การปลูกและการดูแลรักษาารปลูกสตรอเบอรี่ มี 2 ช่วงที่สำคัญ คือ การปลูกเพื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต และการปลูกเพื่อผลิตต้นไหล
การปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต
การเตรียมแปลงปลูก
  • ควรปลูกในเดือนกันยายน - กลางเดือนตุลาคม โดยใช้ส่วนที่เรียกว่า ต้นไหลมาปลูก
  • ในการเตรียมดิน ควรใส่ปูนขาวในอัตรา 60 - 80 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อปรับสภาพดินพร้อมการไถดะ ไถแปร และผึ่งดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช หลังจากนั้นหว่านปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกให้ทั่วแปลงในอัตรา 2 - 2.5 ตัน/ไร่ พร้อมการไถพรวน เตรียมแปลงปลูกแบบยกร่องให้ฐานแปลงกว้าง 75 เซนติเมตร สูงประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร และมีสันแปลงเหลือกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลงไว้ประมาณ 30 เซนติเมตร
     วัสดุคลุมแปลง
  • เพื่อช่วยรักษาความชื้นของดินในแปลงปลูก และช่วยในการควบคุมวัชพืชบนแปลง รวมทั้งป้องกันไม่ให้ผลสตรอเบอรี่เกิดการเสียหายเนื่องจากสัมผัสกับดิน ให้ใช้วัสดุคลุมแปลงซี่งได้แก่ ฟางข้าว ใบหญ้าคา พลาสติก ใบตองเหียงหรือใบตองตึง คลุมแปลงปลูก ซึ่งวัสดุคลุมแปลงแต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน เช่น
  • ฟางข้าว หาง่ายในท้องถิ่น ราคาถูก แต่มักจะเน่าสลายตัวได้เร็ว ต้องใส่ฟางเพิ่มเติมหลังปลูก และพบบ่อยๆว่าทำให้ผลสตรอเบอรี่เสียหาย เน่าช้ำง่าย เมื่อเศษฟางหลงติดไปกับผลสตรอเบอรี่หลังการเก็บเกี่ยว ทำความสะอาดยาก เป็นปัญหากับผู้ส่งออก
  • พลาสติก ได้มีการทดลองใช้พลาสติกสีดำเป็นวัสดุคลุมดินปรากฎว่า มีผลเสียแก่การปลูกสตรอเบอรี่หลายประการ เช่น พลาสติกมีราคาแพง ทำให้ต้นทุนสูง ทำให้อุณหภูมิดินใต้พลาสติกสูง เป็นอันตรายต่อระบบราก และผลสตรอเบอรี่ที่แนบติดกับพลาสติกที่ร้อนจัดจะเสียหายเป็นรอยตำหนิ ถ้าหากใช้พลาสติกสีขาวขุ่นปรากฎว่าไม่สามารถลดปัญหาวัชพืชได้ เป็นต้น
วัสดุคลุมดินโดยทั่วไปนิยมใช้ใบตองตึงหรือใบตองเหียงที่ทำเป็นตับ (ไพ) เช่นเดียวกันกับที่ใช้มุงหลังคา ซึ่งแต่ละตับจะยาวประมาณ 1 เมตร มาคลุมทั้งสองด้าน และด้านบนของแปลงชิดกับต้นที่ปลูกเป็นแถว จะมีที่ว่างระหว่างต้นสำหรับให้น้ำและปุ๋ยได้ แล้วใช้ไม้ไผ่ตอกประกับตามแนวยาวเพื่อยึดใบตองตึงกับพื้นดิน 
ระยะปลูก
 สำหรับระยะที่ใช้ปลูกจะใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 30 - 40 เซนติเมตร ระหว่างต้น 25 - 30 เซนติเมตร ปลูกแบบสลับฟันปลา โดยทั่วไปจะใช้ต้นไหลสำหรับปลูกประมาณ 8,000 ต้น (ในกรณีปลูกในพื้นที่นาที่ยังคงสภาพคันนา) ถึง 10,000 ต้น/พื้นที่ 1 ไร่
วิธีการปลูก
ปลูกโดยขุดหลุมทะลุผ่านวัสดุคลุมดินให้พอดีกับขนาดของต้นไม่ลึกเกินไป แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกประมาณ 30 กรัม/ต้น โดยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีตอนปลูกใหม่ เพราะอาจทำให้ระบบรากเสียหายและต้นตายได้ การปลูกต้นไหลนั้นระดับรอยต่อของรากและลำต้นจะต้องพอดีกับระดับของผิวดิน ไม่ปลูกลึกหรือตื้นเกินไป ถ้าปลูกลึก คือ ส่วนลำต้นจมอยู่ต่ำกว่าผิวดิน หากเชื้อโรคเข้าทางยอดของลำต้นจะทำให้ยอดเน่า