การปลูกขนุน

1. การเตรียมดิน

1.1 ในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เช่นที่ราบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ การปลูกขนุนในที่ ดังกล่าวต้องยกร่องเสียก่อน เช่นเดียวกับร่องผัก หรือร่องสวนในที่ลุ่ม เพื่อป้องกัน ไม่ให้น้ำท่วมถึงโคนต้นได้ ขนาดของร่องกว้างประมาณ 4-6 เมตร คูน้ำกว้าง 1.5 เมตร ส่วนความยาวของร่องขึ้นอยู่ กับขนาดของพื้นที่และความต้องการ ความสูง ของร่องยิ่งสูงมากยิ่งดี รากขนุนจะได้หยั่งลึกและเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อขุดยกร่อง เสร็จแล้วทำการปรับปรุงดินให้ร่วนซุยโดยการขุดตากดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เพราะดินในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมักจะเป็นดินเหนียว จัด ไม่ค่อยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้น ในที่ซึ่งเห็นว่าดินยังไม่ ดีพอ ดินยังเหนียวอยู่มาก ควรจะปลูกพืชพวกรากตื้น ๆ หรือปลูกผักก่อนสัก 2-3 ปีแล้วจึงปลูกขนุน ส่วนในที่เป็นร่องสวนเก่ามีคันคูอยู่แล้ว เคยปลูกพืชอย่างอื่นจนดินร่วนซุยดี แล้วก็อาจจะทำการปรับปรุงดินอีกเล็กน้อยแล้วลงมือปลูกได้เลย
1.2 ในพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง ที่ป่า ที่เขา ถ้าเป็นที่ ๆ เคยปลูกพืชอย่างอื่น อยู่แล้วก็ไม่ต้องเตรียมดินมาก เพราะที่จะโล่งเตียนอยู่แล้ว เพียงแต่ปรับปรุงหน้าดิน โดยการไถพรวน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักให้ดินดีขึ้น ส่วนที่เป็นป่าเปิดใหม่ต้องถางที่ให้ โล่งเตียน ไม่ให้มีไม้อย่างอื่นปนอยู่ ถ้าไถพรวนได้สักครั้งสองครั้งก็จะเป็นการดี ที่ดังกล่าวมักเป็นดินที่ร่วนชุยอยู่แล้ว ในที่บางแห่ง เช่นป่าเปิดใหม่มักจะมีอินทรีย์วัตถุ อยู่มากตามธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องหามาเพิ่มเติม ส่วนในที่ ๆ เห็นว่าเป็นทรายจัด อินทรียวัตถุค่อนข้างน้อยก็ควรใส่เพิ่มโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น มูลสัตว์ ต่าง ๆ เศษใบไม้ใบหญ้าที่แห้งผุพัง กากถั่ว เปลือกถั่ว เป็นต้น หรือจะปรับปรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยพืชสดก็ได้โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วไถกลบให้ต้นถั่วสลายตัวผุพัง อยูในดิน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี ทำให้ดิน อุ้มน้ำดี เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นขนุน
2. การขุดหลุมปลูก

การปลูกทั้งแบบยกร่องและแบบปลูกในที่ดอน ควรปลูกเป็นแถวเป็น แนว เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา และการปฎิบัติงานสวน ระยะห่างระหว่างต้นหรือ ระหว่างหลุมคือ 8x10 เมตร หรือ lOx l2 เมตร เป็นระยะที่เหมาะสำหรับการปลูก แบบไร่ หรือถี่กว่านี้ขี้นอยู่กับพันธุ์และความเหมาะสมต่าง ๆ ส่วนการปลูก แบบร่อง ต้นขนุนมักมีขนาดเล็กกว่าการปลูกแบบไร่ ระยะห่างระหว่างต้นอาจ ถี่กว่านี้ก็ได้

