การปลูกมะเขือเปราะ

การเพาะกล้ามะเขือเปราะ

1.ให้เตรียมดินละเอียดพร้อมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 2:1 และใส่ดินผสมดังกล่าวลงในถาดพลาสติกเพาะกล้า

2.ใช้เศษไม้เล็กๆ (ขนาดเท่าไม้จิ้มผลไม้) กดลงไปในดินที่บรรจุอยู่ในถาดพลาสติกเพาะกล้า ขนาดความลึก 0.5 ซม.

3.นำเมล็ดมะเขือเปราะหยอดลงในหลุมปลูก หลุมละ 1-2 เมล็ด

4.กลบดินผิวหน้าเมล็ดไปจากถาดพลาสติกเพาะกล้าโดยใช้ปูนขาวโรยเป็นเส้นล้อมถาดเพาะไว้

5.หลังเพาะนาน 7-10 วัน มะเขือเปราะเริ่มงอก หมั่นรดน้ำต้นกล้ามะเขือเปราะทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเข้าและเย็นจนกระทั่งต้นกล้ามะเขือเปราะมีอายุ 25-30 วัน จึงย้ายกล้ามะเขือเปราะลงปลูกในกระถางหรือในแปลงปลูก

การเตรียมในแปลงหรือในกระถาง

1.ถ้าปลูกในแปลงควรเตรียมดินปลูก โดยใช้จอบขุดย่อยดินหน้าดินลึก 15-20 ซม. และย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอกหรือใส่ปุ๋ยหมัก หว่านและคลุกเคล้าให้เข้ากับดินในแปลง

2.ในกรณีปลูกในกระถาง ให้ผสมดินปลูกในกระถาง โดยใช้ดินร่วนละเอียดผสมกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 2:1

การดูแลรักษา
1.ย้ายกล้ามะเขือเปราะลงปลูกในแปลง หรือในกระถาง
2.รดน้ำทุกวัน และในช่วงการติดผลต้องระมัดระวังในน้ำอย่างสม่ำเสมอ
3.หลังย้ายปลูกแล้ว 7-10 วัน ให้ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1/4 ช้อนชา ควรโรยปุ๋ยห่างโคนต้นประมาณ 2-3 เซนติเมตรและรดน้ำทันที
4.ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราต้นละ 1/4 ช้อนชาทุกๆ 15 วัน
5.หลังย้ายปลูกนาน 45-60 วัน มะเขือเปราะเริ่มทยอยผลผลิต สามารถเก็บผลผลิตไปบริโภคได้
6.หลังจากที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตมะเขือเปราะไปแล้วประมาณ 2 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งออกบ้าง เพื่อทำให้ลำต้นมะเขือเปราะเจริญเติบโตแตกกิ่งก้านใหม่ที่มีความแข็งแรง จะให้ผลผลิตรุ่นใหม่ได้อีก และควรทำการตัดแต่งและบำรุงต้นมะเขือเปราะด้วยฮอร์โมนช้อนเงินเช่นนี้ทุกๆ 2-3 เดือน

การปลูกมะเขือเปราะ

                                    การปลูกสะระแหน่

การเตรียมดิน

ถ้าจะปลูกสะระแหน่ในภาชนะเช่น กระถางลังไม้ หรือจะปลูกเป็นสวนหย่อมประดับบ้าน ปลูกในแปลงประดับสวนเล็กๆ ที่ใช้เนื้อที่ปลูกไม่มากนักควรใช้ดินผสมที่มีส่วนผสมของดิน 2 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ทราย 1 ส่วน และปูนขาวเล็กน้อย ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วนำไปใช้ปลูกได้

การปลูก

เลือกกิ่งสะระแหน่ที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ปักจิ้มลงไปในแปลงเพาะชำทหรือแปลงปลูก ปักให้กิ่งเอนทาบกับดิน รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าให้ถึงกับแฉะแล้วโรยแกลบทับ กลบดินเพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้หน้าดิน และเมื่อแกลบผุก็จะกลายเป็นปุ๋ยต่อไป ประมาณ 4-5 วันก็จะแตกใบ แตกยอดเลื้อยคลุมดิน

ต้นสะระแหน่ชอบดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี และต้องการแสงสว่าง แต่ไม่ต้องการแดดที่ร้อนจัดจนเกินไป จะปลูกในที่ร่มรำไรหรือในที่แดดก็ได้

การดูแลรักษา

เมื่อสะระแหน่เจริญเติบโตจนเก็บยอดไปได้แล้ว ควรเติมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้บ้าง ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมี เพราะถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ต้นสะระแหน่เหี่ยวตาย การพรวนดินให้ต้นสะระแหน่ควรทำด้วยความระมัดระวัง เพราะสะระแหน่เป็นพืชที่มีระบบรากตื้น แผ่กระจายอยู่ตามหน้าดิน

การปลูกสะระแหน่

                                        การปลูกขิง

การปลูกขิง

การ ปลูกขิง ใช้เหง้าขิงหรือหัวพันธุ์จากขิงแก่อายุ 10-12 เดือน เอามาผึ่งลมให้แห้ง แล้วนำมาหั่นเป็นท่อนๆ ยาวท่อนละ 2 นิ้ว มีตาติดอยู่ 2-3 ตา ทำการปลูกในช่วงต้นฝนหรือก่อนฤดูฝนเล็กน้อย ในราวเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เตรียมดินโดยพรวนดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กากถั่ว เพื่อให้ดินโปร่ง ปุ๋ยคอกที่ใช้ต้องสะอาด ไม่นิยมใช้ขี้เป็ดขี้ไก่ เพราะจะทำให้ขิงเป็นจุดดำ ส่วนปุ๋ยเคมีจะทำให้เกิดโรคเน่า ไม่ควรใช้เด็ดขาด

ระยะปลูกระหว่างแถวระหว่างต้น 30×30 ซม. ขุดหลุมปลูกลึก 5-7 ซม. นำหัวพันธุ์มาปลูกในหลุม ตั้งด้านที่จะแตกหนอขึ้น กลบดินหนา 2-5 ซม. ใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมแปลงทั้งในร่องและสันร่อง เพื่อรักษาความชื่น เมื่อขิงอายุได้ 2 เดือน ใส่ปุ๋ยคอกและกลบดินที่โคน หลังจากนั้นอีก1เดือน ทำการกลบโคนอีกครั้ง เป็นการกระตุ้นให้ขิงแตกหน่อและช่วยให้แง่งขิงแข็งแรง
ขิงมีโรคเน่า โรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อรา มีศัตรูพวกหนอนกระทู้ เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย ไส้เดือนฝอย วิธีหลักๆ ในการป้องกันโรคแมลง คือ หมั่นดูแลอย่าให้น้ำท่วมขัง อย่าปลูกขิงชิดกันเกินไป และย้ายที่ปลูกใหม่ทุกๆ ปี

 

การปลูกขิง

                                        การปลูกขนุน

1. การเตรียมดิน

1.1 ในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เช่นที่ราบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ การปลูกขนุนในที่ ดังกล่าวต้องยกร่องเสียก่อน เช่นเดียวกับร่องผัก หรือร่องสวนในที่ลุ่ม เพื่อป้องกัน ไม่ให้น้ำท่วมถึงโคนต้นได้ ขนาดของร่องกว้างประมาณ 4-6 เมตร คูน้ำกว้าง 1.5 เมตร ส่วนความยาวของร่องขึ้นอยู่ กับขนาดของพื้นที่และความต้องการ ความสูง ของร่องยิ่งสูงมากยิ่งดี รากขนุนจะได้หยั่งลึกและเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อขุดยกร่อง เสร็จแล้วทำการปรับปรุงดินให้ร่วนซุยโดยการขุดตากดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เพราะดินในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมักจะเป็นดินเหนียว จัด ไม่ค่อยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้น ในที่ซึ่งเห็นว่าดินยังไม่ ดีพอ ดินยังเหนียวอยู่มาก ควรจะปลูกพืชพวกรากตื้น ๆ หรือปลูกผักก่อนสัก 2-3 ปีแล้วจึงปลูกขนุน ส่วนในที่เป็นร่องสวนเก่ามีคันคูอยู่แล้ว เคยปลูกพืชอย่างอื่นจนดินร่วนซุยดี แล้วก็อาจจะทำการปรับปรุงดินอีกเล็กน้อยแล้วลงมือปลูกได้เลย
1.2 ในพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง ที่ป่า ที่เขา ถ้าเป็นที่ ๆ เคยปลูกพืชอย่างอื่น อยู่แล้วก็ไม่ต้องเตรียมดินมาก เพราะที่จะโล่งเตียนอยู่แล้ว เพียงแต่ปรับปรุงหน้าดิน โดยการไถพรวน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักให้ดินดีขึ้น ส่วนที่เป็นป่าเปิดใหม่ต้องถางที่ให้ โล่งเตียน ไม่ให้มีไม้อย่างอื่นปนอยู่ ถ้าไถพรวนได้สักครั้งสองครั้งก็จะเป็นการดี ที่ดังกล่าวมักเป็นดินที่ร่วนชุยอยู่แล้ว ในที่บางแห่ง เช่นป่าเปิดใหม่มักจะมีอินทรีย์วัตถุ อยู่มากตามธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องหามาเพิ่มเติม ส่วนในที่ ๆ เห็นว่าเป็นทรายจัด อินทรียวัตถุค่อนข้างน้อยก็ควรใส่เพิ่มโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น มูลสัตว์ ต่าง ๆ เศษใบไม้ใบหญ้าที่แห้งผุพัง กากถั่ว เปลือกถั่ว เป็นต้น หรือจะปรับปรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยพืชสดก็ได้โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วไถกลบให้ต้นถั่วสลายตัวผุพัง อยูในดิน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี ทำให้ดิน อุ้มน้ำดี เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นขนุน
2. การขุดหลุมปลูก

การปลูกทั้งแบบยกร่องและแบบปลูกในที่ดอน ควรปลูกเป็นแถวเป็น แนว เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา และการปฎิบัติงานสวน ระยะห่างระหว่างต้นหรือ ระหว่างหลุมคือ 8x10 เมตร หรือ lOx l2 เมตร เป็นระยะที่เหมาะสำหรับการปลูก แบบไร่ หรือถี่กว่านี้ขี้นอยู่กับพันธุ์และความเหมาะสมต่าง ๆ ส่วนการปลูก แบบร่อง ต้นขนุนมักมีขนาดเล็กกว่าการปลูกแบบไร่ ระยะห่างระหว่างต้นอาจ ถี่กว่านี้ก็ได้

ขนาดของหลุมปลูก ให้ขุดหลุมขนาด กว้าง ยาว ลึก 50-100 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินดีร่วนซุยมีพวกอินทรีย์วัตถุมาก ขุดหลุมขนาด 50 เซนติเมตรก็พอ ส่วนที่ดินไม่ค่อยดีให้ขุดหลุมขนาดใหญ่ เพื่อจะ ได้ปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้ดีขึ้น ทำให้รากเจริญเติบโตได้ดี ดินที่ขุดขึ้นมาจาก หลุมนั้นให้แยกเป็นสองกอง คือดินชั้นบนกองหนึ่งและดินชั้นล่างอีกกองหนึ่ง ตากดินที่ขุดขี้นมาประมาณ l5-20 วัน แล้วผสมดินทั้งสองกองนั้นด้วยปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก แล้วกลบดินลงในหลุมตามเดิมโดยให้ดินชั้นบนลงไว้ก้นหลุม และดิน ชั้นล่างกลบไว้ด้านบน ดินที่กลบลงไปจะสูงเกินปากหลุม ปล่อยทิ้งไว้ให้ดินยุบตัวดี เสียก่อนจึงจะลงมือปลูก

3. วิธีปลูก

การปลูกไม่ว่าจะปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งทาบ หรือต้นที่เพาะเมล็ดก็ ตาม ให้ทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รากขาดมากต้นจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นขนุนที่ปลูกไว้ในภาชนะนาน ๆ ดินในภาชนะจะจับตัวแข็งและรากจะพันกัน ไปมา เวลาปลูกเมื่อเอาออกจากกระถางแล้วให้เอามือบิดินก้นภาชนะ ให้แยกออกจาก กันเล็กน้อยและค่อย ๆ คลี่รากที่ม้วนไปมาให้แยกจากกัน เพื้อจะได้เติบโตต่อไป อย่างรวดเร็ว
3.1 การปลูกด้วยกิ่งทาบ อย่ากลบดินจนมิดรอยต่อของกิ่ง ให้ปลูกใน ระดับเดียวกับดินในกระถางเดิมหรือสูงกว่าเดิมเพียงเล็กน้อยแต่ไม่มิดรอยต่อ เพื่อจะได้มองเห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้นเป็นกิ่งของต้นตอหรือของกิ่งพันธุ์ ถ้า แตกออกมาจากต้นตอให้ตัดทิ้งไปเพราะเป็นกิ่งที่ไม่ต้องการ
3.2 การปลูกด้วยกิ่งตอน ให้กลบดินให้เสมอดินเดิมในภาชนะ หรือให้ เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนโผล่อยู่ อย่ากลบดินจนมิดจุกมะพร้าวเพราะทำให้ ต้นเน่าได้ง่าย

เมื่อปลูกเสร็จให้หาไม้มาปักเป็นหลักผูกต้นกันลมโยกแล้วรดน้ำทันทีให้ โชก ควรใช้ทางมะพรัาวช่วยคลุมแดดให้บ้างในระยะแรก เพราะถ้าโดนแดดจัดต้นอาจจะ เฉาชะงักการเจริญเติบโตได้ หลังจากปลูกแล้วให้คอยดูแลรดน้ำอยู่เสมอ ถ้าฝน ไม่ตกการใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมบริเวณโคนต้นจะช่วยรักษาความชื้นของดินได้ดี
3.3 การปลูกพืชแซม การปลูกขนุนด้วยกิ่งตอนและกิ่งทาบจะใช้เวลา ประมาณ 3-4 ปีกว่าจะให้ผล และการปลูกด้วยเมล็ดใช้เวลาประมาณ 4-6 ปี ใน ระหว่างที่ต้นขนุนยังเล็กอยู่นี้ ควรปลูกพืชอย่างอื่นที่มีอายุสั้น ๆ เป็นการหารายได้ไป พลาง ๆ ก่อน ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์อะไร แล้ว ยังต้องคอยดายหญ้าอยู่เสมออีกด้วย วิธีหนึ่งที่นิยมทำกันมากคือ ก่อนจะปลูก ขนุนควรปลูกกล้วยเสียก่อน เมื่อกล้วยโตพอสมควรจึงปลูกขนุนตามลงไป ซึ่งกล้วย จะช่วยเป็นร่มเงาให้ขนุนไม่โดนแดดมากเกินไป และทำให้สวนชุ่มชื้นอยู่เสมอ ต้นขนุนจะโตเร็ว จนเห็นว่าต้นขนุนโตพอสมควร ก็ทยอยขุดกล้วยออก การ ปลูกกล้วยก่อนนี้เป็นวิธีที่นิยมในการปลูกไม้ผลทั่วไป แต่มีข้อเสียตอนขุดรื้อ ต้นกล้วยออก เพราะต้องใช้แรงงานมากเช่นกัน

