การปลูกผักกาดหอม

การเตรียมดิน

ผักกาดหอมเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ได้ผลดีที่สุดในดินร่วน เพราะมีการระบายน้ำและอากาศดี ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มีความชื้นในดินพอสมควร ชอบแดดจัด แปลงปลูกควรมีแสงเต็มที่ตลอดทั้งวัน ผักกาดหอมใบชอบอุณหภูมิประมาณ 21-26 องศาเซลเซียส ส่วนผักกาดหอมห่อหัวจะชอบอุณหภูมิประมาณ 15.5-21 องศาเซลเซียส

แปลงเพาะกล้า ใช้สำหรับการปลูกผักกาดหอมห่อหัวเท่านั้น ส่วนผักกาดหอมใบสามารถหว่านเมล็ดลงแปลงปลูกได้โดยตรง เตรียมแปลงเพาะกล้าด้วยการไถพลิกดินลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้ทั่ว พรวนย่อยหน้าดินให้ละเอียดแล้วจึงโรยเมล็ดลงเพาะ ใช้แปลงเพาะกล้าขนาด 2-2.5 ตารางเมตรสำหรับการปลูกผักกาดหอม 1 ไร่

แปลงปลูก ควรไถพลิกดินลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ตากดินไว้7-10 วัน แล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วประมาณ 2-3 ตันต่อไร่ คลุกให้เข้ากับดิน พรวนย่อยหน้าดินให้ละเอียดแล้วจึงหว่านเมล็ดหรือนำต้นกล้ามาปลูก
การเพาะกล้า

การเพาะกล้าผักกาดหอมห่อสำหรับปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 50 กรัม (ประมาณ 4 หมื่นเมล็ด) หลังจากเตรียมแปลงเพาะแล้วให้หว่านเมล็ดลงบนแปลงให้กระจายไปทั่วแปลง หรือจะใช้วิธีโรยเป็นแถว ระยะห่างแถวประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วใช้ดินที่ผสมกับปุ๋ยคอกโรยทับบางๆ คลุมด้วยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่ม เมื่อกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ ให้ถอนออกบ้างเพื่อไม่ให้เบียดกันเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดโรคโคนเน่า ต้นกล้าอ่อนแอและตายได้ง่าย เมื่อต้นกล้ามีอายุ 25-30 หรือมีใบจริง 3-4 ใบ จึงย้ายลงปลูกในแปลง
การปลูก

ฤดูปลูกผักกาดหอมในประเทศไทยนั้น ผักกาดหอมใบสามารถปลูกได้ตลอดปี ส่วนผักกาดหอมห่อหัวปลูกได้ผลดีในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

การปลูกผักกาดหอมใบ ใช้วิธีหว่านเมล็ดให้กระจายทั่ว ทั้งผิวแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หรือโรยเมล็ดลงในแปลงเป็นแถวก็ได้ ก่อนหว่านเมล็ดควรคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรา เช่น แคปแทนหรือไธแรม เพื่อป้องกันโรคเน่าคอดิน หลังจากหว่านเมล็ดแล้วให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหว่ากลบหนา ประมาณ 1/2-1 เซนติเมตร แล้วคลุมดินด้วยหญ้าแห้งหรือฟางแห้งสะอาดบางๆ รดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียด

เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ ให้ถอนต้นที่อ่อนแอทิ้ง ไม้ให้ต้นแน่นทึบเกินไป จัดระยะระหว่างต้น 20×20 เซนติเมตร หรือ 30×30 เซนติเมตร หากปลูกในช่วงหน้าร้อนควรมีการคลุมแปลงปลูกเพื่อพรางแสงแดด จะทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น โดยใช้ไม้ไผ่หรือไม้ทำโครงสูง 2-2.5 เมตร แล้วใช้ไม้ไผ่พาดและมุงด้วยทางมะพร้าว

สำหรับเมล็ดพันธุ์ที่ใช้หว่านในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ประมาณ 1-2 ลิตร แต่ถ้าใช้วิธีหยอดเมล็ดเป็นแถวโดยมีระยะระหว่างแถวประมาณ 20 เซนติเมตร จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 100-160 กรัมต่อไร่