ขนาดของหลุมปลูก ให้ขุดหลุมขนาด กว้าง ยาว ลึก 50-100 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินดีร่วนซุยมีพวกอินทรีย์วัตถุมาก ขุดหลุมขนาด 50 เซนติเมตรก็พอ ส่วนที่ดินไม่ค่อยดีให้ขุดหลุมขนาดใหญ่ เพื่อจะ ได้ปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้ดีขึ้น ทำให้รากเจริญเติบโตได้ดี ดินที่ขุดขึ้นมาจาก หลุมนั้นให้แยกเป็นสองกอง คือดินชั้นบนกองหนึ่งและดินชั้นล่างอีกกองหนึ่ง ตากดินที่ขุดขี้นมาประมาณ l5-20 วัน แล้วผสมดินทั้งสองกองนั้นด้วยปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก แล้วกลบดินลงในหลุมตามเดิมโดยให้ดินชั้นบนลงไว้ก้นหลุม และดิน ชั้นล่างกลบไว้ด้านบน ดินที่กลบลงไปจะสูงเกินปากหลุม ปล่อยทิ้งไว้ให้ดินยุบตัวดี เสียก่อนจึงจะลงมือปลูก

3. วิธีปลูก

การปลูกไม่ว่าจะปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งทาบ หรือต้นที่เพาะเมล็ดก็ ตาม ให้ทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รากขาดมากต้นจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นขนุนที่ปลูกไว้ในภาชนะนาน ๆ ดินในภาชนะจะจับตัวแข็งและรากจะพันกัน ไปมา เวลาปลูกเมื่อเอาออกจากกระถางแล้วให้เอามือบิดินก้นภาชนะ ให้แยกออกจาก กันเล็กน้อยและค่อย ๆ คลี่รากที่ม้วนไปมาให้แยกจากกัน เพื้อจะได้เติบโตต่อไป อย่างรวดเร็ว
3.1 การปลูกด้วยกิ่งทาบ อย่ากลบดินจนมิดรอยต่อของกิ่ง ให้ปลูกใน ระดับเดียวกับดินในกระถางเดิมหรือสูงกว่าเดิมเพียงเล็กน้อยแต่ไม่มิดรอยต่อ เพื่อจะได้มองเห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้นเป็นกิ่งของต้นตอหรือของกิ่งพันธุ์ ถ้า แตกออกมาจากต้นตอให้ตัดทิ้งไปเพราะเป็นกิ่งที่ไม่ต้องการ
3.2 การปลูกด้วยกิ่งตอน ให้กลบดินให้เสมอดินเดิมในภาชนะ หรือให้ เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนโผล่อยู่ อย่ากลบดินจนมิดจุกมะพร้าวเพราะทำให้ ต้นเน่าได้ง่าย

เมื่อปลูกเสร็จให้หาไม้มาปักเป็นหลักผูกต้นกันลมโยกแล้วรดน้ำทันทีให้ โชก ควรใช้ทางมะพรัาวช่วยคลุมแดดให้บ้างในระยะแรก เพราะถ้าโดนแดดจัดต้นอาจจะ เฉาชะงักการเจริญเติบโตได้ หลังจากปลูกแล้วให้คอยดูแลรดน้ำอยู่เสมอ ถ้าฝน ไม่ตกการใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมบริเวณโคนต้นจะช่วยรักษาความชื้นของดินได้ดี
3.3 การปลูกพืชแซม การปลูกขนุนด้วยกิ่งตอนและกิ่งทาบจะใช้เวลา ประมาณ 3-4 ปีกว่าจะให้ผล และการปลูกด้วยเมล็ดใช้เวลาประมาณ 4-6 ปี ใน ระหว่างที่ต้นขนุนยังเล็กอยู่นี้ ควรปลูกพืชอย่างอื่นที่มีอายุสั้น ๆ เป็นการหารายได้ไป พลาง ๆ ก่อน ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์อะไร แล้ว ยังต้องคอยดายหญ้าอยู่เสมออีกด้วย วิธีหนึ่งที่นิยมทำกันมากคือ ก่อนจะปลูก ขนุนควรปลูกกล้วยเสียก่อน เมื่อกล้วยโตพอสมควรจึงปลูกขนุนตามลงไป ซึ่งกล้วย จะช่วยเป็นร่มเงาให้ขนุนไม่โดนแดดมากเกินไป และทำให้สวนชุ่มชื้นอยู่เสมอ ต้นขนุนจะโตเร็ว จนเห็นว่าต้นขนุนโตพอสมควร ก็ทยอยขุดกล้วยออก การ ปลูกกล้วยก่อนนี้เป็นวิธีที่นิยมในการปลูกไม้ผลทั่วไป แต่มีข้อเสียตอนขุดรื้อ ต้นกล้วยออก เพราะต้องใช้แรงงานมากเช่นกัน

