักบนข้อที่ 1-4 จากส่วนยอด มีเมล็ดเต็มฝัก) โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้น้ำจนถึงถั่วเหลืองเริ่มมีฝักแรกแก่ 50% (ประมาณระยะ R7-R8) อย่างไรก็ตามไม่ควรหยุดให้น้ำก่อนถึงระยะ R6 เพราะจะทำให้ผลผลิต และขนาดเมล็ดลดลง
6. ในกรณีที่มีน้ำไม่เพียงพอ ควรใช้วัสดุคลุมดิน (ฟางข้าวอัตรา 2 ตัน/ไร่) เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลงน้อยกว่าไม่ใช้วัสดุคลุมดิน 10-18%

การเก็บเกี่ยว
ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เก็บเกี่ยวตามช่วงอายุของพันธุ์ที่ปลูก หรือเมื่อ 95 เปอร์เซ็นต์ของฝักแก่เปลี่ยนสีตามพันธุ์

วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
นวดด้วยเครื่องนวดที่มีความเร็วรอบประมาณ 350-500 รอบต่อนาที ขณะที่ความชื้นในเมล็ดประมาณ 15-17 เปอร์เซ็นต์
นำเมล็ดที่นวดแล้วไปผึ่งแดด 1-3 แดด เพื่อลดความชื้นในเมล็ด เหลือประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์
บรรจุเมล็ดถั่วเหลืองในกระสอบป่าน ที่ไม่ชำรุด สะอาด ปากกระสอบ ตัดแต่งให้เรียบร้อย และเย็บปากกระสอบด้วยเชือกฟาง
ศัตรูถั่วเหลืองและการป้องกันกำจัด
โรคที่สำคัญ
โรคราสนิม เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะเป็นแผลจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก ด้านใต้ใบถ้าระบาดรุนแรงทำให้ใบไหม้และร่วงก่อนกำหนด ป้องกันโดยการหลีกเลี่ยงช่วงปลูก ทำลายซากพืชที่เป็นโรค ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมื่อโรคเริ่มระบาด
โรคใบจุดนูน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะเป็นแผลจุดสีเขียวแกมเหลืองที่ใต้ใบ ถ้าอาการรุนแรง ใบจะเหลืองและร่วงก่อนกำหนด ระบาดรุนแรงในช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าว เข้าทำลายได้ง่าย ป้องกันโดยไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เป็นโรค ทำลายซากพืชที่เป็นโรค ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมื่อโรคเริ่มระบาด
โรคราน้ำค้าง เกิดจากเชื้อรามีลักษณะเป็นแผลจุดสีเหลืองแกมเขียวด้านบนของใบ ต่อมาขยายใหญ่แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดแผลไม่แน่นอน พบเส้นใยสีเทาของเชื้อราบริเวณแผลด้านใต้ใบ ป้องกันโดยไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เป็นโรค ใช้พันธุ์ต้านทาน คลุกเมล็ดก่อนปลูก

แมลงศัตรูที่สำคัญ
หนอนแมลงวันเจาะลำต้นถั่ว วางไข่ในเนื้อเยื่อใต้ใบอ่อน หนอนเจาะไชชอนเข้าไปกัดกินที่ไส้กลาง ของลำต้นและใต้ผิวเปลือกบริเวณโคนต้น แล้วเข้าดักแด้ ทำให้ต้นถั่วเหลืองแคระแกร็น ผลผลิตลดลง ถ้าระบาดมากจะทำให้ต้นถั่วเหลืองตาย ระบาดรุนแรงในระยะกล้า ป้องกันโดยคลุก เมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก หลีกเลี่ยงช่วงปลูก
หนอนเจาะฝักถั่ว วางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆที่กลีบดอก ฝักอ่อนหนอนจะ เจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในฝัก จะเจาะฝักออกมาเพื่อเข้าดักแด้ตาม เศษซากพืช ระบาดรุนแรงในระยะติดฝัก เมื่ออากาศแห้งแล้งและอุณหภูมิสูง
แมลงหวี่ขาวยาสูบ วางไข่เป็นฟองเดี่ยวสีเหลืองอ่อน ตัวอ่อนมีลักษณะ คล้ายรูปไข่สีเหลืองปนเขียว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบถั่ว ทำให้ต้นแคระแกร็น ฝักผิดปกติ เป็นพาหะนำโรคใบยอดย่น
มวนเขียวข้าว วางไข่เป็นกลุ่มหลายแถว ตัวอ่อนวัยแรกจะรวมกันเป็นกลุ่ม ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและฝักอ่อน ทำให้ฝักลีบ
มวนเขียวถั่ว วางไข่เรียงเป็น 2 แถว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและฝักอ่อน ทำให้ฝักลีบ
มวนถั่วเหลือง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและฝัก ทำให้ฝักลีบ
สัตว์ศัตรูที่สำคัญ
หนู เป็นสัตว์ฟันแทะศัตรูสำคัญของถั่วเหลือง ทำลายโดยขุดเมล็ด กินก่อนงอก กัดต้นอ่อนและเจาะกินเฉพาะเมล็ดอ่อนภายในฝัก ป้องกันกำจัดโดย

กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูก และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยของหนูใช้กับดัก หรือกรงดัก
เมื่อสำรวจร่องรอย รูหนู ประชากรหนูและความเสียหายอย่างรุนแรงของ ถั่วเหลืองให้ใช้วิธีป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน คือ ใช้กับดักหรือกรงดัก ร่วมกับการใช้เหยื่อพิษตามคำแนะนำ
ศัตรูธรรมชาติ
ศัตรูธรรมชาติมีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงและสัตว์ศัตรูพืช ในการป้องกันกำจัดศัตรูถั่วเหลืองควรใช้วิธีการที่ปลอดภัย เพื่ออนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ ที่พบทั่วไป ได้แก่

แมลงห้ำ มี 1 ชนิด คือ ด้วงเต่า หนอนและตัวเต็มวัยกัดกินไข่และตัวอ่อน ของแมลงหวี่ขาวยาสูบ
แมลงเบียน มี 2 ชนิด คือ แตนเบียนไข่มวน วางไข่ในไข่ของมวนเขียวข้าว มวนเขียวถั่ว และมวนถั่วเหลือง ทำให้ไข่ของมวน มีสีดำและไม่ฟักเป็นตัว แตนเบียนแมลงหวี่ขาว วางไข่ในตัวอ่อนและดักแด้ของแมลงหวี่ขาวยาสูบ เมื่อไข่ฟักเป็นหนอน จะดูดกินและเจริญเติบโตอยู่ ภายใน ทำให้ซากดักแด้แข็งติดอยู่ใต้ใบถั่วเหลือง
นกฮูก นกแสก เหยี่ยว พังพอนและงู เป็นศัตรูธรรมชาติจับกินหนูสัตว์ศัตรูของถั่วเหลือง
การป้องกันกำจัดวัชพืช
ไถดิน 1 ครั้ง ตากดิน 7-10 วัน พรวน 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง
กำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานหรือเครื่องจักรกล เมื่ออายุ 15-20 วัน หรือก่อน ถั่วเหลืองออกดอก
คลุมดินด้วยเศษซากวัชพืชหรือฟางข้าวทันทีหลังปลูก
ในกรณีที่การกำจัดวัชพืชด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ควรพ่นสารกำจัดวัชพืช ตามคำแนะนำ การแปรรูป และผลิตภัณฑ์
ถั่วเหลืองเป็นพืชโปรตีนสูง การแปรรูปผลิตภัณฑ์สามารถเพิ่มมูลค่าของผลผลิตได้ จากการทดลองปฏิบัติได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิตมากมาย
คุณค่าทางอาหารของถั่วเหลือง
ถั่วเหลือง เป็นพืชที่ให้โปรตีนสูงกว่าเนื้อสัตว์ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางด้านป้องกันการเกิดโรคอีกหลายชนิด เช่น ลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด ลดไขมัน ลดความดัน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยเสริมฮอร์โมนเพศหญิง และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ ลดการเกิดมะเร็ง แต่อย่างไรก็ตาม การบริโภคอาหารจากถั่วเหลืองยังไม่มากเท่าที่ควร ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ กรมวิชาการเกษตร ได้พัฒนาการแปรรูปถั่วเหลืองในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างกระแสการบริโภคให้มากยิ่งขึ้น และทุกคนจะได้มีสุขภาพดี นอกจากนี้เกษตรกรจะได้ผลิตถั่วเหลือง ให้มีคุณภาพสูงยิ่ง ๆ ขึ้นอีก ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย
องค์ประกอบที่สำคัญของเมล็ดถั่วเหลือง

พลังงาน 411.0 กิโลกรัมแคลอรี่
ความชื้น 11.1 กรัม/100 กรัม
โปรตีน 34.0 กรัม/100 กรัม
ไขมัน 18.7 กรัม/100 กรัม
คาร์โบไฮเดรท 26.7 กรัม/100 กรัม
กากใย 4.7 กรัม/100 กรัม
เถ้า 4.8 กรัม/100 กรัม
แร่ธาตุต่าง ๆ
แคลเซี่ยม 245.0 มิลลิกรัม/100 กรัม
ฟอสฟอรัส 500.0 มิลลิกรัม/100 กรัม
เหล็ก 10.0 มิลลิกรัม/กรัม
วิตามินต่าง ๆ
ไทอามีน 0.7 มิลลิกรัม/100 กรัม
ไรโบฟลาวิน 0.2 มิลลิกรัม/100 กรัม
ไนอาซีน 1.5 มิลลิกรัม/100 กรัม
วิตามินซี 14.0 มิลลิกรัม/100 กรัม

คุณค่าทางด้านสุขภาพ
เลซินติน พบในทุก ๆ เซลล์ของร่างกายมนุษย์ สัตว์ และของพืชผักต่าง ๆ สำหรับในเซลล์มนุษย์นั้นจะพบเลซินตินหนาแน่นที่สุดในสมอง ตับ ไต และในกระดูกอ่อน ถั่วเหลืองมีเลซินตินสูงมากถึง 1,480 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และในบ้านเรามีอาหารดังกล่าวอุดมสมบูรณ์ ถ้าเราสามารถรับประทานอาหารเหล่านี้เพียงวันละ 100 กรัม ร่างกายจะได้เลซินตินเกินต้องการ
ประโยชน์ของเลซินตินต่อร่างกาย
1. ทำหน้าที่เป็นตัวละลายโคเลสเตอรอลไตรกรีเซอไรค์ และไขมันอื่น ๆ ที่อยู่ในหลอดเลือดให้แตกตัวเป็นอนุภาคเล็กที่สุด และแล้วไขมันที่แตกตัวเหล่านี้จะรวมตัวเข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับโลหิตไหล เวียน ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เลซินตินจึงเป็นสารอาหารป้องกันไม่ให้ไขมันดังกล่าวไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด แคบลงและตีบตันในที่สุด
2. ป้องกันไขมันเกาะที่ตับ และอวัยวะที่สำคัญอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานไม่สะดวก
3. เลซินติน เป็นส่วนประกอบของแผ่นเนื้อเยื่อบาง ๆ หุ้มรอบเส้นใยประสาท (Myelin)
4. เลซินติน เป็นตัวที่ทำให้เกิดโคลีน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างสารเคมี ชนิดหนึ่งสำหรับระบบประสาทที่ให้สัญญาณในการสื่อสาร ผู้ที่ร่างกายมีระดับโคลีนต่ำ จะทำให้จิตใจหดหู่เศร้าหมอง หลงลืม และไม่มีสมาธิ อาการเหล่านี้มักเกิดกับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ โคลีนจะช่วยปล่อยฮอร์โมนวาโสเพรสซิน (Vasopressin) ออกมา ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวกับความจำ การเรียนรู้ การควบคุมปริมาณของปัสสาวะ และควบคุมความดันโลหิต
5. เลซินตินทำหน้าที่ซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ ส่งเสริมการทำงานของเซลล์ให้มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ ให้ความชุ่มชื่น แข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ตับ ไต และต่อมไร้ท่อ ตลอดถึงการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
6.รักษาผิวพรรณ ลดรอยด่างรอยตกกระบนผิวหนัง และสีคล้ำรอบขอบตา เนื่องจากการเกาะของไขมัน
7. ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของโคเลสเตอรอลในถุงน้ำดี
8. ควบคุมและส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทให้ปกติสม่ำเสมอไม่ให้มีความกระวนกระวายใจ ไม่ให้เหนื่อยง่ายหรืออ่อนเพลียได้ง่าย
อาหารที่เสริมฤทธิ์เลซินติน ได้แก่

วิตามินอี จะช่วยให้เลซินตินทำงานในร่างกายอย่างได้ผล เพราะจะทำงานประสานกัน และส่งเสริมกันและกันโดยเฉพาะผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน วิตามินอี จะทำให้การใช้อินซูลินในร่างกายน้อยลงด้วย
วิตามินบี 5 และแคลเซี่ยมจะช่วยเปลี่ยนเลซินตินเป็นโคลีน ซี่งช่วยควบคุมการทำงานของสมอง
ขนาดรับประทานไม่มีมาตรฐานกำหนดไว้ เพราะว่าร่างกายสามารถสร้างเองได้ แต่อย่างไรก็ดี ธรรมดาแล้ว แนะนำให้รับประทานครั้งละ 1,200 มิลลิกรัม วันละ 1-2 ครั้ง
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเลซินตินในแง่ของกระบวนการกักกัน (Blood-brain barrier)
กระบวนการกักกันนี้จะคอยป้องกันสมองไม่ให้รับสิ่งต่าง ๆ จากกระแสโลหิตโดยตรง อย่างไรก็ดี มีสารบางอย่างที่สามารถซึมผ่านกระบวนการกักกันนี้ได้ สารนั้นได้แก่ เลซินติน สุรา ยานอนหลับ และยาระงับประสาทต่าง ๆ (Narcotics) หมายความว่า ทุกครั้งที่เรารับประทานสิ่งดังกล่าวแล้ว มันจะมีผลถึงสมองทันที ที่เข้าไปในกระแสโลหิต ดังนั้น เลซินตินจึงเป็นอาหารเสริมที่ถึงสมองทันทีรับประทาน สำหรับผู้ที่ดื่มสุราหรือรับประทานยาพวกนี้ จะเห็นได้ชัดว่ามีผลกับสมองโดยตรงและไปถึงประสาทที่ให้สัญญาณในการสื่อสาร หรือ ที่เรียกว่า เซลล์สื่อประสาท ซึ่งควรจะระวังมาก ๆ นอกจากจะทำลายสุขภาพของสมองและระบบประสาทแล้ว ยังทำให้เกิดอาการขี้ลืมด้วย สตรีวัยก่อนหมดประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือนแล้วก็ตามจะมีความเสี่ยงใน การเป็นโรคกระดูกผุบาง แพทย์จึงมักรักษาโดยการให้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งจะมีปัญหาตามมาอีก คือ มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่เต้านมถ้าใช้ยาฮอร์โมนทดแทนนานเกิน 5 ปีขึ้นไป (ยังต้องรอผลการศึกษาใหม่ว่าอาจจะมีโอกาสน้อยหรือไม่เป็นเลย?) ในสารสกัดจากถั่วเหลืองจะมีสารชื่อ ISOFLAVONES ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ในสตรีวัยทอง เพราะออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (PHYTOESTROGEN) แต่อ่อนกว่ามาก จะช่วยเพิ่มมวลกระดูกให้หนาแน่นขึ้น (bonemass) โดยลดการละลายแคลเซียมออกจากกระดูก นอกจากนี้แล้ว ISOFLAVONES ยังลดอาการหมดประจำเดือนอย่างอื่น ๆ อีก เช่น อาการร้อนวูบวาบเหลื่อแตก ไขมันสูง ช่องคลอดแห้งอารมณ์ไม่ปกติ เป็นต้น ในสัตว์ทดลองปรากฏว่า ช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งช่องคลอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งต้องการการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก

การแปรรูปถั่วเหลือง
เต้าเจี้ยว

ส่วนผสม

ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม
แป้งสาลีหรือแป้งข้าวจ้าวคั่วพอเหลืองนวล 400 กรัม (ใช้แป้งสาลีจะได้เต้าเจี้ยวที่มีกลิ่นหอมกว่า)
น้ำเกลือจำนวน 2 ลิตร (เตรียมจากเกลือ 400 กรัม ผสมน้ำ 2 ลิตร ต้มให้เดือด)
ส่าเชื้อรา แอสเปอร์จิลลัสออไรซี่ (Aspergillus oryzae) 1 ช้อนชา (แต่ถ้าใช้ถั่วเหลือง 25 กก. ใช้เชื้อรา 2 ช้อนโต๊ะ ก็พอเพียง)
วิธีทำ
1. ต้มถั่วเหลืองพอสุก ทิ้งไว้ให้เย็นและผึ่งบนตะแกรงให้หมาด
2. นำส่าเชื้อราผสมแป้งเล็กน้อยคลุกเคล้าให้ทั่ว
3. นำถั่วเหลืองใส่กระด้งไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 ซม. แล้วเกลี่ยให้สม่ำเสมอ
4. ใส่แป้งที่ได้คลุกเชื้อราวางบนถั่วกลางกระด้ง
5. ใส่เชื้อราที่ผสมแป้งลงไปบนแป้งกลางกระด้งแล้วคลุกแป้งกับเชื้อราให้เข้ากันอีกครั้ง
6. คลุกเคล้าเมล็ดถั่วกับแป้งให้แป้งติดเมล็ดอย่างสม่ำเสมอทุกเมล็ด
7. เกลี่ยถั่วเหลืองให้หนา 2-3 ซม. ปิดด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำบิดพอหมาด ๆ
8. นำกระด้งไปวางบนชั้นในห้องซึ่งพื้นที่วางโปร่งมีการระบายอากาศ
9. หลังจากทิ้งไว้ 3-4 วัน จะมีเชื้อราสีเขียวอมเหลืองคลุมถั่วทั้งหมด
10.คลุกถั่วเหลืองในกระด้งให้เมล็ดแยกออกจากกัน (ในระหว่างการคลุก เชื้อรา จะฟุ้งกระจายดังนั้นควรคลุมกระด้งด้วยพลาสติกใสกันการฟุ้งกระจาย และควรใส่ถุงมือยางด้วย)
11.นำถั่วใส่ตุ่มเคลือบแล้วเติมน้ำเกลือ (การเตรียมน้ำเกลือควรทำล่วงหน้าไว้ก่อน 1 วัน)
12.ปิดฝาตุ่มแล้วยกไปตั้งกลางแจ้ง ระวังอย่าให้ถูกน้ำค้างหรือน้ำฝน (ในระหว่างการดอง ควรใช้พายคนให้ทั่วสัปดาห์ละครั้ง)
13.หลังการหมักไว้นาน 3-4 เดือน นำไปต้มจนเดือดนาน ๆ เพื่อให้เชื้อราตายและหยุดการเจริญ แล้วเติมน้ำตาลทราย 100 กรัม ยกลง
14.ล้างขวดให้สะอาด พร้อมฝาแล้วต้มขวดด้วยน้ำที่ร้อนเดือด แล้วลวกฝาจุกด้วยน้ำเดือด (เพื่อมิให้ขวดแตก ควรบรรจุน้ำเย็นลงในขวดและนอนขวดในหม้อต้ม แล้วต้มจนเดือดขวดจะไม่แตก
15.บรรจุเต้าเจี้ยวลงขวด ทิ้งไว้จนเต้าเจี้ยวเย็น แล้วจึงปิดฝาให้สนิทไม่ให้อากาศเข้าได้เก็บไว้รับประทานได้นานเป็นปี
แหล่งผลิตเชื้อราสำหรับทำเต้าเจี้ยว
ร้านกิจมงคลชัย 47 หมู่ 7 ต.โพสะ อ.เมือง จ.อ่างทอง 14000
การลงทุนทำเต้าเจี้ยวสำหรับเต้าเจี้ยวใช้เมล็ดถั่วเหลือง 10 กิโลกรัม
อุปกรณ์
วัตถุดิบ 200-300 บาท
รายได้ 1,250 บาท
กำไรสุทธิ 300-400 บาท
คุ้มทุน 2-3 เดือน
แรงงาน 600 บาท 1-2 คน

