การปลูกเงาะโรงเรียน

 เงาะโรงเรียน
                  เงาะโรงเรียนเป็นเงาะที่มีรสชาติอร่อย เนื้อกรอบ หวานหอม มีประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ.2468 มีชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อ นายเค วอง ได้เดินทางเข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกที่บ้านเหมืองแกะ ต.นาสาร อ.บ้านนาสาร และได้นำเมล็ดเงาะมาปลูกข้างบ้านพัก ปรากฏว่ามีเงาะต้นหนึ่งมีผลที่มีลักษณะต่างไปจากต้นอื่น คือ รูปผลค่อนข้างกลม เนื้อกรอบหวาน หอม เปลือกบาง รสชาติอร่อย เมื่อนายเค วอง เลิกล้มกิจการเหมืองแร่ในปี พ.ศ.2497 ได้ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ซึ่งได้ปรับปรุงให้เป็นสถานที่เรียนเรียกว่า โรงเรียนนาสาร เงาะที่นายเค วองปลูกไว้ก็ได้ขยายพันธุ์สู่ประชาชนโดยใช้ต้นพันธุ์เดิม จึงเรียกว่า เงาะโรงเรียน
          ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายชัช อุตตมางกูร ผู้นำชาวสวนเงาะได้ทูลเกล้าฯถวายผลเงาะโรงเรียน และขอพระราชทานชื่อพันธุ์เงาะนี้เสียใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ชื่อเงาะโรงเรียนดีอยู่แล้ว” ตั้งแต่นั้นมา เงาะพันธุ์นี้จึงได้ชื่อว่า เงาะโรงเรียน อย่างเป็นทางการ  อนึ่ง เพื่อความเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้จัดงาน วันเงาะโรงเรียน  ขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคมของทุกปี




 
สถานการณ์ทั่วไป
         เงาะเป็นไม้ผลเพื่อบริโภคผลสดและเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของอุตสาหกรรมเกษตร เงาะกระป๋อง และเงาะสอดไส้สับปะรดบรรจุกระป๋อง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะเกิดปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำเกือบทุกปี (เนื่องจากช่วงฤดูกาลผลิตเงาะค่อนข้างสั้น ในช่วงเวลากลางฤดูจะมีผลผลิตมากกว่า 50 % ออกสู่ตลาดพร้อมๆ กัน) แต่เงาะก็ยังจัดเป็นไม้ผลที่ทำรายได้ดีอีกพืชหนึ่ง

ลักษณะทั่วไป
         เงาะเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสม อยู่ในช่วง 25 – 30 องศา C ความชื้นสัมพัทธ์สูงประมาณ 75 – 85 %
         ดินปลูกที่เหมาะสมควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (ค่า pH) ของดินประมาณ 5.5 – 6.5 และที่สำคัญควรเลือกแหล่งปลูก ที่มีน้ำเพียงพอตลอดปี
         เงาะเป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารลึกประมาณ 60 – 90 เซนติเมตรจากผิวดิน จึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกติดต่อกัน ประมาณ 21 – 30 วัน
         เมื่อต้นเงาะผ่านสภาพแล้งและมีการจัดการน้ำอย่างเหมาะสมเงาะจะออกดอก ช่วงพัฒนาการของดอก (ผลิตดอก – ดอกแรกเริ่มบาน) ประมาณ 10 – 12 วัน ดอกเงาะจะทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ ใช้เวลาประมาณ 25 – 30 วัน จึงจะบานหมดช่อ ดอกเงาะมี 2 ชนิด คือ ดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ต้นที่มีดอกตัวผู้จะไม่ติดผล ส่วนต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศนั้นเกสรตัวผู้ไม่ค่อยแข็งแรง ต้องปลูกต้นตัวผู้แซมในสวน เพื่อเพิ่มละอองเกสร หรือฉีดพ่นฮอร์โมนพืช เพื่อช่วยให้เกสรตัวผู้แข็งแรงขึ้น