การดูแลรักษาหลังปลูก
การดูแลรักษา
1. การให้น้ำ
สัปดาห์แรกหลังจากปลูก ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำให้ทุกวัน หลังจากนั้น ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำ 3-4 วันต่อครั้ง และตลอดฤดูแล้ง ถ้าเห็นว่าดินแห้งเกินไป ต้องรดน้ำช่วยจนกว่าต้นขนุนมีอายุ 1 ปีขึ้นไป จีงจะปลอดภัยการให้น้ำอาจ ห่างออกไปบ้างก็ได้ การปลูกโดยทั่วไปมักให้น้ำเพียง 1-2 ครั้งแล้วปล่อยตามธรรมธาติ ก็สามารถเจริญเติบโตให้ดอกให้ผลได้เช่นกัน เพราะโดยปกติขนุนเป็นพืชที่ทนแล้ง อยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามการปลูกเพือให้ได้ผลอย่างเต็มที่นั้นควรให้น้ำอยู่อย่าง สม่ำเสมอ ในฤดูแล้งหรือช่วงที่ขาดฝนนาน ๆ ควรให้น้ำช่วยบ้าง จะทำให้ต้นเจริญ เติบโตอย่างสม่ำเสมอ ไม่ชะงักการเจริญเติบโต
เมื่อขนุนโตขนาดให้ผลแล้ว ในระยะที่ขนุนตกดอกให้งดน้ำชั่วระยะ หนึ่ง เมื่อดอกบานและติดผลแล้ว จึงให้น้ำให้มากเพื่อบำรุงผลให้เติบโตและมี คุณภาพดี หลังจากที่ติดผลแล้ว ถ้าขาดน้ำผลจะมีขนาดเล็ก การเติบโตของผลไม่สม่ำ เสมอ ผลอาจแป้ว เบี้ยว และเนื้อบาง การให้น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง
2. การปราบวัชพืช
การกำจัดวัชพืชต้องกระทำอยู่เสมอ เพราะวัชพืช ต่าง ๆ จะคอยแย่ง อาหารจากต้นขนุน และการปล่อยให้สวนรกรุงรังจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและ แมลงต่าง ๆ ที่จะทำลายขนุนอีกด้วย การปราบวัชพืชทำได้โดยการถางหรือใช้ ยาปราบวัชพืช หรือโดยการปลูกพืชคลุมดินเป็นวิธีที่ควรปฎิบัติอย่างหนึ่ง เพราะพืช คลุมดินนอกจากจะป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นแล้ว ยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นของ ดิน ทำให้ดินไม่แห้งเร็ว ไม่ต้องให้น้ำบ่อย ๆ ช่วยให้ดินร่วนชุย และใบที่ร่วงหล่นจะ ผุพังเป็นประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้พืชคลุมดินยังช่วยป้องกันการชะล้างของดินอัน เนื่องจากฝนตก โดยเฉพาะการปลูกตามที่ลาดเอียง พืชคลุมดินที่ควรใช้ปลูกคือพวก ถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วผี เป็นต้น ถั่วเหล่านี้จะมีเถาอาจเลื้อยพันขี้นไปบนต้น ขนุน ต้องหมั่นดูแลและคอยตัดออกโดยเฉพาะบริเวณเรือนพุ่มต้องคอยตัดคอย ถาง อย่าให้พืชคลุมดินขึ้นบริเวณโคนต้น พืชคลุมดินนี้เมื่อปลูกไปนาน ๆ ก็ไถกลบ ดินเสียครั้งหนึ่งแล้วปลูกใหม่จะช่วยให้ดินดียิ่งขึ้น การปราบวัชพืชนี้ถ้าไม่ปลูกพืช คลุมดินก็ควรปลูกพืชแซมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
3. การให้ปุ๋ย
ขนุนเป็นพืชที่ไม่เลือกดินปลูกนัก สามารถปลูกได้ในดินทั่วไป แต่ถ้าดิน นั้นอุดมสมบูรณ์มีธาตุอาหารเพียงพอ ต้นขนุนจะเจริญได้ดี ให้ผลดกและผลมี คุณภาพดี การปรับปรุงดินให้ร่วนซุยและการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินจึงเป็นสิ่งควรปฎิ บัติ ปุ๋ยที่ใช้แบ่งเป็นสองพวกคือ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได้แก่ มูลสัตว์ต่าง ๆ ใบไม้ใบหญ้าที่ ผุพัง และอื่น ๆ รวมทั้งปุ๋ยพืชสดที่ได้จากการปลูกพืชพวกถั่วแล้วไถกลบลงไปใน ดิน ปุ๋ยพวกนี้แม้จะไม่มีธาตุอาหารที่พืชต้องการมากนักแต่ก็มีประโยธน์ต่อพืชที่ ปลูก หลายอย่างดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นปุ๋ยที่ให้ประโยชน์แก่พืชอย่างรวดเร็วและมีธาตุ อาหารในปริมาณมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ในดินที่ค่อนข้างขาดธาตุอาหาร จึงควรให้ปุ๋ย วิทยาศาสตร์แก่ต้นขนุนบ้างจะทำให้การเจริญเติบโตดี ให้ผลดก และคุณภาพของ ผลดี การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาอยู่บ้าง การใช้อาจใช้ตั้งแต่ระยะ ที่ต้นยังเล็กอยู่เป็นการเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก โดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมชัลเฟต 2-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 1 ปี๊บรดที่ต้นเดือนละ 2 ครั้ง จะช่วยให้ต้นโตเร็ว เมื่อนำ ต้นปลูกลงแปลงในสวน ควรใช้ปุ๋ยฟอสเฟต หรือกระดูกป่นใส่รองก้นหลุมจะช่วยให้ ต้นเจริญเติบโตได้ดี เมื่อต้นโตจนให้ผลแล้ว ควรทำรางดินรอบ ๆ เป็นวงกลมในรัศมี ของกิ่งที่แผ่รอบต้นแล้วใส่พวกปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในรางดินและเติมปุ๋ยวิทยา ศาสตร์ ลงไปด้วย จะได้ผลดียิ่งขี้น ปุ๋ยที่ใช้อาจใช้สูตร 15-15-15 หรือ 16- l6-16 เป็นหลัก
เนื่องจากขนุนเป็นไม้ผลที่มีขนาดใหญ่ รากสามารถหยั่งลงดินได้ ลึก และหาอาหารได้ไกล ดังนั้นการปรับปรุงดินในแปลงปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์ จะทำให้ดินดี มีความร่วนซุยอยู่เสมอ ซึ่งเป็นการเพียงพอสำหรับการปลูกขนุน นอก จากที่ ๆ ดินขาดธาตุอาหารมาก ๆ จึงควรปรับปรุงด้วยการเพิ่มปุ๋ยวิทยาศาสตร์ด้วย

การปลูกขนุน

                                   การปลูกผักกาดหอม

การเตรียมดิน

ผักกาดหอมเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ได้ผลดีที่สุดในดินร่วน เพราะมีการระบายน้ำและอากาศดี ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มีความชื้นในดินพอสมควร ชอบแดดจัด แปลงปลูกควรมีแสงเต็มที่ตลอดทั้งวัน ผักกาดหอมใบชอบอุณหภูมิประมาณ 21-26 องศาเซลเซียส ส่วนผักกาดหอมห่อหัวจะชอบอุณหภูมิประมาณ 15.5-21 องศาเซลเซียส

แปลงเพาะกล้า ใช้สำหรับการปลูกผักกาดหอมห่อหัวเท่านั้น ส่วนผักกาดหอมใบสามารถหว่านเมล็ดลงแปลงปลูกได้โดยตรง เตรียมแปลงเพาะกล้าด้วยการไถพลิกดินลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้ทั่ว พรวนย่อยหน้าดินให้ละเอียดแล้วจึงโรยเมล็ดลงเพาะ ใช้แปลงเพาะกล้าขนาด 2-2.5 ตารางเมตรสำหรับการปลูกผักกาดหอม 1 ไร่

แปลงปลูก ควรไถพลิกดินลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ตากดินไว้7-10 วัน แล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วประมาณ 2-3 ตันต่อไร่ คลุกให้เข้ากับดิน พรวนย่อยหน้าดินให้ละเอียดแล้วจึงหว่านเมล็ดหรือนำต้นกล้ามาปลูก
การเพาะกล้า

การเพาะกล้าผักกาดหอมห่อสำหรับปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 50 กรัม (ประมาณ 4 หมื่นเมล็ด) หลังจากเตรียมแปลงเพาะแล้วให้หว่านเมล็ดลงบนแปลงให้กระจายไปทั่วแปลง หรือจะใช้วิธีโรยเป็นแถว ระยะห่างแถวประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วใช้ดินที่ผสมกับปุ๋ยคอกโรยทับบางๆ คลุมด้วยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่ม เมื่อกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ ให้ถอนออกบ้างเพื่อไม่ให้เบียดกันเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดโรคโคนเน่า ต้นกล้าอ่อนแอและตายได้ง่าย เมื่อต้นกล้ามีอายุ 25-30 หรือมีใบจริง 3-4 ใบ จึงย้ายลงปลูกในแปลง
การปลูก

ฤดูปลูกผักกาดหอมในประเทศไทยนั้น ผักกาดหอมใบสามารถปลูกได้ตลอดปี ส่วนผักกาดหอมห่อหัวปลูกได้ผลดีในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

การปลูกผักกาดหอมใบ ใช้วิธีหว่านเมล็ดให้กระจายทั่ว ทั้งผิวแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หรือโรยเมล็ดลงในแปลงเป็นแถวก็ได้ ก่อนหว่านเมล็ดควรคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรา เช่น แคปแทนหรือไธแรม เพื่อป้องกันโรคเน่าคอดิน หลังจากหว่านเมล็ดแล้วให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหว่ากลบหนา ประมาณ 1/2-1 เซนติเมตร แล้วคลุมดินด้วยหญ้าแห้งหรือฟางแห้งสะอาดบางๆ รดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียด

เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ ให้ถอนต้นที่อ่อนแอทิ้ง ไม้ให้ต้นแน่นทึบเกินไป จัดระยะระหว่างต้น 20×20 เซนติเมตร หรือ 30×30 เซนติเมตร หากปลูกในช่วงหน้าร้อนควรมีการคลุมแปลงปลูกเพื่อพรางแสงแดด จะทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น โดยใช้ไม้ไผ่หรือไม้ทำโครงสูง 2-2.5 เมตร แล้วใช้ไม้ไผ่พาดและมุงด้วยทางมะพร้าว

สำหรับเมล็ดพันธุ์ที่ใช้หว่านในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ประมาณ 1-2 ลิตร แต่ถ้าใช้วิธีหยอดเมล็ดเป็นแถวโดยมีระยะระหว่างแถวประมาณ 20 เซนติเมตร จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 100-160 กรัมต่อไร่

การปลูกโดยการย้ายกล้าปลูก ก่อนย้ายกล้าประมาณ 2-3 วัน ควรงดการให้น้ำ เพื่อให้ต้นกล้าแกร่งไม่เปราะง่าย ควรย้ายกล้าในช่วงเวลาบ่ายถึงเย็น หรือช่วงที่อากาศมืดครึ้ม ก่อนย้ายต้นกล้าให้รดน้ำพอดินเปียกเพื่อให้ถอนได้ง่าย การย้ายควรทำด้วยความระมัดระวังเพาะต้นกล้าบอบช้ำง่าย การถอนไม่ควรใช้วิธีจับต้นดึงขึ้น ทางที่ดีควรหาแผ่นไม้บางๆ หรือเสียมเล็กๆ แทงลงไปในดินแล้วงัดขึ้นมาให้ดินเป็นก้อนติดกับต้นกล้าให้มากที่สุด แล้วรีบนำไปปลูกให้เร็วที่สุด ควรเลือกเฉพาะต้นที่แข็งแรงสมบูรณ์ไปปลูก ระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวที่เหมาะสมคือผักกาดหอมใบใช้ระยะ 25×30 เซนติเมตร ผักกาดหอมห่อหัวหัวใช้ระยะปลูก 40×40 เซนติเมตร

การปลูกที่ถูกวิธีคือ ใช้มือจับใบเลี้ยงคู่แรกใบใดใบหนึ่งแล้วหย่อนโคนลงไปในหลุม แล้วกลบดินลงไปให้เสมอระดับหลังแปลง กดดินให้จับรากพอสมควร จากนั้นใช้บัวฝอยละเอียดรดน้ำรอบๆ ต้นให้น้ำค่อยๆ ไหลไปหากันที่หลุม อย่ารดกรอกไปที่ต้น ถ้าเตรียมดินปลูกดีน้ำจะซึมไหลลงหลุมเร็วที่สุด คลุมดินรอบๆ โคนต้นด้วยฟางหรือหญ้าแห้งสะอาดบางๆ เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน เมื่อปลูกเสร็จแล้วควรทำร่มบังแดดให้ในวันรุ่งขึ้น อาจใช้กะลาครอบกาบกล้วยเสียบไม้บัง หรือใช้ไม้บังรอบๆ หรือใช้กระทงใบตอบปิดก็ได้ ควรปิดบังแดดไว้ประมาณ 3-4 วัน จึงเอาออก เพื่อช่วยให้ต้นกล้าฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
การดูแลรักษา

การให้น้ำ ผักกาดหอมเป็นผักรากตื้น จึงควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ โดยในระยะ 2 สัปดาห์แรกหลังจากย้ายปลูกควรให้น้ำทุกวันในตอนเช้าและเย็น โดยใช้บัวฝอยละเอียดรดรอบๆ โคนต้น ไม่รดจนแฉะเกินไป และให้น้ำแบบวันเว้นวันในสัปดาห์ต่อๆ มา สำหรับผักกาดหอมห่อหัว การให้น้ำควรดูจากสภาพความชื้นในดินเป็นหลัก โดยมีข้อควรระวังคือระยะที่กำลังห่อหัวไม่ควรให้น้ำไปถูกหัวเพราะอาจทำให้ เกิดโรคเน่าเละได้

การใส่ปุ๋ย ช่วงเตรียมดินควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองพื้นประมาณ 2-3 ตันต่อไร่ ควรใส่ปุ๋ยยูเรียเมื่อผักกาดหอมอายุได้ 7 วัน โดยละลายน้ำรดในอัตรา 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ ต่อเนื้อที่ 5 ตารางเมตร รดวันเว้นวัน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก

เมื่อผักกาดหอมอายุได้ 15-20 วัน ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สำหรับพันธุ์ใบ และใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-13 สำหรับพันธุ์ห่อหัว ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย ผักกาดหอมต้องการธาตุโปแตสเซียมมากกว่าไนโตรเจน โปแตสเซียมจะช่วยให้ใบผักกาดหอมบางและไม่มีรอยจุดบนใบ หากได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไปใบจะมีสีเขียว รสชาติไม่อร่อย

การใส่ปุ๋ยผักกาดหอมพันธุ์ใบควรใส่หมดในครั้งเดียวตอนเตรียมดินปลูก แต่สำหรับผักกาดหอมห่อหัวควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือครั้งแรกใส่ประมาณ 2 ใน 3 ส่วน โดยใส่ตอนปลูกแล้วพรวนดินกลบ ส่วนที่เหลือใส่เมื่ออายุได้ 21 วัน โดยโรยข้างต้นห่างๆ แล้วพรวนดินกลบ

การปลูกผักกาดหอม

                                          การปลูกผักกาดหัว(หัวไชเท้า)

 การเตรียมดิน
 1.ขุดดินให้มีความร่วนซุยและลึก ประมาณ 1 ฟุต
 2. ไถพรวนผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลง 2 กก.ต่อ 1 ตร.ม. ผสมแกลบดำ  1 ถุงปุ๋ย
 3. ดินไม่ควรมีกรวด หิน รากไม้ เศษไม้ เพราะทำให้หัวผักกาด คด งอ


การปลูกและการดูแลรักษา
  1. แปลงกว้าง 1 เมตร ควรปลูก  3 แถว ใช้ไม้ขีดป็นร่องเล็ก ๆ หยอดเมล็ด ห่างกัน 5-6 นิ้ว ใช้มือกลบดินบาง ๆ
  2. คลุมแปลงด้วยฟางเห็งแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
  3. เมื่อต้นผักกาดมีใบจริง 3-4 ใบให้ถอดต้นถี่ ๆ ออกแต่ละต้นควรห่างกัน 5-6 นิ้ว
  4. เติมปุ๋ยหมักชีวภาพในสัปดาห์ที่ 3 และ 5 ประมาณ 300-400 กรัมต่อ 1 ตร.ม. โรยระหว่างแถว
  5. ผักกาดไม่เกิน 45 วันรสชาติจะอร่อย
  6. ควรฉีดน้ำสะเดาหมัก ตั้งแต่มีใบจริงใบแรก ป้องกันเพลี้ย และหมัดเจาะทำลาย

การปลูกผักกาดหัว (หัวไซเท้า)

                                            มะละกอพันธุ์ครั่ง

ลักษณะประจำพันธุ์ของมะละกอพันธุ์ครั่ง

จาก การคัดเลือกพันธุ์ยังพบว่าเมล็ดมะละกอพันธุ์ครั่ง ยังมี 3 เพศ ต้นกะเทย ต้นตวเมีย และต้นตัวผู้ ดังนั้น เกษตรกรที่ได้เมล็ดไปปลูกจะต้องมีการคัดเลือกต้นในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่ามะละกอพันธุ์ครั่งจะมีลักษณะเหมือนมีมะละกอ 2สายพันธุ์อยู่ภายในต้นเดียวกัน คือระยะต้นเล็กจะมีสีแดงอมม่วง บริเวณก้านใบและมีจุดตามลำต้นคล้ายกับมะละกอพันธุ์โกโก้ เมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่สีเหล่านั้นจะหายไป ในขณะที่พันธุ์โกโก้และจุดยังคงเดิม และเมื่อผลสุกเนื้อมะละกอพันธุ์ครั่งจะมีสีเหลืองอมส้มคล้ายกับมะละกอพันธุ์ สายน้ำผึ่ง มะละกอพันธุ์ครั่งที่คัดพันธุ์ขึ้นมาใหม่นี้จะเป็นมะละกอต้นเตี้ย มีลักษณะผลใหญ่และยาว(ต้นกะเทย)บริเวณผลจะมีร่องข้างผลยาวตลอดตั้งแต่หัวไป ยังท้ายผล เมื่อผ่าดูลักษณะภายในจะมีความหนาของเนื้อประมาณ 2 เซนติเมตร สีของเนื้อมีสีขาวขุ่นและไม่แข็งกระด้าง รสชาติหวานกว่าพันธุ์แขกนวล จากการศึกษาในแปลงปลูกของทางราชการหรือในแปลงปลูกของเกษตรกรหรือแม้แต่ใน แปลงปลูกของแผนกฟาร์มชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตรพบว่ามะละกอพันธุ์ครั่งมีความต้านทานต่อโรค ไวรัส จุดวงแหวนได้ดีระดับหนึ่ง

การปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในเชิงพาณิชย์
เกษตรกรจะต้องเริ่มต้นด้วยการเพาะเมล็ดมะละกอพันธุ์ครั่งอย่างถูกวิธีเสียก่อน

การเพาะเมล็ดมะละกอพันธุ์ครั่ง

ด้วย การใช้วัสดุเพาะที่มีสัดส่วนของหน้าดิน 2 ส่วน ขี้เถ้าแกลบ 2 ส่วน แกลบดิบ 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน และขุยมะพร้าว 1 ส่วน ให้แช่เมล็ดมะละกอไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง จากนั้นนำมาแช่ในน้ำอุ่น(ใช้มือจุ่มลงไปในน้ำรู้สึกว่าไม่ร้อน) นานประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นการงอกของเมล็ด

