วิธีปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ได้ผลผลิตดี
ระยะแรก คือตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กันยายน
- ช่วงวันที่ 1-15 พฤษภาคม เป็นช่วงที่เกษตรกรต้องทำการไถพรวนดินโดยไม่ต้องขึ้นแปลงบนพื้นที่ที่จะทำ การปลูกข้าวโพดควรกำจัดเศษหญ้าเศษวัชพืชออกนอกพื้นที่ให้หมด
- หลังจากนั้นเริ่มทำการเพาะปลูก โดยการขุดหลุมด้วยจอบและหยอดเมล็ด ใน 1 หลุมจะต้องหยอด 2-3 เมล็ดและกลบดินบางๆ
- เมื่อครบ15-20วัน แล้วในระยะนี้เกษตรกรจะต้องทำการใส่ปุ๋ย อาจะเป็นปุ๋ยอินทรียชีวภาพ หรืออาจใช้ปุ๋ยเคมีสูตร16-0-0ปริมาณ 1 ส่วน ผสมกับ 16-20-0 ปริมาณ 2 ส่วน ใส่ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อ 1 ต้น

- เมื่อต้นข้าวโพดยาว 1 คืบ ในช่วงนั้นวัชพืชก็จะขึ้นมาพร้อมๆกัน เกษตรกรควรพ่นยาควบคุมการเจริญเติบของวัชพืช
- เดือนกรกฎาคม เกษตรกรต้องหมั่นดูแลกำจัดวัชพืช ในช่วงนี้ต้นข้าวโพดจะสูงประมาณ 100 เซนติเมตรและเริ่มออกดอก ออกฝัก แตกใบอ่อน ต้นข้าวโพด 1 ต้นจะมี 2 ฝักต่อ 1 ต้น ช่วงนี้จะมีแมลงจำพวกตั๊กแตน มารบกวน เกษตรกรต้องมั่นมาไล่และจับตั๊กแตน เกษตรกรส่วนใหญ่จะจับตั๊กแตนมาทำเป็นอาหาร
- เดือนกันยายน ช่วงที่ฝักข้าวโพดแก่เต็มที่ ลักษณะฝักข้าวโพดแก่ต้องแห้งและเหลือง เกษตรกรสามารถเก็บผลผลิตได้

ระยะสอง หรือข้าวโพดเหมย ในเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์

ข้าวโพดเหมย(หมอก,น้ำค้าง) คือข้าวโพดที่เกษตรกรปลูกในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากช่วงฤดูหนาวจะมีหมอกหรือทางภาคเหนือเรียกว่า “เหมย” ช่วงนี้ปริมาณฝนจะน้อยลง ผลผลิตข้าวโพดเหมยจะน้อยกว่าข้าวโพดในระยะแรกที่ชุมชื้นด้วยน้ำฝนตลอดทั้งปี การปลูกข้าวโพดเหมยจะใช้พื้นที่เดิมหรือพื้นที่ใหม่ก็ได้ โดยจะทำได้ดังนี้

- ช่วงวันที่ 1-15 ตุลาคม เป็นช่วงที่เกษตรกรต้องทำการไถพรวนดินโดยไม่ต้องขึ้นแปลงบนพื้นที่ที่จะทำ การปลูกข้าวโพดควรกำจัดเศษหญ้าเศษวัชพืชออกนอกพื้นที่ให้หมด
 - หลังจากนั้นเริ่มทำการเพาะปลูก โดยการขุดหลุมด้วยจอบและหยอดเมล็ด ใน 1 หลุมจะต้องหยอด 2-3 เมล็ดและกลบดินบางๆ
- เมื่อครบ15-20วัน แล้วในระยะนี้เกษตรกรจะต้องทำการใส่ปุ๋ย อาจะเป็นปุ๋ยอินทรียชีวภาพ หรืออาจใช้ปุ๋ยเคมีสูตร16-0-0ปริมาณ 1 ส่วน ผสมกับ 16-20-0 ปริมาณ 2 ส่วน ใส่ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อ 1 ต้น
- เมื่อต้นข้าวโพดยาว 1 คืบ ในช่วงนั้นวัชพืชก็จะขึ้นมาพร้อมๆกัน เกษตรกรควรพ่นยาควบคุมการเจริญเติบของวัชพืช 

