การปลูกหมาก



หมากเป็นไม้ยืนต้นตระกูลปาล์มเช่นเดียวกับมะพร้าว มีลําต้นสูงชะลูด ขนาดของลําต้นและทรงพุ่มจะแตกต่างจากพืชชนิดอื่น ๆ จึงเหมาะที่จะนํามาปลูกเป็นพืชแซม หรือปลูกแบบสวนหลังบ้าน ซึ่งในปัจจุบันนี้ สามารถส่งหมากออกไปจําหน่ายยังตลาดต่างประเทศในรูปของหมากแห้ง เพื่อนําไปใช้ในอุตสาหกรรมได้หลายชนิด เช่น ใช้ในการฟอกหนัง ทํายารักษาโรค ทําสี และส่งออกในรูปหมากดิบเพื่อบริโภค ฉะนั้น หมากจึงเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะจะนํามาปลูกเพื่อเสริมรายได้แก่เกษตรกรพันธุ์

สามารถแบ่งพันธุ์ตามลักษณะของผลออกเป็น 2 ประเภท คือ พันธุ์ผลกลมแห้น และผลกลมรีการขยายพันธุ์การขยายพันธุ์หมากจะมี 2 ขั้นตอน คือการเพาะเมล็ดจากต้นพันธุ์ดีในแหลงเพาะให้งอกเสียก่อนแล้วจึงนําไปชําในแปลงหรือถุงพลาสติกให้เจริญเติบโตจนได้ขนาดพอเหมาะ ใช้เวลาประมาณ 6 - 8 เดือน จึงนําไปปลูกได้การปลูกหมากเป็นพืชแซมการปลูกหมากแซมพืชเกษตรกรรม เช่น ปลูกตามพื้นที่ว่าเปล่า ตามแนวแดน รั่วกําแพง สามารถปลูกหมาก ในระหว่างแถวหรือ แทรกในระหว่างแถวยางก็ได้
การปลูกหมากแซมในสวนยาง สามารถปลูกแซมในระหว่างแถว หรือหลุ่มว่าง ส่วนในสวนยางแบบยกร่องสามารถปลูกหมากริมคันร่องสวน โดยให้ต้นหมากอยู่ห่างจากต้นยางประมาณ 2 - 3 เมตร และห่างจากขอบร่องสวนประมาณ 0.5 เมตร ถ้าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ําควรขุดหลุม ขนาด 50 x 50 x 50 ซม. แต่ดินที่มีความ


อุดมสมบูรณ์สูง ขนาดหลุมเล็กกว่านี้ได้ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก และหินฟอสเฟต คลุกกับดินชั้นบนแล้ว กลบหลุมด้วยดินที่เหลือฤดูปลูกควรเป็นต้นฤดูฝน หลังจากที่มีฝนตกหนัก 1 - 2 ครั้งการปลูกเวลาปลูกควรตั้งต้นกล้าให้ตรง และให้ด้านบนของผลอยู่ระดับผิวดิน กลบดินให้แน่น ปักหลักค้ําต้นเพื่อกัน ต้นโยก รดน้ําให้ชุ่ม ควรทําร่มบังแดด เพื่อลดการคายน้ํา และป้องกันไม่ให้ใบไหม้การให้น้ําในหมากเล็กควรให้น้ํา 2 - 3 ครั้ง/สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นหมากโต ตกผลแล้วควรให้น้ําสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การให้น้ําแต่ละครั้งควรให้ชุ่มทั่วแปลง แต่ถ้าเป็นหมากที่ปลูกโดยการยกร่อง ถ้าระดับน้ําในร่องสวนสูงพอ คือต่ํากว่าสันร่องประมาณ 50 ซม. อาจให้น้ําน้อยกว่าในที่ราบ

การดูแลรักษาหมากเมื่อปลูกแล้วต้องเอาใจใส่ดูแลรักษาพอสมควร ถ้าปล่อยปละละเลยต้นหมากจะเจริญเติบโตช้า และผลผลิตต่ํา ฉะนั้นจึงควรมีการปฏิบัติดูแลดังนี้การให้น้ําหลังจากปลูกแล้ว ควรรดน้ําให้ชุ่ม และรดน้ําต่อไปอีกประมาณ 1 เดือน โดยรด 2 วันต่อครั้ง ต้นหมากจะเกิดรากใหม่และตั้งตัวได้เมื่อต้นหมากโตแล้วควรดูแลให้น้ําอย่างสม่ําเสมอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งการใส่ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ยหลังจากเก็บเกี่ยวผลหมากหมดแล้ว ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์การกําจัดวัชพืชต้องหมั่นคอยกําจัดวัชพืชรอบ ๆ โคนต้นหมาก และควรพรวนดิน ใส่ปุ๋ย ให้น้ําพร้อมกันไปเลย