การเตรียมแปลงและระยะปลูกมะละกพันธุ์ครั่ง

แปลง ที่จะใช้ปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งควนจะยกแปลงลูกแบบลูกฟูกหรือร่องลอยให้มีความ กว้างของแปลง 6 เมตร ใน 1 แปลงปลูก จะปลูก 2 แถวคู่ ระยะปลูกระหว่างต้น 2.5 เมตร ระหว่างแถว 3 เมตร พื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะปลูกมะละกอครั่งได้ ประมาณ 192 ต้น มีเกษตรกรบางรายจะยกแปลงเป็นลูกฟูกและจะปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งเพียงแถวเดียว โดยใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร หรือต้องการให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดีอาจจะปรับระยะปลูกเป็น 3.5 x 3.5 เมตร ก็ได้ แต่ละหลุมปลูกควรปลูก 2-3 ต้น เพื่อคัดต้นตัวผู้ทิ้ง(ซึ่งพบน้อยมาก) แต่ถ้าจะปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ ควรคัดต้นตัวเมียทิ้งด้วย แต่สำหรับเกษตรที่ปลูกเพื่อผลิตเป็นมะละกอดิบขายไม่จำเป็นต้องตัดต้นตัวเมีย ทิ้ง เนื่องจากทรงผลจะออกยาวไม่กลมเหมือนกับมะละกอพันธุ์แขกนวลหรือพันธุ์แขกดำ

สภาพดินและการปลูกมะละกอพันธุ์ครั่ง
ถ้า เป็นดินร่วนปนทราย เกษตรกรไม่ควรขุดหลุมปลูกให้มีความลึกเกิน 30 เซนติเมตร แต่ควรจะขุดหลุมให้กว้างๆ เพราะเมื่อมีการให้น้ำดินจะยุบตัวทำให้หลุมปลูกระบายน้ำไม่ได้ ผลที่ตามมาจะทำให้โคนโคนและรากมะละกอเน่าได้ เกษตรกรที่ไม่ต้องการให้ต้นมะละกอพันธุ์ครั่งสูงควรจะโน้มต้นลงเพื่อป้องกัน การหักล้มในช่วงที่มีการติดผลดก ในสภาพพื้นที่ปลูกที่อยู่ในพื้นที่สูงและมีสภาพลมแรงไม่มีไม้บังลม เกษตรกรจำเป็นจะต้องโน้มต้นลงเมื่อต้นมะละกอมีอายุได้ 1 เดือน เกษตรกรที่ปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งควรจะคลุมโคนต้นด้วยฟางข้าวหรือเศษหญ้า

หลัง จากต้นมะละกอมีอายุได้ 1 เดือนเริ่มใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 หรือ 19-19-19 ใส่ให้ต้นละ 50-100 กรัม ปัจจุบันราคาปุ๋ยเคมีมีราคาแพงมากขึ้น เกษตรกรอาจจะสลับมาใส่ปุ๋ยคอกสลับบ้าง เช่นปุ๋ยขี้ไก่ โดยใส่ปุ๋ยเคมีเหลือเพียงเดือนละ 1 ครั้งก็พอ และใส่ให้ต้นละประมาณ 1 กำมือ

อย่าง ไรก็ตาม น้ำจัดเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการปลูกมะละกอพันธุ์ครั่ง ตั้งแต่เริ่มหลุมปลูกจนเก็บเกี่ยวผลดิบขาย อย่าปล่อยให้ต้นมะละกอขาดน้ำ จะมีการติดตั้งระบบการให้น้ำแบบมินิสปริงเกอร์ต้นละ 1 หัว ก็ได้หรืออาจจะให้น้ำแบบปล่อยตามร่องจะให้3-5วันต่อครั้งก็ได้ หลังจากที่ลงหลุมปลูกแล้วถ้าเป็นไปได้ใต้ต้นมะละกอทุกต้นควรจะคลุมด้วยฟาง ข้าวเพื่อลดปริมาณวัชพืชและช่วยรักษาความชื้นในดิน ในทางปฏิบัติการใช้สารป้องกันและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกมะละกอยังมีข้อจำกัด และเกษตรกรจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ แม้แต่สารในกลุ่มไกลโฟเสก็ตามอาจจะมีผลข้างเคียงกับต้นมะละกอพันธุ์ครั่งได้

ความแตกต่างระหว่างการปลูกมะละกอพันธุ์ครั่ง หลุมละ 1 ต้น และ 2 ต้น

ใน การคัดเลือกต้นมะละกอพันธุ์เมื่อเริ่มมีการออกดอกและติดผลให้คัดต้นตัวผู้ ทิ้งเท่านั้น ซึ่งมีน้อยมาก ต้นตัวเมียถึงแม้จะให้ลูกกลมแต่ก็กลมไม่มาก และมีความยาวของผลพอสมควรขายเป็นมะละกอดิบเพื่อทำส้มตำได้ การปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งเพียงหลุมละ 1 ต้น จะได้ต้นมะละกอที่มีลำต้นที่อวบอ้วน ขนาดของผลจะใหญ่และสมบูรณ์มากในขณะที่ปลูกหลุมละ 2 ต้น ถึงแม้ต้นจะยังคงมีความสมบูรณ์ แต่ขนาดของลำต้นเล็กกว่าเนื่องจากแย่งอาหารกันมีผลทำให้มะละกอมีขนาดเล็ก เรียวยาวและน้ำหนักผลน้อยกว่า แต่เป็นข้อดีตรงที่ผลมะละกอดิบไม่ใหญ่จนเกินไป

เทคนิคการทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่ง

มะละกอ พันธุ์ครั่ง จะให้ผลผลิตและเก็บจำหน่ายผลดิบหลังจากที่ย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลง 5-6 เดือน จากการสังเกตลักษณะของการออกดอกและติดผลของมะละกอสายพันธุ์นี้คือ ในช่วงเดือนที่ 9 หลังการปลูกลงดินผลผลิตจะหมดในรุ่นแรกหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหมดคอแรก ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะเหมาะที่จะตัดต้นมะละกอพันธุ์ครั่งแล้วเลี้ยงยอด ใหม่หรือเรียกว่าวิธีการทำสาวหลังจากตัดต้นทำสาวเพียง 3 เดือน เท่านั้น ขอดใหม่ของมะละกอพันธ์ครั่งจะเริ่มออกดอกและเก็บเกี่ยวผลผลิตขายได้ในเวลา ต่อมา ข้องดีของการทำสวนมะละกอพันธุ์ครั่งจะทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตง่าย เพราะมะละกอมีต้นเตี้ยเหมือนกับต้นที่ปลูกใหม่และส่งผลต่อการดูแลรักษาที่ ง่ายขึ้น การทำสาวมะละกอจะยังคงรักษาพันธุ์เดิมไม่มีการกลายพันธุ์ถ้าปลูกในครัวเรือน ไม่ต้องปลูกใหม่ทุกปี

สำหรับเกษตรกรที่ปลูกมะละกอพันธุ์ครั่งในเชิง พาณิชย์ สามารถกำหนดการให้ผลผลิตได้โดยวิธีการทำสาว สามารถกำหนดให้มะละกอมีจำหน่ายได้ในช่วงหน้าแล้ง(ในช่วงฤดูแล้งราคามะละกอ ดิบจะมีราคาแพงที่สุดคือตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมาจนถึงเทศกาลสงกรานต์ใน ช่วงเวลาดังกล่าวบางปีราคามะละกอดิบขายจากสวนมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 8-15 บาท โดยเกษตรกรนับถอยหลังไปราว 4-5เดือน และตัดต้นมะละกอทำสาวในช่วงเวลานั้น เช่น จะให้ต้นมะละกอพันธุ์ครั่งให้ผลผลิตขายได้ในเดือนมกราคม ให้ตัดต้นมะละกอเพื่อทำสาวในช่วงเดือนกรกฎาคม- สิงหาคม เป็นต้น


วิธีการทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่ง

แนะ นำให้เกษตรกรตัดต้นมะละกอพันธุ์ครั่งสูงจากพื้นดิน 50 เซนติเมตร เหตุผลที่จะต้องตัดที่ความสูงระดับนี้เผื่อเอาไว้ให้ลำต้นมะละกอต้องผุ เปื่อยเน่าลงมาอีกประมาณ 1 คืบมือ หลังจากตัดต้นมะละกอแล้วไม่จำเป็นจะต้องทายาเชื้อราหรือปูนแดง เนื่องจากลำต้นมะละกอจะผุเปื่อยลงไปจนถึงจุดทียอดตาใหม่จะแตกออกมาเกษตรกร อาจจะสงสัยว่าเมื่อตัดต้นมะละกอแล้วจำเป็นจะต้องเอาถุงพลาสติกมาคลุมต้น มะละกอเพื่อป้องน้ำหรือฝนที่จะทำให้ต้นเน่าได้หรือไม่ ความจริงแล้วถ้าเกษตรกรใช้ถุงพลาสติกมาคลุมรอยแผลจะทำให้ต้นเน่าได้ง่ายขึ้น เนื่องจากน้ำที่ระเหยจากลำต้นจะไปเกาะติดที่พลาสติกจนน้ำขังภายในลำต้น ไม่มีการระบายน้ำออก จะส่งผลให้ลำต้นเน่าแต่ถ้าตัดต้นแล้วปล่อยไว้ตามธรรมชาติไม่ต้องทำอะไร เมื่อมีฝนตกลงมาและมีน้ำขังอยู่ที่บริเวณรอยแผล น้ำจะแห้งหรือระเหยไปเองเพราะจะโดนแดด โดนลมแต่เกษตรกรจะต้องเจาะรูเพื่อให้น้ำมีทางระบายอกจากลำต้นด้วย

หลัง จากที่ตัดต้นทำสาวมะละกอพันธุ์ครั่งแล้ว แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร16-16-16 หรือสูตรที่ไนโตรเจนสูง เช่น สูตร 32-10-10 พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกเก่าบำรุงต้นไปพร้อมกัน และมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อเร่งให้ต้นมะละกอแตกยอดออกมาใหม่ เมื่อมีการแตกยอดออกมาจำนวนมากให้คัดเลือกยอดมะละกอพันธุ์ครั่งที่มีความ สมบูรณ์ไว้เพียงยอดเดียวเท่านั้นและจะต้องหมั่นเด็ดยอดที่ไม่ต้องการออกให้ หมด เพื่อไม่ให้เจริญเติบโตแข่งกัน หลังจากที่เลี้ยงยอดไปนานประมาณ 3 เดือน จะเริ่มออกดอกและติดผล

การปลูกมะละกอครั่ง

                      ขั้นตอนการปลูกพันธุ์แขกดำ

มี ลักษณะทรงพุ่มเตี้ย แข็งแรง ความสูงประมาณ 2-4 เมตร ก้านใบสีเขียวอ่อน ลักษณะสั้นและแข็งแรง ก้านใบตั้งตรงยาวประมาณ 60-80 เซนติเมตร ใบหนากว่าพันธุ์อื่นๆ มีเส้นใบ 9-11 แฉก มีการออกดอกติดผลเร็ว ผลมีขนาดปานกลาง ส่วนหัวและปลายผลมีขนาดเท่ากัน ผลยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ผลในขณะที่ยังดิบเปลือกมีสีเขียวเข้ม เปลือกหนา เนื้อหนาประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ผลสุกมีสีส้มอมแดง เนื้อสีแดงเข้ม ช่องว่างภายในผลแคบ มีเปอร์เซ็นต์ความหวามประมาณ 9-13 องศาบริกซ์ น้ำหนักผลประมาณ 0.60-1.70 กิโลกรัม เหมาะสำหรับบริโภคสุกและดิบ
วิธีการเตรียมดิน
มะละกอ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ที่สำคัญจะต้องเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ ขัง แฉะ เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่มีความ ทนทาน ต่อการถูกน้ำท่วม ถ้ามีน้ำท่วมโคนต้น เพียง 1-2 วัน จะชะงักการเจริญเติบโตและ อาจตายได้ แต่อย่างไรก็ตามจะขาด น้ำไม่ได้ดังนั้น พื้นที่ที่ จะปลูก มะละกอ ควรเป็นที่น้ำท่วมไม่ถึงและควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำอีกด้วย ถ้าหากเป็นที่ลุ่มควรทำแปลง ปลูกแบบยกร่องสำหรับการเตรียมดินปลูก ก่อนอื่นต้องกำจัดวัชพืชออกให้หมดแล้ว ทำการพรวนดิน อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกให้ไถดินก้อนโต ๆ ทิ้งให้ตากแดดจนแห้งดีแล้ว จึงไถพรวนย่อยดินอีกครั้ง ถ้าดินปลูกไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ควรใส่ปุ๋ยให้แก่ดิน โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วก่อน แล้วไถกลบลง ดินให้เน่าเปื่อยผุพังอยู่ในดิน
การเตรียมหลุมปลูก

หลุม ที่ใช้ปลูกมะละกอควรขุดให้มีขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณด้านละ 50 เซนติเมตร ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุมให้ปล่อยตากแดด ทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วจึงย่อยให้ละเอียด ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก ใบไม้ผุ แล้วจึงกลบดินลงหลุม จากนั้นจึงนำต้นกล้าหรือเมล็ดมะละกอลงปลูกระยะห่าง 2X2 เมตร หรือ 2.50X2.50 เมตร สำหรับพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ควรทำการปลูกแบบยกร่อง โดยทำเป็นร่องขนาดกว้าง 3-4 เมตร(ปลูก2แถว) คูน้ำระหว่างร่องกว้างประมาณ 1 เมตร แล้วทำการเตรียมดินและหลุมต่อไป

วิธีการปลูก

มะละกอ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ที่นิยมกันคือปลูกในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน การนำต้นกล้าลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ดินแตกออกจากราก และไม่ให้รากขาด เมื่อวางต้นกล้าลงหลุมปลูกแล้ว ให้กลบดินรอบโคนต้น กดให้แน่นให้ระดับดินในหลุมปลูกเสมอกับระดับดินเดิมที่ติดมากับต้นกล้า อย่ากลบโคนต้นสูงกว่ารอยดินเดิม จะทำให้เป็นโรคโคนเน่า เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอย่างอื่นคลุมบังแดดประมาณ 7-10 วัน รดน้ำทุกเช้า อย่าให้ขาดน้ำ ถ้าขาดน้ำในระยะนี้ต้นจะแคระแกร็น โตช้า และให้ผลช้าด้วย

การดูแลรักษาหลังจากการปลูก
ใน การปลูกมะละกอนั้นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติดูแลเพื่อให้มะละกอเจริญ เติบโต ให้ผลผลิตสูง ดังนั้น ผู้ปลูกจะต้อง รู้จักวิธีการปฏิบัติ นับตั้งแต่การให้น้ำการ ใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช การตัดแต่งกิ่ง และการตัดแต่งผลอ่อน

ศัตรูและการป้องกันกำจัด

มะละกอ เป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว ไม่ค่อยมีศัตรูรบกวนมากนัก แต่ก็มีศัตรูบางประเภทที่คอยรบกวนทำลายและแพร่ระบาดได้รวดเร็ว ศัตรูมะละกอที่พบและทำความเสียหายมีทั้งโรคและแมลง สำหรับโรคที่พบมาก คือ โรคไวรัสจุดวงแหวน โรคใบเน่าและรากเน่า โรคแอนแทรกโนส โรคเน่าของต้นกล้า ส่วนแมลงที่พบมาก คือ ไรแดง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ ในแปลงปลูกมะละกอ สามารถปลูกพืชสมุนไพรและพืชอื่นแซมได้ ในการเลือกพืชแซมจะต้องไม่เป็นพืชอาศัยของศัตรูพืชที่สำคัญของต้นมะละกอ ศัตรูพืชที่ทำความเสียหายให้กับมะละกอได้แก่ โรคใบจุดวงแหวน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส มีเพลี้ยอ่อนเป็นแมลงพาหะ โรคนี้ถ้าเกิดกับมะละกอในระยะต้นเล็กจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างสิ้นเชิง จึงไม่ควรปลูกมะละกอในบริเวณที่มีการปลูกพืชพวก พริก มะเขือ แตงโม แตงกวา แตงร้าน ตำลึง เนื่องจากพืชดังกล่าวเป็นพืชอาศัยของเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นแมลงพาหะนำเชื้อไวรัสมาสู่ต้นมะละกอ
การปลูกพืชแซมในแปลงปลูก มะละกอ ควรพิจารณาเลือกพืชแซมที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่ามะละกอ โดยปลูกแซมระหว่างแถว เช่น ต้นโหระพา กะเพรา กระชาย ตะไคร้ และตะไคร้หอมเป็นต้น

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

การ เก็บผลมะละกอนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย เพราะความแก่อ่อนของผลที่จะเก็บเกี่ยวมีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพของมะละกอและ อายุการเก็บรักษาด้วย ดังนั้น จึงต้องเก็บผลมะละกอในระยะที่เหมาะสม คือ ถ้าจะเก็บเพื่อบริโภคผลดิบ ควรให้มะละกอแก่จัด แต่อย่าให้ห่าม ถ้าจะเก็บเพื่อกินผลสุก ควรปล่อยให้ผลสุกเต็มที่
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้จัดแบ่งระยะแก่ของผลมะละกอไว้ 6 ระยะ ดังนี้

