การเลี้ยงปลานิล





กำจัดวัช

พืชและพันธุ์ไม้น้ำต่าง ๆ เช่น กก หญ้า ผักตบชวาให้หมด โดยนำมากองสุมไว้แห้งแล้วนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักในขณะที่ปล่อยปลาลงเลี้ยง ถ้าในบ่อเก่ามีเลนมากจำเป็นต้องสาดเลนขึ้นโดยนำไปเสริมคันดินที่ชำรุด หรือใช้เป็นปุ๋ยแก่พืช ผัก ผลไม้ บริเวณใกล้เคียงพร้อมทั้งตกแต่งเชิงลาดและคันดินให้แน่นด้วย

กำจัดศัตรูของปลานิล ได้แก่ ปลาจำพวกกินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาหมอ ปลาดุก นอกจากนี้ก็มีสัตว์จำพวก กบ เขียด งู เป็นต้น ดังนั้น ก่อนที่จะปล่อยปลานิลลงเลี้ยงจึงจำเป็นต้อง

กำจัดศัตรู
ดังกล่าวเสียก่อนโดยวิธีระบายน้ำออกให้เหลือน้อยที่สุด การกำจัดศัตรูของปลาอาจใช้โล่ติ๊นสดหรือแห้งประมาณ ๑ กิโลกรัม ปริมาณของน้ำในบ่อ ๑๐๐ ลูกบาศก์เมตร คือทุบหรือบดโล่ติ๊นให้ละเอียด นำลงแช่น้ำประมาณ ๑-๒ ปี๊บ ขยำโล่ติ๊นเพื่อให้น้ำสีขาวออกมาหลาย ๆ ครั้งจนหมดนำไปสาดให้ทั่วบ่อ ศัตรูพวกปลาจะลอยหัวขึ้นมาภายหลังโล่ติ๊นประมาณ ๓๐ นาที ใช้สวิงจับขึ้นมาใช้บริโภคได้ที่เหลือตายพื้นบ่อจะลอยในวันรุ่งขึ้น ส่วนศัตรูจำพวกกบเขียดงู จะหนีออกจากบ่อไป และก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรจะทิ้งระยะไว้ประมาณ ๗ วัน เพื่อให้ฤทธิ์ของโล่ติ๊กสลายตัวไปหมดเสียก่อน 

การใส่
ปุ๋ย โดยปกติแล้วอุปนิสัยในการกินอาหารของปลานิลจะกินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนพืชและสัตว์ เศษวัสดุเน่าเปื่อยตามพื้นบ่อ แหน สาหร่าย ฯลฯ ดังนั้น ในบ่อเลี้ยงปลาควรให้อาหารธรรมชาติดังกล่าวเกิดขึ้นอยู่เสมอ จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยลงไปเพื่อละลายเป็นธาตุอาหาร ซึ่งพืชน้ำขนาดเล็กจำเป็นใช้ในการปรุงอาหารและเจริญเติบโตโดยกระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นโซ่อาหาร อันดับต่อไป คือ แพลงก์ตอนสัตว์ ได้แก่ ไรน้ำ และตัวอ่อนของแมลง ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่มูลวัว ควาย หมู เป็ด ไก่ นอกจากปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์แล้วก็อาจใช้ปุ๋ยหมักจำพวกหญ้าและฟางข้าวปุ๋ยพืชสดต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน



การอัตราใส่ปุ๋ยคอกในระยะแรก ควรใส่ประมาณ ๒๕๐-๓๐๐ กก./ไร่/เดือน ส่วนในระยะหลังควรลดลงเพียงครึ่งหนึ่ง หรือสังเกตจากสีของน้ำในบ่อ ถ้ายังมีสีเขียวอ่อนแสดงว่ามีอาหาร ธรรมชาติเพียงพอ ถ้าน้ำใสปราศจากอาหาร ธรรมชาติก็เพิ่มอัตราส่วนให้มากขึ้น และในกรณีที่หาปุ๋ยคอกไม่ได้ก็อาจใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร ๑๕:๑๕:๑๕ ใส่ประมาณ ๕ กก./ไร่/เดือน ก็ได้ วิธีใส่ปุ๋ย ถ้าเป็นปุ๋ยคอกควรตากบ่อให้แห้งเสียก่อน เพราะปุ๋ยสดจะทำให้น้ำมีแก๊สจำพวกแอมโมเนียละลายอยู่ในน้ำมาก เป็นอันตรายต่อปลา การใส่ปุ๋ยคอกใช้วิธีหว่านลงไปในบ่อให้ละลายน้ำทั่ว ๆ บ่อ ส่วนปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยสดนั้น ควรกองสุมไว้ตามมุมบ่อ ๒-๓ แห่ง โดยมีไม้ปักล้อมเป็นคอกรอบกองปุ๋ยเพื่อป้องกันมิให้ส่วนที่ยังไม่สลายตัวกระจัดกระจายส่วน