พื้นที่ปลูก
         – แหล่งผลิตที่สำคัญ คือ ภาคตะวันออก(พื้นที่ปลูก 55% ผลผลิต 63%) และภาคใต้(พื้นที่ปลูก 44% ผลผลิต 36%)
         – จังหวัดที่สำคัญ ได้แก่ จันทบุรี (ผลผลิต 45%) ตราด (14%) สุราษฎร์ธานี (10%) ชุมพร (10%) นครศรีธรรมราช (8%)
         – พื้นที่ปลูก ประมาณ 540,000 ไร่ (พื้นที่ให้ผลแล้ว 420,000 ไร่)
พันธุ์ที่ส่งเสริม
         – โรงเรียน
         – ตราดสีทอง
การปลูก
          วิธีการปลูก ทำได้ทั้งการขุดหลุมปลูกซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่ยังไม่มีการวางระบบน้ำไว้ ก่อนปลูก วิธีนี้ดินในหลุมจะช่วยเก็บความชื้นได้ดีขึ้น และสามารถปลูกโดยวิธีไม่ต้องขุดหลุม(ปลูกแบบนั่งแท่นหรือยกโคก) เหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุก วิธีการนี้ระบายน้ำดีน้ำไม่ขังโคนต้น แต่ต้องมีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก ซึ่งต้นเงาะจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการขุดหลุม ทั้งนี้จุดเน้นที่สำคัญในการปลูก คือ ควรใช้ต้นกล้าที่มีระบบรากดี ไม่ขดงอในถุง แต่ถ้าจะใช้ต้นกล้าขนาดใหญ่ก็ให้ตัดดินและรากที่ขดหรือพันตรงก้นถุงออก
ระยะปลูก
         6 – 8 X 6 – 8 เมตร ถ้าใช้ระยะปลูกชิด 6 X 6 เมตร จะตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มอย่างใกล้ชิด ไม่ให้ทรงพุ่มชนและบังแสงกัน สำหรับสวนที่ใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงาน ควรเว้นระยะระหว่างแถวให้ห่างพอที่เครื่องจักรกลจะเข้าไปทำงาน แต่ให้ระยะระหว่างต้นชิดขึ้น
จำนวนต้น/ต่อไร่
         25 – 40 ต้น/ไร่
การดูแลรักษา (สำหรับต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว)
การใส่ปุ๋ย
         – เพื่อบำรุงต้นหลังการเก็บเกี่ยว ปุ๋ยอินทรีย์ 20 – 50 กก./ต้น ร่วมกับ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 1 – 3 กก./ต้น
         – เพื่อส่งเสริมการออกดอก (ช่วงปลายฝน) ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 หรือ 9-24-24 2 – 3 กก./ต้น หรือ
         – เพื่อบำรุงผล (หลังติดผล 3 – 4 สัปดาห์) ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 2 – 3 กก./ต้น ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก 20 – 30 กก./ต้น
การให้น้ำ
         ให้น้ำสม่ำเสมอช่วงเจริญทางใบ งดน้ำช่วงปลายฝน ต้นเงาะที่มีใบแก่และสมบูรณ์ ทั้งต้นและผ่านสภาพแล้งติดต่อกันนาน 21 – 30 วัน จะแสดงอาการขาดน้ำ (ใบห่อ) ให้กระตุ้นการออกดอกโดยการให้น้ำในปริมาณมากเต็มที่ จากนั้นให้หยุดดูอาการ 7 – 10 วัน เมื่อพบว่าตายอดเริ่มพัฒนาเป็นตาดอก (สีของตายอดจะเปลี่ยนจากน้ำตาลดำเป็นน้ำตาลทอง) ก็เริ่มให้น้ำอีกครั้งปริมาณเท่าเดิมเพื่อเร่งการพัฒนาของตาดอก แต่ถ้าหลังจากให้น้ำครั้งที่ 1 แล้ว พบว่าตา ยอดเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลอมเขียว แสดงว่าให้น้ำมากเกินไปตายอดพัฒนาเป็นตาใบแทนที่จะเป็นตาดอก ต้องหยุดน้ำและปล่อยให้เงาะกระทบแล้งอีกครั้งจนเห็นว่าสีเขียวน้ำตาลของ ตายอดเปลี่ยนเป็นน้ำตาลทองของตาดอก ก็เริ่มให้น้ำในอัตรา ? ของครั้งแรก จากนั้นเมื่อแทงช่อดอกและติดผลแล้วควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ เพื่อเร่งพัฒนาการของดอก และเร่งพัฒนาการของผลให้ขึ้นลูกได้เร็วและผลโต