1. ระยะแก่จัดสีเขียว ผลจะมีสีเขียวเข้ม เนื้อผลแน่น
2. ระยะเริ่มเปลี่ยนสีผล จะมีพื้นผิวสีเขียวเข้มและจะมี สีเหลืองอ่อน ๆ บริเวณเนินสันทางด้านปลายผล
3. ระยะสุกหนึ่งในสี่ผล จะมีพื้นผิวสีเขียว และเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มชัดเจนบริเวณเนิน สันด้านปลายผล
4. ระยะสุกสองในสี่ ผิวของผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ประมาณครึ่งผล
5. ระยะสุกสามในสี่ ผิวของผลจะมีสีเหลืองมากกว่าสีเขียว เนื้อผลนิ่ม เมื่อใช้มือกดจะยุบตัวลง
6. ระยะสุกเต็มที่ ผิวจะมีสีเหลืองเกือบเต็มผล จะมีสีเขียว ปะปน บ้างเล็กน้อย

การห่อและการขนส่ง

ใน การห่อเพื่อส่งขายนั้น จะต้องระมัดระวังอย่าให้มะละกอกระทบกระเทือนมาก และจะต้องมีการระบายอากาศที่ดี ที่นิยมทำกันส่วนใหญ่แล้วจะบรรจุใส่เข่ง ภายในเข่งจะห่อหุ้มด้วยใบตองหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ พรมน้ำภายในเข่งให้ชุ่ม แล้วมัดให้แน่น ในขณะที่ขนส่งต้องระมัดระวังอย่าวางเข่งซ้อนทับกัน ถ้าจำเป็นต้องวางซ้อนกัน ควรใช้ไม้คั่นระหว่างเข่ง

ตลาดมะละกอ

การ ตลาดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการปลูกมะละกอ แต่ผู้ปลูกจะต้องวางแผนการตลาดตั้งแต่ตอนปลูก จึงจะทำให้ผู้ปลูกได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า โดยผู้ปลูกจะต้องศึกษาสภาพการจำหน่ายมะละกอของตลาดก่อนปลูก ว่าตลาดมีความต้องการมะละกอพันธุ์ใด ผลดิบหรือผลสุก ราคาที่จำหน่ายจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่

การปลูกมะละกอ

                                    การปลูกมะลิ
  มะลิเป็นไม้ดอกสีขาวที่มีกลิ่นหอม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น เก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย นอกจากนั้นส่วนต่าง ๆ ของมะลิก็ยังมาใช้เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้
                        
พันธุ์ มะลิที่นิยมใช้ดอกมาร้อยมาลัยในปัจจุบันเป็นมะลิลาพันธุ์ราษฎร์บูรณะ
        
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
           ดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี
           มีความเป็นกรด-ด่าง 5.5-6.5
           มีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสมบูรณ์
           ได้รับแสงแดดเต็มที่เพื่อให้มีดอกดก
                        
การขยายพันธุ์
          การขยายพันธุ์ที่นิยมกันมากที่สุดคือ การปักชำ
          1. เตรียมวัสดุเพาะชำ ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1 บรรจุในภาชนะ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
          2. เตรียมกิ่งพันธุ์ กิ่งที่ใช้เป็นกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน ตัดให้มีความยาวของกิ่ง 4 นิ้ว หรือมีข้ออย่างน้อย 3 ข้อ การตัดกิ่งควรตัดให้ชิดข้อ ริดใบส่วนล่างออก
          3. นำกิ่งมะลิปักชำลงในแปลงชำ ให้มีระยะระหว่างแถวและกิ่ง 2x2 นิ้ว รดน้ำและสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา รักษาความชื้นให้เหมาะสมและคงที่
          4. หลังจากกิ่งปักชำออกรากแล้วให้ย้ายลงปลูกในถุงขนาด 2x3 นิ้ว โดยใส่ดิน+ขุยมะพร้าว+ปุ๋ยคอก อัตรา 3:1:1 จนต้นมะลิแข็งแรงดีแล้วจึงนำไปปลูก

 การปลูก
           นิยมปลูกในช่วงฤดูฝน เดือน มิถุนายน-กรกฎาคม
           ขุดหลุมลึก กว้าง และยาวด้านละ 50 ซม.
           ใส่ปุ๋ยคอกและวัสดุอื่น ๆ ในอัตราส่วน 1:1:1 พร้อมทั้งเติมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) และปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 อย่างละ 1 กำมือ คลุกให้เข้ากัน แล้วใส่กลับลงไปในหลุมใหม่ ทิ้งไว้ 7-10 วัน จึงนำต้นมะลิลงปลูก  
การดูแลรักษา
          การให้น้ำ มะลิต้องการน้ำปานกลาง ทั้งนี้อาจให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง ระวังอย่าให้น้ำขัง
          การใส่ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 อัตรา 1-3 ช้อนแกงต่อต้น ขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม ใส่เดือนละครั้ง โดยหว่านและรดน้ำตาม
          การตัดแต่ง ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งรวมทั้งตัดกิ่งที่แห้งตายออกด้วย เพื่อลดโรคและแมลง 
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ
           โรครากเน่า
           โรคแอนแทรกโนส
           โรครากปม
           หนอนเจาะดอก หนอนกินใบ
           หนอนเจาะลำต้น เพลี้ยไฟ 
การเก็บเกี่ยว
          เก็บดอกตูม ที่โตเต็มที่ สีขาวนวล วิธีเก็บให้ใช้มือเด็ดตรงก้านดอกใต้กลีบเลี้ยง ควรเก็บดอกเวลาเช้ามืด 03.00-04-00 น.


การปลูกมะลิ

                 เทคนิคการปลูกปาล์มน้ำมัน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
-           ดินควรมีความอุดมสมบรูณ์ปานกลางถึงดี
-           ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1600 มม./ปี
-           มีช่วงแล้งไม่เกิน 3-4 เดือน
การเตรียมพื้นที่ ควรเตรียมในฤดูแล้งในระหว่างเดือน มกราคม-เมษายน
การเตรียมต้นกล้า
ระยะอนุบาลแรก (0-3 เดือน)  ไว้ในเรือนเพาะชำโดยเพาะชำต้นกล้าในถุงพลาสติกสีดำ ขนาด 6x7 หรือ 6x9 นิ้ว หนาอย่างน้อย 0.06 มม. จนต้นกล้ามีใบงอก 3-4 ใบ หรือต้นกล้าอายุประมาณ 3 เดือน จึงย้ายใส่ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ในระยะนี้ต้องคัดทิ้งต้นกล้าประมาณ 5-15 % ที่มีลักษณะต้นเตี้ย และแคระแกร็น
ระยะอนุบาลหลัก (3 -12 เดือน) โดยเพาะต้นกล้าในถุงพลาสติกสีดำหนาอย่างน้อย 0.12 มม. ใช้ถุงพลาสติกสีดำขนาดไม่ต่ำกว่า 15x18 นิ้ว วางไว้ในแปลงกลางแจ้ง ในระยะนี้ต้องคัดทิ้งต้นกล้าประมาณ 5-10 % และในขณะขนย้ายต้นกล้าไปปลูก ในแปลงปลูกจริงต้องคัดทิ้งต้นกล้าที่ผิดปกติและไม่สมบูรณ์อีกประมาณ 2-5%
การจัดวางต้นกล้า วางต้นกล้าเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะระหว่างถุงไม่ควรต่ำกว่า 75 ซม. โดยจัดแปลงแยกเป็นกลุ่มๆ ตามอายุต้นกล้า ไม่ปะปนกันมีป้ายแสดงให้เห็นชัดเจน
การดูแลรักษาต้นกล้า มีการให้น้ำในปุ๋ย กำจัดวัชพืช ควบคุมโรค และแมลง ตลอดจนการเตรียมต้นกล้า พร้อมนำไปปลูกในแปลงปลูกจริง ควรปฏิบัติตามหลักวิชาการ
การเลือกต้นกล้า ต้นกล้าที่แนะนำให้ปลูกเป็นต้นกล้าอายุ 12 เดือน ต้นสมบูรณ์แข็งแรง มีความสูงระหว่าง 100-150 เซนติเมตร จากระดับดินในถุง และมีใบประกอบรูปขนนก จำนวนอย่างน้อย 9 ใบ
การวางแนวปลูก ให้แถวปลูกหลักอยู่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูกที่เหมาะสม
ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์ลูกผสมที่ได้จากพ่อพันธุ์กลุ่มต่าง ๆ
การปลูก
ควรปลูกปาล์มน้ำมันในช่วงฤดูฝน ไม่ควรปลูกช่วงปลายฤดูฝนต่อเนื่องฤดูแล้ง ข้อควรระวังหลังจากปลูกไม่ควรเกิน 10 วัน จะต้องมีฝนตก ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ปลูกในช่วงระหว่างเดือนเมษายน ถึงกันยายน และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ปลูกช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม เตรียมหลุมปลูกขนาด 45x45x35 เซนติเมตร
การให้ปุ๋ย
วิธีที่ 1 : ใช้ลักษณะอาการที่มองเห็นที่ต้นปาล์ม แสดงอาการขาดธาตุอาหาร
วิธีที่ 2 : ใส่ปุ๋ยเคมีตามผลการวิเคราะห์ใบปาล์มน้ำมันเป็นวิธีที่นิยมและแพร่หลายในปัจจุบัน
การใส่ปุ๋ยทางดินเพื่อลดต้นทุนในปาล์มน้ำมันอายุต่างๆ

อายุปาล์ม (ปี)
ปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้น
(แถบทอง)
ปุ๋ยเคมี
1 - 4
ใส่อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น/ปี ใส่บริเวณรอบโคนต้นที่กำจัดวัชพืชแล้ว
เน้นปุ๋ย N(ไนโตรเจน) เช่น สูตร25-7-7, 20-15-10  ใส่อัตรา 100 กรัม ทุก ๆ 40-60 วันร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว
5 – 9
ใส่อัตรา 2-4 กิโลกรัม/ต้น/ปี ใส่บริเวณรอบโคนต้นที่กำจัดวัชพืชแล้ว
เน้นปุ๋ย N และ K เช่นสูตร 12-10-25,10-8-30 อัตรา 2-3 กิโลกรัม/ต้น/ปี ใส่บริเวณรอบโคนต้นห่างจากโคนต้น 2.50 เมตร ถึง บริเวณปลายทางใบ
10 ปีขึ้นไป
3-4  กิโลกรัม/ต้น/ปี หว่านบริเวณระหว่างแถวปาล์มที่กำจัดวัชพืชแล้ว หรือ ขุดฝังบริเวณทรงพุ่ม
เน้นตัวหน้าและหลัง เช่นสูตร 12-10-25,10-8-30 อัตรา 3-4 กิโลกรัม/ต้น/ปี ใส่บริเวณรอบโคนต้นห่างจากโคนต้น 2.50 เมตร ถึง บริเวณปลายทางใบ
       
