ขั้นตอนการปลูกพันธุ์แขกดำ

มี ลักษณะทรงพุ่มเตี้ย แข็งแรง ความสูงประมาณ 2-4 เมตร ก้านใบสีเขียวอ่อน ลักษณะสั้นและแข็งแรง ก้านใบตั้งตรงยาวประมาณ 60-80 เซนติเมตร ใบหนากว่าพันธุ์อื่นๆ มีเส้นใบ 9-11 แฉก มีการออกดอกติดผลเร็ว ผลมีขนาดปานกลาง ส่วนหัวและปลายผลมีขนาดเท่ากัน ผลยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ผลในขณะที่ยังดิบเปลือกมีสีเขียวเข้ม เปลือกหนา เนื้อหนาประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ผลสุกมีสีส้มอมแดง เนื้อสีแดงเข้ม ช่องว่างภายในผลแคบ มีเปอร์เซ็นต์ความหวามประมาณ 9-13 องศาบริกซ์ น้ำหนักผลประมาณ 0.60-1.70 กิโลกรัม เหมาะสำหรับบริโภคสุกและดิบ
วิธีการเตรียมดิน
มะละกอ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ที่สำคัญจะต้องเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ ขัง แฉะ เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่มีความ ทนทาน ต่อการถูกน้ำท่วม ถ้ามีน้ำท่วมโคนต้น เพียง 1-2 วัน จะชะงักการเจริญเติบโตและ อาจตายได้ แต่อย่างไรก็ตามจะขาด น้ำไม่ได้ดังนั้น พื้นที่ที่ จะปลูก มะละกอ ควรเป็นที่น้ำท่วมไม่ถึงและควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำอีกด้วย ถ้าหากเป็นที่ลุ่มควรทำแปลง ปลูกแบบยกร่องสำหรับการเตรียมดินปลูก ก่อนอื่นต้องกำจัดวัชพืชออกให้หมดแล้ว ทำการพรวนดิน อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกให้ไถดินก้อนโต ๆ ทิ้งให้ตากแดดจนแห้งดีแล้ว จึงไถพรวนย่อยดินอีกครั้ง ถ้าดินปลูกไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ควรใส่ปุ๋ยให้แก่ดิน โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วก่อน แล้วไถกลบลง ดินให้เน่าเปื่อยผุพังอยู่ในดิน
การเตรียมหลุมปลูก

หลุม ที่ใช้ปลูกมะละกอควรขุดให้มีขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณด้านละ 50 เซนติเมตร ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุมให้ปล่อยตากแดด ทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วจึงย่อยให้ละเอียด ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก ใบไม้ผุ แล้วจึงกลบดินลงหลุม จากนั้นจึงนำต้นกล้าหรือเมล็ดมะละกอลงปลูกระยะห่าง 2X2 เมตร หรือ 2.50X2.50 เมตร สำหรับพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ควรทำการปลูกแบบยกร่อง โดยทำเป็นร่องขนาดกว้าง 3-4 เมตร(ปลูก2แถว) คูน้ำระหว่างร่องกว้างประมาณ 1 เมตร แล้วทำการเตรียมดินและหลุมต่อไป

วิธีการปลูก

มะละกอ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ที่นิยมกันคือปลูกในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน การนำต้นกล้าลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ดินแตกออกจากราก และไม่ให้รากขาด เมื่อวางต้นกล้าลงหลุมปลูกแล้ว ให้กลบดินรอบโคนต้น กดให้แน่นให้ระดับดินในหลุมปลูกเสมอกับระดับดินเดิมที่ติดมากับต้นกล้า อย่ากลบโคนต้นสูงกว่ารอยดินเดิม จะทำให้เป็นโรคโคนเน่า เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอย่างอื่นคลุมบังแดดประมาณ 7-10 วัน รดน้ำทุกเช้า อย่าให้ขาดน้ำ ถ้าขาดน้ำในระยะนี้ต้นจะแคระแกร็น โตช้า และให้ผลช้าด้วย

การดูแลรักษาหลังจากการปลูก
ใน การปลูกมะละกอนั้นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติดูแลเพื่อให้มะละกอเจริญ เติบโต ให้ผลผลิตสูง ดังนั้น ผู้ปลูกจะต้อง รู้จักวิธีการปฏิบัติ นับตั้งแต่การให้น้ำการ ใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช การตัดแต่งกิ่ง และการตัดแต่งผลอ่อน