ในการปลูกสะตอหรือหมากเป็นพืชแซมเพื่อเสริมรายได้ นอกจากจะมีการดูแลรักษาที่ดีแล้ว ยังจะต้องคํานึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย ได้แก่ ทรงพุ่มของพืชที่ปลูกร่วมกัน เงินทุน ค่าแรงงาน ความสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษาสวน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในการจัดการภายหลังหมากเป็นพืชที่คู่กับคนไทยมานานแล้ว แม้ในปัจจุบันจะไม่นิยมกินหมากกัน แต่หมากยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ทั้งในรูปหมากสดและหมากแห้ง หมากแห้งใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ฟอกเส้นใย และทํายารักษา โรค และผลหมากสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น ใช้สมานแผล แก้ท้องเสีย รักษาโรคเหงือกและฟัน เป็นต้นแหล่งปลูกที่เหมาะสมสภาพภูมิอากาศหมากเจริญได้ดีในเขตที่มีอากาศอบอุ่นและร้อนชื้น ปริมาณน้ําฝน 1,300 - 1,500 มม./ปี มีฝนตกกระจายสม่ําเสมอตลอดปี ไม่น้อยกว่า 50 มม./เดือน อุณหภูมิที่เหมาะสม 25 - 35 องศาเซลเซียส มีแสงแดดมาก อากาศโปร่งควรเป็นที่โล่งแจ้ง ที่ระดับความสูง 200 - 1,500 เมตร จากระดับน้ําทะเลลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวที่มีการระบายน้ําดีน้ําไม่ขัง มีอินทรียวัตถุสูงการเพาะกล้าแปลงเพาะควรเป็นทราย ดินร่วนปนทราย หรือดินผสมขี้เถ้าแกลบ เพื่อไม่ให้น้ําขัง ควรมีการพรางแสง การวางผลหมากควรวางให้นอน หรือขั้วผลอยู่ด้านบน และวางในทิศทางเดียวกันให้เต็มพื้นที่ (ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร สามารถวางได้ 600-700 ผล) จากนั้นจึงกลบด้วยวัสดุเพาะให้มิด รดน้ําให้ชุ่มทุกวันหลังเพาะประมาณ 2 เดือน (เห็นหน่อแทงขึ้นมา) จึงย้ายลงแปลงชําต่อไป


การเก็บเกี่ยวหมากอ่อน เก็บเมื่ออายุประมาณ 1.5 เดือน หลังดอกบาน (200 ผล/1 กก.) ซึ่งมีตลาดเฉพาะ เช่น ไต้หวันหมากสด เก็บเมื่ออายุ3 - 6 เดือน เปลือกผลมีสีเขียว หมากแก่(หมากสง) เก็บเมื่ออายุ7 - 9 เดือนการแปรรูป

หมากซอย นําหมากดิบ หรือหมากสด เฉาะเอาเนื้อแล้วผ่าเป็น 2 ซีก จากนั้นซอยออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ หนาประมาณ 0.3 ซม. แล้วตากแดดให้แห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากซอย 3-5 กก. หมากกลีบส้ม ใช้หมากดิบปอกเอาเนื้อ แล้วผ่าประมาณ 5-7 กลีบ ตากแดดให้แห้งหมากเสี้ยว ใช้หมากดิบผ่าตามยาว 4-5 ชิ้น แล้วนํามาเจียน แกะเอาเนื้อให้ติดเปลือกนอก ตากแดด ให้แห้งหมากแว่น นําหมากสงที่เปลือกมีสีเขียวปนเหลือง เฉาะเปลือกออก แล้วหั่นหรือไสด้วยเครื่องไสหมากให้เป็นแว่น จากนั้นตากแดดให้แห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากแว่น 14-15 กก.หมากผ่าซีก ใช้หมากสุก ผ่าตามยาวเป็น 2 ซีก นําไปตากแดด 1 แดด แล้วแกะเนื้อออกจากเปลือก ตากแดดอีก 4 - 5 แดด จนแห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากแห้ง 15 กก. ส่วนหมากผ่าสี่และหมากแห้งทั้งเมล็ด ตากแดด 1 แดดแล้วแกะเอาแต่เนื้อเหมือนหมากผ่าซีกการเก็บรักษาหมากแห้ง ควรเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น เมื่อเก็บไว้นาน ๆ ควรนําออก ผึ่งแดดเป็นระยะเพื่อไล่ความชื้นที่สะสมอยู่ในภาชนะ



การปลูกหมาก

                             วิธีการปลูกและการดูแลรักษาต้นพลูกินหมาก


ชนิดของพลู

1. พลูเขียว หรือบางท้องที่จะนิยมเรียกว่าพลูใบใหญ่ ใบมีขนาดใหญ่ป้อมๆ แต่ใบบาง ลักษณะใบ
เหมือนใบโพธิ์ มีสีเขียวเข้มกว่าพันธุ์อื่น มีรสเผ็ดมาก พลูชนิดนี้นิยมทำเป็นพลูนาบ และนิยมนำไปใช้ใน
การประกอบพิธี
2. พลูขาวหรือพลูนวล ใบมีขนาดปานกลางเล็กกว่าพลูเขียว แต่ใบหนากว่าพลูเขียว ปลายใบเรียว
ลักษณะใบเหมือนใบพริกไทย มีสีเขียวออกนวล รสไม่เผ็ดมากนักเป็นที่นิยมของท้องตลาดและผู้บริโภค
3. พลูเหลืองหรือพลูทอง ใบมีขนาดเล็กกว่าพลูนวลเล็กน้อย ใบบางเหมือนพลูเขียว ปลายใบจะ
เรียวเหมือนพลูนวล ใบมีสีเหลืองออกสีทอง รสไม่เผ็ดมากนัก เป็นที่นิยมของท้องตลาดและผู้บริโภคมาก
การดูแลรักษายากกว่าพันธุ์อื่น