หมายเหตุ  ในกรณีที่ต้นปาล์ม แสดงอาการขาดธาตุโบรอน  ให้ผสมโบรอนชนิดน้ำเข้มข้น โบวีรอน  ให้ไปกับระบบน้ำ หรือฉีดพ่นบริเวณในทรงพุ่มและช่อทะลาย  ในอัตรา 1 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่  ปีละ 2-4 ครั้ง โดยเฉพาะปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้วควรเพิ่มความถี่มากขึ้น
การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ  :  ใช้ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรไล่แมลง) ฉีดพ่นอัตรา 30-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในปาล์มเล็ก  และเพิ่มผลผลิตในปาล์มใหญ่ ทำให้ปาล์มติดผลได้เพิ่มขึ้น
การให้น้ำ
ในสภาพพื้นที่ที่ช่วงฤดูแล้งยาวนาน หรือสภาพพื้นที่ที่มีการขาดน้ำมากกว่า 250 มม./ปี ถ้ามีแหล่งน้ำเพียงพอควรมีการให้น้ำเสริมในฤดูแล้ง
ตัดแต่งทางใบ
ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงปีที่ 6 ควรไว้ทางใบ 7-8 รอบ (56-64 ทางใบ) ต้นที่โตเต็มที่ควรไว้ทางใบ 4.5-6.5 รอบ (36-48 ทางใบ) ไม่ควรตัดแต่งทางใบจนกว่าจะถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรตัดทางใบให้เหลือรองรับทะลายปาล์ม 2 ทาง (ชั้นล่างจากทะลาย) และทางใบที่ตัดแล้ว ควรนำมาเรียงกระจายแถวเว้นแถว และวางสลับแถวกันทุกๆ 4-5 ปี เพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุ ให้กระจายทั่วแปลง
การตัดช่อดอก
ในระยะเริ่มการเจริญเติบโต การตัดช่อดอกตัวผู้และตัวเมีย ทิ้งในระยะแรก มีผลทำให้ต้นปาล์มเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง และมีขนาดใหญ่ เพราะอาหารที่ได้รับจะเสริมส่วนของลำต้น แทนการเลี้ยงช่อดอกและผลผลิต เมื่อถึงระยะให้ผลผลิตที่ต้องการ ผลผลิตจะมีขนาดใหญ่ และสม่ำเสมอ ถ้าไม่ตัดปล่อยทิ้งไว้ไม่เก็บเกี่ยว อาจเป็นแหล่งของเชื้อโรค โดยเฉพาะโรคทะลายเน่าได้
การใช้ทะลายเปล่าคลุมดิน
ทะลายเปล่าที่นำมาจากโรงงาน ควรนำมากองทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน แล้วจึงนำไปวางกระจายไว้รอบโคนต้น โดยใส่ทะลายเปล่า อัตรา 150-225 กก./ต้น/ปี
การลดจำนวนต้นปาล์มต่อไร่เพื่อรักษาระดับผลผลิตให้สูง
ควรลดจำนวนต้นปาล์มจาก 22 ต้น/ไร่ ให้เหลือประมาณ 19 ต้น/ไร่ เมื่อปาล์มมีอายุ 10 ปี โดยเลือกคัดต้นปาล์ม ที่มีลักษณะผิดปกติและมีผลผลิตน้อย หรือไม่ให้ผลผลิตออก
ศัตรูของปาล์มน้ำมันและการป้องกันกำจัด
โรคที่สำคัญ
1. โรคใบไหม้ พบมากในระยะต้นกล้าหากรุนแรงทำให้ต้นกล้าถึงตายได้
2. โรคก้านทางใบบิด พบในต้นปาล์มน้ำมันอายุ 1-3 ปี หลังจากนำลงปลูกในแปลง มีผลให้การเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันหยุดชะงัก
3. โรคยอดเน่า ระบาดมากในฤดูฝน เข้าทำลายต้นปาล์มน้ำมันตั้งแต่ในระยะกล้า แต่ส่วนใหญ่มักจะพบโรคนี้กับต้นปาล์มน้ำมัน อายุ 1-3 ปี ทำให้ใบยอดทั้งใบเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง สามารถดึงหลุดออกมาได้ง่าย
การป้องกัน  แนะนำให้ผสม ไตรโคแม็ก  อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร + สารจับใบ  ฉีดพ่นบริเวณยอด และลำต้น เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อราศัตรูพืช  หากพบการระบาด ให้ใช้อัตรา 100 กรัม ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน (ซ้ำ 2-3 ครั้ง)
4. โรคทะลายเน่าทำลาย ผลปาล์มก่อนที่จะสุก ระบาดมากในฤดูฝน ที่มีความชื้นสูง ทำให้เปอร์เซ็นต์กรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพในการให้น้ำมันน้อยลง
การป้องกัน  แนะนำให้ผสม ไตรโคแม็ก  อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร + สารจับใบ  ฉีดพ่นบริเวณยอด และลำต้น เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อราศัตรูพืช  หากพบการระบาด ให้ใช้อัตรา 100 กรัม ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน (ซ้ำ 2-3 ครั้ง)
5. โรคลำต้นเน่า พบมากกับต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุมาก ปัจจุบันพบระบาดมากกับต้นปาล์มอายุ 10-15 ปี 
การป้องกัน  แนะนำให้ผสม ไตรโคแม็ก  อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร + สารจับใบ  ฉีดพ่นบริเวณยอด และลำต้น เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อราศัตรูพืช  หากพบการระบาด ให้ใช้อัตรา 100 กรัม ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน (ซ้ำ 2-3 ครั้ง)
แมลงศัตรูที่สำคัญ
1.    หนอนหน้าแมว กัดทำลายใบจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ควรสำรวจแมลงในพื้นที่เป็นประจำ
2.    การป้องกัน  แนะนำให้ใช้ ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)  ผสมอัตรา 50-100 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร  รดหรือฉีดพ่นบริเวณยอด, ลำต้นและใบ ทุก ๆ 15 วัน สำหรับปาล์มเล็ก  และทุก ๆ 20 วัน สำหรับปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้ว เพื่อป้องกันแมลงศัตรูเข้าทำลาย และยังเป็นการบำรุง กระตุ้นการเจริญเติบโตและติดผล(ทลาย) อีกทางหนึ่ง  ในกรณีพบการเข้าทำลาย ให้ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดหนอน(ปลอดสารพิษ) “บาร์ท๊อป” อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร + ยาจับใบ ฉีดพ่นที่ยอด ในช่วงเวลาเย็น เพื่อกำจัด
3.    ด้วงกุหลาบ กัดทำลายใบของต้นปาล์มน้ำมัน ขนาดเล็กที่เพิ่งปลูกใหม่  การกำจัดวิธีเดียวกันกับด้วงแรด
4.    ด้วงแรด กัด เจาะโคนทางใบ ทำให้ทางใบหักง่าย และยังกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็น ริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้ารุนแรงจะทำให้ต้นตายได้
การป้องกัน  แนะนำให้ใช้ ไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)  ผสมอัตรา 50-100 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร  รดหรือฉีดพ่นบริเวณยอด, ลำต้นและใบ ทุก ๆ 15 วัน สำหรับปาล์มเล็ก  และทุก ๆ 20 วัน สำหรับปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้ว เพื่อป้องกันแมลงศัตรูเข้าทำลาย และยังเป็นการบำรุง กระตุ้นการเจริญเติบโตและติดผล(ทลาย) อีกทางหนึ่ง  ในกรณีพบการเข้าทำลาย ให้ใช้ชีวภัณฑ์กำจัดหนอน(ปลอดสารพิษ) “เมทา-แม็ก” อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร + ยาจับใบ ฉีดพ่นที่ยอด ในช่วงเวลาเย็น เพื่อกำจัด
สัตว์ศัตรูที่สำคัญ
ระยะตั้งแต่ปลูกจนถึงระยะเริ่มให้ผลผลิต (อายุ 1-3 ปี) มักพบ เม่น หมูป่า หนู และอีเห็น เข้ามากัดโคนต้นอ่อน และทางใบปาล์มส่วนที่ติดกับพื้นดิน
ระยะให้ผลผลิตศัตรูที่สำคัญ คือ หนู ซึ่งที่พบในสวนปาล์ม ได้แก่ หนูนาใหญ่ หนูท้องขาวทั้งชนิดที่เป็น หนูป่ามาเลย์ และหนูบ้านมาเลย์ หนูพุก หนูฟันขาวใหญ่ หนูท้องขาวสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังมี เม่น กระแต หมูบ้า และอีเห็น
การป้องกันกำจัดวัชพืช
          การ ควบคุมวัชพืชมีหลายวิธี เช่น การใช้แรงงาน การใช้เครื่องจักรตัดวัชพืช การใช้วัสดุคลุมดิน การปลูกพืชคลุมดิน โดยใช้พืชตระกูลถั่ว และการใช้สารกำจัดวัชพืช ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมี เพราะจะทำให้รากถูกทำลาย  ต้นชะงักการเจริญเติบโตและอาจตายได้
การปลูกแทนใหม่
ต้นปาล์มมีอายุประมาณ 18-25 ปี ต้นสูงเกินไปทำให้ค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวสูง และมีผลผลิตต่ำ
การเก็บเกี่ยว
1.วิธีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มสด รวมถึงการรวมผลปาล์มส่งโรงงาน ซึ่งมีขั้นตอนโดยทั่วไปดังนี้
- ตกแต่งช่องทางลำเลียงระหว่างแถวปาล์มในแต่ละแปลงให้เรียบ ร้อย สะดวกกับการตัด การลำเลียง และการตรวจสอบทะลายปาล์มที่ตัด แล้วออกสู่แหล่งรวม หรือศูนย์รวมผลปาล์มที่กำหนดขึ้นแต่ละจุดภายในสวน
*ข้อควรระวังในการตกแต่งช่องทางลำเลียงปาล์ม คือจะต้องไม่ตัดทางปาล์มออกอีก เพราะถือว่าการตกแต่งทางปาล์มได้กระทำไปตามเทคนิคและขั้นตอนแล้ว หากมีทางใบอันใดกีดขวาง ก็อาจดึงหรือแหวกให้สะดวกในการทำงาน
- สำหรับกองทางใบที่ตัดแล้วอย่าให้กีดขวางทางเดิน หรือปิดกั้นทางระบายน้ำจะทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ระบายน้ำที่ขังตามทางเดิน
- คัดเลือกทะลายปาล์มสุกโดยยึดมาตรฐานจากการดูสีของผล ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง และจำนวนผลสุกที่ร่วงหล่นลงบนดินประมาณ 10-12 ผล ให้ถือเป็นผลปาล์มสุกที่ใช้ได้
- หากปรากฎว่าทะลายปาล์มสุกที่จะคัดมีขนาดใหญ่ ที่ติดแน่นกับลำต้นมาก ไม่สะดวกกับการใช้เสียมแทงเพราะจะทำให้ผลร่วงมาก ก็ใช้มีดขอหรือมีดด้ามยาวธรรมดา ตัดแซะขั้วทะลายกันเสียก่อน แล้วจึงใช้เสียมแทงทะลายปาล์มก็จะหลุดออกจากคอต้นปาล์มได้ง่ายขึ้น
- ให้ตัดแต่งขั้วทะลายปาล์มที่ตัดออกมาแล้วให้สั้นที่สุด เท่าที่จะทำได้ เพื่อสะดวกในการขนส่ง หรือเมื่อถึงโรงงาน ทางโรงงานก็จะบรรจุลงในถังต้มลูกปาล์มได้สะดวก
- รวบรวมผลปาล์มทั้งที่เป็นทะลายย่อยและลูกร่วงไว้เป็นกอง ในที่ว่างโคนต้นเก็บผลปาล์มร่วงใส่ตะกร้าหรือเข่ง
- รวบรวมผลปาล์มทั้งทะลายสดและผลปาล์มร่วงไปยังศูนย์รวมผลปาล์มในกองย่อย เช่น ในกระบะบรรทุก ที่ลากด้วยแทรกเตอร์หรือรถอีแต๋น
- การเก็บเกี่ยวผลปาล์ม ฝ่ายสวนจะต้องสนับสนุนให้ผู้เก็บเกี่ยวร่วมทำงานกันเป็นทีม ในทีมก็แยกให้เข้าคู่กัน 2 คน คนหนึ่งตัดหรือแทงปาล์ม อีกคนเก็บรวบรวมผลปาล์ม
- การเก็บรวบรวมผลปาล์ม พยายามลดจำนวนครั้งในการถ่ายเทย่อย ๆ เมื่อผลปาล์มชอกช้ำ มีบาดแผล ปริมาณของกรดไขมันอิสระจะเพิ่มมากขึ้น การส่งปาล์มออกจากสวน ควรมีการตรวจสอบลงทะเบียน มีตาข่ายคลุม เพื่อไม่ให้ผลปาล์มร่วงระหว่างทาง
2. มาตรฐานในการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน จะต้องไม่ตัดผลปาล์มดิบไปขาย เพราะจะถูกตัดราคา จะต้องไม่ปล่อยให้ผลสุกคาต้นเกินไป
3. ต้องเก็บผลปาล์มร่วงบนพื้นให้หมด
4. ต้องไม่ทำให้ผลปาล์มที่เก็บเกี่ยวมีบาดแผล
5. ต้องคัดเลือกทะลายเปล่าหรือเขย่าผลที่มีอยู่น้อยออกแล้วทิ้งทะลายเปล่าไป
6. ตัดขั้วทะลายให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
7. ต้องทำความสะดวกผลปาล์มที่เปื้อนดิน อย่าให้มีเศษหินดินปน
8. ต้องรีบส่งผลปาล์มไปยังโรงงานโดยไม่ชักช้า
ข้อควรปฏิบัติในการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมัน
1.ตัดทะลายปาล์มน้ำมันที่สุกพอดี คือทะลายปาล์มเริ่มมีผลร่วง ไม่ควรตัดทะลายที่ยังดิบอยู่เพราะในผลปาล์มดิบยังมีสภาพเป็นน้ำและแป้งอยู่ ยังไม่แปรสภาพเป็นน้ำมัน ส่วนทะลายที่สุกเกินไป จะมีกรดไขมันอิสระสุก และผลปาล์มสดอาจมีสารบางชนิดอยู่ อาจเป็นอันตรายกับผู้บริโภคได้
2.รอบของการเก็บเกี่ยวในช่วงผลปาล์มออกชุก ควรจะอยู่ในช่วง 7-10 วัน
3.ผลปาล์มลูกร่วงที่อยู่บริเวณโคนปาล์มน้ำมัน และที่ค้างในกาบต้นควรเก็บออกมาให้หมด
4.ก้านทะลายควรตัดให้สั้นโดยต้องให้ติดกับทะลาย
5.พยายามให้ทะลายปาล์มชอกช้ำน้อยที่สุด
การกำหนดคุณภาพของผลปาล์มทั้งทะลายที่มีคุณภาพดี
1.ความสด เป็นผลปาล์มที่ตัดแล้วส่งถึงโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง
2.ความสุก ทะลายปาล์มสุกที่มีมาตรฐาน คือ ลูกปาล์มชั้นนอกสุดของทะลายหลุดร่วงจากทะลาย
3.ความสมบูรณ์ ลูกปาล์มเต็มทะลายและเห็นได้ชัดว่าได้รับการดูแลรักษาอย่างดี
4.ความชอกช้ำ ไม่มีทะลายที่ชอกช้ำและเสียหายอย่างรุนแรง
5.โรค ไม่มีทะลายเป็นโรคใด ๆ หรือเน่าเสีย
6.ทะลายสัตว์กิน ไม่มีทะลายสัตว์กินหรือทำความเสียหายแก่ผลปาล์ม
7.ความสกปรกไม่มีสิ่งสกปรกเจือปน เช่น ดิน หิน ทราย ไม้กาบหุ้มทะลาย เป็นต้น
8.ทะลายเปล่า ไม่มีทะลายเจือปน
9.ก้านทะลาย ความยาวไว้เก็บ 2 นิ้ว
ข้อเปรียบเทียบเมื่อใช้วัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์ เกรด AAA ยักษ์เขียว และปุ๋ยทางใบ ไบโอเฟอร์ทิล
  1. ต้นปาล์มเจริญเติบโตได้ดี  ให้ผลผลิตมากและต่อเนื่อง  ได้ปริมาณผลผลิตต่อไร่สูง  เปอร์เซ็นต์น้ำมันดีมาก
  2. ป้องกันและลดปัญหาการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช  ทำให้ประหยัดต้นทุนการใช้สารเคมีกำจัด
  3. สารอินทรีย์จากยักษ์เขียว ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชได้ต่อเนื่องกว่า  ทำ ให้รากเจริญเติบโตได้ดี สภาพดินดีขึ้น ช่วยอุ้มน้ำ เมื่อใส่เป็นประจำ จะทำให้พืชทนแล้งได้ดี และพืชเจริญเติบโตได้ต่อเนื่องกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี
  4. ประหยัดต้นทุนทั้ง ค่าปุ๋ยทางดิน , ทางใบ  ทำให้ต้นทุนลดลง โดยที่ได้ผลผลิตเทียบเท่าหรือมากกว่า
  5. สุขภาพผู้ปลูกดีขึ้น เนื่องจากการใช้และสัมผัสกับสารเคมีลดลง
  6. การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว  ร่วมด้วยเป็นประจำ  จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น  ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี  ต้นทนแล้งได้ดีขึ้น  และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม  เนื่อง จาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้ รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า


การปลูกปาล์มน้ำมัน

                                       เทคนิควิธีปลูก ถั่วเหลือง

ถั่ว เหลืองเป็นพืชน้ำมันที่สำคัญของโลกเนื่องจาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งการบริโภคเมล็ดและน้ำมัน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และใช้กากเป็นอาหารสัตว์ ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น สีทาบ้าน ปลาทูน่ากระป๋อง พลาสติก และกาว เป็นเหตุให้ความต้องการใช้ ถั่วเหลือง ขยายตัวมาโดยตลอด การผลิตในประเทศยัง ไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์เป็นพืชบำรุงดิน

ปัญหาของพืช ข้อจำกัด และโอกาส 
ศักยภาพของพันธุ์ทำให้ผลผลิตต่ำ
เมล็ดพันธุ์มีคุณภาพต่ำ เสื่อมคุณภาพเร็ว
เกษตรกรขาดความรู้ในการใช้เครื่องนวดให้เหมาะสมเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์
การกระจายเมล็ดพันธุ์ดียังไม่ทั่วถึ
มีศัตรูพืชรบกวนมาก เช่น โรค แมลง และวัชพืช ทำให้ผลผลิตลดลง 30-80 เปอร์เซ็นต์
ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น การเลือกใช้พันธุ์ และการใช้ปุ๋ยตามชนิดของดิน แต่ละแหล่งปลูกยังไม่เหมาะสม
โอกาสที่เกษตรกรจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่เฉพาะเจาะจงในแต่ละแหล่งปลูก
ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูง แต่ยังมีความต้องการมาก