การดูแลรักษาหลังปลูก
การดูแลรักษา
1. การให้น้ำ
สัปดาห์แรกหลังจากปลูก ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำให้ทุกวัน หลังจากนั้น ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำ 3-4 วันต่อครั้ง และตลอดฤดูแล้ง ถ้าเห็นว่าดินแห้งเกินไป ต้องรดน้ำช่วยจนกว่าต้นขนุนมีอายุ 1 ปีขึ้นไป จีงจะปลอดภัยการให้น้ำอาจ ห่างออกไปบ้างก็ได้ การปลูกโดยทั่วไปมักให้น้ำเพียง 1-2 ครั้งแล้วปล่อยตามธรรมธาติ ก็สามารถเจริญเติบโตให้ดอกให้ผลได้เช่นกัน เพราะโดยปกติขนุนเป็นพืชที่ทนแล้ง อยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามการปลูกเพือให้ได้ผลอย่างเต็มที่นั้นควรให้น้ำอยู่อย่าง สม่ำเสมอ ในฤดูแล้งหรือช่วงที่ขาดฝนนาน ๆ ควรให้น้ำช่วยบ้าง จะทำให้ต้นเจริญ เติบโตอย่างสม่ำเสมอ ไม่ชะงักการเจริญเติบโต
เมื่อขนุนโตขนาดให้ผลแล้ว ในระยะที่ขนุนตกดอกให้งดน้ำชั่วระยะ หนึ่ง เมื่อดอกบานและติดผลแล้ว จึงให้น้ำให้มากเพื่อบำรุงผลให้เติบโตและมี คุณภาพดี หลังจากที่ติดผลแล้ว ถ้าขาดน้ำผลจะมีขนาดเล็ก การเติบโตของผลไม่สม่ำ เสมอ ผลอาจแป้ว เบี้ยว และเนื้อบาง การให้น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง
2. การปราบวัชพืช
การกำจัดวัชพืชต้องกระทำอยู่เสมอ เพราะวัชพืช ต่าง ๆ จะคอยแย่ง อาหารจากต้นขนุน และการปล่อยให้สวนรกรุงรังจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและ แมลงต่าง ๆ ที่จะทำลายขนุนอีกด้วย การปราบวัชพืชทำได้โดยการถางหรือใช้ ยาปราบวัชพืช หรือโดยการปลูกพืชคลุมดินเป็นวิธีที่ควรปฎิบัติอย่างหนึ่ง เพราะพืช คลุมดินนอกจากจะป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นแล้ว ยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นของ ดิน ทำให้ดินไม่แห้งเร็ว ไม่ต้องให้น้ำบ่อย ๆ ช่วยให้ดินร่วนชุย และใบที่ร่วงหล่นจะ ผุพังเป็นประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้พืชคลุมดินยังช่วยป้องกันการชะล้างของดินอัน เนื่องจากฝนตก โดยเฉพาะการปลูกตามที่ลาดเอียง พืชคลุมดินที่ควรใช้ปลูกคือพวก ถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วผี เป็นต้น ถั่วเหล่านี้จะมีเถาอาจเลื้อยพันขี้นไปบนต้น ขนุน ต้องหมั่นดูแลและคอยตัดออกโดยเฉพาะบริเวณเรือนพุ่มต้องคอยตัดคอย ถาง อย่าให้พืชคลุมดินขึ้นบริเวณโคนต้น พืชคลุมดินนี้เมื่อปลูกไปนาน ๆ ก็ไถกลบ ดินเสียครั้งหนึ่งแล้วปลูกใหม่จะช่วยให้ดินดียิ่งขึ้น การปราบวัชพืชนี้ถ้าไม่ปลูกพืช คลุมดินก็ควรปลูกพืชแซมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