การให้อาหาร 
การใส่ปุ๋ยเป็นการให้อาหารแก่ปลานิลที่สำคัญมากวิธีหนึ่ง เพราะจะได้อาหารธรรมชาติที่มีโปรตีนสูงและราคาถูก แต่เพื่อเป็นการเร่งให้ปลาที่เลี้ยงเจริญเติบโตเร็วขึ้นหรือถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงควรให้อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทเป็นอาหารสมบทด้วย เช่น รำ ปลายข้าว กากมะพร้าว มันสำปะหลัง หั่นต้มให้สุกและเศษเหลือของอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น กากถั่วเหลืองจากโรงทำเต้าหู้กากถั่วลิสง อาหารผสมซึ่งมีปลาป่น รำข้าว ปลายข้าว มีจำนวนโปรตีนประมาณ ๒๐% เศษอาหารที่เหลือจากโรงครัวหรือภัตตาคาร อาหารประเภทพืชผัก เช่น แหนเป็ด สาหร่าย ผักตบชวาสับให้ละเอียด เป็นต้น อาหารสมทบเหล่านี้ควรเลือกชนิดที่มีราคาถูกและหาได้สะดวก ส่วนปริมาณที่ให้ก็ไม่ควรเกิน ๔% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง หรือจะใช้วิธีสังเกตจากปลาที่ขึ้นมากินอาหารจากจุดที่ให้เป็นประจำ คือ ถ้ายังมีปลานิลออกันอยู่มากเพื่อรอกินอาหารก็เพิ่มจำนวนอาหารมากขึ้นตามลำดับทุก ๑-๒ สัปดาห์ ในการให้อาหารสมทบมีข้อพึงควรระวัง คือ ถ้าปลากินไม่หมด อาหารจมพื้นบ่อ หรือละลายน้ำมากก็จะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นหลายประการ เช่น เสียค่าใช้จ่ายไปโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้น้ำเน่าเสียเป็นอันตรายต่อปลาที่เลี้ยง และหรือต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการสูบถ่าย เปลี่ยนน้ำบ่อย ๆ เป็นต้น

การเลี้ยงปลานิล

                                  การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน


การเลือกสถานที่เลี้ยงปลาดุก
    ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกสถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลา มีดังนี้
1. สถานที่ไม่เป็นที่ลุ่มหรือที่ดอนเกินไป สามารถจัดระบบน้ำระบายน้ำเข้า-ออกได้ดี
2. สภาพดินควรเป็นดินเหนียวสามารถทำเป็นคันบ่อเก็บกักน้ำได้ดี
3. สภาพน้ำต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารพิษของโลหะหนักหรือยาฆ่าแมลง หรือของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
4. ทางคมนาคมสะดวก

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา มีวิธีการเตรียมบ่อดังนี้
1. บ่อใหม่ - ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่ โดยให้ทั่วพื้นบ่อ- ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่ โดยโรยให้ทั่วบ่อ- เติมน้ำให้ได้ระดับ 40-50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3-5 วัน จนน้ำเริ่มเป็นสีเขียวระวังอย่าให้เกิดแมลง หรือศัตรูปลา
2. บ่อเก่า - ทำความสะอาดบ่อลอกเลนให้มากที่ส- ใส่ปูนขาวอัตรา 60-100 กิโลกรัม/ไร่- ตากบ่อให้แห้ง ประมาณ 7-15 วัน- นำปุ๋ยคอกใส่ถุงแขวนไว้ตามมุมบ่อประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ- เติมน้ำ 40-50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3-5 วัน จนน้ำเป็นสีเขียวก่อนปล่อยปลาควรตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำอีกครั้ง ถ้าไม่ถึง 7.5-8.5 ควรน้ำปูนขาวละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง ให้ได้ 7.5-8.5

การเตรียมพันธ์ปลา การเลือกซื้อลูกปลาควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
 1. แหล่งพันธุ์หรือบ่อเพาะฟัก ควรดูจาก- ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องคุณภาพ- มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีคุณภาพ- มีความชำนาญในการขนส่งลูกปลา
2. ลักษณะภายนอกของลูกปลาต้องปกติสมบูรณ์ ซึ่งสังเกตจาก- การว่ายน้ำต้องปราดเปรียว ไม่ว่ายควงสว่าน หรือลอยตัวตั้งฉากพื้นบ่อ- ลำตัวสมบูรณ์ หนวด หาง ครีบ ไม่กร่อน ไม่มีบาดแผล ไม่มีจุดหรือปุยขาวเกาะ- ขนาดลูกปลาต้องเสมอกันการปล่อยลูกปลาบ่อเลี้ยง เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 10-15 นาที เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค
    ก่อนปล่อยลูกปลาควรมีการทำร่มเงาไว้ในบ่อให้ลูกปลาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยอัตราการปล่อย เกษตรกรรายใหม่ ควรปล่อยลูกปลาขนาดปลานิ้ว จะทำให้อัตราการรอดสูง อัตราการปล่อย ปลาขนาด 2-3 เซนติเมตร ปล่อย 80,000-100,000 ตัว/ไร่ ก่อนปล่อยควรสุ่มนับจำนวนเพื่อตรวจสอบให้รู้จำนวนจริงอาหารและการให้อาหาร