ศัตรูและการป้องกันกำจัด

มะละกอ เป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว ไม่ค่อยมีศัตรูรบกวนมากนัก แต่ก็มีศัตรูบางประเภทที่คอยรบกวนทำลายและแพร่ระบาดได้รวดเร็ว ศัตรูมะละกอที่พบและทำความเสียหายมีทั้งโรคและแมลง สำหรับโรคที่พบมาก คือ โรคไวรัสจุดวงแหวน โรคใบเน่าและรากเน่า โรคแอนแทรกโนส โรคเน่าของต้นกล้า ส่วนแมลงที่พบมาก คือ ไรแดง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ ในแปลงปลูกมะละกอ สามารถปลูกพืชสมุนไพรและพืชอื่นแซมได้ ในการเลือกพืชแซมจะต้องไม่เป็นพืชอาศัยของศัตรูพืชที่สำคัญของต้นมะละกอ ศัตรูพืชที่ทำความเสียหายให้กับมะละกอได้แก่ โรคใบจุดวงแหวน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส มีเพลี้ยอ่อนเป็นแมลงพาหะ โรคนี้ถ้าเกิดกับมะละกอในระยะต้นเล็กจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างสิ้นเชิง จึงไม่ควรปลูกมะละกอในบริเวณที่มีการปลูกพืชพวก พริก มะเขือ แตงโม แตงกวา แตงร้าน ตำลึง เนื่องจากพืชดังกล่าวเป็นพืชอาศัยของเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นแมลงพาหะนำเชื้อไวรัสมาสู่ต้นมะละกอ
การปลูกพืชแซมในแปลงปลูก มะละกอ ควรพิจารณาเลือกพืชแซมที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่ามะละกอ โดยปลูกแซมระหว่างแถว เช่น ต้นโหระพา กะเพรา กระชาย ตะไคร้ และตะไคร้หอมเป็นต้น

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

การ เก็บผลมะละกอนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย เพราะความแก่อ่อนของผลที่จะเก็บเกี่ยวมีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพของมะละกอและ อายุการเก็บรักษาด้วย ดังนั้น จึงต้องเก็บผลมะละกอในระยะที่เหมาะสม คือ ถ้าจะเก็บเพื่อบริโภคผลดิบ ควรให้มะละกอแก่จัด แต่อย่าให้ห่าม ถ้าจะเก็บเพื่อกินผลสุก ควรปล่อยให้ผลสุกเต็มที่
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้จัดแบ่งระยะแก่ของผลมะละกอไว้ 6 ระยะ ดังนี้

1. ระยะแก่จัดสีเขียว ผลจะมีสีเขียวเข้ม เนื้อผลแน่น
2. ระยะเริ่มเปลี่ยนสีผล จะมีพื้นผิวสีเขียวเข้มและจะมี สีเหลืองอ่อน ๆ บริเวณเนินสันทางด้านปลายผล
3. ระยะสุกหนึ่งในสี่ผล จะมีพื้นผิวสีเขียว และเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มชัดเจนบริเวณเนิน สันด้านปลายผล
4. ระยะสุกสองในสี่ ผิวของผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ประมาณครึ่งผล
5. ระยะสุกสามในสี่ ผิวของผลจะมีสีเหลืองมากกว่าสีเขียว เนื้อผลนิ่ม เมื่อใช้มือกดจะยุบตัวลง
6. ระยะสุกเต็มที่ ผิวจะมีสีเหลืองเกือบเต็มผล จะมีสีเขียว ปะปน บ้างเล็กน้อย

การห่อและการขนส่ง

ใน การห่อเพื่อส่งขายนั้น จะต้องระมัดระวังอย่าให้มะละกอกระทบกระเทือนมาก และจะต้องมีการระบายอากาศที่ดี ที่นิยมทำกันส่วนใหญ่แล้วจะบรรจุใส่เข่ง ภายในเข่งจะห่อหุ้มด้วยใบตองหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ พรมน้ำภายในเข่งให้ชุ่ม แล้วมัดให้แน่น ในขณะที่ขนส่งต้องระมัดระวังอย่าวางเข่งซ้อนทับกัน ถ้าจำเป็นต้องวางซ้อนกัน ควรใช้ไม้คั่นระหว่างเข่ง

ตลาดมะละกอ

การ ตลาดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการปลูกมะละกอ แต่ผู้ปลูกจะต้องวางแผนการตลาดตั้งแต่ตอนปลูก จึงจะทำให้ผู้ปลูกได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า โดยผู้ปลูกจะต้องศึกษาสภาพการจำหน่ายมะละกอของตลาดก่อนปลูก ว่าตลาดมีความต้องการมะละกอพันธุ์ใด ผลดิบหรือผลสุก ราคาที่จำหน่ายจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่