3. การให้ปุ๋ย
ขนุนเป็นพืชที่ไม่เลือกดินปลูกนัก สามารถปลูกได้ในดินทั่วไป แต่ถ้าดิน นั้นอุดมสมบูรณ์มีธาตุอาหารเพียงพอ ต้นขนุนจะเจริญได้ดี ให้ผลดกและผลมี คุณภาพดี การปรับปรุงดินให้ร่วนซุยและการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินจึงเป็นสิ่งควรปฎิ บัติ ปุ๋ยที่ใช้แบ่งเป็นสองพวกคือ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได้แก่ มูลสัตว์ต่าง ๆ ใบไม้ใบหญ้าที่ ผุพัง และอื่น ๆ รวมทั้งปุ๋ยพืชสดที่ได้จากการปลูกพืชพวกถั่วแล้วไถกลบลงไปใน ดิน ปุ๋ยพวกนี้แม้จะไม่มีธาตุอาหารที่พืชต้องการมากนักแต่ก็มีประโยธน์ต่อพืชที่ ปลูก หลายอย่างดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นปุ๋ยที่ให้ประโยชน์แก่พืชอย่างรวดเร็วและมีธาตุ อาหารในปริมาณมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ในดินที่ค่อนข้างขาดธาตุอาหาร จึงควรให้ปุ๋ย วิทยาศาสตร์แก่ต้นขนุนบ้างจะทำให้การเจริญเติบโตดี ให้ผลดก และคุณภาพของ ผลดี การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาอยู่บ้าง การใช้อาจใช้ตั้งแต่ระยะ ที่ต้นยังเล็กอยู่เป็นการเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก โดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมชัลเฟต 2-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 1 ปี๊บรดที่ต้นเดือนละ 2 ครั้ง จะช่วยให้ต้นโตเร็ว เมื่อนำ ต้นปลูกลงแปลงในสวน ควรใช้ปุ๋ยฟอสเฟต หรือกระดูกป่นใส่รองก้นหลุมจะช่วยให้ ต้นเจริญเติบโตได้ดี เมื่อต้นโตจนให้ผลแล้ว ควรทำรางดินรอบ ๆ เป็นวงกลมในรัศมี ของกิ่งที่แผ่รอบต้นแล้วใส่พวกปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในรางดินและเติมปุ๋ยวิทยา ศาสตร์ ลงไปด้วย จะได้ผลดียิ่งขี้น ปุ๋ยที่ใช้อาจใช้สูตร 15-15-15 หรือ 16- l6-16 เป็นหลัก
เนื่องจากขนุนเป็นไม้ผลที่มีขนาดใหญ่ รากสามารถหยั่งลงดินได้ ลึก และหาอาหารได้ไกล ดังนั้นการปรับปรุงดินในแปลงปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์ จะทำให้ดินดี มีความร่วนซุยอยู่เสมอ ซึ่งเป็นการเพียงพอสำหรับการปลูกขนุน นอก จากที่ ๆ ดินขาดธาตุอาหารมาก ๆ จึงควรปรับปรุงด้วยการเพิ่มปุ๋ยวิทยาศาสตร์ด้วย