 ต้นทุนการผลิตปลาประมาณ 80% เป็นค่าอาหาร เพราะฉะนั้นการเลี้ยงใช้อาหารเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษการเลือกซื้ออาหาร ลักษณะของอาหาร - สีสันดี- กลิ่นดี ไม่เหม็นหืน- ขนาดเม็ดสม่ำเสมอ ไม่เป็นฝุ่น- การลอยตัวของอาหารในน้ำอยู่ได้นาน- อาหารไม่เปียกชื้น ไม่จับตัวเป็นก้อน ไม่ขึ้นราประเภทของอาหารสำเร็จรูป - อาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อน ใช้สำหรับลูกปลาขนาด 1 – 4 เซนติเมตร- อาหารปลาดุกเล็กพิเศษ ใช้สำหรับลูกปลาขนาด 3 เซนติเมตร – 1 เดือน- อาหารปลาดุกเล็ก ใช้สำหรับปลาอายุ 1-3 เดือน- อาหารปลาดุกใหญ่ ใช้สำหรับปลาอายุ 3 เดือน ส่งตลาดวิธีการให้อาหารปลา เมื่อปล่อยลูกปลาวันแรกไม่ต้องให้อาหาร จะเริ่มให้อาหารวันถัดไป อาหารที่ให้เป็นอาหารลูกปลาวัยอ่อน พรมน้ำ แล้วนวดจนเหนียวปั้นเป็นก้อนแล้วเสียบกับไม้ปักไว้รอบบ่อปริมาณที่ให้ต้องให้ปลากินหมด ภายในเวลา 30-60 นาที โดยให้อาหารประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาจจะให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษแช่น้ำให้นิ้มแล้วปั่นรวมกับอาหารลูกปลาวัยอ่อนให้ปลากิน เมื่อปลาโตพอกินอาหารเม็ดได้ก็เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษอย่างเดียวหว่านให้กินกระจายทั่วบ่อ ปริมาณที่ให้กะหมดภายใน 30 นาที ให้กินจนลูกปลาอายุ 1 เดือน
ให้อาหารปลาดุกเล็กโดยให้ในแต่ละมื้อควรให้ปลากินหมดภายใน 30 นาที ช่วงนี้ควรเริ่มฝึกให้ปลากินอาหารเป็นที่ โดยให้อาหารจุดเดิมประจำปละเคาะหลักไม้ทุกครั้งเมื่อมีการให้อาหาร การให้อาหารปลาจะให้ 2 มื้อ ต่อวันให้อาหารปลาดุกเล็กจนลูกปลามีอายุ 2 เดือน ให้อาหารปลาดุกใหญ่ ปริมาณที่ให้แต่ละมื้อจะต้องให้ปลากินหมดภายใน 30 นาที่ โดยให้อาหาร 2 มื้อ ในกรณีปลาป่วย หรือกินอาหารลดลงให้ลดปริมาณอาหารลงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ให้ปกติ ในกรณีเกิดจากสภาพน้ำ หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศให้ปรับสภาพน้ำโดยทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ หรือใส่เกลือ หรือปูนขาว ถ้าพบว่าปลาที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้ผสมปฏิชีวนะ 3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้กินติดต่อกัน 7 วัน เช่น อาออกชีเตตร้าซัยคลิน ถ้าเกิดจากพยาธิภายนอกให้รักษาตามลักษณะของพยาธินั้น ๆ เช่นถ้าพบปลิงใส เห็บระฆัง เกาะจำนวนมาก หรือเริ่มทยอยตายให้ใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น 30-40 ซีซี/น้ำ 1,000 ลิตร ฉีดพ่นหรือสาดลงในบ่อแช่ทิ้งตลอด
 

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน

                   
                                                  เลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์

วัสดุ/อุปกรณ์

             แม่พันธุ์-พ่อพันธุ์กบ ไม้ไผ่ทำแพหรือแผ่นโฟมทางมะพร้าว บ่อซีเมนต์ อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบและกบโต

แหล่งจำหน่ายพันธุ์กบ


            ฟาร์มเลี้ยงกบทั่วไป


วิธีดำเนินการ

          1. การเลี้ยงกบควรเลือกพื้นที่เป็นที่สูงหรือที่ดอน มีลักษณะราบเสมอ ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ แต่ควรให้ห่างจากถนนเพื่อป้องกันเสียงรบกวน