ต้นเจริญเติบโตช้าและอาจถึงตายได้ ถ้าปลูกตื้น คือ ปลูกต้นไหลแล้วรากลอยขึ้นมาเหนือผิวดิน ทำให้รากถูกอากาศและแห้ง ต้นเจริญเติบโตช้า ไม่สมบูรณ์ และอาจเป็นสาเหตุให้ต้นตายได้เช่นกัน การปลูกควรให้ขั้วไหลด้านที่เจริญมาจากต้นแม่หันเข้ากลางแปลง เพื่อที่จะให้ผลสตรอเบอรี่ที่ผลิตออกมาอยู่ด้านนอกของแปลงได้รับแสงแดดเต็มที่ ทำให้รสชาติดี สะดวกในการเก็บเกี่ยวและลดปัญหาเรื่องโรคของผลได้ ปลูกหลุมละ 1 ต้นต้นไหลที่จะนำมาปลูกควรมีขนาดพอเหมาะ คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นประมาณ 10 -13 มิลลิเมตร ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป การใช้ต้นไหลที่ผ่าน การเกิดตาดอกจากพื้นที่สูงจะทำให้ได้ผลผลิตเร็ว และมีช่วงการเก็บเกี่ยวยาวนานขึ้น
เมื่อปลูกต้นไหลแล้ว ระยะตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงประมาณเดือนธันวาคม ต้นไหลบางพันธุ์จะผลิตส่วนไหลออกมาเรื่อยๆ ให้ชาวสวนเด็ดหรือตัดส่วนไหลออกให้หมดทุกต้น ไม่ควรเลี้ยงไหลไว้เพื่อใช้ปลูกต่อไป เพราะจะทำให้ต้นที่ย้ายปลูก (ต้นเดิมที่นำลงมาจากภูเขา)สร้างตาดอกรุ่นต่อมาช้าลง และทำให้ต้นโทรม ขาดความแข็งแรงได้ นอกจากนี้ยังจะกระทบกระเทือนต่อผลผลิตรวมทั้งแปลงอีกด้วย
การให้น้ำ
 
เนื่องจากสตรอเบอรี่เป็นพืชที่มีระบบรากตื้นอยู่ใกล้ผิวดิน จึงจำเป็นต้องระวังในเรื่องการให้น้ำเป็นพิเศษ ในช่วงสองสัปดาห์แรกหลังจากย้ายปลูกก่อนต้นตั้งตัว คือ เมื่อปลูกสตรอเบอรี่เสร็จแล้วให้รดน้ำทันที และเมื่อต้นสตรอเบอรี่โตมีระบบรากแข็งแรง ก็ให้รดน้ำด้วยบัวรดน้ำทุกวันๆละครั้งในกรณีที่ฝนไม่ตก หรือจะให้น้ำโดยการปล่อยน้ำเข้าท่วมทางเดินระหว่างแปลงปลูกจนกระทั่งดินอิ่มตัวก็ได้ อย่าปล่อยให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ควรปล่อยน้ำประมาณ 2 - 3 วัน/ครั้ง แต่วิธีนี้จะทำให้โรคจากแปลงหนึ่งกระจายไปสู่แปลงอื่นได้ การให้น้ำอีกวิธีก็คือ การใช้สปริงเกอร์ เป็นวิธีที่พอใช้ได้ แต่ต้นทุนสูง
  • การที่จะทราบว่าควรให้น้ำมากน้อยเพียงใดนั้น ให้ใช้การคาดนะเนดูความชื้นของดินเป็นเกณฑ์ สตรอเบอรี่เป็นพืชที่ต้องการความชื้นในดินอย่างสม่ำเสมอ หากดินมีความชื้นน้อยจนถึงแห้ง ต้นสตรอเบอรี่ก็ลดการเจริญเติบโตจนถึงหยุดเจริญเติบโตเมื่อดินแห้งจัด ในทางตรงกันข้ามเมื่อดินมีความชื้นมาก น้ำขัง รากสตรอเบอรี่ก็จะเน่าและตายได้ นอกจากนี้การรดน้ำที่มากเกินไปยังทำให้ลำต้นอวบน้ำ ใบมีขนาดใหญ่ การออกดอกลดลง สีของผลซีด ผลสดนิ่ม อายุผลสั้น มักเกิดการชอกช้ำและเชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ฉะนั้นเมื่อผลสุกจึงควรเก็บผลก่อนที่จะให้น้ำ 
  • การให้ปุ๋ย
  •  สตรอเบอรี่มีความต้องการธาตุอาหารทั้งในกลุ่มธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ในกลุ่มธาตุอาหารรอง ได้แก่ แมกนีเซียม แคลเซียม และธาตุอาหารเสริม คือ โบรอน เหล็ก และสังกะสี ซี่งโดยปกติทั้งกลุ่มธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม จะมีอยู่ในดินตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่จะมีมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ในแต่ละแห่ง ธาตุอาหารที่มีมากหรือน้อยเกินไปจะส่งผลกระทบถึงปริมาณและคุณภาพผลผลิตของสตรอเบอรี่ ฉะนั้น การที่จะทราบว่าจะใส่ปุ๋ยสูตรอะไร อัตราเท่าใด จะต้องเก็บตัวอย่างดินของแปลงที่จะปลูกสตรอเบอรี่มาวิเคราะห์ เพี่อตรวจสอบว่าดินนั้นมีปริมาณธาตุอาหารอยู่ในดินปริมาณเท่าใด จะได้ใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมในส่วนที่ดินยังขาดอยู่ นอกจากนั้นยังทำให้เราทราบสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินเพื่อที่จะได้ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เหมาะสมกับพืช สำหรับคำแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีกับสตรอเบอรี่โดยทั่วๆไปนั้นให้ปฎิบัติดังนี้ คือ หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 20 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 หรือ 9-24-24 ในอัตรา 5 - 10 กรัม/ต้น หรือประมาณ 20-25 กิโลกรัม/ไร่ และต่อจากนั้นไปอีก 10 วัน ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ12-12-17+2 อย่างใดอย่างหนึ่ง ใส่ในอัตราส่วน 10 กรัม/ต้น/ครั้ง แบ่งใส่ 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7 - 10 วัน โดยวิธีโรยระหว่างแถวแล้วพรวนดินกลบ
  • การกำจัดวัชพืช
  • การปล่อยให้มีวัชพืชขึ้นในแปลงสตรอเบอรี่ จะมีผลทำให้ผลผลิตลดลงได้ เนื่องจากวัชพืชเป็นตัวแย่งน้ำแย่งอาหาร ทั้งยังเป็นแหล่งสะสมโรคและแมลงที่จะระบาดทำความเสียหายให้แก่สตรอเบอรี่ด้วย เกษตรกรต้องหมั่นกำจัดวัขพืชอย่าสม่ำเสมอ พร้อมทั้วตัดแต่งใบและลำต้นแขนงที่ไม่สมบูรณ์ออกทิ้ง ซึ่งแต่ละกอควรเก็บหน่อไว้ประมาณ 6 - 8 หน่อ และอย่าทิ้งเศษพืชไว้ในแปลงปลูก เพราะจะทำให้เป็นที่สะสมโรค ควรเก็บเศษพืชอัดใส่ถุงปุ๋ยให้แน่นผูกปากถุงทิ้งไว้ เมื่อสลายตัวแล้วจะได้นำไปใช้เป็นปุ๋ยต่อไป
    การปลูกเพื่อผลิตต้นไหล
    เกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่อาจทำการผลิตต้นไหลสตรอเบอรี่เพื่อใช้ปลูกเอง หรือจะใช้ซื้อต้นไหลมาปลูกก็ได้ หากเกษตรกรจะทำการผลิตต้นไหลไว้ใช้ปลูกเองหรือเพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกรายอื่นมีข้อควรพิจารณาดังนี้
  • ต้นแม่พันธุ์ ต้นแม่พันธุ์จะต้องมีลักษณะดี คือ มีการสร้างไหลที่แข็งแรงและปริมาณมากตรงตามสายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูง ปลอดจากโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
  • พื้นที่ที่ผลิตต้นไหล พื้นที่ที่เหมาะสมกับการผลิตต้นไหลจะต้องสะอาดปลอดจากเชื้อสาเหตุของโรค โดยเฉพาะเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรดโนส ใกล้แหล่งน้ำ สามารถนำน้ำมาใช้ได้ในช่วงฝนทิ้งช่วง การคมนาคมสะดวก สามารถขนย้ายวัสดุเพาะชำไปยังแปลงแม่พันธุ์ และขนส่งต้นไหลไปยังแหล่งปลูกได้โดยไม่บอบช้ำเสียหาย และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความสูงของพื้นที่ จากสาเหตุที่เมื่อช่วงแสงของวันสั้นลงและอุณหภูมิของอากาศเย็นลง ทำให้ต้นสตรอเบอรี่เปลี่ยนสภาพการเจริญเติบโตทางด้านสร้างไหลต้นไหล เป็นสภาพการเจริญเติบโตทางสร้างตาดอก ซึ่งส่งผลให้ต้นสตรอเบอรี่ที่เจริญเติบโตบนภูเขาสร้างตาดอกได้เร็วกว่าต้นสต รอเบอรี่บนพื้นที่ราบ เป็นผลให้ผลผลิตสตรอเบอรี่ที่เกิดจากต้นสตรอเบอรี่ที่ผลิตบนภูเขาที่มีอากาศ หนาวเย็นออกสู่ตลาดได้เร็วกว่าผลผลิตสตรอเบอรี่พันธุ์เดียวกันที่เกิดจากต้น ที่ผลิตจากพื้นที่ราบ ประกอบกับสภาพดินบนที่สูงหรือภูเขามีการระบายน้ำได้ดีกว่าพื้นที่ราบ ปัญหาโรคมีน้อยกว่า ทำให้ต้นไหลแข็งแรงมีคุณภาพดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องผลิตต้นไหลสตรอเบอรี่บนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ไม่ต่ำกว่า 1,000 เมตร มีอากาศหนาวเย็น แล้วขนต้นไหลลงมาปลูกยังพื้นที่ราบ แต่ทั้งนี้แหล่งผลิตต้นไหลจะต้องไม่เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ำที่ควรจะต้อง สงวนรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยเฉพาะ
  • แรงงาน เนื่องจากกระบวนการผลิตต้นไหลสตรอเบอรี่เป็นงานที่ต้องใช้แรงงานมาก เริ่มตั้งแต่การเตรียมแปลงปลูกต้นแม่พันธุ์ การปลูกดูแลรักษาต้นแม่พันธุ์ บรรจุวัสดุเพาะชำลงถุง การรองไหล การตัดไหล และการขนย้ายเพื่อนำไปปลูก ดังนั้น ในการผลิตไหลจึงควรพิจารณาถึงแรงงานที่จะต้องใช้ด้วย
  •   การเตรียมแปลงปลูก
  • ดังได้กล่าวแล้วว่าความสูงของพื้นที่ที่ใช้ในการผลิตต้นไหลมีผลต่อคุณภาพของต้นไหลที่ผลิตได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการให้ผลผลิตเมื่อนำต้นสตรอเบอรี่ไปปลูก ดังนั้น เมื่อเราจำเป็นต้องทำการผลิตต้นไหลบนพื้นที่สูง ความลาดเทของพื้นที่ไม่ควรเกิน 15 % การเตรียมปลงปลูกต้องยกแปลงขวางแนวลาดเท (แบบขั้นบันได) เพื่อขจัดปัญหาการชะล้างและพังทะลายของดิน สำหรับการเตรียมดินก็ปฎิบัติเช่นเดียวกันกับการปลูกเพื่อต้องการผล 
  • วิธีการปลูก
  • จะเริ่มปลูกต้นแม่พันธุ์ประมาณเดือนพฤษภาคม ปลูกแบบแถวเดี่ยวห่างจากสันแปลงด้านระดับสูงประมาณ 15 ซม. เพื่อให้มีพื้นที่เหลือสำหรับวางถุงเพาะชำต้นไหลจากสายไหลที่ทอดลงมา เว้นระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 80 - 90 ซม. ในระยะแรกต้องบำรุงต้นแม่พันธุ์ให้แข็งแรงพร้อมทั้งตัดไหลที่ออกมาทิ้งให้หมด เพื่อให้ต้นแม่พันธุ์แตกกอประมาณ 4 -5 ต้น/กอ ประมาณเดือนกรกฎาคมจึงเริ่มปล่อยให้ต้นแม่พันธุ์แตกไหลได้ตามปกติ หลังจากที่ต้นไหลโตและเริ่มมีตุ่มรากเกิดขึ้น ให้นำถุงพลาสติกขนาด 3 x 5 นิ้ว ที่ใส่วัสดุปลูกจะเป็นดินล้วนหรือดินผสมก็ได้มารองรับต้นไหล แล้วใช้ไม้ไผ่เล็กๆพับกลางเสียบยึดสายไหลให้ติดกับดินในถุงพลาสติก รอจนต้นไหลสร้างรากและแข็งแรงดี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน จึงตัดต้นไหลออกจากต้ตแม่พันธุ์โดยตัดสายไหลที่เจริญมาจากต้นแม่ห่างจากต้นไหลประมาณ 3 เซนติเมตร เพื่อป้องกันโรคเข้าต้นไหลและใช้ในการจับระดับปลูก ส่วนไหลด้านปลายให้ตัดชิดต้นไหล
    การผลิตไหลอีกลักษณะหนึ่งคือ เกษตรกรไม่ต้องใช้วัสดุเพาะชำรองไหลในช่วงแรก ปล่อยให้ต้นแม่แตกไหลไปเรื่อยๆแล้วใช้วิธีตลบไหลขึ้นแปลง เพื่อไม่ให้รากยึดเกาะกับดินในแปลง รอจนถึงช่วงกลางเดือนสิงหาคมจึงเริ่มรองไหล
    ต้นแม่พันธุ์ 1 กอ จะสามารถผลิตไหลได้ประมาณ 15 - 20 สาย ซึ่งแต่ละสายจะมีต้นไหลประมาณ 10 ต้น ในการนำไปปลูกเกษตรกรจะต้องคัดเลือกต้นไหลที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป จึงทำให้ในแต่ละกอมีต้นไหลที่สามารถปลูกได้ดีเพียง 40 - 60 ต้นเท่านั้น
      

การปลูกสตอเบอรี่