การปลูกมะละกอ

                      ขั้นตอนการปลูกพันธุ์แขกดำ

มี ลักษณะทรงพุ่มเตี้ย แข็งแรง ความสูงประมาณ 2-4 เมตร ก้านใบสีเขียวอ่อน ลักษณะสั้นและแข็งแรง ก้านใบตั้งตรงยาวประมาณ 60-80 เซนติเมตร ใบหนากว่าพันธุ์อื่นๆ มีเส้นใบ 9-11 แฉก มีการออกดอกติดผลเร็ว ผลมีขนาดปานกลาง ส่วนหัวและปลายผลมีขนาดเท่ากัน ผลยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ผลในขณะที่ยังดิบเปลือกมีสีเขียวเข้ม เปลือกหนา เนื้อหนาประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ผลสุกมีสีส้มอมแดง เนื้อสีแดงเข้ม ช่องว่างภายในผลแคบ มีเปอร์เซ็นต์ความหวามประมาณ 9-13 องศาบริกซ์ น้ำหนักผลประมาณ 0.60-1.70 กิโลกรัม เหมาะสำหรับบริโภคสุกและดิบ
วิธีการเตรียมดิน
มะละกอ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ที่สำคัญจะต้องเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ ขัง แฉะ เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่มีความ ทนทาน ต่อการถูกน้ำท่วม ถ้ามีน้ำท่วมโคนต้น เพียง 1-2 วัน จะชะงักการเจริญเติบโตและ อาจตายได้ แต่อย่างไรก็ตามจะขาด น้ำไม่ได้ดังนั้น พื้นที่ที่ จะปลูก มะละกอ ควรเป็นที่น้ำท่วมไม่ถึงและควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำอีกด้วย ถ้าหากเป็นที่ลุ่มควรทำแปลง ปลูกแบบยกร่องสำหรับการเตรียมดินปลูก ก่อนอื่นต้องกำจัดวัชพืชออกให้หมดแล้ว ทำการพรวนดิน อย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกให้ไถดินก้อนโต ๆ ทิ้งให้ตากแดดจนแห้งดีแล้ว จึงไถพรวนย่อยดินอีกครั้ง ถ้าดินปลูกไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ควรใส่ปุ๋ยให้แก่ดิน โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วก่อน แล้วไถกลบลง ดินให้เน่าเปื่อยผุพังอยู่ในดิน
การเตรียมหลุมปลูก

หลุม ที่ใช้ปลูกมะละกอควรขุดให้มีขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณด้านละ 50 เซนติเมตร ดินที่ขุดขึ้นมาจากหลุมให้ปล่อยตากแดด ทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วจึงย่อยให้ละเอียด ผสมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก ใบไม้ผุ แล้วจึงกลบดินลงหลุม จากนั้นจึงนำต้นกล้าหรือเมล็ดมะละกอลงปลูกระยะห่าง 2X2 เมตร หรือ 2.50X2.50 เมตร สำหรับพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ควรทำการปลูกแบบยกร่อง โดยทำเป็นร่องขนาดกว้าง 3-4 เมตร(ปลูก2แถว) คูน้ำระหว่างร่องกว้างประมาณ 1 เมตร แล้วทำการเตรียมดินและหลุมต่อไป

วิธีการปลูก

มะละกอ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่ที่นิยมกันคือปลูกในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน การนำต้นกล้าลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ดินแตกออกจากราก และไม่ให้รากขาด เมื่อวางต้นกล้าลงหลุมปลูกแล้ว ให้กลบดินรอบโคนต้น กดให้แน่นให้ระดับดินในหลุมปลูกเสมอกับระดับดินเดิมที่ติดมากับต้นกล้า อย่ากลบโคนต้นสูงกว่ารอยดินเดิม จะทำให้เป็นโรคโคนเน่า เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม ใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอย่างอื่นคลุมบังแดดประมาณ 7-10 วัน รดน้ำทุกเช้า อย่าให้ขาดน้ำ ถ้าขาดน้ำในระยะนี้ต้นจะแคระแกร็น โตช้า และให้ผลช้าด้วย

การดูแลรักษาหลังจากการปลูก
ใน การปลูกมะละกอนั้นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติดูแลเพื่อให้มะละกอเจริญ เติบโต ให้ผลผลิตสูง ดังนั้น ผู้ปลูกจะต้อง รู้จักวิธีการปฏิบัติ นับตั้งแต่การให้น้ำการ ใส่ปุ๋ย การกำจัดวัชพืช การตัดแต่งกิ่ง และการตัดแต่งผลอ่อน