พลูขยายพันธุ์ด้วยการใช้เถา / การตอน / การปักชำยอด / การใช้ใบ /การทับกิ่ง

การปลูก
1. การเตรียมไม้ค้าง เนื่องจากพลูเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยที่ต้องอาศัยรากเจริญเกาะขึ้นไปกับค้าง
2. การเตรียมดิน การเตรียมดินทำได้โดยไถดินตากไว้อีกครั้งหนึ่ง จากนั้นก็ยกร่องให้สูงเพื่อช่วยใน
การระบายน้ำ ตากดินทิ้งไว้ระยะหนึ่งประมาณ 1-2 วัน แต่ถ้าบริเวณที่ปลูกเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนปน
ทรายควรใส่ปุ๋ยคอก เพื่อให้ดินร่วนและทำให้การอุดมสมบูรณ์มีเพิ่มมากขึ้น หากดินเหนียวหรือดินแน่น
จะต้องพรวนดิน ย่อยดินให้ร่วนเสียก่อนและต้องระวังอย่าให้มีน้ำขังในแปลงปลูก แล้วทำการขุดหลุมปลูก
หลุมปลูกมีขนาดประมาณ 50 x 50 ซม. และลึกประมาณ 60 ซม. ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 1.5-2.0
เมตร และระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1.50 เมตร
3. วิธีปลูก ก่อนที่จะปลูกพลูควรนำหญ้าแห้ง ใส่ลงในหลุมและจุดไฟเผา เพื่อฆ่าเชื้อโรคและ
ศัตรูพืชอื่นๆ ที่อาจจะอยู่ในหลุม จากนั้นก็ทำการลงไม้ค้างในดิน ส่วนดินที่จะใส่ลงหลุมควรเป็นดินผสมปุ๋ย

พลูจะชอบอากาศร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสมไม่ชอบแสงแดดจัดหรืออุณหภูมิที่สูงเกินไป เพราะจะทำให้ต้นพลูอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ดังนั้นจึงต้องพรางแสงแดดลดความร้อนด้วยการให้ร่มเงาหรือปลูกพืชอื่นให้ร่มเงามากขึ้น
นอกจากนี้สิ่งที่ให้ร่มเงายังมีประโยชน์ในการป้องกันลมอันอาจจะทำความเสียหายต่อก้านและใบพลู
พลูชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง pH 7-7.5 และการระบายน้ำดี ถ้าเป็นดินเหนียวจะต้องทำการระบายน้ำ
พลูไม่ชอบที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง อันเป็นสาเหตุที่จะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและเกิดโรคได้ง่าย
พลูจะชอบความชื้นสูงเป็นบริเวณที่ใกล้แหล่งน้ำหรือบริเวณที่มีฝนตกชุกสม่ำเสมอ

วิธีการปลูกและการดูแลรักษาต้นพลูกินหมาก

                                       เทคนิคการเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์ 


วัสดุ/อุปกรณ์ 
- บ่อซีเมนต์ขนาด 3x3 เมตร สูง 1.2 เมตร
- วัสดุสำหรับทำหลังคาปิดบ่อ
- ท่อ PVC ขนาด 3 นิ้ว ยาวท่อนละ 1 เมตร 5 ท่อน
- พันธุ์ปลาไหลจากธรรมชาติที่จับได้ โดยลุงดำจะคัดตัวที่เล็กไม่ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ มาเลี้ยง
การเลี้ยง 
- ใส่น้ำในบ่อซีเมนต์ ให้เต็มบ่อแล้วนำต้นกล้วยมาตัดเป็นท่อนๆจากนั้นก็นำไปแช่ในบ่อไว้ 15 วัน ทำเช่นเดิมอีกหนึ่งครั้ง เพื่อเป็นการลดความเป็นกรด – ด่างของบ่อซีเมนต์ ( บ่อใหม่ )
- นำต้นกล้วยออกทิ้งแล้วถ่ายน้ำออกจากนั้นก็ตากบ่อไว้ 7 วันเพื่อฆ่าเชื้อโรค
- จากนั้นก็นำน้ำมาใส่บ่อให้สูงประมาณ 4-5 นิ้ว
- นำท่อ PVC ที่เตรียมไว้มาใส่ในบ่อเพื่อให้เป็นที่อาศัยของปลาไหลโดยที่ไม่ต้องใส่โคลน ลงในบ่อ
- นำปลาไหลที่จับมาได้ปล่อยลงในบ่อแต่ต้องมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน
การให้อาหาร 
- ให้เศษปลาวันละ 1 ครั้งในตอนเช้า
การดูแลรักษา 
- ถ่ายน้ำเดือนละ 2 ครั้ง หรือเมื่อน้ำเริ่มเสีย
- ต้องมีการแยกปลาไหลที่ตัวเล็กออกเลี้ยงไว้ต่างหากเราะปลาจะกินกันเอง
ข้อดีของการเลี้ยงปลาไหล 
- เป็นอาชีพเสริมที่ดีอีกอาชีพหนึ่งเพราะมีต้นทุนต่ำ
- ขั้นตอนการเลี้ยงไม่ยุ่งยาก
- เมื่อคัดปลาที่ไม่ได้ขนาดออกแล้วสามารถนำมาเป็นอาหารให้กับปลาไหลได้
- เพื่อลดการสูญพันธุ์ของปลาไหลตามธรรมชาติ

เทคนิคการเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์

                                                        การเลี้ยงปลาช่อน  


 การเพาะเลี้ยงปลาช่อน 

         ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น แม่น้ำ  ลำคลอง หนอง บึง และทะเลสาบ มีชื่อสามัญ STRIPED ANAKE-HEAD FISH  และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa striatus ปลาช่อนเป็นปลาที่มีรสชาติดี  ก้างน้อย  สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด จึงทำให้การบริโภคปลาช่อนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันปริมาณปลาช่อนที่จับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง เนื่องจากการทำประมงเกินศักยภาพการผลิตตลอดจนสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำเสื่อมโทรมตื้นเขิน ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ทำให้ปริมาณปลาช่อนในธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์และความต้องการบริโภค การเลี้ยงปลาช่อนจึงเป็นแนวทางหนึ่งซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนโดยนำลูกปลาที่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติและจากการเพาะขยายพันธุ์มาเลี้ยงให้เป็นปลาโตขนาดตลาดต้องการต่อไป
 

  อุปนิสัย 

          โดยธรรมชาติปลาช่อนเป็นปลาประเภทกินเนื้อ กินสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ รวมทั้งปลาขนาดเล็กและแมลงในน้ำชนิดต่างๆ  เป็นอาหารเมื่ออาหารขาดแคลน ปลาจะมีพฤติกรรมกินกันเองโดยปลาช่อนตัวใหญ่จะกินปลาตัวเล็ก
 

  รูปร่างลักษณะ 

          ปลาช่อนเป็นปลาที่มีเกล็ด  ลำตัวอ้วนกลม  ยาวเรียว  ท่อนหางแบนข้าง  หัวแบนลง เกล็ดมีขนาดใหญ่ ปากกว้างมาก มีฟันซี่เล็กๆ  อยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง  ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังและครีบก้นยาวจนเกือบถึงโคนหาง  ครีบหางกลม ลำตัวส่วนหลังมีสีดำ ท้องสีขาว ด้านข้างลำตัวมีลายดำพาดเฉียง มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ ปลาช่อนจึงสามารถเคลื่อนไหวไปบนบกหรือฝังตัวอยู่ในโคลนได้เป็นเวลานานๆ
 

  การผสมพันธุ์วางไข่ 

          ปลาช่อนสามารถวางไข่ได้เกือบตลอดปี   สำหรับฤดูกาลผสมพันธุ์วางไข่จะเริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม – ตุลาคม ช่วงที่มีความพร้อมที่สุดคือเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม
          ในฤดูวางไข่ จะสังเกตความแตกต่างระหว่างปลาเพศผู้กับเพศเมียอย่างเห็นได้ชัดคือ  ปลาเพศเมีย ลักษณะท้องจะอูมเป่ง  ช่องเพศขยายใหญ่  มีสีชมพูปนแดง  ครีบท้องกว้างสั้น  ส่วนปลาเพศผู้ ลำตัวมีสีเข้มใต้คางจะมีสีขาว  ลำตัวยาวเรียวกว่าปลาเพศเมีย
           ตามธรรมชาติปลาช่อนจะสร้างรังวางไข่ในแหล่งน้ำนิ่งความลึกของน้ำประมาณ  30 –100 เซนติเมตร โดยปลาตัวผู้จะเป็นผู้สร้างรังด้วยการกัดหญ้าหรือพรรณไม้น้ำ และใช้หางโบกพัดตลอดเวลาเพื่อที่จะทำให้พื้นที่เป็นรูปวงกลม  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 –40 เซนติเมตร ปลาจะกัดหญ้าที่บริเวณกลางของรัง ส่วนพื้นดินใต้น้ำ ปลาก็จะตีแปลงจนเรียบ  หลังจากที่ปลาช่อนได้ผสมพันธุ์วางไข่แล้ว  พ่อแม่ปลาจะคอยรักษาไข่อยู่ใกล้ๆ เพื่อมิให้ปลาหรือศัตรูอื่นเข้ามากินจนกระทั่งไข่ฟักออกเป็นตัว ในช่วงนี้พ่อแม่ปลาก็ยังให้การดูแลลูกปลาวัยอ่อน เมื่อลูกปลามีขนาด 2 – 3 เซนติเมตร  จึงแยกตัวออกไปหากินตามลำพังได้ ซึ่งระยะนี้เรียกว่า ลูกครอก หรือลูกชักครอก  ลูกปลาขนาดดังกล่าวน้ำหนักเฉลี่ย 0.5 กรัม ปลา กิโลกรัมจะมีลูกครอก ประมาณ 2,000 ตัว ลูกครอกระยะนี้จะมีเกษตรกรผู้รวบรวมลูกปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นอาชีพนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้เลี้ยงปลาอีกต่อหนึ่งในราคากิโลกรัมละ 70 – 100บาท ซึ่งรวบรวมได้มากในระหว่างเดือนมิถุนายน – ธันวาคม 
 

  การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ 

           ปลาช่อนที่นำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นปลาที่มีรูปร่าง  ลักษณะสมบูรณ์ ไม่บอบช้ำและมีน้ำหนักตั้งแต่ 800 – 1,000 กรัมขึ้นไป และอายุ ปีขึ้นไป
           ลักษณะแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปลาช่อนที่ดีซึ่งเหมาะสมจะนำมาใช้ในการเพาะพันธุ์   แม่พันธุ์ควรมีส่วนท้องอูมเล็กน้อย  ลักษณะติ่งเพศมีสีแดงหรือสีชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบาๆที่ท้องจะมีไข่ไหลออกมามีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน ใส ส่วนพ่อพันธุ์ติ่งเพศควรจะมีสีชมพูเรื่อๆปลาไม่ควรจะมีรูปร่างอ้วนหรือผอมมากเกินไป เป็นปลาขนาดน้ำหนัก 800 – 1,000 กรัม
 

