มะลิเป็นไม้ดอกสีขาวที่มีกลิ่นหอม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น เก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย นอกจากนั้นส่วนต่าง ๆ ของมะลิก็ยังมาใช้เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้
พันธุ์ มะลิที่นิยมใช้ดอกมาร้อยมาลัยในปัจจุบันเป็นมะลิลาพันธุ์ราษฎร์บูรณะ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี
มีความเป็นกรด-ด่าง 5.5-6.5
มีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสมบูรณ์
ได้รับแสงแดดเต็มที่เพื่อให้มีดอกดก
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ที่นิยมกันมากที่สุดคือ การปักชำ
1. เตรียมวัสดุเพาะชำ ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1:1 บรรจุในภาชนะ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
2. เตรียมกิ่งพันธุ์ กิ่งที่ใช้เป็นกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อน ตัดให้มีความยาวของกิ่ง 4 นิ้ว หรือมีข้ออย่างน้อย 3 ข้อ การตัดกิ่งควรตัดให้ชิดข้อ ริดใบส่วนล่างออก
3. นำกิ่งมะลิปักชำลงในแปลงชำ ให้มีระยะระหว่างแถวและกิ่ง 2x2 นิ้ว รดน้ำและสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา รักษาความชื้นให้เหมาะสมและคงที่
4. หลังจากกิ่งปักชำออกรากแล้วให้ย้ายลงปลูกในถุงขนาด 2x3 นิ้ว โดยใส่ดิน+ขุยมะพร้าว+ปุ๋ยคอก อัตรา 3:1:1 จนต้นมะลิแข็งแรงดีแล้วจึงนำไปปลูก
การปลูก
นิยมปลูกในช่วงฤดูฝน เดือน มิถุนายน-กรกฎาคม
ขุดหลุมลึก กว้าง และยาวด้านละ 50 ซม.
ใส่ปุ๋ยคอกและวัสดุอื่น ๆ ในอัตราส่วน 1:1:1 พร้อมทั้งเติมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) และปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 อย่างละ 1 กำมือ คลุกให้เข้ากัน แล้วใส่กลับลงไปในหลุมใหม่ ทิ้งไว้ 7-10 วัน จึงนำต้นมะลิลงปลูก
นิยมปลูกในช่วงฤดูฝน เดือน มิถุนายน-กรกฎาคม
ขุดหลุมลึก กว้าง และยาวด้านละ 50 ซม.
ใส่ปุ๋ยคอกและวัสดุอื่น ๆ ในอัตราส่วน 1:1:1 พร้อมทั้งเติมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) และปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 อย่างละ 1 กำมือ คลุกให้เข้ากัน แล้วใส่กลับลงไปในหลุมใหม่ ทิ้งไว้ 7-10 วัน จึงนำต้นมะลิลงปลูก
การดูแลรักษา
การให้น้ำ มะลิต้องการน้ำปานกลาง ทั้งนี้อาจให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง ระวังอย่าให้น้ำขัง
การใส่ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 อัตรา 1-3 ช้อนแกงต่อต้น ขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม ใส่เดือนละครั้ง โดยหว่านและรดน้ำตาม
การตัดแต่ง ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งรวมทั้งตัดกิ่งที่แห้งตายออกด้วย เพื่อลดโรคและแมลง
การให้น้ำ มะลิต้องการน้ำปานกลาง ทั้งนี้อาจให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง ระวังอย่าให้น้ำขัง
การใส่ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 อัตรา 1-3 ช้อนแกงต่อต้น ขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม ใส่เดือนละครั้ง โดยหว่านและรดน้ำตาม
การตัดแต่ง ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งรวมทั้งตัดกิ่งที่แห้งตายออกด้วย เพื่อลดโรคและแมลง
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ
โรครากเน่า
โรคแอนแทรกโนส
โรครากปม
หนอนเจาะดอก หนอนกินใบ
หนอนเจาะลำต้น เพลี้ยไฟ
การเก็บเกี่ยวโรครากเน่า
โรคแอนแทรกโนส
โรครากปม
หนอนเจาะดอก หนอนกินใบ
หนอนเจาะลำต้น เพลี้ยไฟ
เก็บดอกตูม ที่โตเต็มที่ สีขาวนวล วิธีเก็บให้ใช้มือเด็ดตรงก้านดอกใต้กลีบเลี้ยง ควรเก็บดอกเวลาเช้ามืด 03.00-04-00 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น