การปลูกขนุน

                                        การปลูกขนุน

1. การเตรียมดิน

1.1 ในที่ลุ่มน้ำท่วมถึง เช่นที่ราบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ การปลูกขนุนในที่ ดังกล่าวต้องยกร่องเสียก่อน เช่นเดียวกับร่องผัก หรือร่องสวนในที่ลุ่ม เพื่อป้องกัน ไม่ให้น้ำท่วมถึงโคนต้นได้ ขนาดของร่องกว้างประมาณ 4-6 เมตร คูน้ำกว้าง 1.5 เมตร ส่วนความยาวของร่องขึ้นอยู่ กับขนาดของพื้นที่และความต้องการ ความสูง ของร่องยิ่งสูงมากยิ่งดี รากขนุนจะได้หยั่งลึกและเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อขุดยกร่อง เสร็จแล้วทำการปรับปรุงดินให้ร่วนซุยโดยการขุดตากดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ เพราะดินในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมักจะเป็นดินเหนียว จัด ไม่ค่อยเหมาะต่อการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้น ในที่ซึ่งเห็นว่าดินยังไม่ ดีพอ ดินยังเหนียวอยู่มาก ควรจะปลูกพืชพวกรากตื้น ๆ หรือปลูกผักก่อนสัก 2-3 ปีแล้วจึงปลูกขนุน ส่วนในที่เป็นร่องสวนเก่ามีคันคูอยู่แล้ว เคยปลูกพืชอย่างอื่นจนดินร่วนซุยดี แล้วก็อาจจะทำการปรับปรุงดินอีกเล็กน้อยแล้วลงมือปลูกได้เลย
1.2 ในพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง ที่ป่า ที่เขา ถ้าเป็นที่ ๆ เคยปลูกพืชอย่างอื่น อยู่แล้วก็ไม่ต้องเตรียมดินมาก เพราะที่จะโล่งเตียนอยู่แล้ว เพียงแต่ปรับปรุงหน้าดิน โดยการไถพรวน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักให้ดินดีขึ้น ส่วนที่เป็นป่าเปิดใหม่ต้องถางที่ให้ โล่งเตียน ไม่ให้มีไม้อย่างอื่นปนอยู่ ถ้าไถพรวนได้สักครั้งสองครั้งก็จะเป็นการดี ที่ดังกล่าวมักเป็นดินที่ร่วนชุยอยู่แล้ว ในที่บางแห่ง เช่นป่าเปิดใหม่มักจะมีอินทรีย์วัตถุ อยู่มากตามธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องหามาเพิ่มเติม ส่วนในที่ ๆ เห็นว่าเป็นทรายจัด อินทรียวัตถุค่อนข้างน้อยก็ควรใส่เพิ่มโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น มูลสัตว์ ต่าง ๆ เศษใบไม้ใบหญ้าที่แห้งผุพัง กากถั่ว เปลือกถั่ว เป็นต้น หรือจะปรับปรุงดิน โดยใช้ปุ๋ยพืชสดก็ได้โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วไถกลบให้ต้นถั่วสลายตัวผุพัง อยูในดิน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี ทำให้ดิน อุ้มน้ำดี เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นขนุน
2. การขุดหลุมปลูก

การปลูกทั้งแบบยกร่องและแบบปลูกในที่ดอน ควรปลูกเป็นแถวเป็น แนว เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา และการปฎิบัติงานสวน ระยะห่างระหว่างต้นหรือ ระหว่างหลุมคือ 8x10 เมตร หรือ lOx l2 เมตร เป็นระยะที่เหมาะสำหรับการปลูก แบบไร่ หรือถี่กว่านี้ขี้นอยู่กับพันธุ์และความเหมาะสมต่าง ๆ ส่วนการปลูก แบบร่อง ต้นขนุนมักมีขนาดเล็กกว่าการปลูกแบบไร่ ระยะห่างระหว่างต้นอาจ ถี่กว่านี้ก็ได้

