การเพาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
 การเก็บเมล็ดก่อนการเพาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
1. เมล็ดมะม่วงหิมพานต์จะอยู่นอกผลเนื้อ ท่านสามารถเด็ดเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ได้อย่างง่ายดาย โดยเลือกเมล็ดที่ตกลงมาจากต้นแล้ว หลังากนั้นท่านก็นำมาล้างเอาน้ำหวานของมะม่วงที่ติดมาออก จากนั้นนำใส่ภาชนะที่มีการระบายอากาศได้ดีอย่างเช่น กะด้ง ( ภาษาบ้านนอก ) แล้วนำไปตากไว้ในร่มทิ้งไว้สัก  1 เดือน

2. เมื่อครบ 1 เดือนแล้วท่านก็สามารถนำไปใส่ในภาชนะกันแมลงรบกวน และแช่ตู้เย็นช่องล่างสุดไว้ สามารถเก็บรักษาไว้ได้ เป็นปี

ขั้นตอนการเพาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
  • เตรียม ดินใส่ถุงเพาะไว้ แล้วนำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ใส่ลงไป โดยให้หัวเมล็ดตั้งขึ้นเพื่อการแทงหน่อและแทงรากของเมล็ดได้อย่างถูกต้องตาม ธรรมชาติ
  • รดน้ำเช้าเย็น รดให้ชุ่มเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวของเมล็ด และรดน้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าต้นอ่อนจะโพล่ขึ้นมา

ตัวอย่างของการเพาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์โดยตัวผมเอง
วันที่ 6 / 12 / 2555 ผมได้ทำการเพาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์หลังจากนั้นผมก็ทำตามขั้นตอนการเพาะ และติดตามผลงานไปเรื่อย ๆ โดยการขุดขึ้นมาดูปรากฎว่า

วันที่ 20/12/2555 เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ของผมก็แทงรากออกมาแล้ว ยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร ซึ่งการเพาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ของผมประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมากครับ

แรงบันดาลใจในความต้องการที่จะปลูกมะม่วงหิมพานต์จากเมล็ด
  • ยอดอ่อนกินกับแกงเผ็ดทุกชนิดอร่อยมาก
  • ยอดอ่อนกินกับขนมจีนน้ำยาก็เข้ากัน
  • ปลูกเพื่อความร่มรื่น เพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับโลก
 หลังจากรอการเจริญเติบโตของเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ วันนี้เป็นวันที่ 18 หลังจากการเพาะเมล็ด ผมก็ได้เห็นต้นของมะม่วงหิมพานต์กำลังโพล่จากดิน อีกไม่นานเราก็คงได้กินยอดมะม่วงหิมพานต์กันครับ

ประโยชน์ทั่วไปบทความจาก : rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_24_3.htm

 ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Anacardium occidentale  L.

ชื่อสามัญ :   Cashew nut tree

วงศ์ :   ANACARDIACEAE

ชื่ออื่น :  กะแตแก (มลายู-นราธิวาส) กายี (ตรัง)  ตำหยาว ท้ายล่อ ส้มม่วงชูหน่วย  (ภาคใต้)  นายอ (มลายู-ยะลา) มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์)  มะม่วงกุลา มะม่วงลังกา มะม่วงสินหน มะม่วงหยอด (ภาคเหนือ) มะม่วงทูนหน่วย ส้มม่วงทูนหน่วย (สุราษฎร์ธานี) มะม่วงยางหุย มะม่วงเล็ดล่อ (ระนอง)  มะม่วงไม่รู้หาว  มะม่วงหิมพานต์ (ภาคกลาง) มะม่วงสิโห (เชียงใหม่)  มะโห (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)  ยาโงย ยาร่วง (ปัตตานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 12 เมตร เปลือกเรียบ สีน้ำตาล ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่กลับถึงรูปรีกว้าง โคนใบแหลม ปลายใบกลม ใบหนาเหมือนแผ่นหนัง เกลี้ยง ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงหรือช่อเชิงหลั่น ใบประดับรูปขอบขนานแกมรูปไข่ สีเขียวอ่อน มีแถบสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดง ดอกแยกเพศร่วมต้น สีขาวนวล ดอกมีกลิ่นหอม ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว รูปไต สีน้ำตาลปนเทา เมล็ดรูปไต ส่วนของฐานรองดอกขยายใหญ่ อวบน้ำ รูประฆังคว่ำ มีกลิ่นหอม กินได้
ส่วนที่ใช้ :  ยางจากผลสด ที่ยังไม่สุก  1 ผล ที่เด็ดออกมาใหม่ๆ, ยางจากต้น เมล็ด

สรรพคุณ :

    ยางจากผลสด ยางจากต้น  -  เป็นยารักษาหูด

    เมล็ด - ผสมยารับประทาน แก้กลากเกลื้อน และโรคผิวหนัง แก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน

    ยางจากต้น
    - ทำลายตาปลา และกัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต 
    - แก้เลือดออกตามไรฟัน

วิธีและปริมาณที่ใช้

    ยางจากผลสด - ที่ยังไม่สุก 1 ผล ที่เด็ดออกมาใหม่ๆ ใช้ยางจากผลทางตรงบริเวณที่เป็นหูด ทาบ่อยๆจนกว่าจะหาย

    ยางจากต้นสด - ทาตรงตาปลา หรือเนื้อที่ด้านเป็นบุ๋มโต ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
 

การเพาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์

                                                               การเพาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
 การเก็บเมล็ดก่อนการเพาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
1. เมล็ดมะม่วงหิมพานต์จะอยู่นอกผลเนื้อ ท่านสามารถเด็ดเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ได้อย่างง่ายดาย โดยเลือกเมล็ดที่ตกลงมาจากต้นแล้ว หลังากนั้นท่านก็นำมาล้างเอาน้ำหวานของมะม่วงที่ติดมาออก จากนั้นนำใส่ภาชนะที่มีการระบายอากาศได้ดีอย่างเช่น กะด้ง ( ภาษาบ้านนอก ) แล้วนำไปตากไว้ในร่มทิ้งไว้สัก  1 เดือน

2. เมื่อครบ 1 เดือนแล้วท่านก็สามารถนำไปใส่ในภาชนะกันแมลงรบกวน และแช่ตู้เย็นช่องล่างสุดไว้ สามารถเก็บรักษาไว้ได้ เป็นปี

ขั้นตอนการเพาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
  • เตรียม ดินใส่ถุงเพาะไว้ แล้วนำเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ใส่ลงไป โดยให้หัวเมล็ดตั้งขึ้นเพื่อการแทงหน่อและแทงรากของเมล็ดได้อย่างถูกต้องตาม ธรรมชาติ
  • รดน้ำเช้าเย็น รดให้ชุ่มเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวของเมล็ด และรดน้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าต้นอ่อนจะโพล่ขึ้นมา

ตัวอย่างของการเพาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์โดยตัวผมเอง
วันที่ 6 / 12 / 2555 ผมได้ทำการเพาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์หลังจากนั้นผมก็ทำตามขั้นตอนการเพาะ และติดตามผลงานไปเรื่อย ๆ โดยการขุดขึ้นมาดูปรากฎว่า

วันที่ 20/12/2555 เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ของผมก็แทงรากออกมาแล้ว ยาวประมาณ 3.5 เซนติเมตร ซึ่งการเพาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ของผมประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมากครับ

แรงบันดาลใจในความต้องการที่จะปลูกมะม่วงหิมพานต์จากเมล็ด
  • ยอดอ่อนกินกับแกงเผ็ดทุกชนิดอร่อยมาก
  • ยอดอ่อนกินกับขนมจีนน้ำยาก็เข้ากัน
  • ปลูกเพื่อความร่มรื่น เพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับโลก
 หลังจากรอการเจริญเติบโตของเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ วันนี้เป็นวันที่ 18 หลังจากการเพาะเมล็ด ผมก็ได้เห็นต้นของมะม่วงหิมพานต์กำลังโพล่จากดิน อีกไม่นานเราก็คงได้กินยอดมะม่วงหิมพานต์กันครับ

ประโยชน์ทั่วไปบทความจาก : rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_24_3.htm

 ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Anacardium occidentale  L.

ชื่อสามัญ :   Cashew nut tree

วงศ์ :   ANACARDIACEAE

ชื่ออื่น :  กะแตแก (มลายู-นราธิวาส) กายี (ตรัง)  ตำหยาว ท้ายล่อ ส้มม่วงชูหน่วย  (ภาคใต้)  นายอ (มลายู-ยะลา) มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์)  มะม่วงกุลา มะม่วงลังกา มะม่วงสินหน มะม่วงหยอด (ภาคเหนือ) มะม่วงทูนหน่วย ส้มม่วงทูนหน่วย (สุราษฎร์ธานี) มะม่วงยางหุย มะม่วงเล็ดล่อ (ระนอง)  มะม่วงไม่รู้หาว  มะม่วงหิมพานต์ (ภาคกลาง) มะม่วงสิโห (เชียงใหม่)  มะโห (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)  ยาโงย ยาร่วง (ปัตตานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 12 เมตร เปลือกเรียบ สีน้ำตาล ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่กลับถึงรูปรีกว้าง โคนใบแหลม ปลายใบกลม ใบหนาเหมือนแผ่นหนัง เกลี้ยง ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงหรือช่อเชิงหลั่น ใบประดับรูปขอบขนานแกมรูปไข่ สีเขียวอ่อน มีแถบสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดง ดอกแยกเพศร่วมต้น สีขาวนวล ดอกมีกลิ่นหอม ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว รูปไต สีน้ำตาลปนเทา เมล็ดรูปไต ส่วนของฐานรองดอกขยายใหญ่ อวบน้ำ รูประฆังคว่ำ มีกลิ่นหอม กินได้
ส่วนที่ใช้ :  ยางจากผลสด ที่ยังไม่สุก  1 ผล ที่เด็ดออกมาใหม่ๆ, ยางจากต้น เมล็ด

สรรพคุณ :

    ยางจากผลสด ยางจากต้น  -  เป็นยารักษาหูด

    เมล็ด - ผสมยารับประทาน แก้กลากเกลื้อน และโรคผิวหนัง แก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน

    ยางจากต้น
    - ทำลายตาปลา และกัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต 
    - แก้เลือดออกตามไรฟัน

วิธีและปริมาณที่ใช้

    ยางจากผลสด - ที่ยังไม่สุก 1 ผล ที่เด็ดออกมาใหม่ๆ ใช้ยางจากผลทางตรงบริเวณที่เป็นหูด ทาบ่อยๆจนกว่าจะหาย

    ยางจากต้นสด - ทาตรงตาปลา หรือเนื้อที่ด้านเป็นบุ๋มโต ทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น