การปลูกโดยการย้ายกล้าปลูก ก่อนย้ายกล้าประมาณ 2-3 วัน ควรงดการให้น้ำ เพื่อให้ต้นกล้าแกร่งไม่เปราะง่าย ควรย้ายกล้าในช่วงเวลาบ่ายถึงเย็น หรือช่วงที่อากาศมืดครึ้ม ก่อนย้ายต้นกล้าให้รดน้ำพอดินเปียกเพื่อให้ถอนได้ง่าย การย้ายควรทำด้วยความระมัดระวังเพาะต้นกล้าบอบช้ำง่าย การถอนไม่ควรใช้วิธีจับต้นดึงขึ้น ทางที่ดีควรหาแผ่นไม้บางๆ หรือเสียมเล็กๆ แทงลงไปในดินแล้วงัดขึ้นมาให้ดินเป็นก้อนติดกับต้นกล้าให้มากที่สุด แล้วรีบนำไปปลูกให้เร็วที่สุด ควรเลือกเฉพาะต้นที่แข็งแรงสมบูรณ์ไปปลูก ระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวที่เหมาะสมคือผักกาดหอมใบใช้ระยะ 25×30 เซนติเมตร ผักกาดหอมห่อหัวหัวใช้ระยะปลูก 40×40 เซนติเมตร

การปลูกที่ถูกวิธีคือ ใช้มือจับใบเลี้ยงคู่แรกใบใดใบหนึ่งแล้วหย่อนโคนลงไปในหลุม แล้วกลบดินลงไปให้เสมอระดับหลังแปลง กดดินให้จับรากพอสมควร จากนั้นใช้บัวฝอยละเอียดรดน้ำรอบๆ ต้นให้น้ำค่อยๆ ไหลไปหากันที่หลุม อย่ารดกรอกไปที่ต้น ถ้าเตรียมดินปลูกดีน้ำจะซึมไหลลงหลุมเร็วที่สุด คลุมดินรอบๆ โคนต้นด้วยฟางหรือหญ้าแห้งสะอาดบางๆ เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน เมื่อปลูกเสร็จแล้วควรทำร่มบังแดดให้ในวันรุ่งขึ้น อาจใช้กะลาครอบกาบกล้วยเสียบไม้บัง หรือใช้ไม้บังรอบๆ หรือใช้กระทงใบตอบปิดก็ได้ ควรปิดบังแดดไว้ประมาณ 3-4 วัน จึงเอาออก เพื่อช่วยให้ต้นกล้าฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
การดูแลรักษา

การให้น้ำ ผักกาดหอมเป็นผักรากตื้น จึงควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ โดยในระยะ 2 สัปดาห์แรกหลังจากย้ายปลูกควรให้น้ำทุกวันในตอนเช้าและเย็น โดยใช้บัวฝอยละเอียดรดรอบๆ โคนต้น ไม่รดจนแฉะเกินไป และให้น้ำแบบวันเว้นวันในสัปดาห์ต่อๆ มา สำหรับผักกาดหอมห่อหัว การให้น้ำควรดูจากสภาพความชื้นในดินเป็นหลัก โดยมีข้อควรระวังคือระยะที่กำลังห่อหัวไม่ควรให้น้ำไปถูกหัวเพราะอาจทำให้ เกิดโรคเน่าเละได้

การใส่ปุ๋ย ช่วงเตรียมดินควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองพื้นประมาณ 2-3 ตันต่อไร่ ควรใส่ปุ๋ยยูเรียเมื่อผักกาดหอมอายุได้ 7 วัน โดยละลายน้ำรดในอัตรา 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ ต่อเนื้อที่ 5 ตารางเมตร รดวันเว้นวัน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก

เมื่อผักกาดหอมอายุได้ 15-20 วัน ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สำหรับพันธุ์ใบ และใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-13 สำหรับพันธุ์ห่อหัว ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย ผักกาดหอมต้องการธาตุโปแตสเซียมมากกว่าไนโตรเจน โปแตสเซียมจะช่วยให้ใบผักกาดหอมบางและไม่มีรอยจุดบนใบ หากได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไปใบจะมีสีเขียว รสชาติไม่อร่อย

การใส่ปุ๋ยผักกาดหอมพันธุ์ใบควรใส่หมดในครั้งเดียวตอนเตรียมดินปลูก แต่สำหรับผักกาดหอมห่อหัวควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือครั้งแรกใส่ประมาณ 2 ใน 3 ส่วน โดยใส่ตอนปลูกแล้วพรวนดินกลบ ส่วนที่เหลือใส่เมื่ออายุได้ 21 วัน โดยโรยข้างต้นห่างๆ แล้วพรวนดินกลบ