การปฏิบัติอื่นๆ
         – การเตรียมสภาพต้นให้พร้อมต่อการออกดอกในฤดูถัดไป คือ การจัดการเงาะให้มีการแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุด และให้รักษาใบอ่อนที่แตกออกมาให้สมบูรณ์ หมั่นป้องกันกำจัดโรคราแป้งและหนอนคืบกินใบ
         – การจัดการเพื่อส่งเสริมการติดผล
การช่วยให้เงาะผสมเกสรได้ดีขึ้น
         โดยการเพิ่มปริมาณเกสรตัวผู้ ทำได้หลายวิธี เช่น
         – พ่นฮอร์โมนพืช เมื่อช่อดอกส่วนใหญ่ของต้นบานได้ร้อยละ 5 ให้ฉีด พ่นช่อดอกบริเวณส่วนบนของทรงพุ่มด้วยฮอร์โมน เอ็น เอ เอ ในอัตรา 2 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรประมาณ 4 – 5 จุด/ต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติโดยทั่วไป
         – รวบรวมละอองเกสรตัวผู้ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วต้นเมื่อช่อดอกบนต้นบานได้ 50 %
         – เปลี่ยนยอดให้เป็นกิ่งตัวผู้ ทำได้โดยการตัดยอดของเงาะต้นตัวเมีย เลี้ยงกิ่งกระโดงขึ้น มา แทนที่แล้วนำกิ่งจากต้นตัวผู้มาทาบบนกิ่งกระโดงนี้ ส่วนการสร้างสวนใหม่ควรปลูก ต้นตัวผู้แซมไปในระหว่างแถวของต้นตัวเมีย
         – เลี้ยงผึ้งหรือติดต่อผู้เลี้ยงผึ้งให้นำผึ้งมาเลี้ยงในสวนระยะดอกบาน: ตรวจสอบและป้องกันกำจัดราแป้งอย่างใกล้ชิด ในทุกช่วงของการพัฒนาการของดอกและผล
การป้องกันกำจัดศัตรูพืชสำคัญ (เน้นการป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน)
       – ช่วงแตกใบอ่อน – หนอนคืบกินใบ : คาร์บาริลหรือ คาร์โบซัลแฟน
       – ช่วงออกดอกและติดผล – โรคราแป้ง : ต้นที่เริ่มพบโรคให้ใช้กำมะถันผง แต่ถ้ามีโรคหนาแน่นมาก ให้พ่นด้วย เบโนมิล หรือ ไดโนแคป ระยะห่าง 7 – 10 วัน/ครั้ง
อายุเก็บเกี่ยว
         เงาะจะให้ ผลผลิตหลังการปลูกค่อนข้างเร็ว ภายใน 3 – 4 ปี ช่วงอายุที่ให้ผลผลิตดีประมาณ 7 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ย 150 – 200 กก./ต้น (น้ำหนักผลเฉลี่ย 30 – 40 กรัม/ผล หรือประมาณ 25 – 35 ผล/กก. ผลผลิตประมาณ 80 – 110 ผล/ต้น หรือประมาณ 240 – 330 กก./ต้น/ปี (คิดน้ำหนักเฉลี่ยผลละ 3 ก – ก.)
ฤดูกาลเก็บเกี่ยว
         ฤดูกาลเก็บเกี่ยวเงาะภาคตะวันออก อยู่ในช่วงปลายเดือนเมษายน – มิถุนายน และภาคใต้ เดือนกรกฎาคม – กันยายน เงาะจะเก็บเกี่ยวผลได้ประมาณ 20 วันหลังจากผลเริ่มเปลี่ยนสี ผลเงาะเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 12 – 13 องศา C ความชื้นสัมพัทธ์ 90 – 95 % เก็บรักษาได้นานประมาณ 2 สัปดาห
ต้นทุนการผลิต
         เงาะโรงเรียน เฉลี่ยประมาณ 11,566 บาท/ไร่ หรือ 7.57 บาท/กก.
         เงาะสีชมพู เฉลี่ยประมาณ 10,285 บาท/ไร่ หรือ 5.47 บาท/กก.