- เดือนธันวาคม เกษตรกรต้องหมั่นดูแลกำจัดวัชพืช ในช่วงนี้ต้นข้าวโพดจะสูงประมาณ 100 เซนติเมตรและเริ่มออกดอก ออกฝัก แตกใบอ่อน ต้นข้าวโพด 1 ต้นจะมี 2 ฝักต่อ 1 ต้น ช่วงนี้จะไม่มีแมลงจำพวกตั๊กแตน มารบกวนเหมือนช่วงระยะแรก
- เดือนกุมภาพันธ์ ช่วงที่ฝักข้าวโพดแก่เต็มที่ ลักษณะฝักข้าวโพดแก่ต้องแห้งและเหลือง เกษตรกรสามารถเก็บผลผลิตได้

ผลผลิตที่ได้ทั้งระยะแรกและระยะที่ สองหรือข้าวโพดเหมยนั้น ข้าวโพดระยะแรกจะได้ผลผลิตมากว่า เนื่องจากได้น้ำฝนมากกว่า การเก็บผลผลิตนั้นเกษตรกรต้องระวังเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับความชื้น อย่าให้โดนฝน และต้องเก็บในโรงเรือนที่โปร่งไม่มีความอับชื้น ถ้าเก็บผลผลิตมาแล้วต้องรีบขายสู่ท้องตลาด ถ้าเก็บไว้นานจะมีแมลงจำพวกตัวมอดมากัดกินเมล็ดข้างโพด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีการเจรจากับพ่อค้าคนกลาง และจะให้พ่อค้านำเครื่องมาโม่(สี)ข้าวโพดและนำกระสอบมาบรรจุขายถึงไร่     

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นรายได้

                                    วิธีปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ได้ผลผลิตดี
ระยะแรก คือตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กันยายน
- ช่วงวันที่ 1-15 พฤษภาคม เป็นช่วงที่เกษตรกรต้องทำการไถพรวนดินโดยไม่ต้องขึ้นแปลงบนพื้นที่ที่จะทำ การปลูกข้าวโพดควรกำจัดเศษหญ้าเศษวัชพืชออกนอกพื้นที่ให้หมด
- หลังจากนั้นเริ่มทำการเพาะปลูก โดยการขุดหลุมด้วยจอบและหยอดเมล็ด ใน 1 หลุมจะต้องหยอด 2-3 เมล็ดและกลบดินบางๆ
- เมื่อครบ15-20วัน แล้วในระยะนี้เกษตรกรจะต้องทำการใส่ปุ๋ย อาจะเป็นปุ๋ยอินทรียชีวภาพ หรืออาจใช้ปุ๋ยเคมีสูตร16-0-0ปริมาณ 1 ส่วน ผสมกับ 16-20-0 ปริมาณ 2 ส่วน ใส่ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อ 1 ต้น

- เมื่อต้นข้าวโพดยาว 1 คืบ ในช่วงนั้นวัชพืชก็จะขึ้นมาพร้อมๆกัน เกษตรกรควรพ่นยาควบคุมการเจริญเติบของวัชพืช
- เดือนกรกฎาคม เกษตรกรต้องหมั่นดูแลกำจัดวัชพืช ในช่วงนี้ต้นข้าวโพดจะสูงประมาณ 100 เซนติเมตรและเริ่มออกดอก ออกฝัก แตกใบอ่อน ต้นข้าวโพด 1 ต้นจะมี 2 ฝักต่อ 1 ต้น ช่วงนี้จะมีแมลงจำพวกตั๊กแตน มารบกวน เกษตรกรต้องมั่นมาไล่และจับตั๊กแตน เกษตรกรส่วนใหญ่จะจับตั๊กแตนมาทำเป็นอาหาร
- เดือนกันยายน ช่วงที่ฝักข้าวโพดแก่เต็มที่ ลักษณะฝักข้าวโพดแก่ต้องแห้งและเหลือง เกษตรกรสามารถเก็บผลผลิตได้

ระยะสอง หรือข้าวโพดเหมย ในเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์

ข้าวโพดเหมย(หมอก,น้ำค้าง) คือข้าวโพดที่เกษตรกรปลูกในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากช่วงฤดูหนาวจะมีหมอกหรือทางภาคเหนือเรียกว่า “เหมย” ช่วงนี้ปริมาณฝนจะน้อยลง ผลผลิตข้าวโพดเหมยจะน้อยกว่าข้าวโพดในระยะแรกที่ชุมชื้นด้วยน้ำฝนตลอดทั้งปี การปลูกข้าวโพดเหมยจะใช้พื้นที่เดิมหรือพื้นที่ใหม่ก็ได้ โดยจะทำได้ดังนี้

- ช่วงวันที่ 1-15 ตุลาคม เป็นช่วงที่เกษตรกรต้องทำการไถพรวนดินโดยไม่ต้องขึ้นแปลงบนพื้นที่ที่จะทำ การปลูกข้าวโพดควรกำจัดเศษหญ้าเศษวัชพืชออกนอกพื้นที่ให้หมด
 - หลังจากนั้นเริ่มทำการเพาะปลูก โดยการขุดหลุมด้วยจอบและหยอดเมล็ด ใน 1 หลุมจะต้องหยอด 2-3 เมล็ดและกลบดินบางๆ
- เมื่อครบ15-20วัน แล้วในระยะนี้เกษตรกรจะต้องทำการใส่ปุ๋ย อาจะเป็นปุ๋ยอินทรียชีวภาพ หรืออาจใช้ปุ๋ยเคมีสูตร16-0-0ปริมาณ 1 ส่วน ผสมกับ 16-20-0 ปริมาณ 2 ส่วน ใส่ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อ 1 ต้น
- เมื่อต้นข้าวโพดยาว 1 คืบ ในช่วงนั้นวัชพืชก็จะขึ้นมาพร้อมๆกัน เกษตรกรควรพ่นยาควบคุมการเจริญเติบของวัชพืช 

- เดือนธันวาคม เกษตรกรต้องหมั่นดูแลกำจัดวัชพืช ในช่วงนี้ต้นข้าวโพดจะสูงประมาณ 100 เซนติเมตรและเริ่มออกดอก ออกฝัก แตกใบอ่อน ต้นข้าวโพด 1 ต้นจะมี 2 ฝักต่อ 1 ต้น ช่วงนี้จะไม่มีแมลงจำพวกตั๊กแตน มารบกวนเหมือนช่วงระยะแรก
- เดือนกุมภาพันธ์ ช่วงที่ฝักข้าวโพดแก่เต็มที่ ลักษณะฝักข้าวโพดแก่ต้องแห้งและเหลือง เกษตรกรสามารถเก็บผลผลิตได้

ผลผลิตที่ได้ทั้งระยะแรกและระยะที่ สองหรือข้าวโพดเหมยนั้น ข้าวโพดระยะแรกจะได้ผลผลิตมากว่า เนื่องจากได้น้ำฝนมากกว่า การเก็บผลผลิตนั้นเกษตรกรต้องระวังเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับความชื้น อย่าให้โดนฝน และต้องเก็บในโรงเรือนที่โปร่งไม่มีความอับชื้น ถ้าเก็บผลผลิตมาแล้วต้องรีบขายสู่ท้องตลาด ถ้าเก็บไว้นานจะมีแมลงจำพวกตัวมอดมากัดกินเมล็ดข้างโพด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีการเจรจากับพ่อค้าคนกลาง และจะให้พ่อค้านำเครื่องมาโม่(สี)ข้าวโพดและนำกระสอบมาบรรจุขายถึงไร่     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น