ี้
1. พันธุ์ สจ.4
สจ.4 เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ Acadian กับ Tainung 4 ในปี พ.ศ. 2513 ณ สถานีทดลองพืชไร่แม่โจ้ (ปัจจุบัน คือ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่) โดยการคัดเลือกแบบสืบประวัติ (Pedigree selection) จนถึงชั่วที่ 7 จึงนำเข้าเปรียบเทียบในท้องถิ่นต่าง ๆ ปรากฏว่ามีการปรับตัวได้ดี และให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้รับรองพันธุ์ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2519
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 300 กก./ไร่
2. มีความทนทานต่อโรคราสนิมและแอนแทรคโนส
ลักษณะประจำพันธุ์
1. ตาหรือขั้วของเมล็ดค่อนข้างเล็ก มีสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดสีเหลือง
2. ลาต้นไม่ทอดยอด มีดอกสีม่วง
3. เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง
4. ปลูกได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 95 วัน
พื้นที่แนะนำ
เป็นพันธุ์ที่ปรับตัวได้กว้าง จึงใช้เป็นพันธุ์แนะนำที่สามารถปลูกได้ทั่วไปทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ลงไปถึงภาคกลาง
ข้อควรระวัง
หลีกเลี่ยงการปลูกในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคใบจุดนูน เนื่องจากพันธุ์นี้ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคใบจุดนูน ซึ่งมักระบาดมากในการปลูกช่วงกลางฤดูฝน (กรกฎาคม)
2. พันธุ์ สจ.5
พันธุ์ สจ.5 เป็นพันธุ์ที่ได้รับจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ Tainung 4 กับพันธุ์ สจ.2 ในปี 2513 ณ สถานีทดลองพืชไร่แม่โจ้ (ปัจจุบัน คือ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่) ทำการคัดเลือกแบบสืบประวัติ (Pedigree selection) และประเมินผลผลิตในหลายท้องที่ มีการเจริญเติบโต ปรับตัวได้ดี ผลผลิตสูงสม่ำเสมอจึงได้รับการเสนอรับรองพันธุ์ โดยกรมวิชาการเกษตร ในปี พ.ศ. 2523
ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตสูง 320 กก./ไร่
2. ทนทานต่อโรคใบด่าง โรคราสนิม และโรคแอนแทรคโนส
3. ทนต่อสภาพดินที่มีความชื้นสูง หรือดินแฉะในช่วงการปลูกได้มากกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60
4. เมล็ดมีความงอกความแข็งแรงดี ลำต้นแข็งแรง
ลักษณะประจำพันธุ์
1. ตาหรือขั้วเมล็ดมีลักษณะเช่นเดียวกับพันธุ์ สจ.4 คือ มีสีน้ำตาลอ่อน
2. ลำต้นไม่ทอดยอด มีดอกสีม่วง ฝักแก่มีสีน้ำตาลเข้ม
3. อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 100 วัน
พื้นที่แนะนำ
เป็นพันธุ์ที่ใช้แนะนำปลูกได้ทั่วไป เช่นเดียวกับพันธุ์ สจ.4 เนื่องจากเป็นการคัดพันธุ์แบบปรับตัวได้กว้าง จึงใช้ปลูกได้ทั่วไปในแหล่งปลูกถั่วเหลืองของประเทศไทย
ข้อควรระวัง
เช่นเดียวกับพันธุ์ สจ.4 คือ หลีกเลี่ยงการใช้พันธุ์นี้ปลูกในเขตที่มีการระบาดของโรคใบจุดนูน
3. พันธุ์เชียงใหม่ 60
ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ได้จากการคัดเลือกจากคู่ผสมระหว่างพันธุ์ Williams x สจ.4 เมื่อปี 2518 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ จำนวน 22 คู่ผสม คัดเลือกรุ่นลูกโดยวิธีสืบประวัติเพื่อหาสายพันธุ์ที่ให้ ผลผลิตสูงทนทานต่อโรคที่สำคัญ กรมวิชาการเกษตรพิจารณาเป็นพันธุ์รับรองวันที่ 30 กันยายน 2530
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 280-350 กิโลกรัมต่อไร่
2. มีความทนทานต่อโรคราสนิม โรคใบจุดนูน และโรคราน้ำค้างดีกว่าพันธุ์ สจ.4 และสจ.5
3. สามารถปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้กว้าง เหมาะสำหรับใช้เป็นพันธุ์ปลูกทุกสภาพท้องถิ่น
ลักษณะประจำพันธุ์
1. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ โคนต้นอ่อนสีเขียวอ่อน ดอกสีขาว ขนสีน้ำตาล เปลือกหุ้มเมล็ดแห้งสีเหลือง ตาเมล็ดแก่สีน้ำตาล เมล็ดแก่รูปร่างค่อนข้างกลม ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะลำต้นไม่ทอดยอด แตกกิ่งน้อย ขึ้นอยู่กับระยะปลูกและจำนวนต้นต่อไร่
2. ลักษณะทางการเกษตร ผลผลิตเฉลี่ย 260-360 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนฝักต่อต้น 50 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 2 เมล็ด น้ำหนัก 100 เมล็ด 15 กรัม ความสูง 40-64 เซนติเมตร จำนวนข้อ 12 ข้อ จำนวนกิ่งน้อย อายุออกดอก 35 วัน อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน
พื้นที่แนะนำ
ปลูกได้ทุกแหล่งปลูกถั่วเหลือง
ข้อควรระวัง
1. อ่อนแอต่อสภาพดินที่มีความชื้นสูงหรือมีน้ำขัง การปลูกในฤดูแล้งในเขตชลประทาน ไม่ควรให้น้ำขังหรือในฤดูฝนควรระบายน้ำออกจากแปลงก่อนปลูก
2. เมล็ดพันธุ์เสื่อมความงอกเร็วถ้าเก็บในสภาพอุณหภูมิห้อง
4. พันธุ์สุโขทัย 2
ถั่วเหลืองพันธุ์สุโขทัย 2 ได้จากการคัดเลือกจากคู่ผสมระหว่างสายพันธุ์ 7016 และพันธุ์สุโขทัย 1 ได้พิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2538
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสูงประมาณ 290-310 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ร้อยละ 7
2. มีความต้านทานต่อโรคที่สำคัญ 3 ชนิด คือ โรคราน้ำค้าง โรคใบจุดนูน และโรคไวรัสใบด่าง
3. มีคุณภาพเมล็ดพันธุ์ (ความงอกและความแข็งแรง) ดีกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 และมีปริมาณเมล็ดเขียวน้อยประมาณร้อยละ 0.2-2.2
4. มีปริมาณโปรตีน ในเมล็ดเฉลี่ยร้อยละ 39
ลักษณะประจำพันธุ์
โคนต้นอ่อนสีม่วง ดอกสีม่วง ขนที่ฝักสีน้ำตาลเข็ม ฝักแก่สีน้ำตาลดำ เปลือกหุ้มเมล็ดแห้งสีเหลือง ขั้วเมล็ดแก่สีดำ รูปร่างเมล็ดแก่ค่อนข้างกลม ใบในระยะออกดอกเต็มที่มีสีเขียวเข้ม ขนาดของใบย่อยเล็ก รูปร่างของใบแคบ ลักษณะลำต้นแบบกึ่งทอดยอด ลักษณะการเจริญเติบโตแบบ Indeterminate น้ำหนัก 100 เมล็ด 14.9 กรัม และมีดัชนีเก็บเกี่ยวร้อยละ 52
พื้นที่แนะนำ
เหมาะสำหรับปลูกในเขตภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ปลูกได้ทั้งในฤดูแล้ง ต้นและปลายฤดูฝน สำหรับในเขตภาคเหนือตอนบน ไม่ควรปลูกในช่วงกลางและปลายฤดูฝน
ข้อควรระวัง
ถั่วเหลืองพันธุ์สุโขทัย 2 ไม่เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่ดินมีความเป็นกรดจัด (pH < 5.5) และดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ นอกจากนี้ไม่ควรปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน ในช่วงกลางถึงปลายฤดูฝน เพราะอ่อนแอต่อโรคราสนิม
5. ถั่วเหลืองผิวดำพันธุ์สุโขทัย 3
ถั่วเหลืองผิวดำพันธุ์สุโขทัย 3 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง F3 (Fort Lamy x Chiang Mai 60) x Chiang Mai 60 เมื่อปี 2528 ที่สถานีทดลองพืชไร่ศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย คัดเลือกรุ่นลูกโดยวิธีสืบประวัติ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีการปรับตัวได้ดีในแต่ละแหล่งปลูก และให้ผลผลิตสูง โดยคัดเลือกจากลักษณะการติดฝักดกสมบูรณ์มีน้ำหนักต่อ 100 เมล็ด สูงมีคุณภาพเมล็ดดีเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์เชียงใหม่ 60 ทำการประเมินผลผลิตในศูนย์วิจัย สถานีทดลองพืชไร่ และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ปี 2533-2538 เป็นเวลา 6 ปี รวมทั้งหมด 54 แปลงทดลอง ได้พิจารณาเป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2542
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 298 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เชียงใหม่ 60 ร้อยละ 9
2. เมล็ดพันธุ์มีความงอกดีและเก็บรักษาไว้ได้นาน
3. ต้านทานต่อแมลงศัตรูถั่วเหลือง เช่น ไส้เดือนฝอย ด้วงถั่วเหลือง
4. ต้านทานต่อโรคแอนแทรคโนสในระยะเมล็ด
5. ต้านทานปานกลางต่อโรคราน้ำค้าง
ลักษณะประจำพันธุ์
1. ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ โคนต้นอ่อนสีเขียวอ่อน ดอกสีขาว ขนสีน้ำตาล ฝักแก่สีน้ำตาล เปลือกหุ้มเมล็ดแห้งสีดำ สีตาเมล็ดแก่สีดำ เมล็ดแก่รูปร่างค่อนข้างกลม ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะลำต้นไม่ทอดยอด
2. ลักษณะทางการเกษตร ผลผลิตเฉลี่ย 298 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนฝักต่อต้น 41 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 2 เมล็ด น้ำหนัก 100 เมล็ด 13 กรัม ความสูง 70 เซนติเมตร จำนวนข้อต่อต้น 15 ข้อ จำนวนกิ่งต่อต้น 1.5 กิ่ง อายุออกดอก 30-38 วัน อายุเก็บเกี่ยว 87-98 วัน
3. คุณสมบัติทางเคมี
- ไขมัน 21 เปอร์เซ็นต์
- โปรตีน 38 เปอร์เซ็นต์
พื้นที่แนะนำ
- ปลูกได้ทุกแหล่งปลูกถั่วเหลือง
ข้อควรระวัง
- ควรมีการประสานงานระหว่างผู้ปลูกกับตลาดก่อน เนื่องจากเป็นถั่วเหลืองผิวดำตลาดอาจไม่รับซื้อ
- เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นน้ำนมถั่วเหลือง (น้ำเต้าหู้) มีสีคล้ายสีช็อคโกแลต
6. พันธุ์เชียงใหม่ 2
ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 2 เป็นพันธุ์ที่มีอายุสั้นสามารถปลูกได้ 3 ฤดูต่อปี ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์เชียงใหม่ 60 x IAC 13 เมื่อปี 2530 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ คัดเลือกรุ่นลูกชั่วที่ 1 ถึงชั่วที่ 7 ในฤดูแล้งต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน ระหว่างปี 2531-2533 เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ปรับตัวตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมได้กว้าง มีความต้านทานต่อโรคที่สำคัญในแต่ละฤดูปลูก นำสายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ทำการประเมินผลผลิต ในศูนย์วิจัย สถานีทดลองในไร่เกษตรกร และทดสอบในไร่เกษตรกร ในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี 2534-2539 เป็นเวลา 6 ปี จำนวนทั้งหมด 173 แปลงทดลอง พิจารณาเป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2541
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 234 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 1 ร้อยละ 7
2. เป็นพันธุ์อายุสั้นมีอายุเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 77 วัน เท่ากับพันธุ์นครสรรค์ 1
3. เมล็ดพันธุ์มีความงอกดี
4. ปลูกได้ 3 ฤดูต่อปี คือ ฤดูแล้ง ต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝน และสามารถใช้ปลูกในระบบปลูกพืชได้
ลักษณะประจำพันธุ์
1. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ โคนต้นอ่อนสีม่วง ดอกสีม่วง ขนสีน้ำตาลอ่อน ฝักแก่สีน้ำตาล เปลือกหุ้มเมล็ดแห้งสีเหลือง ตาเมล็ดแก่สีน้ำตาล เมล็ดแก่รูปร่างค่อนข้างกลม ใบสีเขียว ลักษณะลำต้นไม่ทอดยอก
2. ลักษณะทางการเกษตร ผลผลิตเฉลี่ย 234 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวนฝักต่อต้น 30 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 2 เมล็ด น้ำหนัก 100 เมล็ด 15 กรัม ความสูง 49 เซนติเมตร จำนวนข้อต่อต้น 12 ข้อ จำนวนกิ่งต่อต้น 2.3 กิ่ง อายุออกดอก 26 วัน อายุเก็บเกี่ยว 77 วัน
3. คุณสมบัติทางเคมี ไขมัน 19 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 38 เปอร์เซ็นต์
พื้นที่แนะนำ
ปลูกได้ทุกแหล่งปลูกถั่วเหลือง พันธุ์เชียงใหม่ 2 สามารถปรับตัวตอบสนองต่อทุกสภาพแวดล้อมทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะแหล่งปลูกถั่วเหลืองที่สำคัญ
ข้อควรระวัง
ในการปลูกถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 2 ควรปลูกระยะระหว่างแถว 30-40 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 20 เซนติเมตร จำนวนต้น 3-4 ต้นต่อหลุม
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

พื้นที่ดอน หรือที่ลุ่มไม่มีน้ำท่วมขัง ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร
ดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า1.5 เปอร์เซ็นต์ ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.5 - 7.0
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 15-35 องศาเซลเซียส
ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,000 - 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
ฤดูปลูก(ช่วงปลูกที่เหมาะสม)

ในสภาพนา เป็นการปลูกในฤดูแล้ง (กลางธันวาคม -กลางมกราคม) หลังเก็บเกี่ยวข้าวให้ตัดตอซังทิ้งไว้ในนา
ในสภาพไร่ เป็นการปลูกในฤดูฝน
ต้นฝน (พฤษภาคม-กลางมิถุนายน)
กลางฝน (กรกฏาคม)
ปลายฝน (สิงหาคม)
การเตรียมดิน

ในสภาพนา โดยไม่ต้องไถหรือพรวนดิน และขุดร่องระบายน้ำรอบกระทงนาและผ่านกลางแปลงกว้าง 30 เซนติเมตร ลึก 20 เซนติเมตร
ในสภาพไร่ ให้ไถด้วยผาลสาม 1 ครั้ง ลึก 15-20 เซนติเมตร ตากดิน 7-10 วัน พรวนด้วยผานเจ็ด 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง ปรับดินให้สม่ำเสมอ

ถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ให้หว่านปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000-1,500 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนกลบ
ถ้าดินมีค่าความเป็นกรดด่างต่ำกว่า 5.5 ให้หว่านปูนขาวอัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนกลบ

วิธีการปลูก
ใช้เมล็ดพันธุ์ อัตรา 12-15 กิโลกรัมต่อไร่ คลุกกับไรโซเบียม 200 กรัม โดยใช้ น้ำตาลทราย 75 กรัม ละลายน้ำ 300 มิลลิลิตร เป็นสารยึดเกาะ แล้วปลูกทันที
ในสภาพนา
ใช้ไม้ปลายแหลมทำหลุมกว้าง 2-3 เซนติเมตร ลึก 3-4 เซนติเมตร แล้วหยอดเมล็ดพันธุ์ 4-5 เมล็ดต่อหลุม
ในสภาพไร่
ระยะปลูก 50x20 เซนติเมตร หยอดเมล็ด 4-5 เมล็ดต่อหลุม ได้ประมาณ 64,000 ต้นต่อไร่
ถ้าใช้เครื่องปลูก เครื่องจะปลูกแบบโรยเป็นแถว ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร จำนวน 20-25 ต้น ต่อแถวยาว 1 เมตร ได้ประมาณ 64,000-80,000 ต้นต่อไร่
การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
ในสภาพนา
ในช่วงการปลูกข้าว ถ้าให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 หรือ 16-20-0 แล้ว ควร ให้ปุ๋ยสูตร 0-46-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปลูกถั่วเหลือง
ในช่วงการปลูกข้าว ถ้าไม่ได้ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 หรือ 16-20-0 ควรให้ปุ๋ยสูตร 0-46-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปลูกถั่วเหลือง
ในสภาพไร่ ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรหว่านปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมเตรียมดิน หรือปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยข้างแถว เมื่อถั่วเหลืองอายุไม่เกิน 20 วันหลังปลูก

การให้น้ำ 
1. ไม่ควรให้ถั่วเหลืองขาดน้ำในช่วงออกดอกจนถึงติดฝัก เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก (25-35%)
2. ให้น้ำทุกครั้งเมื่อค่าการระเหยสะสมครบ 60 มิลลิเมตร (ใช้ระยะเวลา 11-15 วัน แล้วแต่สภาพภูมิอากาศ) ตลอดฤดูปลูกให้น้ำประมาณ 5-6 ครั้ง
3. ปริมาณน้ำที่ให้แต่ละครั้ง เท่ากับ 70% ของค่าการระเหย หรือให้น้ำ 42 มิลลิเมตร เมื่อค่าการระเหยสะสมครบ 60 มิลลิเมตร รวมเป็นปริมาณน้ำที่ให้ทั้งหมด 210 มิลลิเมตร หรือ 336 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ (ไม่รวมปริมาณน้ำที่ให้ทันทีหลังปลูกประมาณ 40 มิลลิเมตร)
4. ในการปลูกถั่วเหลืองไม่ว่าจะเป็นพันธุ์อายุสั้น ปานกลาง หรือยาว ไม่ควรลดจำนวนครั้ง และปริมาณให้น้ำ การขาดน้ำที่ระยะ V47 (ข้อที่ 4 ของต้นถั่วเหลืองที่ใบขยายตัวเต็มที่), R1 (ดอกเริ่มบาน) หรือ R3 (เริ่มออกฝัก) จะทำให้ผลผลิตลดลง (12-44%) และขนาดเมล็ดลดลง
5. ในกรณีที่มีน้ำจำกัด สามารถลดจำนวนครั้งและปริมาณการให้น้ำลงได้บ้าง โดยให้น้ำครั้งสุดท้ายเมื่อถั่วเหลืองเติบโตที่ระยะ R6 (ฝักบนข้อที่ 1-4 จากส่วนยอด มีเมล็ดเต็มฝัก) โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้น้ำจนถึงถั่วเหลืองเริ่มมีฝักแรกแก่ 50% (ประมาณระยะ R7-R8) อย่างไรก็ตามไม่ควรหยุดให้น้ำก่อนถึงระยะ R6 เพราะจะทำให้ผลผลิต และขนาดเมล็ดลดลง
6. ในกรณีที่มีน้ำไม่เพียงพอ ควรใช้วัสดุคลุมดิน (ฟางข้าวอัตรา 2 ตัน/ไร่) เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลงน้อยกว่าไม่ใช้วัสดุคลุมดิน 10-18%

การเก็บเกี่ยว
ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เก็บเกี่ยวตามช่วงอายุของพันธุ์ที่ปลูก หรือเมื่อ 95 เปอร์เซ็นต์ของฝักแก่เปลี่ยนสีตามพันธุ์

วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
นวดด้วยเครื่องนวดที่มีความเร็วรอบประมาณ 350-500 รอบต่อนาที ขณะที่ความชื้นในเมล็ดประมาณ 15-17 เปอร์เซ็นต์
นำเมล็ดที่นวดแล้วไปผึ่งแดด 1-3 แดด เพื่อลดความชื้นในเมล็ด เหลือประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์
บรรจุเมล็ดถั่วเหลืองในกระสอบป่าน ที่ไม่ชำรุด สะอาด ปากกระสอบ ตัดแต่งให้เรียบร้อย และเย็บปากกระสอบด้วยเชือกฟาง
ศัตรูถั่วเหลืองและการป้องกันกำจัด
โรคที่สำคัญ
โรคราสนิม เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะเป็นแผลจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก ด้านใต้ใบถ้าระบาดรุนแรงทำให้ใบไหม้และร่วงก่อนกำหนด ป้องกันโดยการหลีกเลี่ยงช่วงปลูก ทำลายซากพืชที่เป็นโรค ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมื่อโรคเริ่มระบาด
โรคใบจุดนูน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะเป็นแผลจุดสีเขียวแกมเหลืองที่ใต้ใบ ถ้าอาการรุนแรง ใบจะเหลืองและร่วงก่อนกำหนด ระบาดรุนแรงในช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าว เข้าทำลายได้ง่าย ป้องกันโดยไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เป็นโรค ทำลายซากพืชที่เป็นโรค ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมื่อโรคเริ่มระบาด
โรคราน้ำค้าง เกิดจากเชื้อรามีลักษณะเป็นแผลจุดสีเหลืองแกมเขียวด้านบนของใบ ต่อมาขยายใหญ่แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดแผลไม่แน่นอน พบเส้นใยสีเทาของเชื้อราบริเวณแผลด้านใต้ใบ ป้องกันโดยไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เป็นโรค ใช้พันธุ์ต้านทาน คลุกเมล็ดก่อนปลูก