การปลูกผักกาดหอม

                                   การปลูกผักกาดหอม

การเตรียมดิน

ผักกาดหอมเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ได้ผลดีที่สุดในดินร่วน เพราะมีการระบายน้ำและอากาศดี ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มีความชื้นในดินพอสมควร ชอบแดดจัด แปลงปลูกควรมีแสงเต็มที่ตลอดทั้งวัน ผักกาดหอมใบชอบอุณหภูมิประมาณ 21-26 องศาเซลเซียส ส่วนผักกาดหอมห่อหัวจะชอบอุณหภูมิประมาณ 15.5-21 องศาเซลเซียส

แปลงเพาะกล้า ใช้สำหรับการปลูกผักกาดหอมห่อหัวเท่านั้น ส่วนผักกาดหอมใบสามารถหว่านเมล็ดลงแปลงปลูกได้โดยตรง เตรียมแปลงเพาะกล้าด้วยการไถพลิกดินลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้ทั่ว พรวนย่อยหน้าดินให้ละเอียดแล้วจึงโรยเมล็ดลงเพาะ ใช้แปลงเพาะกล้าขนาด 2-2.5 ตารางเมตรสำหรับการปลูกผักกาดหอม 1 ไร่

แปลงปลูก ควรไถพลิกดินลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ตากดินไว้7-10 วัน แล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วประมาณ 2-3 ตันต่อไร่ คลุกให้เข้ากับดิน พรวนย่อยหน้าดินให้ละเอียดแล้วจึงหว่านเมล็ดหรือนำต้นกล้ามาปลูก
การเพาะกล้า

การเพาะกล้าผักกาดหอมห่อสำหรับปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 50 กรัม (ประมาณ 4 หมื่นเมล็ด) หลังจากเตรียมแปลงเพาะแล้วให้หว่านเมล็ดลงบนแปลงให้กระจายไปทั่วแปลง หรือจะใช้วิธีโรยเป็นแถว ระยะห่างแถวประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วใช้ดินที่ผสมกับปุ๋ยคอกโรยทับบางๆ คลุมด้วยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่ม เมื่อกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ ให้ถอนออกบ้างเพื่อไม่ให้เบียดกันเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดโรคโคนเน่า ต้นกล้าอ่อนแอและตายได้ง่าย เมื่อต้นกล้ามีอายุ 25-30 หรือมีใบจริง 3-4 ใบ จึงย้ายลงปลูกในแปลง
การปลูก

ฤดูปลูกผักกาดหอมในประเทศไทยนั้น ผักกาดหอมใบสามารถปลูกได้ตลอดปี ส่วนผักกาดหอมห่อหัวปลูกได้ผลดีในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

การปลูกผักกาดหอมใบ ใช้วิธีหว่านเมล็ดให้กระจายทั่ว ทั้งผิวแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หรือโรยเมล็ดลงในแปลงเป็นแถวก็ได้ ก่อนหว่านเมล็ดควรคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรา เช่น แคปแทนหรือไธแรม เพื่อป้องกันโรคเน่าคอดิน หลังจากหว่านเมล็ดแล้วให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหว่ากลบหนา ประมาณ 1/2-1 เซนติเมตร แล้วคลุมดินด้วยหญ้าแห้งหรือฟางแห้งสะอาดบางๆ รดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียด

เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ ให้ถอนต้นที่อ่อนแอทิ้ง ไม้ให้ต้นแน่นทึบเกินไป จัดระยะระหว่างต้น 20×20 เซนติเมตร หรือ 30×30 เซนติเมตร หากปลูกในช่วงหน้าร้อนควรมีการคลุมแปลงปลูกเพื่อพรางแสงแดด จะทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น โดยใช้ไม้ไผ่หรือไม้ทำโครงสูง 2-2.5 เมตร แล้วใช้ไม้ไผ่พาดและมุงด้วยทางมะพร้าว

สำหรับเมล็ดพันธุ์ที่ใช้หว่านในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ประมาณ 1-2 ลิตร แต่ถ้าใช้วิธีหยอดเมล็ดเป็นแถวโดยมีระยะระหว่างแถวประมาณ 20 เซนติเมตร จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 100-160 กรัมต่อไร่