ตลาด สามารถบรรจุขายส่งตามร้านอาหารและวางขายตามร้านทั่วไปหรือขายส่งเป็นกิโลกรัม
พล่าเต้าเจี้ยว
ส่วนผสม

เต้าเจี้ยว 1 ถ้วย
น้ำส้มมะขาม 1/2 ถ้วย
น้ำมะกรูด 2 ช้อนโต๊ะ
ตะไคร้หั่นฝอย 1/2 ถ้วย
หอมแดงซอย 1/2 ถ้วย
มะเขือเปราะซอย 1/2 ถ้วย
ขิงหั่นฝอย 1 / 4 ถ้วย
ใบมะกรูดหั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูหั่น 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ผสมเต้าเจี้ยวกับน้ำส้มมะขาม และน้ำมะกรูด คลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. ใส่ตะไคร้ หอมแดง มะเขือเปราะ ใบมะกรูด พริกขี้หนู เคล้าให้ทั่ว
3. ตักใส่ถ้วย แต่งหน้าด้วยขิง ใบมะกรูด พริกขี้หนูเล็กน้อยรับประทานกับผักสด เช่น แตงกวา มะเขือ ถั่วฝักยาว ฯลฯ
หมายเหตุ เต้าเจี้ยวที่นำมาปรุงอาหารนี้ หากเป็นเต้าเจี้ยวที่ทำเองจะ มีรสชาติกลมกล่อมพอดี ไม่ต้องเติมน้ำตาลอีก แต่ถ้าเป็นเต้าเจี้ยวที่ซื้อตามท้องตลาดจำเป็นต้องเติมน้ำตาลอีกเล็กน้อย
เต้าหู้ขาว
ส่วนผสม

ถั่วเหลือง 500 กรัม (สำหรับทำเต้าหู้ขาว 4 แผ่น)
น้ำสะอาด 2.5 ลิตร
แมกนีเซียมซัลเฟต 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ล้างถั่วให้สะอาด แช่น้ำประมาณ 3-4 ชม. แล้วสงขึ้นจากน้ำ
2.ตวงน้ำ 2.5 ลิตร ปั่นกับถั่วแล้วกรองเอากากออก
3. นำน้ำนมมาต้มให้เดือด ยกลง ให้อุณหภูมิของน้ำนมลดลง เหลือประมาณ 80 องศาเซสเซียส หรือรอให้เย็น 2-3 นาที่ (ถ้ามีเทอร์โมมิเตอร์วัดก็ยิ่งดีเพราะอุณหภูมิของน้ำนม มีความสำคัญที่จะทำให้เต้าหู้จับตัวเป็นก้อน)
4.เตรียมสารแมกนีเซียมซัลเฟต 2ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำเปล่า 1 ใน 3 ถ้วย คนจนแมกนีเซียมซัลเฟตละลายสีใส พออุณหภูมิของน้ำนมถั่วเหลืองลดลงมาได้ 80 องศาเซลเซียส เทแมกนีเซียมซัลเฟต ลงในน้ำนม ค่อย ๆ เทวน ใช้พายค่อย ๆ คนเบา ๆ จนเห็นว่ามีตะกอนเป็นก้อนสีขาวแยกตัวออกมา เอาผ้าขาวรองในพิมพ์ตักตะกอนขาวใส่ในพิมพ์ แล้วทับด้วยผ้าขาวบางอีกที่ แล้วใช้นำหนักพอเหมาะกับพิมพ์ กดทับก้อนเต้าหู้ไว้ เพื่อกำจัดน้ำและเต้าหู้จับเป็นก้อน ก็จะได้เต้าหู้ขาว ที่อุดมด้วยโปรตีน นำไปประกอบอาหารได้ตามต้องการ
หมายเหตุ