  การเพาะพันธุ์ปลาช่อน 

         ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่ประชาชนนิยมบริโภค ทำให้ปริมาณปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด  สำหรับเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาช่อน เนื่องจากเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งนี้ ลูกปลาช่อนที่เกษตรกรรวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาช่อนดังนั้นการเพาะพันธุ์ปลาจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตพันธุ์ปลาช่อน
         ในการเพาะพันธุ์ปลาช่อนต้องคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาช่อนที่มีความสมบูรณ์  ซึ่งจะมีอายุ 1ปีขึ้นไป ขนาดน้ำหนัก 800 – 1,000 กรัม  บ่อเพาะพันธุ์ควรมีระดับความลึกของน้ำประมาณ 1.0 – 1.5 เมตร และมีการถ่ายเทน้ำบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดี มีการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ให้สมบูรณ์  ซึ่งจะทำให้พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อนมีน้ำเชื้อและไข่ที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
 
             การเพาะพันธุ์ปลาช่อน ทำได้ วิธี คือ
         1. การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ  วิธีนี้ควรใช้บ่อเพาะพันธุ์เป็นบ่อดินขนาด 0.5 – 1.0 ไร่ พร้อมทั้งจัดสภาพสิ่งแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติ โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในอัตรา 1:1 ให้ปลาเป็ดผสมรำเป็นอาหารในปริมาณ 2.5 – 3.0 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลา
         2. การเพาะพันธุ์โดยวิธีการผสมเทียมด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์
            สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสิงห์บุรี ดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาช่อนด้วยวิธีผสมเทียมโดยใช่ฮอร์โมน
สังเคราะห์ฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่เพื่อที่จะรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อหรือปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใช้ได้แก่ 
LHRHa  หรือ  LRH – a โดยใช้ร่วมกับโดมเพอริโดน (Domperidone)
        การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาช่อนโดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่นั้น ด้วยการฉีดเพียงครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 30 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา กิโลกรัม ร่วมกับโดมเพอริโดน 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา กิโลกรัม ส่วนพ่อพันธุ์ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 15 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา กิโลกรัมร่วมกับโดมเพอริโดน 
5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัม   จากนั้นประมาณ  8–10 ชั่วโมง  สามารถรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้เนื่องจากไข่ปลาช่อนมีไขมันมากเมื่อทำการผสม
เทียมจึงต้องล้างน้ำหลายๆครั้ง  เพื่อขจัดคราบไขมัน นำไข่ไปฟักในถังไฟเบอร์กลาสขนาด 
ตัน ภายในถังเพิ่มออกชิเจนผ่านหัวทรายโดยเปิดเบาๆ ในกรณีที่ปล่อยให้พ่อแม่ปลาผสมพันธุ์กันเอง หลังจากที่แม่ปลาวางไข่แล้วต้องแยกไข่ไปฟักต่างหากเช่นกัน
 

  การฟักไข่ 

           ไข่ปลาช่อนมีลักษณะกลมเล็ก เป็นไข่ลอย  มีไขมันมาก ไข่ที่ดีมีสีเหลือง  ใส  ส่วนไข่เสียจะทึบ ไข่ปลาช่อนฟักเป็นตัวภายในเวลา 30 –35 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 27 องศาเซลเซียส  ความเป็นกรด ด่าง  7.8 ความกระด้าง  56  ส่วนต่อล้าน
 

  การอนุบาลลูกปลาช่อน 

          ลูกปลาที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ลำตัวมีสีดำ มีถุงไข่แดงสีเหลืองใสปลาจะลอยตัวในลักษณะหงายท้องขึ้นอยู่บริเวณผิวน้ำ   ลอยอยู่นิ่งๆไม่ค่อยเคลื่อนไหว หลังจากนั้น  2 – 3 วันจึงพลิกตัวกลับลง และว่ายไปมาตราปกติโดยว่ายรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณผิวน้ำ
          ลูกปลาช่อนที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัว   เมื่อถุงไข่แดงยุบ วันที่ จึงเริ่มให้อาหารโดยใช้ไข่แดงต้มสุกบดละลายกับน้ำผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากินวันละ ครั้ง เมื่อลูกปลามีอายุย่างเข้าวันที่ จึงให้ไรแดงเป็นอาหารอีก สัปดาห์ และฝึกให้อาหารเสริม เช่น ปลาป่น เนื้อปลาสดบด โดยใส่อาหารในแท่นรับอาหารรูปสี่เหลี่ยมซึ่งมีทุ่นผูกติดอยู่ ถ้าให้อาหารไม่เพียงพออัตราการเจริญเติบโตของลูกปลาจะแตกต่างกัน และพฤติกรรมการกินกันเอง ทำให้ตราการรอดตายต่ำจึงต้องคัดขนาดลูกปลา การอนุบาลลูกปลาช่อนโดยทั่วไปจะมีอัตราการรอดประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันๆละ 50 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำ
 

  การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา 

         การเลี้ยงปลาช่อนเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้น นิยมเลี้ยงในบ่อดิน   ซึ่งมีหลักการเตรียมบ่อดินเหมือนกับการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่วๆไป  ดังนี้
            1.  ตากบ่อให้แห้ง
            2.  ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน ในอัตราประมาณ 60 – 100 กิโลกรัม ไร่ ทิ้งไว้ประมาณ 5 – 7 วัน
            3.  ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลา ในอัตราประมาณ 40 – 80 กิโลกรัม/ไร่
           4. สูบน้ำเข้าบ่อโดยกรองน้ำเพื่อไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ   จนกระทั่งมีระดับน้ำลึก 30–40 เซนติเมตร ระยะไว้ 1 – 2 วันจึงปล่อยลูกปลา ลูกปลาจะได้มีอาหารกินหลังจากที่ได้เตรียมอาหารธรรมชาติในบ่อ (ข้อ 3) เรียบร้อยแล้ว
           5. ก่อนปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำ ในภาชนะลำเลียงและบ่อให้ใกล้เคียงกัน  สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลาควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเช้า
 

  ขั้นตอนการเลี้ยง 

            ปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อ  อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาช่อนเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง โดยทั่วไปเกษตรกรนิยมเลี้ยงด้วยปลาเป็ด
            1. อัตราการปล่อยปลา ลูกปลาขนาด 8 – 10 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 30 – 35 ตัว กิโลกรัม ควรปล่อยในอัตรา 40-50 ตัว/ตารางเมตร และเพื่อป้องกันโรคซึ่งอาจจะติดมากับลูกปลา ให้ใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยงอัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน (3 ลิตร น้ำ 100 ตันในวันแรกที่จะปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น
            2. การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาช่อนลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงลูกปลาช่อนมีขนาดเล็ก คือ ปลาเป็ดผสมรำในอัตราส่วน 4 : 1 หรืออัตราส่วนปลาเป็ด 40 เปอร์เซ็นต์ รำ 30 เปอร์เซ็นต์ หัวอาหาร 30 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลา วางอาหารไว้บนตะแกรงหรือภาชนะแบนลอยไว้ใต้ผิวน้ำ 2 – 3เซนติเมตร ควรวางไว้หลายๆจุด
          3.  การถ่ายเทน้ำ   ช่วงแรกความลึกของน้ำในบ่อควรอยู่ที่ระดับ 30 – 40 เซนติเมตร  แล้วค่อยๆเพิ่มระดับน้ำ  สัปดาห์ละ 10 เซนติเมตร จนได้ระดับ 50 เซนติเมตร จึงถ่ายน้ำวันละครั้ง หลังจากอนุบาลลูกปลาในบ่อดินประมาณ เดือน ปลาจะเติบโตไม่เท่ากัน ใช้อวนลากลูกปลาเพื่อคัดขนาด มิฉะนั้นปลาขนาดใหญ่จะกินปลาขนาดเล็ก
            4.  ผลผลิต หลังจากอนุบาลปลาในช่วง เดือนแล้ว ต้องใช้เวลาเลี้ยงอีกประมาณ 4 – 5 เดือน จะให้ผลผลิต 1 – 2 ตัว/กิโลกรัม เช่นเนื้อที่ ไร่ งาน จะได้ผลผลิตมากกว่า6,000 กิโลกรัม
             5.   การจับ เมื่อปลาโตได้ขนาดตลาดต้องการจึงจับจำหน่าย  ก่อนจับปลาควรงดอาหาร 1 – 2 วัน
            6. การป้องกันโรค  โรคของปลาช่อนที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหา   คุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งสาเหตุเกิดจากการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ โดยการหมั่นสังเกตว่าเมื่อปลาหยุดกินอาหารจะต้องหยุดการให้อาหารทันที
 

  ผลผลิต  

           ช่วงเวลาในการเลี้ยงปลาช่อนประมาณ 8 – 9 เดือน  สำหรับปลาลูกครอก ส่วนปลาช่อนที่เริ่มเลี้ยงจากขนาดปลารุ่น 20 ตัว กิโลกรัม ถึงขนาดตลาดต้องการ ใช้เวลาเลี้ยงอีก 5เดือน น้ำหนักจะอยู่ระหว่าง 0.6 – 1.0 กิโลกรัม โดยทั่วไปน้ำหนักปลาที่ตลาดต้องการขนาด 0.5 – 0.7 กิโลกรัม สำหรับอัตราแลกเนื้อประมาณ 5 – 6 : 1 กิโลกรัม ผลผลิต 12 ตัน/ไร่
           สำหรับปลาผอมและเติบโตช้า เกษตรกรเลี้ยงปลาช่อนเรียกว่า ปลาดาบ
      
     นอกจากนี้น้ำที่ระบายออกจากบ่อปลาช่อน ควรนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเลี้ยงปลากินพืช เช่น ปลาบึก ปลานิล ฯลฯ
 

  การลำเลียง  

          ใช้ลังไม้รูปสี่เหลียมผืนผ้าภายในกรุสังกะสีกว้าง   58 เซนติเมตร ยาว 94 เซนติเมตร ความสูง 38 เซนติเมตร จุปลาได้ 50 กิโลกรัม สามารถขนส่งโดยรถยนต์บรรจุไปทั่วประเทศ จังหวัดสุพรรณบุรีจัดว่าเป็น
แหล่งเลี้ยงและส่งจำหน่ายปลาช่อนอับดับหนึ่งของประเทศโดยส่งไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าภาคอื่นๆ  สำหรับภาควันออกเฉียงเหนือต้องการปลาน้ำหนัก 
300 – 400 กรัม และ 700 – 800 กรัม ส่วนภาคเหนือต้องการปลาน้ำหนักมากกว่า 300 – 400 กรัม และ มากกว่า 500 กรัมขึ้นไป