ขนาดของหลุมปลูก ให้ขุดหลุมขนาด กว้าง ยาว ลึก 50-100 เซนติเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินดีร่วนซุยมีพวกอินทรีย์วัตถุมาก ขุดหลุมขนาด 50 เซนติเมตรก็พอ ส่วนที่ดินไม่ค่อยดีให้ขุดหลุมขนาดใหญ่ เพื่อจะ ได้ปรับปรุงดินในหลุมปลูกให้ดีขึ้น ทำให้รากเจริญเติบโตได้ดี ดินที่ขุดขึ้นมาจาก หลุมนั้นให้แยกเป็นสองกอง คือดินชั้นบนกองหนึ่งและดินชั้นล่างอีกกองหนึ่ง ตากดินที่ขุดขี้นมาประมาณ l5-20 วัน แล้วผสมดินทั้งสองกองนั้นด้วยปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก แล้วกลบดินลงในหลุมตามเดิมโดยให้ดินชั้นบนลงไว้ก้นหลุม และดิน ชั้นล่างกลบไว้ด้านบน ดินที่กลบลงไปจะสูงเกินปากหลุม ปล่อยทิ้งไว้ให้ดินยุบตัวดี เสียก่อนจึงจะลงมือปลูก

3. วิธีปลูก

การปลูกไม่ว่าจะปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งทาบ หรือต้นที่เพาะเมล็ดก็ ตาม ให้ทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รากขาดมากต้นจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นขนุนที่ปลูกไว้ในภาชนะนาน ๆ ดินในภาชนะจะจับตัวแข็งและรากจะพันกัน ไปมา เวลาปลูกเมื่อเอาออกจากกระถางแล้วให้เอามือบิดินก้นภาชนะ ให้แยกออกจาก กันเล็กน้อยและค่อย ๆ คลี่รากที่ม้วนไปมาให้แยกจากกัน เพื้อจะได้เติบโตต่อไป อย่างรวดเร็ว
3.1 การปลูกด้วยกิ่งทาบ อย่ากลบดินจนมิดรอยต่อของกิ่ง ให้ปลูกใน ระดับเดียวกับดินในกระถางเดิมหรือสูงกว่าเดิมเพียงเล็กน้อยแต่ไม่มิดรอยต่อ เพื่อจะได้มองเห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้นเป็นกิ่งของต้นตอหรือของกิ่งพันธุ์ ถ้า แตกออกมาจากต้นตอให้ตัดทิ้งไปเพราะเป็นกิ่งที่ไม่ต้องการ
3.2 การปลูกด้วยกิ่งตอน ให้กลบดินให้เสมอดินเดิมในภาชนะ หรือให้ เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนโผล่อยู่ อย่ากลบดินจนมิดจุกมะพร้าวเพราะทำให้ ต้นเน่าได้ง่าย

เมื่อปลูกเสร็จให้หาไม้มาปักเป็นหลักผูกต้นกันลมโยกแล้วรดน้ำทันทีให้ โชก ควรใช้ทางมะพรัาวช่วยคลุมแดดให้บ้างในระยะแรก เพราะถ้าโดนแดดจัดต้นอาจจะ เฉาชะงักการเจริญเติบโตได้ หลังจากปลูกแล้วให้คอยดูแลรดน้ำอยู่เสมอ ถ้าฝน ไม่ตกการใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมบริเวณโคนต้นจะช่วยรักษาความชื้นของดินได้ดี
3.3 การปลูกพืชแซม การปลูกขนุนด้วยกิ่งตอนและกิ่งทาบจะใช้เวลา ประมาณ 3-4 ปีกว่าจะให้ผล และการปลูกด้วยเมล็ดใช้เวลาประมาณ 4-6 ปี ใน ระหว่างที่ต้นขนุนยังเล็กอยู่นี้ ควรปลูกพืชอย่างอื่นที่มีอายุสั้น ๆ เป็นการหารายได้ไป พลาง ๆ ก่อน ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์อะไร แล้ว ยังต้องคอยดายหญ้าอยู่เสมออีกด้วย วิธีหนึ่งที่นิยมทำกันมากคือ ก่อนจะปลูก ขนุนควรปลูกกล้วยเสียก่อน เมื่อกล้วยโตพอสมควรจึงปลูกขนุนตามลงไป ซึ่งกล้วย จะช่วยเป็นร่มเงาให้ขนุนไม่โดนแดดมากเกินไป และทำให้สวนชุ่มชื้นอยู่เสมอ ต้นขนุนจะโตเร็ว จนเห็นว่าต้นขนุนโตพอสมควร ก็ทยอยขุดกล้วยออก การ ปลูกกล้วยก่อนนี้เป็นวิธีที่นิยมในการปลูกไม้ผลทั่วไป แต่มีข้อเสียตอนขุดรื้อ ต้นกล้วยออก เพราะต้องใช้แรงงานมากเช่นกัน