          2. สร้างบ่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร สูง 1 เมตร เพื่อใช้เพาะพันธุ์กบ จำนวน 1 บ่อ และสร้างบ่อขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 3 บ่อ โดยก่อแผ่นซีเมนต์และฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบควรหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บขังน้ำสูงจากพื้น 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด

         3. พันธุ์กบที่จะเพาะเลี้ยง ควรเลือกกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็ว และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวมุมปากส่วนตัวเมียมองไม่ เห็นกล่องเสียง
การเพาะพันธุ์กบ

             ล้างบ่อซีเมนต์ให้สะอาด ใส่น้ำลงไปให้ได้ความลึกประมาณครึ่งฟุต แล้วหาวัชพืชน้ำมาใส่ไว้เพื่อให้ไข่กบเกาะ จากนั้นนำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบ 1คู่มาใส่ไว้รวมกันประมาณ 2-3 คืน กบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น. เมื่อเห็นว่ากบออกไข่แล้วให้นำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ออกจากบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้แพไข่แตก


การอนุบาลลูกกบวัยอ่อน

            เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้ว ช่วง 2 วันแรกไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อดยังใช้ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารเม็ดสำหรับลูกกบวันละ1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 กำมือ หรืออาจให้ไข่แดงบดเป็นอาหารแทนก็ได้ ซึ่งเฉลี่ยแล้วใช้วันละ 2-3 ฟองต่อลูกอ๊อด 1 ครอกเมื่อลูกอ๊อดมีอายุ 20-30 วัน จึงเป็นลูกกบเต็มวัย ในช่วงนี้ต้องนำไม้ไผ่มาทำเป็นแพหรือแผ่นโฟมลอยน้ำเพื่อให้ลูกกบเต็มวัยขึ้น ไปอาศัยอยู่ เพราะลูกอ๊อดจะโตเต็มวัยไม่พร้อมกัน อาจมีการรังแกกันจนเกิดแผลทำให้ลูกกบตายได้ ดังนั้น จึงต้องลงมือคัดลูกกบขนาดตัวยาว 2 เซนติเมตร ไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้ บ่อละ 1,000 ตัว

การดูแลและเลี้ยงกบเต็มวัยจนเป็นกบโต

           เมื่อคัดลูกกบนำไปเลี้ยงในบ่อแล้ว ใส่วัชพืชน้ำและวัสดุลอยน้ำลงไป เช่น แพไม้ไผ่หรือแผ่นโฟม เพื่อให้กบขึ้นไปอาศัยอยู่ และนำทางมะพร้าวมาคลุมบ่อเพื่อบังแดดด้วยในช่วงที่คัดลูกกบลงบ่อซีเมนต์ใหม่ ๆ นี้ ให้ใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบไประยะหนึ่งก่อนเมื่อกบโตขึ้นจึงค่อยให้ อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงกบโตวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ในอัตรา 3% ของน้ำหนักตัวกบ คือ ถ้ากบน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ก็ให้อาหารวันละ 3 กิโลกรัมในขั้นตอนนี้ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ก็สามารถจับกบจำหน่ายได้ 

ข้อแนะนำ
          1. การเลี้ยงกบต้องระวังเรื่องความสะอาดขณะสูบบุหรี่ใกล้บริเวณบ่อ  ระวังอย่าให้ขี้บุหรี่ตกลงไปในบ่อเด็ดขาด เพราะลูกกบจะตายยกบ่อ
          2. การเลี้ยงกบ  ต้องคัดลูกกบขนาดเท่ากันไปเลี้ยงในบ่อเดียวกันห้ามเลี้ยงลูกกบคนละขนาดเด็ด ขาด เพราะลูกกบจะกินกันเอง
          3. การเลี้ยงกบควรกะระยะเวลา 4 เดือน ในการจับจำหน่าย อย่าให้ตรงกับช่วงฤดูฝน เพราะกบราคาถูก
          4.  อาหารกบ นอกจากอาหารเม็ดแล้ว  สามารถใช้เนื้อปลาสับหรือเนื้อหอยโข่งก็ได้
          5. ก่อนที่จะปล่อยแม่พันธุ์กบลงผสมพันธุ์ ต้องสังเกตแม่พันธุ์กบว่าตัวเริ่มฝืด มีปุ่มหนาม แสดงว่าพร้อมจะผสมพันธุ์ หากปล่อยลงไปแล้ว 2-3 วัน ยังไม่เห็นไข่กบก็จับพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์มาแยกเลี้ยงอีกระยะหนึ่ง แล้วค่อยนำมาผสมพันธุ์ใหม่

เลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์