แมลงศัตรูที่สำคัญ
หนอนแมลงวันเจาะลำต้นถั่ว วางไข่ในเนื้อเยื่อใต้ใบอ่อน หนอนเจาะไชชอนเข้าไปกัดกินที่ไส้กลาง ของลำต้นและใต้ผิวเปลือกบริเวณโคนต้น แล้วเข้าดักแด้ ทำให้ต้นถั่วเหลืองแคระแกร็น ผลผลิตลดลง ถ้าระบาดมากจะทำให้ต้นถั่วเหลืองตาย ระบาดรุนแรงในระยะกล้า ป้องกันโดยคลุก เมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก หลีกเลี่ยงช่วงปลูก
หนอนเจาะฝักถั่ว วางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆที่กลีบดอก ฝักอ่อนหนอนจะ เจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในฝัก จะเจาะฝักออกมาเพื่อเข้าดักแด้ตาม เศษซากพืช ระบาดรุนแรงในระยะติดฝัก เมื่ออากาศแห้งแล้งและอุณหภูมิสูง
แมลงหวี่ขาวยาสูบ วางไข่เป็นฟองเดี่ยวสีเหลืองอ่อน ตัวอ่อนมีลักษณะ คล้ายรูปไข่สีเหลืองปนเขียว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบถั่ว ทำให้ต้นแคระแกร็น ฝักผิดปกติ เป็นพาหะนำโรคใบยอดย่น
มวนเขียวข้าว วางไข่เป็นกลุ่มหลายแถว ตัวอ่อนวัยแรกจะรวมกันเป็นกลุ่ม ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและฝักอ่อน ทำให้ฝักลีบ
มวนเขียวถั่ว วางไข่เรียงเป็น 2 แถว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและฝักอ่อน ทำให้ฝักลีบ
มวนถั่วเหลือง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและฝัก ทำให้ฝักลีบ
สัตว์ศัตรูที่สำคัญ
หนู เป็นสัตว์ฟันแทะศัตรูสำคัญของถั่วเหลือง ทำลายโดยขุดเมล็ด กินก่อนงอก กัดต้นอ่อนและเจาะกินเฉพาะเมล็ดอ่อนภายในฝัก ป้องกันกำจัดโดย

กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูก และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยของหนูใช้กับดัก หรือกรงดัก
เมื่อสำรวจร่องรอย รูหนู ประชากรหนูและความเสียหายอย่างรุนแรงของ ถั่วเหลืองให้ใช้วิธีป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน คือ ใช้กับดักหรือกรงดัก ร่วมกับการใช้เหยื่อพิษตามคำแนะนำ
ศัตรูธรรมชาติ
ศัตรูธรรมชาติมีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงและสัตว์ศัตรูพืช ในการป้องกันกำจัดศัตรูถั่วเหลืองควรใช้วิธีการที่ปลอดภัย เพื่ออนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ ที่พบทั่วไป ได้แก่

แมลงห้ำ มี 1 ชนิด คือ ด้วงเต่า หนอนและตัวเต็มวัยกัดกินไข่และตัวอ่อน ของแมลงหวี่ขาวยาสูบ
แมลงเบียน มี 2 ชนิด คือ แตนเบียนไข่มวน วางไข่ในไข่ของมวนเขียวข้าว มวนเขียวถั่ว และมวนถั่วเหลือง ทำให้ไข่ของมวน มีสีดำและไม่ฟักเป็นตัว แตนเบียนแมลงหวี่ขาว วางไข่ในตัวอ่อนและดักแด้ของแมลงหวี่ขาวยาสูบ เมื่อไข่ฟักเป็นหนอน จะดูดกินและเจริญเติบโตอยู่ ภายใน ทำให้ซากดักแด้แข็งติดอยู่ใต้ใบถั่วเหลือง
นกฮูก นกแสก เหยี่ยว พังพอนและงู เป็นศัตรูธรรมชาติจับกินหนูสัตว์ศัตรูของถั่วเหลือง
การป้องกันกำจัดวัชพืช
ไถดิน 1 ครั้ง ตากดิน 7-10 วัน พรวน 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง
กำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานหรือเครื่องจักรกล เมื่ออายุ 15-20 วัน หรือก่อน ถั่วเหลืองออกดอก
คลุมดินด้วยเศษซากวัชพืชหรือฟางข้าวทันทีหลังปลูก
ในกรณีที่การกำจัดวัชพืชด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ควรพ่นสารกำจัดวัชพืช ตามคำแนะนำ การแปรรูป และผลิตภัณฑ์
ถั่วเหลืองเป็นพืชโปรตีนสูง การแปรรูปผลิตภัณฑ์สามารถเพิ่มมูลค่าของผลผลิตได้ จากการทดลองปฏิบัติได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิตมากมาย
คุณค่าทางอาหารของถั่วเหลือง
ถั่วเหลือง เป็นพืชที่ให้โปรตีนสูงกว่าเนื้อสัตว์ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางด้านป้องกันการเกิดโรคอีกหลายชนิด เช่น ลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด ลดไขมัน ลดความดัน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยเสริมฮอร์โมนเพศหญิง และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ ลดการเกิดมะเร็ง แต่อย่างไรก็ตาม การบริโภคอาหารจากถั่วเหลืองยังไม่มากเท่าที่ควร ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ กรมวิชาการเกษตร ได้พัฒนาการแปรรูปถั่วเหลืองในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างกระแสการบริโภคให้มากยิ่งขึ้น และทุกคนจะได้มีสุขภาพดี นอกจากนี้เกษตรกรจะได้ผลิตถั่วเหลือง ให้มีคุณภาพสูงยิ่ง ๆ ขึ้นอีก ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย
องค์ประกอบที่สำคัญของเมล็ดถั่วเหลือง

พลังงาน 411.0 กิโลกรัมแคลอรี่
ความชื้น 11.1 กรัม/100 กรัม
โปรตีน 34.0 กรัม/100 กรัม
ไขมัน 18.7 กรัม/100 กรัม
คาร์โบไฮเดรท 26.7 กรัม/100 กรัม
กากใย 4.7 กรัม/100 กรัม
เถ้า 4.8 กรัม/100 กรัม
แร่ธาตุต่าง ๆ
แคลเซี่ยม 245.0 มิลลิกรัม/100 กรัม
ฟอสฟอรัส 500.0 มิลลิกรัม/100 กรัม
เหล็ก 10.0 มิลลิกรัม/กรัม
วิตามินต่าง ๆ
ไทอามีน 0.7 มิลลิกรัม/100 กรัม
ไรโบฟลาวิน 0.2 มิลลิกรัม/100 กรัม
ไนอาซีน 1.5 มิลลิกรัม/100 กรัม
วิตามินซี 14.0 มิลลิกรัม/100 กรัม

คุณค่าทางด้านสุขภาพ
เลซินติน พบในทุก ๆ เซลล์ของร่างกายมนุษย์ สัตว์ และของพืชผักต่าง ๆ สำหรับในเซลล์มนุษย์นั้นจะพบเลซินตินหนาแน่นที่สุดในสมอง ตับ ไต และในกระดูกอ่อน ถั่วเหลืองมีเลซินตินสูงมากถึง 1,480 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม และในบ้านเรามีอาหารดังกล่าวอุดมสมบูรณ์ ถ้าเราสามารถรับประทานอาหารเหล่านี้เพียงวันละ 100 กรัม ร่างกายจะได้เลซินตินเกินต้องการ
ประโยชน์ของเลซินตินต่อร่างกาย
1. ทำหน้าที่เป็นตัวละลายโคเลสเตอรอลไตรกรีเซอไรค์ และไขมันอื่น ๆ ที่อยู่ในหลอดเลือดให้แตกตัวเป็นอนุภาคเล็กที่สุด และแล้วไขมันที่แตกตัวเหล่านี้จะรวมตัวเข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับโลหิตไหล เวียน ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย เลซินตินจึงเป็นสารอาหารป้องกันไม่ให้ไขมันดังกล่าวไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด แคบลงและตีบตันในที่สุด
2. ป้องกันไขมันเกาะที่ตับ และอวัยวะที่สำคัญอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานไม่สะดวก
3. เลซินติน เป็นส่วนประกอบของแผ่นเนื้อเยื่อบาง ๆ หุ้มรอบเส้นใยประสาท (Myelin)
4. เลซินติน เป็นตัวที่ทำให้เกิดโคลีน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างสารเคมี ชนิดหนึ่งสำหรับระบบประสาทที่ให้สัญญาณในการสื่อสาร ผู้ที่ร่างกายมีระดับโคลีนต่ำ จะทำให้จิตใจหดหู่เศร้าหมอง หลงลืม และไม่มีสมาธิ อาการเหล่านี้มักเกิดกับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ โคลีนจะช่วยปล่อยฮอร์โมนวาโสเพรสซิน (Vasopressin) ออกมา ซึ่งมีความสำคัญเกี่ยวกับความจำ การเรียนรู้ การควบคุมปริมาณของปัสสาวะ และควบคุมความดันโลหิต
5. เลซินตินทำหน้าที่ซ่อมแซมเซลล์ที่สึกหรอ ส่งเสริมการทำงานของเซลล์ให้มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ ให้ความชุ่มชื่น แข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ตับ ไต และต่อมไร้ท่อ ตลอดถึงการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
6.รักษาผิวพรรณ ลดรอยด่างรอยตกกระบนผิวหนัง และสีคล้ำรอบขอบตา เนื่องจากการเกาะของไขมัน
7. ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของโคเลสเตอรอลในถุงน้ำดี
8. ควบคุมและส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทให้ปกติสม่ำเสมอไม่ให้มีความกระวนกระวายใจ ไม่ให้เหนื่อยง่ายหรืออ่อนเพลียได้ง่าย
อาหารที่เสริมฤทธิ์เลซินติน ได้แก่

วิตามินอี จะช่วยให้เลซินตินทำงานในร่างกายอย่างได้ผล เพราะจะทำงานประสานกัน และส่งเสริมกันและกันโดยเฉพาะผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน วิตามินอี จะทำให้การใช้อินซูลินในร่างกายน้อยลงด้วย
วิตามินบี 5 และแคลเซี่ยมจะช่วยเปลี่ยนเลซินตินเป็นโคลีน ซี่งช่วยควบคุมการทำงานของสมอง
ขนาดรับประทานไม่มีมาตรฐานกำหนดไว้ เพราะว่าร่างกายสามารถสร้างเองได้ แต่อย่างไรก็ดี ธรรมดาแล้ว แนะนำให้รับประทานครั้งละ 1,200 มิลลิกรัม วันละ 1-2 ครั้ง
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเลซินตินในแง่ของกระบวนการกักกัน (Blood-brain barrier)
กระบวนการกักกันนี้จะคอยป้องกันสมองไม่ให้รับสิ่งต่าง ๆ จากกระแสโลหิตโดยตรง อย่างไรก็ดี มีสารบางอย่างที่สามารถซึมผ่านกระบวนการกักกันนี้ได้ สารนั้นได้แก่ เลซินติน สุรา ยานอนหลับ และยาระงับประสาทต่าง ๆ (Narcotics) หมายความว่า ทุกครั้งที่เรารับประทานสิ่งดังกล่าวแล้ว มันจะมีผลถึงสมองทันที ที่เข้าไปในกระแสโลหิต ดังนั้น เลซินตินจึงเป็นอาหารเสริมที่ถึงสมองทันทีรับประทาน สำหรับผู้ที่ดื่มสุราหรือรับประทานยาพวกนี้ จะเห็นได้ชัดว่ามีผลกับสมองโดยตรงและไปถึงประสาทที่ให้สัญญาณในการสื่อสาร หรือ ที่เรียกว่า เซลล์สื่อประสาท ซึ่งควรจะระวังมาก ๆ นอกจากจะทำลายสุขภาพของสมองและระบบประสาทแล้ว ยังทำให้เกิดอาการขี้ลืมด้วย สตรีวัยก่อนหมดประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือนแล้วก็ตามจะมีความเสี่ยงใน การเป็นโรคกระดูกผุบาง แพทย์จึงมักรักษาโดยการให้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งจะมีปัญหาตามมาอีก คือ มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่เต้านมถ้าใช้ยาฮอร์โมนทดแทนนานเกิน 5 ปีขึ้นไป (ยังต้องรอผลการศึกษาใหม่ว่าอาจจะมีโอกาสน้อยหรือไม่เป็นเลย?) ในสารสกัดจากถั่วเหลืองจะมีสารชื่อ ISOFLAVONES ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ในสตรีวัยทอง เพราะออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (PHYTOESTROGEN) แต่อ่อนกว่ามาก จะช่วยเพิ่มมวลกระดูกให้หนาแน่นขึ้น (bonemass) โดยลดการละลายแคลเซียมออกจากกระดูก นอกจากนี้แล้ว ISOFLAVONES ยังลดอาการหมดประจำเดือนอย่างอื่น ๆ อีก เช่น อาการร้อนวูบวาบเหลื่อแตก ไขมันสูง ช่องคลอดแห้งอารมณ์ไม่ปกติ เป็นต้น ในสัตว์ทดลองปรากฏว่า ช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งช่องคลอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งต้องการการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก

การแปรรูปถั่วเหลือง
เต้าเจี้ยว

ส่วนผสม

ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม
แป้งสาลีหรือแป้งข้าวจ้าวคั่วพอเหลืองนวล 400 กรัม (ใช้แป้งสาลีจะได้เต้าเจี้ยวที่มีกลิ่นหอมกว่า)
น้ำเกลือจำนวน 2 ลิตร (เตรียมจากเกลือ 400 กรัม ผสมน้ำ 2 ลิตร ต้มให้เดือด)
ส่าเชื้อรา แอสเปอร์จิลลัสออไรซี่ (Aspergillus oryzae) 1 ช้อนชา (แต่ถ้าใช้ถั่วเหลือง 25 กก. ใช้เชื้อรา 2 ช้อนโต๊ะ ก็พอเพียง)
วิธีทำ
1. ต้มถั่วเหลืองพอสุก ทิ้งไว้ให้เย็นและผึ่งบนตะแกรงให้หมาด
2. นำส่าเชื้อราผสมแป้งเล็กน้อยคลุกเคล้าให้ทั่ว
3. นำถั่วเหลืองใส่กระด้งไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 ซม. แล้วเกลี่ยให้สม่ำเสมอ
4. ใส่แป้งที่ได้คลุกเชื้อราวางบนถั่วกลางกระด้ง
5. ใส่เชื้อราที่ผสมแป้งลงไปบนแป้งกลางกระด้งแล้วคลุกแป้งกับเชื้อราให้เข้ากันอีกครั้ง
6. คลุกเคล้าเมล็ดถั่วกับแป้งให้แป้งติดเมล็ดอย่างสม่ำเสมอทุกเมล็ด
7. เกลี่ยถั่วเหลืองให้หนา 2-3 ซม. ปิดด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำบิดพอหมาด ๆ
8. นำกระด้งไปวางบนชั้นในห้องซึ่งพื้นที่วางโปร่งมีการระบายอากาศ
9. หลังจากทิ้งไว้ 3-4 วัน จะมีเชื้อราสีเขียวอมเหลืองคลุมถั่วทั้งหมด
10.คลุกถั่วเหลืองในกระด้งให้เมล็ดแยกออกจากกัน (ในระหว่างการคลุก เชื้อรา จะฟุ้งกระจายดังนั้นควรคลุมกระด้งด้วยพลาสติกใสกันการฟุ้งกระจาย และควรใส่ถุงมือยางด้วย)
11.นำถั่วใส่ตุ่มเคลือบแล้วเติมน้ำเกลือ (การเตรียมน้ำเกลือควรทำล่วงหน้าไว้ก่อน 1 วัน)
12.ปิดฝาตุ่มแล้วยกไปตั้งกลางแจ้ง ระวังอย่าให้ถูกน้ำค้างหรือน้ำฝน (ในระหว่างการดอง ควรใช้พายคนให้ทั่วสัปดาห์ละครั้ง)
13.หลังการหมักไว้นาน 3-4 เดือน นำไปต้มจนเดือดนาน ๆ เพื่อให้เชื้อราตายและหยุดการเจริญ แล้วเติมน้ำตาลทราย 100 กรัม ยกลง
14.ล้างขวดให้สะอาด พร้อมฝาแล้วต้มขวดด้วยน้ำที่ร้อนเดือด แล้วลวกฝาจุกด้วยน้ำเดือด (เพื่อมิให้ขวดแตก ควรบรรจุน้ำเย็นลงในขวดและนอนขวดในหม้อต้ม แล้วต้มจนเดือดขวดจะไม่แตก
15.บรรจุเต้าเจี้ยวลงขวด ทิ้งไว้จนเต้าเจี้ยวเย็น แล้วจึงปิดฝาให้สนิทไม่ให้อากาศเข้าได้เก็บไว้รับประทานได้นานเป็นปี
แหล่งผลิตเชื้อราสำหรับทำเต้าเจี้ยว
ร้านกิจมงคลชัย 47 หมู่ 7 ต.โพสะ อ.เมือง จ.อ่างทอง 14000
การลงทุนทำเต้าเจี้ยวสำหรับเต้าเจี้ยวใช้เมล็ดถั่วเหลือง 10 กิโลกรัม
อุปกรณ์
วัตถุดิบ 200-300 บาท
รายได้ 1,250 บาท
กำไรสุทธิ 300-400 บาท
คุ้มทุน 2-3 เดือน
แรงงาน 600 บาท 1-2 คน

ตลาด สามารถบรรจุขายส่งตามร้านอาหารและวางขายตามร้านทั่วไปหรือขายส่งเป็นกิโลกรัม
พล่าเต้าเจี้ยว
ส่วนผสม