การดูแลรักษาหลังปลูก
การดูแลรักษา
1. การให้น้ำ
สัปดาห์แรกหลังจากปลูก ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำให้ทุกวัน หลังจากนั้น ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำ 3-4 วันต่อครั้ง และตลอดฤดูแล้ง ถ้าเห็นว่าดินแห้งเกินไป ต้องรดน้ำช่วยจนกว่าต้นขนุนมีอายุ 1 ปีขึ้นไป จีงจะปลอดภัยการให้น้ำอาจ ห่างออกไปบ้างก็ได้ การปลูกโดยทั่วไปมักให้น้ำเพียง 1-2 ครั้งแล้วปล่อยตามธรรมธาติ ก็สามารถเจริญเติบโตให้ดอกให้ผลได้เช่นกัน เพราะโดยปกติขนุนเป็นพืชที่ทนแล้ง อยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามการปลูกเพือให้ได้ผลอย่างเต็มที่นั้นควรให้น้ำอยู่อย่าง สม่ำเสมอ ในฤดูแล้งหรือช่วงที่ขาดฝนนาน ๆ ควรให้น้ำช่วยบ้าง จะทำให้ต้นเจริญ เติบโตอย่างสม่ำเสมอ ไม่ชะงักการเจริญเติบโต
เมื่อขนุนโตขนาดให้ผลแล้ว ในระยะที่ขนุนตกดอกให้งดน้ำชั่วระยะ หนึ่ง เมื่อดอกบานและติดผลแล้ว จึงให้น้ำให้มากเพื่อบำรุงผลให้เติบโตและมี คุณภาพดี หลังจากที่ติดผลแล้ว ถ้าขาดน้ำผลจะมีขนาดเล็ก การเติบโตของผลไม่สม่ำ เสมอ ผลอาจแป้ว เบี้ยว และเนื้อบาง การให้น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง
2. การปราบวัชพืช
การกำจัดวัชพืชต้องกระทำอยู่เสมอ เพราะวัชพืช ต่าง ๆ จะคอยแย่ง อาหารจากต้นขนุน และการปล่อยให้สวนรกรุงรังจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและ แมลงต่าง ๆ ที่จะทำลายขนุนอีกด้วย การปราบวัชพืชทำได้โดยการถางหรือใช้ ยาปราบวัชพืช หรือโดยการปลูกพืชคลุมดินเป็นวิธีที่ควรปฎิบัติอย่างหนึ่ง เพราะพืช คลุมดินนอกจากจะป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นแล้ว ยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นของ ดิน ทำให้ดินไม่แห้งเร็ว ไม่ต้องให้น้ำบ่อย ๆ ช่วยให้ดินร่วนชุย และใบที่ร่วงหล่นจะ ผุพังเป็นประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้พืชคลุมดินยังช่วยป้องกันการชะล้างของดินอัน เนื่องจากฝนตก โดยเฉพาะการปลูกตามที่ลาดเอียง พืชคลุมดินที่ควรใช้ปลูกคือพวก ถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วผี เป็นต้น ถั่วเหล่านี้จะมีเถาอาจเลื้อยพันขี้นไปบนต้น ขนุน ต้องหมั่นดูแลและคอยตัดออกโดยเฉพาะบริเวณเรือนพุ่มต้องคอยตัดคอย ถาง อย่าให้พืชคลุมดินขึ้นบริเวณโคนต้น พืชคลุมดินนี้เมื่อปลูกไปนาน ๆ ก็ไถกลบ ดินเสียครั้งหนึ่งแล้วปลูกใหม่จะช่วยให้ดินดียิ่งขึ้น การปราบวัชพืชนี้ถ้าไม่ปลูกพืช คลุมดินก็ควรปลูกพืชแซมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