                              การปลูกและการดูแลรักษาารปลูกสตรอเบอรี่ มี 2 ช่วงที่สำคัญ คือ การปลูกเพื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต และการปลูกเพื่อผลิตต้นไหล
การปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต
การเตรียมแปลงปลูก
  • ควรปลูกในเดือนกันยายน - กลางเดือนตุลาคม โดยใช้ส่วนที่เรียกว่า ต้นไหลมาปลูก
  • ในการเตรียมดิน ควรใส่ปูนขาวในอัตรา 60 - 80 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อปรับสภาพดินพร้อมการไถดะ ไถแปร และผึ่งดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช หลังจากนั้นหว่านปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกให้ทั่วแปลงในอัตรา 2 - 2.5 ตัน/ไร่ พร้อมการไถพรวน เตรียมแปลงปลูกแบบยกร่องให้ฐานแปลงกว้าง 75 เซนติเมตร สูงประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร และมีสันแปลงเหลือกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลงไว้ประมาณ 30 เซนติเมตร
     วัสดุคลุมแปลง
  • เพื่อช่วยรักษาความชื้นของดินในแปลงปลูก และช่วยในการควบคุมวัชพืชบนแปลง รวมทั้งป้องกันไม่ให้ผลสตรอเบอรี่เกิดการเสียหายเนื่องจากสัมผัสกับดิน ให้ใช้วัสดุคลุมแปลงซี่งได้แก่ ฟางข้าว ใบหญ้าคา พลาสติก ใบตองเหียงหรือใบตองตึง คลุมแปลงปลูก ซึ่งวัสดุคลุมแปลงแต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน เช่น
  • ฟางข้าว หาง่ายในท้องถิ่น ราคาถูก แต่มักจะเน่าสลายตัวได้เร็ว ต้องใส่ฟางเพิ่มเติมหลังปลูก และพบบ่อยๆว่าทำให้ผลสตรอเบอรี่เสียหาย เน่าช้ำง่าย เมื่อเศษฟางหลงติดไปกับผลสตรอเบอรี่หลังการเก็บเกี่ยว ทำความสะอาดยาก เป็นปัญหากับผู้ส่งออก
  • พลาสติก ได้มีการทดลองใช้พลาสติกสีดำเป็นวัสดุคลุมดินปรากฎว่า มีผลเสียแก่การปลูกสตรอเบอรี่หลายประการ เช่น พลาสติกมีราคาแพง ทำให้ต้นทุนสูง ทำให้อุณหภูมิดินใต้พลาสติกสูง เป็นอันตรายต่อระบบราก และผลสตรอเบอรี่ที่แนบติดกับพลาสติกที่ร้อนจัดจะเสียหายเป็นรอยตำหนิ ถ้าหากใช้พลาสติกสีขาวขุ่นปรากฎว่าไม่สามารถลดปัญหาวัชพืชได้ เป็นต้น
วัสดุคลุมดินโดยทั่วไปนิยมใช้ใบตองตึงหรือใบตองเหียงที่ทำเป็นตับ (ไพ) เช่นเดียวกันกับที่ใช้มุงหลังคา ซึ่งแต่ละตับจะยาวประมาณ 1 เมตร มาคลุมทั้งสองด้าน และด้านบนของแปลงชิดกับต้นที่ปลูกเป็นแถว จะมีที่ว่างระหว่างต้นสำหรับให้น้ำและปุ๋ยได้ แล้วใช้ไม้ไผ่ตอกประกับตามแนวยาวเพื่อยึดใบตองตึงกับพื้นดิน 
ระยะปลูก
 สำหรับระยะที่ใช้ปลูกจะใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 30 - 40 เซนติเมตร ระหว่างต้น 25 - 30 เซนติเมตร ปลูกแบบสลับฟันปลา โดยทั่วไปจะใช้ต้นไหลสำหรับปลูกประมาณ 8,000 ต้น (ในกรณีปลูกในพื้นที่นาที่ยังคงสภาพคันนา) ถึง 10,000 ต้น/พื้นที่ 1 ไร่
วิธีการปลูก
ปลูกโดยขุดหลุมทะลุผ่านวัสดุคลุมดินให้พอดีกับขนาดของต้นไม่ลึกเกินไป แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกประมาณ 30 กรัม/ต้น โดยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีตอนปลูกใหม่ เพราะอาจทำให้ระบบรากเสียหายและต้นตายได้ การปลูกต้นไหลนั้นระดับรอยต่อของรากและลำต้นจะต้องพอดีกับระดับของผิวดิน ไม่ปลูกลึกหรือตื้นเกินไป ถ้าปลูกลึก คือ ส่วนลำต้นจมอยู่ต่ำกว่าผิวดิน หากเชื้อโรคเข้าทางยอดของลำต้นจะทำให้ยอดเน่า