แมกนีเซียมซัลเฟตหรือดีเกลือหาซื้อได้ตามร้านขายยาจีนทั่วไป
ถ้าใส่ดีเกลือมาก จะทำให้เต้าหู้ขาวมีรสขม
พิมพ์ที่ใช้ทำเต้าหู้เราอาจใช้ตะกร้าพลาสติก หรือตะกร้าไม้ไผ่มีรูด้านล่าง และด้านข้างให้น้ำออกได้ 2 ใบซ้อนกัน ขนาดประมาณ 5 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว ลึก 3-4 นิ้ว
การลงทุนทำเต้าหู้ขาว
อุปกรณ์
วัตถุดิบ 100 บาท
รายได้ 500 บาท
กำไรสุทธิ 300 บาท
คุ้มทุน 2-3 เดือน
แรงงาน 700 บาท 1 คน

ตลาดทำขายตามตลาดสดทั่วไป จุดที่น่าสนใจ สามารถนำไปทอดขายเป็นอาหารว่าง ตามตลาดหรือทอดขายหน้าบ้านได้
เต้าฮวย
ส่วนผสม

น้ำนมถั่วเหลืองชนิดข้น 6 ถ้วยตวง
หินอ่อน (แคลเซี่ยมซัลเฟต) 2 ช้อนโต๊ะ
แป้งมันสำปะหลัง 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. เตรียมน้ำนมถั่วเหลือง โดยใช้ถั่วเหลือง 500 กรัม ต่อน้ำ 2.5 ลิตร (วิธีเตรียมเช่นเดียวกับเต้าหู้ขาว)
2.นำน้ำนมถั่วเหลืองตั้งไฟให้เดือดพล่าน
3. เตรียมละลายหินอ่อนและแป้งมันรวมกัน ใส่น้ำพอสมควร เทลงในชามอ่าง หรือถังไม้ อย่าให้ตะกอน
4.รีบเทน้ำนมถั่วเหลืองที่ต้มเดือดลงในชามอ่างโดยเร็วไม่ต้องคน เต้าฮวยจะแข็งตัวภายใน 5 นาที
5.ทิ้งให้เย็น รับประทานกับน้ำขิง โรยด้วยงาดำคั่วป่น จะช่วยเสริมแคลเซียมได้อีกนาน
หมายเหตุ หินอ่อนหรือเจี๊ยะกอ ลักษณะเป็นก้อนสีเทาอ่อน หาซื้อได้จากร้านขายยาจีนทั่วไป แต่เป็นหินอ่อนที่ยังไม่ได้สะตุเอาน้ำออก วิธีสะตุเอาน้ำออกก็คือนำไปเผาไฟจนเป็น ก้อนขาว แล้วนำมาบดให้ละเอียดและร่อนเก็บไว้ในภาชนะปิดสนิทไม่ให้อากาศเข้าได้ จะใช้ทำเต้าฮวยได้อีกนาน
นมถั่วเหลือง (น้ำเต้าหู้)
ส่วนผสม

ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม
น้ำสะอาด 12 ลิตร
น้ำตาลทรายขาว 1 กิโลกรัม
ใบเตยล้างสะอาด 5 ใบตัดเป็นท่อน ๆ
เกลือเสริมไอโอดีน 2 ช้อนชา
วิธีทำ
1. แช่ถั่วเหลืองในน้ำสะอาดนาน ประมาณ 6 ชั่วโมง
2.เทน้ำออกแล้วล้างให้สะอาด
3.สงขึ้นจากน้ำแล้วนำมาบดกับน้ำสะอาด 12 ลิตร
4.กรองกากถั่วเหลืองออกด้วยผ้าขาวบาง
5. นำน้ำถั่วเหลืองที่ได้มาต้มกับใบเตยให้เดือดแล้วใส่น้ำตาลและเกลือคนให้น้ำตาลละลายยกลงกรองอีกครั้ง รับประทานได้
หมายเหตุ ขณะต้มต้องหมั่นคนอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะไหม้ได้ง่าย การลงทุนนมถั่วเหลือง
(น้ำเต้าหู้) ถั่วเหลือง 5 กิโลกรัม
การลงทุนทำนมถั่วเหลือง (น้ำเต้าหู้)
อุปกรณ์ระยะยาว
วัตถุดิบ
รายได้
กำไรสุทธิ
แรงงานในครอบครัว 15,000 บาท
150 บาท
525 บาท
375 บาท
2 คน

ตลาด บรรจุขวดส่งตามบ้านและส่งขายตามโรงเรียนต่าง ๆ
ไอศครีมถั่วเหลือง
ส่วนผสม

ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม
น้ำสะอาด 12 ลิตร
น้ำตาลทราย 17 กิโลกรัม
เกลือป่น 2 ช้อนชา
ใบเตยล้างสะอาดตัดเป็นท่อน ๆ ละ 5 ใบ
วิธีทำ
1.แช่ถั่วเหลืองในน้ำสะอาด ประมาณ 6 ชั่วโมง เทน้ำทิ้ง แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด
2. สงขึ้นจากน้ำ แล้วบดกับน้ำสะอาด 12 ลิตร
3.กรองกากถั่วเหลืองออก
4.นำน้ำนมถั่วเหลืองมาต้มกับใบเตยพอเดือดใส่น้ำตาลทรายเกลือคนให้ละลาย
5.กรองอีกครั้ง แล้วทิ้งให้เย็น
6.นำมาผสมข้าวโพดหวาน ขนุน ฯลฯ แล้วเข้าเครื่องปั่นจนแข็งรับประทานได้
หมายเหตุ

ถ้าทำไอศครีมรับประทานในครอบครัว นำเข้าตู้เย็นช่องแช่แข็ง (ยังไม่ต้องใส่ข้าวโพดหรือขนุน)
เมื่อเริ่มแข็งตัว นำออกมาใช้ส้อมตี หรืออาจใช้เครื่องผสมอาหารตีให้ละเอียดเสียก่อน แล้วจึงใส่ข้าวโพดหรือขนุน นำเข้าตู้เย็นอีกครั้งจนกระทั่งแข็งตัว นำออกมารับประทานได้
การลงทุนทำไอศครีมถั่วเหลือง
อุปกรณ์ระยะยาว
วัตถุดิบ
รายได้
คุ้มทุน
แรงงาน 15,000-17,000 บาท
100 บาท
400 บาท/12 ลิตร
6 เดือน
1 คน

ตลาด ส่งร้านอาหาร/ขายเองย่านชุมชน จุดที่น่าสนใจ เป็นอาหารคลายร้อนแล้วให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก
ขนมรังผึ้งเชียงใหม่
ส่วนผสม

แป้งถั่วเหลือง 2 1/2 ถ้วยครึ่ง
นมถั่วเหลือง 1 ถ้วย
น้ำมันถั่วเหลือง 1/2 ถ้วย
ไข่แดงตีพอแตก (ขนาดกลาง) 5 ฟอง
เกลือป่นเสริมไอโอดีน 1/2 ช้อนชา
วานิลลา 2 ช้อนชา
ไข่ขาว (ขนาดกลาง) 5 ฟอง
น้ำตาลทรายไม่ฟองสี 3 /4 ถ้วย
วิธีทำ
1.ผสมแป้งถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง และเกลือ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วค่อย ๆ เทน้ำมันผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันใส่ไข่แดงเคล้าผสมให้ทั่ว อย่าให้แป้งเป็นเม็ด
2.ตีไข่ขาวให้ฟูแข็ง ค่อย ๆ โรยน้ำตาลที่ละน้อยจนหมด
3.เทส่วนผสมในข้อที่ 1 ลงในส่วนผสมข้อที่ 2 ใช้พายคนไปทางเดียวกันเบา ๆ ให้เข้ากัน ใส่วานิลลา คนอีกครั้ง
4.ตักหยอดใส่พิมพ์ขนมรังผึ้ง (ใช้พิมพ์รังผึ้งไฟฟ้าจะดีที่สุด) แต่ใช้พิมพ์รังผึ้งแบบใช้ถ่านจะติดพิมพ์ไม่เป็นรูปร่าง ถ้าไม่มีพิมพ์ก็ใช้หยอดบนกระทะแบนที่ทาน้ำมัน ซึ่งทำเช่นเดียวกับแพนเค้กก็ได้หรือถ้ามีเตาอบก็ใส่ถ้วยอบหรืออบพิมพ์ขนมไข่ ก็ได้เช่นเดียวกัน
ขนมรังผึ้งเชียงใหม่ ต่อส่วนผสม 1 ครั้ง
อุปกรณ์
วัตถุดิบ
รายได้
กำไรสุทธิ
แรงงาน 500 บาท
35 บาท
175 บาท
140 บาท
1 คน

ตลาด ทำขายตามตลาดสดทั่วไป จุดที่น่าสนใจ สามารถนำไปขายตามตลาด
ซุปถั่วเหลือง
ส่วนผสม

น้ำสะอาด 6 ถ้วย
แครอทหั่นฝอย 1 ถ้วย
เต้าหู้หั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเล็ก ๆ 1 ถ้วย
หอมใหญ่หั่นชิ้นเล็ก ๆ 1/2 ถ้วย
เต้าเจี้ยวบดละเอียด 1/3-1/2 ถ้วย
ต้นหอมญี่ปุ่นซอยละเอียด 1 ถ้วย (ใช้ต้นหอมแบ่งแทนได้)
วิธีทำ
1.ต้มน้ำให้เดือด ใส่แครอท เต้าหู้แข็ง ต้มให้สุก แล้วใส่หอมใหญ่
2. แบ่งตักน้ำซุป 1/2 ถ้วย ใส่เต้าเจี้ยวลงละลายในน้ำซุป แล้วเทใส่หม้อตามเดิม คนให้เข้ากัน
3. ตักใส่ถ้วย โรยด้วยต้นหอมญี่ปุ่น รับประทานได้
หมายเหตุ