การปลูกโดยการย้ายกล้าปลูก ก่อนย้ายกล้าประมาณ 2-3 วัน ควรงดการให้น้ำ เพื่อให้ต้นกล้าแกร่งไม่เปราะง่าย ควรย้ายกล้าในช่วงเวลาบ่ายถึงเย็น หรือช่วงที่อากาศมืดครึ้ม ก่อนย้ายต้นกล้าให้รดน้ำพอดินเปียกเพื่อให้ถอนได้ง่าย การย้ายควรทำด้วยความระมัดระวังเพาะต้นกล้าบอบช้ำง่าย การถอนไม่ควรใช้วิธีจับต้นดึงขึ้น ทางที่ดีควรหาแผ่นไม้บางๆ หรือเสียมเล็กๆ แทงลงไปในดินแล้วงัดขึ้นมาให้ดินเป็นก้อนติดกับต้นกล้าให้มากที่สุด แล้วรีบนำไปปลูกให้เร็วที่สุด ควรเลือกเฉพาะต้นที่แข็งแรงสมบูรณ์ไปปลูก ระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวที่เหมาะสมคือผักกาดหอมใบใช้ระยะ 25×30 เซนติเมตร ผักกาดหอมห่อหัวหัวใช้ระยะปลูก 40×40 เซนติเมตร

การปลูกที่ถูกวิธีคือ ใช้มือจับใบเลี้ยงคู่แรกใบใดใบหนึ่งแล้วหย่อนโคนลงไปในหลุม แล้วกลบดินลงไปให้เสมอระดับหลังแปลง กดดินให้จับรากพอสมควร จากนั้นใช้บัวฝอยละเอียดรดน้ำรอบๆ ต้นให้น้ำค่อยๆ ไหลไปหากันที่หลุม อย่ารดกรอกไปที่ต้น ถ้าเตรียมดินปลูกดีน้ำจะซึมไหลลงหลุมเร็วที่สุด คลุมดินรอบๆ โคนต้นด้วยฟางหรือหญ้าแห้งสะอาดบางๆ เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน เมื่อปลูกเสร็จแล้วควรทำร่มบังแดดให้ในวันรุ่งขึ้น อาจใช้กะลาครอบกาบกล้วยเสียบไม้บัง หรือใช้ไม้บังรอบๆ หรือใช้กระทงใบตอบปิดก็ได้ ควรปิดบังแดดไว้ประมาณ 3-4 วัน จึงเอาออก เพื่อช่วยให้ต้นกล้าฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
การดูแลรักษา

การให้น้ำ ผักกาดหอมเป็นผักรากตื้น จึงควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ โดยในระยะ 2 สัปดาห์แรกหลังจากย้ายปลูกควรให้น้ำทุกวันในตอนเช้าและเย็น โดยใช้บัวฝอยละเอียดรดรอบๆ โคนต้น ไม่รดจนแฉะเกินไป และให้น้ำแบบวันเว้นวันในสัปดาห์ต่อๆ มา สำหรับผักกาดหอมห่อหัว การให้น้ำควรดูจากสภาพความชื้นในดินเป็นหลัก โดยมีข้อควรระวังคือระยะที่กำลังห่อหัวไม่ควรให้น้ำไปถูกหัวเพราะอาจทำให้ เกิดโรคเน่าเละได้

การใส่ปุ๋ย ช่วงเตรียมดินควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองพื้นประมาณ 2-3 ตันต่อไร่ ควรใส่ปุ๋ยยูเรียเมื่อผักกาดหอมอายุได้ 7 วัน โดยละลายน้ำรดในอัตรา 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ ต่อเนื้อที่ 5 ตารางเมตร รดวันเว้นวัน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก

เมื่อผักกาดหอมอายุได้ 15-20 วัน ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สำหรับพันธุ์ใบ และใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-13 สำหรับพันธุ์ห่อหัว ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย ผักกาดหอมต้องการธาตุโปแตสเซียมมากกว่าไนโตรเจน โปแตสเซียมจะช่วยให้ใบผักกาดหอมบางและไม่มีรอยจุดบนใบ หากได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไปใบจะมีสีเขียว รสชาติไม่อร่อย

การใส่ปุ๋ยผักกาดหอมพันธุ์ใบควรใส่หมดในครั้งเดียวตอนเตรียมดินปลูก แต่สำหรับผักกาดหอมห่อหัวควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือครั้งแรกใส่ประมาณ 2 ใน 3 ส่วน โดยใส่ตอนปลูกแล้วพรวนดินกลบ ส่วนที่เหลือใส่เมื่ออายุได้ 21 วัน โดยโรยข้างต้นห่างๆ แล้วพรวนดินกลบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น