ต้นเจริญเติบโตช้าและอาจถึงตายได้ ถ้าปลูกตื้น คือ ปลูกต้นไหลแล้วรากลอยขึ้นมาเหนือผิวดิน ทำให้รากถูกอากาศและแห้ง ต้นเจริญเติบโตช้า ไม่สมบูรณ์ และอาจเป็นสาเหตุให้ต้นตายได้เช่นกัน การปลูกควรให้ขั้วไหลด้านที่เจริญมาจากต้นแม่หันเข้ากลางแปลง เพื่อที่จะให้ผลสตรอเบอรี่ที่ผลิตออกมาอยู่ด้านนอกของแปลงได้รับแสงแดดเต็มที่ ทำให้รสชาติดี สะดวกในการเก็บเกี่ยวและลดปัญหาเรื่องโรคของผลได้ ปลูกหลุมละ 1 ต้นต้นไหลที่จะนำมาปลูกควรมีขนาดพอเหมาะ คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นประมาณ 10 -13 มิลลิเมตร ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป การใช้ต้นไหลที่ผ่าน การเกิดตาดอกจากพื้นที่สูงจะทำให้ได้ผลผลิตเร็ว และมีช่วงการเก็บเกี่ยวยาวนานขึ้น
เมื่อปลูกต้นไหลแล้ว ระยะตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงประมาณเดือนธันวาคม ต้นไหลบางพันธุ์จะผลิตส่วนไหลออกมาเรื่อยๆ ให้ชาวสวนเด็ดหรือตัดส่วนไหลออกให้หมดทุกต้น ไม่ควรเลี้ยงไหลไว้เพื่อใช้ปลูกต่อไป เพราะจะทำให้ต้นที่ย้ายปลูก (ต้นเดิมที่นำลงมาจากภูเขา)สร้างตาดอกรุ่นต่อมาช้าลง และทำให้ต้นโทรม ขาดความแข็งแรงได้ นอกจากนี้ยังจะกระทบกระเทือนต่อผลผลิตรวมทั้งแปลงอีกด้วย
การให้น้ำ
 
เนื่องจากสตรอเบอรี่เป็นพืชที่มีระบบรากตื้นอยู่ใกล้ผิวดิน จึงจำเป็นต้องระวังในเรื่องการให้น้ำเป็นพิเศษ ในช่วงสองสัปดาห์แรกหลังจากย้ายปลูกก่อนต้นตั้งตัว คือ เมื่อปลูกสตรอเบอรี่เสร็จแล้วให้รดน้ำทันที และเมื่อต้นสตรอเบอรี่โตมีระบบรากแข็งแรง ก็ให้รดน้ำด้วยบัวรดน้ำทุกวันๆละครั้งในกรณีที่ฝนไม่ตก หรือจะให้น้ำโดยการปล่อยน้ำเข้าท่วมทางเดินระหว่างแปลงปลูกจนกระทั่งดินอิ่มตัวก็ได้ อย่าปล่อยให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ควรปล่อยน้ำประมาณ 2 - 3 วัน/ครั้ง แต่วิธีนี้จะทำให้โรคจากแปลงหนึ่งกระจายไปสู่แปลงอื่นได้ การให้น้ำอีกวิธีก็คือ การใช้สปริงเกอร์ เป็นวิธีที่พอใช้ได้ แต่ต้นทุนสูง
  • การที่จะทราบว่าควรให้น้ำมากน้อยเพียงใดนั้น ให้ใช้การคาดนะเนดูความชื้นของดินเป็นเกณฑ์ สตรอเบอรี่เป็นพืชที่ต้องการความชื้นในดินอย่างสม่ำเสมอ หากดินมีความชื้นน้อยจนถึงแห้ง ต้นสตรอเบอรี่ก็ลดการเจริญเติบโตจนถึงหยุดเจริญเติบโตเมื่อดินแห้งจัด ในทางตรงกันข้ามเมื่อดินมีความชื้นมาก น้ำขัง รากสตรอเบอรี่ก็จะเน่าและตายได้ นอกจากนี้การรดน้ำที่มากเกินไปยังทำให้ลำต้นอวบน้ำ ใบมีขนาดใหญ่ การออกดอกลดลง สีของผลซีด ผลสดนิ่ม อายุผลสั้น มักเกิดการชอกช้ำและเชื้อราเข้าทำลายได้ง่าย ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ฉะนั้นเมื่อผลสุกจึงควรเก็บผลก่อนที่จะให้น้ำ 
  • การให้ปุ๋ย
  •  สตรอเบอรี่มีความต้องการธาตุอาหารทั้งในกลุ่มธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ในกลุ่มธาตุอาหารรอง ได้แก่ แมกนีเซียม แคลเซียม และธาตุอาหารเสริม คือ โบรอน เหล็ก และสังกะสี ซี่งโดยปกติทั้งกลุ่มธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม จะมีอยู่ในดินตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่จะมีมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ในแต่ละแห่ง ธาตุอาหารที่มีมากหรือน้อยเกินไปจะส่งผลกระทบถึงปริมาณและคุณภาพผลผลิตของสตรอเบอรี่ ฉะนั้น การที่จะทราบว่าจะใส่ปุ๋ยสูตรอะไร อัตราเท่าใด จะต้องเก็บตัวอย่างดินของแปลงที่จะปลูกสตรอเบอรี่มาวิเคราะห์ เพี่อตรวจสอบว่าดินนั้นมีปริมาณธาตุอาหารอยู่ในดินปริมาณเท่าใด จะได้ใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมในส่วนที่ดินยังขาดอยู่ นอกจากนั้นยังทำให้เราทราบสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินเพื่อที่จะได้ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้เหมาะสมกับพืช สำหรับคำแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีกับสตรอเบอรี่โดยทั่วๆไปนั้นให้ปฎิบัติดังนี้ คือ หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 20 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 หรือ 9-24-24 ในอัตรา 5 - 10 กรัม/ต้น หรือประมาณ 20-25 กิโลกรัม/ไร่ และต่อจากนั้นไปอีก 10 วัน ให้ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือ12-12-17+2 อย่างใดอย่างหนึ่ง ใส่ในอัตราส่วน 10 กรัม/ต้น/ครั้ง แบ่งใส่ 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7 - 10 วัน โดยวิธีโรยระหว่างแถวแล้วพรวนดินกลบ
  • การกำจัดวัชพืช
  • การปล่อยให้มีวัชพืชขึ้นในแปลงสตรอเบอรี่ จะมีผลทำให้ผลผลิตลดลงได้ เนื่องจากวัชพืชเป็นตัวแย่งน้ำแย่งอาหาร ทั้งยังเป็นแหล่งสะสมโรคและแมลงที่จะระบาดทำความเสียหายให้แก่สตรอเบอรี่ด้วย เกษตรกรต้องหมั่นกำจัดวัขพืชอย่าสม่ำเสมอ พร้อมทั้วตัดแต่งใบและลำต้นแขนงที่ไม่สมบูรณ์ออกทิ้ง ซึ่งแต่ละกอควรเก็บหน่อไว้ประมาณ 6 - 8 หน่อ และอย่าทิ้งเศษพืชไว้ในแปลงปลูก เพราะจะทำให้เป็นที่สะสมโรค ควรเก็บเศษพืชอัดใส่ถุงปุ๋ยให้แน่นผูกปากถุงทิ้งไว้ เมื่อสลายตัวแล้วจะได้นำไปใช้เป็นปุ๋ยต่อไป
    การปลูกเพื่อผลิตต้นไหล
    เกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่อาจทำการผลิตต้นไหลสตรอเบอรี่เพื่อใช้ปลูกเอง หรือจะใช้ซื้อต้นไหลมาปลูกก็ได้ หากเกษตรกรจะทำการผลิตต้นไหลไว้ใช้ปลูกเองหรือเพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกรายอื่นมีข้อควรพิจารณาดังนี้
  • ต้นแม่พันธุ์ ต้นแม่พันธุ์จะต้องมีลักษณะดี คือ มีการสร้างไหลที่แข็งแรงและปริมาณมากตรงตามสายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูง ปลอดจากโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
  • พื้นที่ที่ผลิตต้นไหล พื้นที่ที่เหมาะสมกับการผลิตต้นไหลจะต้องสะอาดปลอดจากเชื้อสาเหตุของโรค โดยเฉพาะเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรดโนส ใกล้แหล่งน้ำ สามารถนำน้ำมาใช้ได้ในช่วงฝนทิ้งช่วง การคมนาคมสะดวก สามารถขนย้ายวัสดุเพาะชำไปยังแปลงแม่พันธุ์ และขนส่งต้นไหลไปยังแหล่งปลูกได้โดยไม่บอบช้ำเสียหาย และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความสูงของพื้นที่ จากสาเหตุที่เมื่อช่วงแสงของวันสั้นลงและอุณหภูมิของอากาศเย็นลง ทำให้ต้นสตรอเบอรี่เปลี่ยนสภาพการเจริญเติบโตทางด้านสร้างไหลต้นไหล เป็นสภาพการเจริญเติบโตทางสร้างตาดอก ซึ่งส่งผลให้ต้นสตรอเบอรี่ที่เจริญเติบโตบนภูเขาสร้างตาดอกได้เร็วกว่าต้นสต รอเบอรี่บนพื้นที่ราบ เป็นผลให้ผลผลิตสตรอเบอรี่ที่เกิดจากต้นสตรอเบอรี่ที่ผลิตบนภูเขาที่มีอากาศ หนาวเย็นออกสู่ตลาดได้เร็วกว่าผลผลิตสตรอเบอรี่พันธุ์เดียวกันที่เกิดจากต้น ที่ผลิตจากพื้นที่ราบ ประกอบกับสภาพดินบนที่สูงหรือภูเขามีการระบายน้ำได้ดีกว่าพื้นที่ราบ ปัญหาโรคมีน้อยกว่า ทำให้ต้นไหลแข็งแรงมีคุณภาพดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องผลิตต้นไหลสตรอเบอรี่บนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ไม่ต่ำกว่า 1,000 เมตร มีอากาศหนาวเย็น แล้วขนต้นไหลลงมาปลูกยังพื้นที่ราบ แต่ทั้งนี้แหล่งผลิตต้นไหลจะต้องไม่เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ำที่ควรจะต้อง สงวนรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยเฉพาะ
  • แรงงาน เนื่องจากกระบวนการผลิตต้นไหลสตรอเบอรี่เป็นงานที่ต้องใช้แรงงานมาก เริ่มตั้งแต่การเตรียมแปลงปลูกต้นแม่พันธุ์ การปลูกดูแลรักษาต้นแม่พันธุ์ บรรจุวัสดุเพาะชำลงถุง การรองไหล การตัดไหล และการขนย้ายเพื่อนำไปปลูก ดังนั้น ในการผลิตไหลจึงควรพิจารณาถึงแรงงานที่จะต้องใช้ด้วย
  •   การเตรียมแปลงปลูก
  • ดังได้กล่าวแล้วว่าความสูงของพื้นที่ที่ใช้ในการผลิตต้นไหลมีผลต่อคุณภาพของต้นไหลที่ผลิตได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการให้ผลผลิตเมื่อนำต้นสตรอเบอรี่ไปปลูก ดังนั้น เมื่อเราจำเป็นต้องทำการผลิตต้นไหลบนพื้นที่สูง ความลาดเทของพื้นที่ไม่ควรเกิน 15 % การเตรียมปลงปลูกต้องยกแปลงขวางแนวลาดเท (แบบขั้นบันได) เพื่อขจัดปัญหาการชะล้างและพังทะลายของดิน สำหรับการเตรียมดินก็ปฎิบัติเช่นเดียวกันกับการปลูกเพื่อต้องการผล 
  • วิธีการปลูก
  • จะเริ่มปลูกต้นแม่พันธุ์ประมาณเดือนพฤษภาคม ปลูกแบบแถวเดี่ยวห่างจากสันแปลงด้านระดับสูงประมาณ 15 ซม. เพื่อให้มีพื้นที่เหลือสำหรับวางถุงเพาะชำต้นไหลจากสายไหลที่ทอดลงมา เว้นระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 80 - 90 ซม. ในระยะแรกต้องบำรุงต้นแม่พันธุ์ให้แข็งแรงพร้อมทั้งตัดไหลที่ออกมาทิ้งให้หมด เพื่อให้ต้นแม่พันธุ์แตกกอประมาณ 4 -5 ต้น/กอ ประมาณเดือนกรกฎาคมจึงเริ่มปล่อยให้ต้นแม่พันธุ์แตกไหลได้ตามปกติ หลังจากที่ต้นไหลโตและเริ่มมีตุ่มรากเกิดขึ้น ให้นำถุงพลาสติกขนาด 3 x 5 นิ้ว ที่ใส่วัสดุปลูกจะเป็นดินล้วนหรือดินผสมก็ได้มารองรับต้นไหล แล้วใช้ไม้ไผ่เล็กๆพับกลางเสียบยึดสายไหลให้ติดกับดินในถุงพลาสติก รอจนต้นไหลสร้างรากและแข็งแรงดี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน จึงตัดต้นไหลออกจากต้ตแม่พันธุ์โดยตัดสายไหลที่เจริญมาจากต้นแม่ห่างจากต้นไหลประมาณ 3 เซนติเมตร เพื่อป้องกันโรคเข้าต้นไหลและใช้ในการจับระดับปลูก ส่วนไหลด้านปลายให้ตัดชิดต้นไหล
    การผลิตไหลอีกลักษณะหนึ่งคือ เกษตรกรไม่ต้องใช้วัสดุเพาะชำรองไหลในช่วงแรก ปล่อยให้ต้นแม่แตกไหลไปเรื่อยๆแล้วใช้วิธีตลบไหลขึ้นแปลง เพื่อไม่ให้รากยึดเกาะกับดินในแปลง รอจนถึงช่วงกลางเดือนสิงหาคมจึงเริ่มรองไหล
    ต้นแม่พันธุ์ 1 กอ จะสามารถผลิตไหลได้ประมาณ 15 - 20 สาย ซึ่งแต่ละสายจะมีต้นไหลประมาณ 10 ต้น ในการนำไปปลูกเกษตรกรจะต้องคัดเลือกต้นไหลที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป จึงทำให้ในแต่ละกอมีต้นไหลที่สามารถปลูกได้ดีเพียง 40 - 60 ต้นเท่านั้น
      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น