การปลูกเงาะโรงเรียน

                                               การปลูกเงาะโรงเรียน

 เงาะโรงเรียน
                  เงาะโรงเรียนเป็นเงาะที่มีรสชาติอร่อย เนื้อกรอบ หวานหอม มีประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ.2468 มีชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ชื่อ นายเค วอง ได้เดินทางเข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกที่บ้านเหมืองแกะ ต.นาสาร อ.บ้านนาสาร และได้นำเมล็ดเงาะมาปลูกข้างบ้านพัก ปรากฏว่ามีเงาะต้นหนึ่งมีผลที่มีลักษณะต่างไปจากต้นอื่น คือ รูปผลค่อนข้างกลม เนื้อกรอบหวาน หอม เปลือกบาง รสชาติอร่อย เมื่อนายเค วอง เลิกล้มกิจการเหมืองแร่ในปี พ.ศ.2497 ได้ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ซึ่งได้ปรับปรุงให้เป็นสถานที่เรียนเรียกว่า โรงเรียนนาสาร เงาะที่นายเค วองปลูกไว้ก็ได้ขยายพันธุ์สู่ประชาชนโดยใช้ต้นพันธุ์เดิม จึงเรียกว่า เงาะโรงเรียน
          ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายชัช อุตตมางกูร ผู้นำชาวสวนเงาะได้ทูลเกล้าฯถวายผลเงาะโรงเรียน และขอพระราชทานชื่อพันธุ์เงาะนี้เสียใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ชื่อเงาะโรงเรียนดีอยู่แล้ว” ตั้งแต่นั้นมา เงาะพันธุ์นี้จึงได้ชื่อว่า เงาะโรงเรียน อย่างเป็นทางการ  อนึ่ง เพื่อความเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้จัดงาน วันเงาะโรงเรียน  ขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคมของทุกปี




 
สถานการณ์ทั่วไป
         เงาะเป็นไม้ผลเพื่อบริโภคผลสดและเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของอุตสาหกรรมเกษตร เงาะกระป๋อง และเงาะสอดไส้สับปะรดบรรจุกระป๋อง เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะเกิดปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำเกือบทุกปี (เนื่องจากช่วงฤดูกาลผลิตเงาะค่อนข้างสั้น ในช่วงเวลากลางฤดูจะมีผลผลิตมากกว่า 50 % ออกสู่ตลาดพร้อมๆ กัน) แต่เงาะก็ยังจัดเป็นไม้ผลที่ทำรายได้ดีอีกพืชหนึ่ง

ลักษณะทั่วไป
         เงาะเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสม อยู่ในช่วง 25 – 30 องศา C ความชื้นสัมพัทธ์สูงประมาณ 75 – 85 %
         ดินปลูกที่เหมาะสมควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (ค่า pH) ของดินประมาณ 5.5 – 6.5 และที่สำคัญควรเลือกแหล่งปลูก ที่มีน้ำเพียงพอตลอดปี
         เงาะเป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารลึกประมาณ 60 – 90 เซนติเมตรจากผิวดิน จึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกติดต่อกัน ประมาณ 21 – 30 วัน
         เมื่อต้นเงาะผ่านสภาพแล้งและมีการจัดการน้ำอย่างเหมาะสมเงาะจะออกดอก ช่วงพัฒนาการของดอก (ผลิตดอก – ดอกแรกเริ่มบาน) ประมาณ 10 – 12 วัน ดอกเงาะจะทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ ใช้เวลาประมาณ 25 – 30 วัน จึงจะบานหมดช่อ ดอกเงาะมี 2 ชนิด คือ ดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศ ต้นที่มีดอกตัวผู้จะไม่ติดผล ส่วนต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศนั้นเกสรตัวผู้ไม่ค่อยแข็งแรง ต้องปลูกต้นตัวผู้แซมในสวน เพื่อเพิ่มละอองเกสร หรือฉีดพ่นฮอร์โมนพืช เพื่อช่วยให้เกสรตัวผู้แข็งแรงขึ้น