แนวโน้มด้านการตลาด 

         ปลาช่อนเป็นปลาที่มีรสชาติดีอีกทั้งยัง  สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายรูปแบบ จึงมีผู้นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายทำให้แนวโน้มด้านการตลาดดี สามารถส่งผลผลิตและผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศได้
 

  ปัญหาอุปสรรค 

           1. เนื่องจากปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อและกินจุ  จำเป็นต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำในช่วงการเลี้ยง
           2. ต้นทุนอาหารการเลี้ยงปลาส่วนใหญ่หากใช้ปลาทะเลเป็นหลักซึ่งมีราคาสูงขึ้นก็จะมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตปลาช่อนสูงขึ้นตามไปด้วย

การเลี้ยงปลาช่อน

                                การเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย




คำนำ
ปลาหมอไทย เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทย ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่ประชาชนทุกระดับชนชั้นของสังคมไทย นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถประกอบอาหารได้หลากหลาย ทั้งแกง ต้ม ทอด ย่างหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกทั้งเป็นปลาที่มีความทนทาน ทรหด อดทนสูง เพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ (labyrinth organ) จึงอาศัยอยู่ได้ในบริเวณที่มีน้ำน้อยๆ หรือที่ชุ่มชื้นได้เป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม ผลผลิตส่วนใหญ่ ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยกรมประมง รายงานว่า ปี 2543 มีผลผลิตปลาหมอไทยทั้งหมด 7,200 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 207 ล้านบาท เป็นผลผลิตปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ 6,730 เมตริกตัน และการเพาะเลี้ยง 470 เมตริกตัน โดยบริโภคในรูปปลาสด 84 % ปลาร้า 12 % นอกจากนั้นอีก 4 % ทำปลาเค็มตากแห้ง รมควันและอื่นๆ
ปัจจุบัน แม้ว่าการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก มักกระจุกอยู่บางท้องที่หรือเลี้ยงกันแบบหัวไร่ ปลายนา แต่จัดเป็นปลาที่มีศักยภาพ ทั้งการผลิตและการตลาดเพื่อส่งออกสูง กล่าวคือ (1) สามารถเพาะเลี้ยงในอัตราความหนาแน่นสูง และเจริญเติบโต ในภาวะคุณสมบัติของดินและน้ำที่แปรปรวนสูงได้ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำค่อนข้างเป็นกรดหรือพื้นที่ดินพรุ ดินเปรี้ยวตลอดจนนาข้าว นากุ้งทิ้งร้างได้ (วิทย์ และคณะ, 2533; ศราวุธ และคณะ, 2539; กรมประมง, 2541; อนันต์ และคณะ, 2541) สามารถขนส่งและจำหน่ายในรูปปลาสดมีชีวิตระยะทางไกลๆ อันสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ ที่นิยมใช้ปลาสดมีชีวิตประกอบอาหาร (2) อุปสงค์ของตลาดมีสูงมาก โดยเฉพาะปลาขนาดใหญ่ (3?5 ตัว/กิโลกรัม) ทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ เช่น ตลาดตะวันออกกลาง จีน ไต้หวัน เกาหลีและมาเลเซีย มีความต้องการไม่ต่ำกว่า 100 เมตริกตัน/ปี ในช่วงเดือนเมษายน ถึง พฤษภาคม ของทุกปี ขณะที่ผลผลิตไม่เพียงพอและปริมาณไม่แน่นอน (สัตว์น้ำจืด, 2547)

ลักษณะรูปร่าง
            ปลาหมอไทยมีลำตัวป้อมค่อนข้างแบน ความยาวประมาณ 3 เท่าของความลึก ลำตัวมีสีน้ำตาลเหลืองปนดำ ส่วนท้องสีจางกว่าส่วนหลัง เกล็ดแข็งแบบ ctenoid ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 17-18 ก้าน และก้านครีบอ่อน 9-10 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 9-10 ก้าน และก้านครีบอ่อน 10-11 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 2 ก้าน และก้านครีบอ่อน 5 ก้าน ครีบอกมีก้านครีบอ่อนทั้งหมด 15 ก้าน กระดูกสันหลังมี 26-28 ข้อ ตำแหน่งตั้งต้นของครีบหลัง ครีบอก ครีบท้องอยู่ในแนวเดียวกัน เส้นข้างตัวแบ่งขาดเป็น 2 ตอน จำนวนเกล็ดบนเส้นข้างตัวตอนบน 14-18 เกล็ด ตอนล่าง 10-14 เกล็ด ปลายกระดูกกระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยัก แหลมคมมากและส่วนล่างของกระพุ้งแก้มแบ่งแยกอิสระ เป็นกระดูกแข็งสำหรับปีนป่าย เรียกว่า ichy feet กระดูกกระพุ้งแก้มงอพับได้ หางเป็นแบบมนกลมเล็กน้อย ตามลำตัวมีแถบสีดำ 7-8 แถบ และที่โคนหางมีจุดสีดำกลม ซึ่งซีดจางหายไปได้เมื่อเวลาตกใจ ปากอยู่ตอนปลายสุดของหัวและเฉียงขึ้นเล็กน้อย ริมฝีปากยืดหดไม่ได้ มีฟันแหลมคม เหนือริมฝีปากบนก่อนถึงตาทั้งสองข้าง เป็นหนามแหลมคม บริเวณหนามแหลมของปลายกระดูกกระพุ้งแก้มจะมีลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อสีดำติด อยู่ทั้งสองข้าง ปลาหมอไทยมีอวัยวะช่วยหายใจ (labryrinth organ) อยู่ในช่องเหงือกใต้ลูกตา จึงทำให้สามารถอยู่บนบกได้นานๆ (สมโภชน์, 2545) นักวิทยาศาสตร์บางท่านให้ข้อสังเกตว่าปลาหมอ ปลาตีนและปลามีปอด (lung fish) อาจเป็นรอยต่อหรือสะพานทางพันธุกรรมของการวิวัฒนาการจากปลาซึ่งเป็นสัตว์น้ำ สู่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ลักษณะที่สำคัญบางประการของปลาหมอไทย ดังรูป