เต้าเจี้ยว 1 ถ้วย
น้ำส้มมะขาม 1/2 ถ้วย
น้ำมะกรูด 2 ช้อนโต๊ะ
ตะไคร้หั่นฝอย 1/2 ถ้วย
หอมแดงซอย 1/2 ถ้วย
มะเขือเปราะซอย 1/2 ถ้วย
ขิงหั่นฝอย 1 / 4 ถ้วย
ใบมะกรูดหั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูหั่น 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ผสมเต้าเจี้ยวกับน้ำส้มมะขาม และน้ำมะกรูด คลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. ใส่ตะไคร้ หอมแดง มะเขือเปราะ ใบมะกรูด พริกขี้หนู เคล้าให้ทั่ว
3. ตักใส่ถ้วย แต่งหน้าด้วยขิง ใบมะกรูด พริกขี้หนูเล็กน้อยรับประทานกับผักสด เช่น แตงกวา มะเขือ ถั่วฝักยาว ฯลฯ
หมายเหตุ เต้าเจี้ยวที่นำมาปรุงอาหารนี้ หากเป็นเต้าเจี้ยวที่ทำเองจะ มีรสชาติกลมกล่อมพอดี ไม่ต้องเติมน้ำตาลอีก แต่ถ้าเป็นเต้าเจี้ยวที่ซื้อตามท้องตลาดจำเป็นต้องเติมน้ำตาลอีกเล็กน้อย
เต้าหู้ขาว
ส่วนผสม

ถั่วเหลือง 500 กรัม (สำหรับทำเต้าหู้ขาว 4 แผ่น)
น้ำสะอาด 2.5 ลิตร
แมกนีเซียมซัลเฟต 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ล้างถั่วให้สะอาด แช่น้ำประมาณ 3-4 ชม. แล้วสงขึ้นจากน้ำ
2.ตวงน้ำ 2.5 ลิตร ปั่นกับถั่วแล้วกรองเอากากออก
3. นำน้ำนมมาต้มให้เดือด ยกลง ให้อุณหภูมิของน้ำนมลดลง เหลือประมาณ 80 องศาเซสเซียส หรือรอให้เย็น 2-3 นาที่ (ถ้ามีเทอร์โมมิเตอร์วัดก็ยิ่งดีเพราะอุณหภูมิของน้ำนม มีความสำคัญที่จะทำให้เต้าหู้จับตัวเป็นก้อน)
4.เตรียมสารแมกนีเซียมซัลเฟต 2ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำเปล่า 1 ใน 3 ถ้วย คนจนแมกนีเซียมซัลเฟตละลายสีใส พออุณหภูมิของน้ำนมถั่วเหลืองลดลงมาได้ 80 องศาเซลเซียส เทแมกนีเซียมซัลเฟต ลงในน้ำนม ค่อย ๆ เทวน ใช้พายค่อย ๆ คนเบา ๆ จนเห็นว่ามีตะกอนเป็นก้อนสีขาวแยกตัวออกมา เอาผ้าขาวรองในพิมพ์ตักตะกอนขาวใส่ในพิมพ์ แล้วทับด้วยผ้าขาวบางอีกที่ แล้วใช้นำหนักพอเหมาะกับพิมพ์ กดทับก้อนเต้าหู้ไว้ เพื่อกำจัดน้ำและเต้าหู้จับเป็นก้อน ก็จะได้เต้าหู้ขาว ที่อุดมด้วยโปรตีน นำไปประกอบอาหารได้ตามต้องการ
หมายเหตุ

แมกนีเซียมซัลเฟตหรือดีเกลือหาซื้อได้ตามร้านขายยาจีนทั่วไป
ถ้าใส่ดีเกลือมาก จะทำให้เต้าหู้ขาวมีรสขม
พิมพ์ที่ใช้ทำเต้าหู้เราอาจใช้ตะกร้าพลาสติก หรือตะกร้าไม้ไผ่มีรูด้านล่าง และด้านข้างให้น้ำออกได้ 2 ใบซ้อนกัน ขนาดประมาณ 5 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว ลึก 3-4 นิ้ว
การลงทุนทำเต้าหู้ขาว
อุปกรณ์
วัตถุดิบ 100 บาท
รายได้ 500 บาท
กำไรสุทธิ 300 บาท
คุ้มทุน 2-3 เดือน
แรงงาน 700 บาท 1 คน

ตลาดทำขายตามตลาดสดทั่วไป จุดที่น่าสนใจ สามารถนำไปทอดขายเป็นอาหารว่าง ตามตลาดหรือทอดขายหน้าบ้านได้
เต้าฮวย
ส่วนผสม

น้ำนมถั่วเหลืองชนิดข้น 6 ถ้วยตวง
หินอ่อน (แคลเซี่ยมซัลเฟต) 2 ช้อนโต๊ะ
แป้งมันสำปะหลัง 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. เตรียมน้ำนมถั่วเหลือง โดยใช้ถั่วเหลือง 500 กรัม ต่อน้ำ 2.5 ลิตร (วิธีเตรียมเช่นเดียวกับเต้าหู้ขาว)
2.นำน้ำนมถั่วเหลืองตั้งไฟให้เดือดพล่าน
3. เตรียมละลายหินอ่อนและแป้งมันรวมกัน ใส่น้ำพอสมควร เทลงในชามอ่าง หรือถังไม้ อย่าให้ตะกอน
4.รีบเทน้ำนมถั่วเหลืองที่ต้มเดือดลงในชามอ่างโดยเร็วไม่ต้องคน เต้าฮวยจะแข็งตัวภายใน 5 นาที
5.ทิ้งให้เย็น รับประทานกับน้ำขิง โรยด้วยงาดำคั่วป่น จะช่วยเสริมแคลเซียมได้อีกนาน
หมายเหตุ หินอ่อนหรือเจี๊ยะกอ ลักษณะเป็นก้อนสีเทาอ่อน หาซื้อได้จากร้านขายยาจีนทั่วไป แต่เป็นหินอ่อนที่ยังไม่ได้สะตุเอาน้ำออก วิธีสะตุเอาน้ำออกก็คือนำไปเผาไฟจนเป็น ก้อนขาว แล้วนำมาบดให้ละเอียดและร่อนเก็บไว้ในภาชนะปิดสนิทไม่ให้อากาศเข้าได้ จะใช้ทำเต้าฮวยได้อีกนาน
นมถั่วเหลือง (น้ำเต้าหู้)
ส่วนผสม

ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม
น้ำสะอาด 12 ลิตร
น้ำตาลทรายขาว 1 กิโลกรัม
ใบเตยล้างสะอาด 5 ใบตัดเป็นท่อน ๆ
เกลือเสริมไอโอดีน 2 ช้อนชา
วิธีทำ
1. แช่ถั่วเหลืองในน้ำสะอาดนาน ประมาณ 6 ชั่วโมง
2.เทน้ำออกแล้วล้างให้สะอาด
3.สงขึ้นจากน้ำแล้วนำมาบดกับน้ำสะอาด 12 ลิตร
4.กรองกากถั่วเหลืองออกด้วยผ้าขาวบาง
5. นำน้ำถั่วเหลืองที่ได้มาต้มกับใบเตยให้เดือดแล้วใส่น้ำตาลและเกลือคนให้น้ำตาลละลายยกลงกรองอีกครั้ง รับประทานได้
หมายเหตุ ขณะต้มต้องหมั่นคนอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะไหม้ได้ง่าย การลงทุนนมถั่วเหลือง
(น้ำเต้าหู้) ถั่วเหลือง 5 กิโลกรัม
การลงทุนทำนมถั่วเหลือง (น้ำเต้าหู้)
อุปกรณ์ระยะยาว
วัตถุดิบ
รายได้
กำไรสุทธิ
แรงงานในครอบครัว 15,000 บาท
150 บาท
525 บาท
375 บาท
2 คน

ตลาด บรรจุขวดส่งตามบ้านและส่งขายตามโรงเรียนต่าง ๆ
ไอศครีมถั่วเหลือง
ส่วนผสม

ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม
น้ำสะอาด 12 ลิตร
น้ำตาลทราย 17 กิโลกรัม
เกลือป่น 2 ช้อนชา
ใบเตยล้างสะอาดตัดเป็นท่อน ๆ ละ 5 ใบ
วิธีทำ
1.แช่ถั่วเหลืองในน้ำสะอาด ประมาณ 6 ชั่วโมง เทน้ำทิ้ง แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด
2. สงขึ้นจากน้ำ แล้วบดกับน้ำสะอาด 12 ลิตร
3.กรองกากถั่วเหลืองออก
4.นำน้ำนมถั่วเหลืองมาต้มกับใบเตยพอเดือดใส่น้ำตาลทรายเกลือคนให้ละลาย
5.กรองอีกครั้ง แล้วทิ้งให้เย็น
6.นำมาผสมข้าวโพดหวาน ขนุน ฯลฯ แล้วเข้าเครื่องปั่นจนแข็งรับประทานได้
หมายเหตุ

ถ้าทำไอศครีมรับประทานในครอบครัว นำเข้าตู้เย็นช่องแช่แข็ง (ยังไม่ต้องใส่ข้าวโพดหรือขนุน)
เมื่อเริ่มแข็งตัว นำออกมาใช้ส้อมตี หรืออาจใช้เครื่องผสมอาหารตีให้ละเอียดเสียก่อน แล้วจึงใส่ข้าวโพดหรือขนุน นำเข้าตู้เย็นอีกครั้งจนกระทั่งแข็งตัว นำออกมารับประทานได้
การลงทุนทำไอศครีมถั่วเหลือง
อุปกรณ์ระยะยาว
วัตถุดิบ
รายได้
คุ้มทุน
แรงงาน 15,000-17,000 บาท
100 บาท
400 บาท/12 ลิตร
6 เดือน
1 คน

ตลาด ส่งร้านอาหาร/ขายเองย่านชุมชน จุดที่น่าสนใจ เป็นอาหารคลายร้อนแล้วให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก
ขนมรังผึ้งเชียงใหม่
ส่วนผสม

แป้งถั่วเหลือง 2 1/2 ถ้วยครึ่ง
นมถั่วเหลือง 1 ถ้วย
น้ำมันถั่วเหลือง 1/2 ถ้วย
ไข่แดงตีพอแตก (ขนาดกลาง) 5 ฟอง
เกลือป่นเสริมไอโอดีน 1/2 ช้อนชา
วานิลลา 2 ช้อนชา
ไข่ขาว (ขนาดกลาง) 5 ฟอง
น้ำตาลทรายไม่ฟองสี 3 /4 ถ้วย
วิธีทำ
1.ผสมแป้งถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง และเกลือ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วค่อย ๆ เทน้ำมันผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันใส่ไข่แดงเคล้าผสมให้ทั่ว อย่าให้แป้งเป็นเม็ด
2.ตีไข่ขาวให้ฟูแข็ง ค่อย ๆ โรยน้ำตาลที่ละน้อยจนหมด
3.เทส่วนผสมในข้อที่ 1 ลงในส่วนผสมข้อที่ 2 ใช้พายคนไปทางเดียวกันเบา ๆ ให้เข้ากัน ใส่วานิลลา คนอีกครั้ง
4.ตักหยอดใส่พิมพ์ขนมรังผึ้ง (ใช้พิมพ์รังผึ้งไฟฟ้าจะดีที่สุด) แต่ใช้พิมพ์รังผึ้งแบบใช้ถ่านจะติดพิมพ์ไม่เป็นรูปร่าง ถ้าไม่มีพิมพ์ก็ใช้หยอดบนกระทะแบนที่ทาน้ำมัน ซึ่งทำเช่นเดียวกับแพนเค้กก็ได้หรือถ้ามีเตาอบก็ใส่ถ้วยอบหรืออบพิมพ์ขนมไข่ ก็ได้เช่นเดียวกัน
ขนมรังผึ้งเชียงใหม่ ต่อส่วนผสม 1 ครั้ง
อุปกรณ์
วัตถุดิบ
รายได้
กำไรสุทธิ
แรงงาน 500 บาท
35 บาท
175 บาท
140 บาท
1 คน

ตลาด ทำขายตามตลาดสดทั่วไป จุดที่น่าสนใจ สามารถนำไปขายตามตลาด
ซุปถั่วเหลือง
ส่วนผสม

น้ำสะอาด 6 ถ้วย
แครอทหั่นฝอย 1 ถ้วย
เต้าหู้หั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเล็ก ๆ 1 ถ้วย
หอมใหญ่หั่นชิ้นเล็ก ๆ 1/2 ถ้วย
เต้าเจี้ยวบดละเอียด 1/3-1/2 ถ้วย
ต้นหอมญี่ปุ่นซอยละเอียด 1 ถ้วย (ใช้ต้นหอมแบ่งแทนได้)
วิธีทำ
1.ต้มน้ำให้เดือด ใส่แครอท เต้าหู้แข็ง ต้มให้สุก แล้วใส่หอมใหญ่
2. แบ่งตักน้ำซุป 1/2 ถ้วย ใส่เต้าเจี้ยวลงละลายในน้ำซุป แล้วเทใส่หม้อตามเดิม คนให้เข้ากัน
3. ตักใส่ถ้วย โรยด้วยต้นหอมญี่ปุ่น รับประทานได้
หมายเหตุ

ผักที่ใส่ในซุป จะเปลี่ยนเป็นฟักทอง ผักใบเขียว หรือเห็ดก็ได้
ใช้เต้าเจี้ยวที่ทำเอง จะมีความเค็มน้อย และกลิ่นหอม
ต้นหอมญี่ปุ่น มีวางจำหน่ายโดยโครงการดอยคำ
ใช้เต้าหู้ทอด แล้วซอยเป็นแผ่นบาง ๆ ใส่เพิ่มอีกได้
ขนมหม้อแกงถั่วเหลือง
ส่วนผสม

ถั่วเหลืองนึ่งสุกบดละเอียด 1 กิโลกรัม
ไข่เป็ด 20 ฟอง
น้ำตาลปิ๊บ 1.5 กิโลกรัม
หัวกะทิ 1 กิโลกรัม
เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
หอมแดง 10-15 หัว
น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
ใบเตย 5-6 ใบ
แป้งสาลี 1.5 ถ้วย
วิธีทำ
1. นำถั่วเหลืองที่แช่น้ำไว้ 8-10 ชั่วโมง สงขึ้นแล้วนำมานึ่ง
2.ต่อยไขใสภาชนะ ตีให้ละเอียดแล้วนำส่วนผสม (น้ำตาล เกลืด กะทิ ผสมให้เขช้ากับใบเตยบด กรองด้วยผ้าขาวบาง นำถั่วเหลืองและแป้งสาลีลงผสม คนให้เข้ากัน แล้วนำไปบดให้ละเอียด
3.นำส่วนผสมใส่กระทะทองเหลือง ตั้งไฟกวนให้ข้นเหนียว แล้วใช้น้ำมันพืชทาพิมพ์ให้มัน
4.เทใส่พิมพ์อะลูมิเนียม แล้วใช้น้ำมันทาหน้าอีกที่นำไปเข้าตู้อบ อุณหภูมิ 175 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 45นาที่ พอหน้าขนมเริ่มเหลืองแตกมัน ยกออก รอให้ขนมเย็น จึงตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม โรยหน้าด้วยหอมเจียว
ขนมที่อบเรียบร้อยแล้วต้นทุนการผลิต
วัตถุดิบ
รายได้
กำไรสุทธิ
แรงงาน 119 บาท
140-170 บาท
31-61 บาท
1 คน

ขนมหม้อแกงที่ทำสามารถผลิตได้ 2 ถาด ถาดละ 42 ชิ้น
เค้กถั่วหลือง
ส่วนผสม

ผลไม้แต่งหน้าขนม
ผลไม้กระป๋อง 1- 1/2 ถ้วย (สับปะรดแว่น เงาะ ลิ้นจี่ สตรอเบอรี่ วางไว้บนตะแกรงเอาน้ำออกให้หมด
ผลไม้แห้ง 1/2 ถ้วย (กล้วยตาก ลำไยแห้งหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
ส่วนผสมหน้าขนม
น้ำตาลทรายแดง (น้ำตาลอ้อย) 1/3 ถ้วย
เนยสด 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำผลไม้กระป๋อง 1/3 ถ้วย (น้ำสับปะรดแว่น)
ส่วนผสมตัวขนม
แป้งถั่วเหลือง 1 ถ้วย
แป้งสาลีชนิดทำเค้ก 1 ถ้วย
ผงฟู 2 ช้อนชา
เกลือ 1/4 ช้อนชา
เนยสด 1 ถ้วย
ไข่ไก่ขนาดกลาง 4 ฟอง (หรือขนาดใหญ่ 3 ฟอง)
นมถั่วเหลือง 2 ช้อนโต๊ะ
วานิลลา 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 3/4 ถ้วย
วิธีทำหน้าขนม
1. ใส่น้ำตาลทรายแดงลงในหม้อ เติมน้ำผลไม้ ตั้งไฟให้เดือดและเคี่ยวไฟอ่อน ๆ จนเป็นยางมะตูม แล้วใส่เนยสดคนจนละลาย ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น
2.นำพิมพ์ขนมมาทาเนยให้ทั่ว แล้ววางผลไม้จัดวางให้สวยงาม
3. เทส่วนผสมข้อ 1 ลงไป แล้วพักไว้
วิธีทำตัวขนม
1.ร่อนแป้งถั่วเหลือง และแป้งสาลี แล้วตวงอย่างละ 1 ถ้วย ผสมแป้งทั้ง 2 ชนิดเข้าด้วยกัน ใส่ผงฟูและเกลือ ร่อนอีก 1 ครั้ง พักไว้
2. ตีเนยกับน้ำตาลจนเป็นครีมขาวฟู

การปลูกถั่วเหลืองให้ได้ผลผลิตดี