ศัตรูและการป้องกันกำจัด

มะละกอ เป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว ไม่ค่อยมีศัตรูรบกวนมากนัก แต่ก็มีศัตรูบางประเภทที่คอยรบกวนทำลายและแพร่ระบาดได้รวดเร็ว ศัตรูมะละกอที่พบและทำความเสียหายมีทั้งโรคและแมลง สำหรับโรคที่พบมาก คือ โรคไวรัสจุดวงแหวน โรคใบเน่าและรากเน่า โรคแอนแทรกโนส โรคเน่าของต้นกล้า ส่วนแมลงที่พบมาก คือ ไรแดง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ ในแปลงปลูกมะละกอ สามารถปลูกพืชสมุนไพรและพืชอื่นแซมได้ ในการเลือกพืชแซมจะต้องไม่เป็นพืชอาศัยของศัตรูพืชที่สำคัญของต้นมะละกอ ศัตรูพืชที่ทำความเสียหายให้กับมะละกอได้แก่ โรคใบจุดวงแหวน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส มีเพลี้ยอ่อนเป็นแมลงพาหะ โรคนี้ถ้าเกิดกับมะละกอในระยะต้นเล็กจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างสิ้นเชิง จึงไม่ควรปลูกมะละกอในบริเวณที่มีการปลูกพืชพวก พริก มะเขือ แตงโม แตงกวา แตงร้าน ตำลึง เนื่องจากพืชดังกล่าวเป็นพืชอาศัยของเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นแมลงพาหะนำเชื้อไวรัสมาสู่ต้นมะละกอ
การปลูกพืชแซมในแปลงปลูก มะละกอ ควรพิจารณาเลือกพืชแซมที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่ามะละกอ โดยปลูกแซมระหว่างแถว เช่น ต้นโหระพา กะเพรา กระชาย ตะไคร้ และตะไคร้หอมเป็นต้น

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

การ เก็บผลมะละกอนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย เพราะความแก่อ่อนของผลที่จะเก็บเกี่ยวมีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพของมะละกอและ อายุการเก็บรักษาด้วย ดังนั้น จึงต้องเก็บผลมะละกอในระยะที่เหมาะสม คือ ถ้าจะเก็บเพื่อบริโภคผลดิบ ควรให้มะละกอแก่จัด แต่อย่าให้ห่าม ถ้าจะเก็บเพื่อกินผลสุก ควรปล่อยให้ผลสุกเต็มที่
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้จัดแบ่งระยะแก่ของผลมะละกอไว้ 6 ระยะ ดังนี้

1. ระยะแก่จัดสีเขียว ผลจะมีสีเขียวเข้ม เนื้อผลแน่น
2. ระยะเริ่มเปลี่ยนสีผล จะมีพื้นผิวสีเขียวเข้มและจะมี สีเหลืองอ่อน ๆ บริเวณเนินสันทางด้านปลายผล
3. ระยะสุกหนึ่งในสี่ผล จะมีพื้นผิวสีเขียว และเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้มชัดเจนบริเวณเนิน สันด้านปลายผล
4. ระยะสุกสองในสี่ ผิวของผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ประมาณครึ่งผล
5. ระยะสุกสามในสี่ ผิวของผลจะมีสีเหลืองมากกว่าสีเขียว เนื้อผลนิ่ม เมื่อใช้มือกดจะยุบตัวลง
6. ระยะสุกเต็มที่ ผิวจะมีสีเหลืองเกือบเต็มผล จะมีสีเขียว ปะปน บ้างเล็กน้อย

การห่อและการขนส่ง

ใน การห่อเพื่อส่งขายนั้น จะต้องระมัดระวังอย่าให้มะละกอกระทบกระเทือนมาก และจะต้องมีการระบายอากาศที่ดี ที่นิยมทำกันส่วนใหญ่แล้วจะบรรจุใส่เข่ง ภายในเข่งจะห่อหุ้มด้วยใบตองหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ พรมน้ำภายในเข่งให้ชุ่ม แล้วมัดให้แน่น ในขณะที่ขนส่งต้องระมัดระวังอย่าวางเข่งซ้อนทับกัน ถ้าจำเป็นต้องวางซ้อนกัน ควรใช้ไม้คั่นระหว่างเข่ง

ตลาดมะละกอ

การ ตลาดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการปลูกมะละกอ แต่ผู้ปลูกจะต้องวางแผนการตลาดตั้งแต่ตอนปลูก จึงจะทำให้ผู้ปลูกได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า โดยผู้ปลูกจะต้องศึกษาสภาพการจำหน่ายมะละกอของตลาดก่อนปลูก ว่าตลาดมีความต้องการมะละกอพันธุ์ใด ผลดิบหรือผลสุก ราคาที่จำหน่ายจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น