พื้นที่ปลูก
         – แหล่งผลิตที่สำคัญ คือ ภาคตะวันออก(พื้นที่ปลูก 55% ผลผลิต 63%) และภาคใต้(พื้นที่ปลูก 44% ผลผลิต 36%)
         – จังหวัดที่สำคัญ ได้แก่ จันทบุรี (ผลผลิต 45%) ตราด (14%) สุราษฎร์ธานี (10%) ชุมพร (10%) นครศรีธรรมราช (8%)
         – พื้นที่ปลูก ประมาณ 540,000 ไร่ (พื้นที่ให้ผลแล้ว 420,000 ไร่)
พันธุ์ที่ส่งเสริม
         – โรงเรียน
         – ตราดสีทอง
การปลูก
          วิธีการปลูก ทำได้ทั้งการขุดหลุมปลูกซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่ยังไม่มีการวางระบบน้ำไว้ ก่อนปลูก วิธีนี้ดินในหลุมจะช่วยเก็บความชื้นได้ดีขึ้น และสามารถปลูกโดยวิธีไม่ต้องขุดหลุม(ปลูกแบบนั่งแท่นหรือยกโคก) เหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุก วิธีการนี้ระบายน้ำดีน้ำไม่ขังโคนต้น แต่ต้องมีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก ซึ่งต้นเงาะจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการขุดหลุม ทั้งนี้จุดเน้นที่สำคัญในการปลูก คือ ควรใช้ต้นกล้าที่มีระบบรากดี ไม่ขดงอในถุง แต่ถ้าจะใช้ต้นกล้าขนาดใหญ่ก็ให้ตัดดินและรากที่ขดหรือพันตรงก้นถุงออก
ระยะปลูก
         6 – 8 X 6 – 8 เมตร ถ้าใช้ระยะปลูกชิด 6 X 6 เมตร จะตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มอย่างใกล้ชิด ไม่ให้ทรงพุ่มชนและบังแสงกัน สำหรับสวนที่ใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงาน ควรเว้นระยะระหว่างแถวให้ห่างพอที่เครื่องจักรกลจะเข้าไปทำงาน แต่ให้ระยะระหว่างต้นชิดขึ้น
จำนวนต้น/ต่อไร่
         25 – 40 ต้น/ไร่
การดูแลรักษา (สำหรับต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว)
การใส่ปุ๋ย
         – เพื่อบำรุงต้นหลังการเก็บเกี่ยว ปุ๋ยอินทรีย์ 20 – 50 กก./ต้น ร่วมกับ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 1 – 3 กก./ต้น
         – เพื่อส่งเสริมการออกดอก (ช่วงปลายฝน) ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 หรือ 9-24-24 2 – 3 กก./ต้น หรือ
         – เพื่อบำรุงผล (หลังติดผล 3 – 4 สัปดาห์) ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 2 – 3 กก./ต้น ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก 20 – 30 กก./ต้น
การให้น้ำ
         ให้น้ำสม่ำเสมอช่วงเจริญทางใบ งดน้ำช่วงปลายฝน ต้นเงาะที่มีใบแก่และสมบูรณ์ ทั้งต้นและผ่านสภาพแล้งติดต่อกันนาน 21 – 30 วัน จะแสดงอาการขาดน้ำ (ใบห่อ) ให้กระตุ้นการออกดอกโดยการให้น้ำในปริมาณมากเต็มที่ จากนั้นให้หยุดดูอาการ 7 – 10 วัน เมื่อพบว่าตายอดเริ่มพัฒนาเป็นตาดอก (สีของตายอดจะเปลี่ยนจากน้ำตาลดำเป็นน้ำตาลทอง) ก็เริ่มให้น้ำอีกครั้งปริมาณเท่าเดิมเพื่อเร่งการพัฒนาของตาดอก แต่ถ้าหลังจากให้น้ำครั้งที่ 1 แล้ว พบว่าตา ยอดเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลอมเขียว แสดงว่าให้น้ำมากเกินไปตายอดพัฒนาเป็นตาใบแทนที่จะเป็นตาดอก ต้องหยุดน้ำและปล่อยให้เงาะกระทบแล้งอีกครั้งจนเห็นว่าสีเขียวน้ำตาลของ ตายอดเปลี่ยนเป็นน้ำตาลทองของตาดอก ก็เริ่มให้น้ำในอัตรา ? ของครั้งแรก จากนั้นเมื่อแทงช่อดอกและติดผลแล้วควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ เพื่อเร่งพัฒนาการของดอก และเร่งพัฒนาการของผลให้ขึ้นลูกได้เร็วและผลโต