ผักที่ใส่ในซุป จะเปลี่ยนเป็นฟักทอง ผักใบเขียว หรือเห็ดก็ได้
ใช้เต้าเจี้ยวที่ทำเอง จะมีความเค็มน้อย และกลิ่นหอม
ต้นหอมญี่ปุ่น มีวางจำหน่ายโดยโครงการดอยคำ
ใช้เต้าหู้ทอด แล้วซอยเป็นแผ่นบาง ๆ ใส่เพิ่มอีกได้
ขนมหม้อแกงถั่วเหลือง
ส่วนผสม

ถั่วเหลืองนึ่งสุกบดละเอียด 1 กิโลกรัม
ไข่เป็ด 20 ฟอง
น้ำตาลปิ๊บ 1.5 กิโลกรัม
หัวกะทิ 1 กิโลกรัม
เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
หอมแดง 10-15 หัว
น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
ใบเตย 5-6 ใบ
แป้งสาลี 1.5 ถ้วย
วิธีทำ
1. นำถั่วเหลืองที่แช่น้ำไว้ 8-10 ชั่วโมง สงขึ้นแล้วนำมานึ่ง
2.ต่อยไขใสภาชนะ ตีให้ละเอียดแล้วนำส่วนผสม (น้ำตาล เกลืด กะทิ ผสมให้เขช้ากับใบเตยบด กรองด้วยผ้าขาวบาง นำถั่วเหลืองและแป้งสาลีลงผสม คนให้เข้ากัน แล้วนำไปบดให้ละเอียด
3.นำส่วนผสมใส่กระทะทองเหลือง ตั้งไฟกวนให้ข้นเหนียว แล้วใช้น้ำมันพืชทาพิมพ์ให้มัน
4.เทใส่พิมพ์อะลูมิเนียม แล้วใช้น้ำมันทาหน้าอีกที่นำไปเข้าตู้อบ อุณหภูมิ 175 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 45นาที่ พอหน้าขนมเริ่มเหลืองแตกมัน ยกออก รอให้ขนมเย็น จึงตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม โรยหน้าด้วยหอมเจียว
ขนมที่อบเรียบร้อยแล้วต้นทุนการผลิต
วัตถุดิบ
รายได้
กำไรสุทธิ
แรงงาน 119 บาท
140-170 บาท
31-61 บาท
1 คน

ขนมหม้อแกงที่ทำสามารถผลิตได้ 2 ถาด ถาดละ 42 ชิ้น
เค้กถั่วหลือง
ส่วนผสม

ผลไม้แต่งหน้าขนม
ผลไม้กระป๋อง 1- 1/2 ถ้วย (สับปะรดแว่น เงาะ ลิ้นจี่ สตรอเบอรี่ วางไว้บนตะแกรงเอาน้ำออกให้หมด
ผลไม้แห้ง 1/2 ถ้วย (กล้วยตาก ลำไยแห้งหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
ส่วนผสมหน้าขนม
น้ำตาลทรายแดง (น้ำตาลอ้อย) 1/3 ถ้วย
เนยสด 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำผลไม้กระป๋อง 1/3 ถ้วย (น้ำสับปะรดแว่น)
ส่วนผสมตัวขนม
แป้งถั่วเหลือง 1 ถ้วย
แป้งสาลีชนิดทำเค้ก 1 ถ้วย
ผงฟู 2 ช้อนชา
เกลือ 1/4 ช้อนชา
เนยสด 1 ถ้วย
ไข่ไก่ขนาดกลาง 4 ฟอง (หรือขนาดใหญ่ 3 ฟอง)
นมถั่วเหลือง 2 ช้อนโต๊ะ
วานิลลา 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 3/4 ถ้วย
วิธีทำหน้าขนม
1. ใส่น้ำตาลทรายแดงลงในหม้อ เติมน้ำผลไม้ ตั้งไฟให้เดือดและเคี่ยวไฟอ่อน ๆ จนเป็นยางมะตูม แล้วใส่เนยสดคนจนละลาย ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น
2.นำพิมพ์ขนมมาทาเนยให้ทั่ว แล้ววางผลไม้จัดวางให้สวยงาม
3. เทส่วนผสมข้อ 1 ลงไป แล้วพักไว้
วิธีทำตัวขนม
1.ร่อนแป้งถั่วเหลือง และแป้งสาลี แล้วตวงอย่างละ 1 ถ้วย ผสมแป้งทั้ง 2 ชนิดเข้าด้วยกัน ใส่ผงฟูและเกลือ ร่อนอีก 1 ครั้ง พักไว้
2. ตีเนยกับน้ำตาลจนเป็นครีมขาวฟู

1 ความคิดเห็น:

  1. ทาง PG-SLOT.GAME ได้จัดโปรโมชั่น PG Slot โปรเด็ดเอาใจนักเล่นที่สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกกับทางเว็บของเรา ด้วยโปรสุดพิเศษ ฝาก-ถอนได้จริงเงื่อนไขไม่ยุ่งยาก พร้อมด้วยเจ้าหน้าทีคอยให้บริการ pg slot

    ตอบลบ