3. การให้ปุ๋ย
ขนุนเป็นพืชที่ไม่เลือกดินปลูกนัก สามารถปลูกได้ในดินทั่วไป แต่ถ้าดิน นั้นอุดมสมบูรณ์มีธาตุอาหารเพียงพอ ต้นขนุนจะเจริญได้ดี ให้ผลดกและผลมี คุณภาพดี การปรับปรุงดินให้ร่วนซุยและการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินจึงเป็นสิ่งควรปฎิ บัติ ปุ๋ยที่ใช้แบ่งเป็นสองพวกคือ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได้แก่ มูลสัตว์ต่าง ๆ ใบไม้ใบหญ้าที่ ผุพัง และอื่น ๆ รวมทั้งปุ๋ยพืชสดที่ได้จากการปลูกพืชพวกถั่วแล้วไถกลบลงไปใน ดิน ปุ๋ยพวกนี้แม้จะไม่มีธาตุอาหารที่พืชต้องการมากนักแต่ก็มีประโยธน์ต่อพืชที่ ปลูก หลายอย่างดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นปุ๋ยที่ให้ประโยชน์แก่พืชอย่างรวดเร็วและมีธาตุ อาหารในปริมาณมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ในดินที่ค่อนข้างขาดธาตุอาหาร จึงควรให้ปุ๋ย วิทยาศาสตร์แก่ต้นขนุนบ้างจะทำให้การเจริญเติบโตดี ให้ผลดก และคุณภาพของ ผลดี การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาอยู่บ้าง การใช้อาจใช้ตั้งแต่ระยะ ที่ต้นยังเล็กอยู่เป็นการเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก โดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมชัลเฟต 2-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 1 ปี๊บรดที่ต้นเดือนละ 2 ครั้ง จะช่วยให้ต้นโตเร็ว เมื่อนำ ต้นปลูกลงแปลงในสวน ควรใช้ปุ๋ยฟอสเฟต หรือกระดูกป่นใส่รองก้นหลุมจะช่วยให้ ต้นเจริญเติบโตได้ดี เมื่อต้นโตจนให้ผลแล้ว ควรทำรางดินรอบ ๆ เป็นวงกลมในรัศมี ของกิ่งที่แผ่รอบต้นแล้วใส่พวกปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในรางดินและเติมปุ๋ยวิทยา ศาสตร์ ลงไปด้วย จะได้ผลดียิ่งขี้น ปุ๋ยที่ใช้อาจใช้สูตร 15-15-15 หรือ 16- l6-16 เป็นหลัก
เนื่องจากขนุนเป็นไม้ผลที่มีขนาดใหญ่ รากสามารถหยั่งลงดินได้ ลึก และหาอาหารได้ไกล ดังนั้นการปรับปรุงดินในแปลงปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์ จะทำให้ดินดี มีความร่วนซุยอยู่เสมอ ซึ่งเป็นการเพียงพอสำหรับการปลูกขนุน นอก จากที่ ๆ ดินขาดธาตุอาหารมาก ๆ จึงควรปรับปรุงด้วยการเพิ่มปุ๋ยวิทยาศาสตร์ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น