การปฏิบัติอื่นๆ
         – การเตรียมสภาพต้นให้พร้อมต่อการออกดอกในฤดูถัดไป คือ การจัดการเงาะให้มีการแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุด และให้รักษาใบอ่อนที่แตกออกมาให้สมบูรณ์ หมั่นป้องกันกำจัดโรคราแป้งและหนอนคืบกินใบ
         – การจัดการเพื่อส่งเสริมการติดผล
การช่วยให้เงาะผสมเกสรได้ดีขึ้น
         โดยการเพิ่มปริมาณเกสรตัวผู้ ทำได้หลายวิธี เช่น
         – พ่นฮอร์โมนพืช เมื่อช่อดอกส่วนใหญ่ของต้นบานได้ร้อยละ 5 ให้ฉีด พ่นช่อดอกบริเวณส่วนบนของทรงพุ่มด้วยฮอร์โมน เอ็น เอ เอ ในอัตรา 2 ซีซี/น้ำ 20 ลิตรประมาณ 4 – 5 จุด/ต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติโดยทั่วไป
         – รวบรวมละอองเกสรตัวผู้ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วต้นเมื่อช่อดอกบนต้นบานได้ 50 %
         – เปลี่ยนยอดให้เป็นกิ่งตัวผู้ ทำได้โดยการตัดยอดของเงาะต้นตัวเมีย เลี้ยงกิ่งกระโดงขึ้น มา แทนที่แล้วนำกิ่งจากต้นตัวผู้มาทาบบนกิ่งกระโดงนี้ ส่วนการสร้างสวนใหม่ควรปลูก ต้นตัวผู้แซมไปในระหว่างแถวของต้นตัวเมีย
         – เลี้ยงผึ้งหรือติดต่อผู้เลี้ยงผึ้งให้นำผึ้งมาเลี้ยงในสวนระยะดอกบาน: ตรวจสอบและป้องกันกำจัดราแป้งอย่างใกล้ชิด ในทุกช่วงของการพัฒนาการของดอกและผล
การป้องกันกำจัดศัตรูพืชสำคัญ (เน้นการป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน)
       – ช่วงแตกใบอ่อน – หนอนคืบกินใบ : คาร์บาริลหรือ คาร์โบซัลแฟน
       – ช่วงออกดอกและติดผล – โรคราแป้ง : ต้นที่เริ่มพบโรคให้ใช้กำมะถันผง แต่ถ้ามีโรคหนาแน่นมาก ให้พ่นด้วย เบโนมิล หรือ ไดโนแคป ระยะห่าง 7 – 10 วัน/ครั้ง
อายุเก็บเกี่ยว
         เงาะจะให้ ผลผลิตหลังการปลูกค่อนข้างเร็ว ภายใน 3 – 4 ปี ช่วงอายุที่ให้ผลผลิตดีประมาณ 7 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ย 150 – 200 กก./ต้น (น้ำหนักผลเฉลี่ย 30 – 40 กรัม/ผล หรือประมาณ 25 – 35 ผล/กก. ผลผลิตประมาณ 80 – 110 ผล/ต้น หรือประมาณ 240 – 330 กก./ต้น/ปี (คิดน้ำหนักเฉลี่ยผลละ 3 ก – ก.)
ฤดูกาลเก็บเกี่ยว
         ฤดูกาลเก็บเกี่ยวเงาะภาคตะวันออก อยู่ในช่วงปลายเดือนเมษายน – มิถุนายน และภาคใต้ เดือนกรกฎาคม – กันยายน เงาะจะเก็บเกี่ยวผลได้ประมาณ 20 วันหลังจากผลเริ่มเปลี่ยนสี ผลเงาะเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 12 – 13 องศา C ความชื้นสัมพัทธ์ 90 – 95 % เก็บรักษาได้นานประมาณ 2 สัปดาห
ต้นทุนการผลิต
         เงาะโรงเรียน เฉลี่ยประมาณ 11,566 บาท/ไร่ หรือ 7.57 บาท/กก.
         เงาะสีชมพู เฉลี่ยประมาณ 10,285 บาท/ไร่ หรือ 5.47 บาท/กก.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น