ขนาดลำตัว
  • ความยาว ประมาณ 7-23 เซนติเมตร
  • ความยาวลำตัวมากกว่า 3 เท่าของความลึก หรือป้อม แบน
  • ขนาดที่ตลาดต่างประเทศต้องการ คือ 3-6 ตัว/กิโลกรัม โดยทั่วไปท้องตลาดมีจำหน่าย ขนาด 7-12 ตัว/กิโลกรัม 
อาหารและนิสัยการกินอาหาร

ปลาหมอไทยเป็นปลากินเนื้อ (carnivorous fish) จึงเป็นปลาผู้ล่า (predator) สัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่าและชอบกินอาหารที่ผิวน้ำและกลางน้ำ อย่างไรก็ตาม สามารถกินเมล็ดข้าว ธัญพืช ปลวก ตัวอ่อนแมลงน้ำ ตั๊กแตน กุ้งฝอยหรือลูกปลาเล็กปลาน้อยที่มีชีวิตหรือตายแล้วเป็นอาหาร หลังจากลูกปลาฟักออกจากไข่เป็นตัว ระยะ 3 วันแรก จะใช้ถุงอาหาร (yolk sac) เป็นอาหาร แล้วจะเริ่มกินอาหารมีชีวิตขนาดเล็กๆ (zooplankton feeder) พวกprotozoa, rotifer, copepod, ostracod, ไรแดงและลูกน้ำ เป็นอาหาร หลังจากฟันปลาพัฒนาสมบูรณ์แล้ว จึงสามารถกินตัวอ่อนแมลง สัตว์หน้าดิน (benthos) ลูกกุ้งและลูกปลาวัยอ่อน ตลอดจนอาหารสำเร็จรูปเป็นอาหารได้

การเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย
การเลือกสถานที่

การเลือกสถานที่ก่อสร้างบ่อเพาะพันธุ์ อนุบาล และเลี้ยงปลา เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญยิ่งและส่งผลต่อผลสำเร็จในการประกอบการลงทุนหรือไม่ ดังนั้น ในการเลือกสถานที่และออกแบบฟาร์ม ควรดำเนินการด้วยความรอบคอบ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. ลักษณะดิน

ที่ดินควรเป็นพื้นที่ราบ ดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย น้ำไม่รั่วซึมง่าย สามารถเก็บกักน้ำได้ 4-6 เดือน ไม่ควรเลือกพื้นที่ที่เป็นดินทราย ดินปนกรวด หรือป่าพรุที่ดินเป็นกรดจัดหรือพื้นที่ทางน้ำผ่าน ซึ่งน้ำมักไหล
ท่วมหลากอย่างรุนแรงในฤดูฝน จักทำให้ยุ่งยากในการจัดการฟาร์ม

2. ลักษณะน้ำ

พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลองหรืออ่างเก็บน้ำ ที่มีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดปีหรืออยู่ในเขตชลประทาน หากเป็นพื้นที่ที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ต้องคำนวณปริมาณน้ำฝนที่ตกในรอบปีด้วย ควรหลีกเลียงห่างไกลจากเขตดูดทรายในแม่น้ำ น้ำมักขุ่นมากและเขตโรงงานอุตสาหกรรม บ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่อยู่ในเขตพื้นที่น้ำจืด นาข้าวทิ้งร้าง สามารถเลี้ยงปลาหมอไทยได้หากอยู่ในย่านที่รับอิทธิพลจากความเค็มที่ไม่เกิน 7.5 ส่วนในพัน จะกระตุ้นให้ปลากินอาหารมากขึ้น เนื้อปลาเหนียว นุ่ม รสชาติอร่อยและปราศจากกลิ่นโคลน ส่งผลให้จำหน่ายได้ราคาสูงกว่าปกติ

3. แหล่งพันธุ์ปลา ตลาดและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน

เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการฟาร์มปลา จำเป็นต้องพิจารณาสถานที่มีระบบคมนาคมสะดวก มีไฟฟ้าหรือสัญญาณโทรศัพท์เข้าถึง อยู่ไม่ไกลจากแหล่งเพาะพันธุ์ปลา สามารถลำเลียงลูกปลามาเลี้ยงสะดวกหรือไม่ไกลจากตลาดซื้อขายปลา แม้ว่าหลังจากจับปลาจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงปากบ่อ แต่หากพื้นที่เลี้ยงอยู่ใกล้ตลาดหรือท่าปลา จะทำให้ได้เปรียบในการขนส่งผลผลิตเพื่อการจำหน่าย เป็นต้น

การเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย