ในสภาวะเศรษฐกิจไทยตกต่ำอยู่ในปัจจุบันนี้ มีประชาชนตกงานเป็นจำนวนมาก หรือแม้แต่เกษตรกรที่ปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์หลายรายประสบสภาวะกับการขาดทุน และผลผลิตราคาตกต่ำ ได้เปลี่ยนหันมาหาอาชีพเกษตรกรรมอื่นที่ทำได้เร็วและลงทุนไม่สูง อาชีพยอดนิยมที่สร้างรายได้เร็ว ได้แก่ การเพาะถั่วงอก การเพาะเห็ด ฯลฯ โดยเฉพาะการเพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์และการเพาะเห็ดในตะกร้าพลาสติคแบบ ไม่ใช้โรงเรือน หรือแม้แต่การปลูกตะไคร้ ข่า หรือพืชผักสวนครัวอีกหลายชนิด การเพาะเห็ดในโอ่งเพื่อบริโภคในครัวเรือนและการปลูกผักปลอดสารพิษในกระสอบ เป็นอาชีพเกษตรกรรมที่ทำง่ายและลงทุนไม่สูงมาก






หลายคนต่างก็ทราบดีว่า อาชีพการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเห็ดฟาง ซึ่งมีวิธีเพาะหลากหลายรูปแบบ ที่นิยมกันมากในขณะนี้ก็คือการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติคแบบไม่ใช้โรงเรือน หรือการเพาะเห็ดฟางในกระสอบ โดยวิธีการเพาะใช้แรงงานไม่มากนัก และต้นทุนการผลิตต่ำ สำหรับเห็ดชนิดอื่นๆ อาทิ เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดภูฏาน เห็ดหูหนู ฯลฯ ส่วนใหญ่เกษตรกรจะซื้อเห็ดถุงมาเปิดดอก โดยทั่วไปการเพาะเห็ดดังกล่าวเหล่านี้จะต้องสร้างโรงเรือน ใช้เงินทุนสูงพอสมควร และถ้าจะเพาะในเชิงพาณิชย์ต้องตววจสอบเรื่องการตลาดให้ดีเสียก่อน แต่ถ้าจะเพาะเพื่อการบริโภคในครัวเรือนแบบเศรษฐกิจพอเพียง ลดความยุ่งยากและไม่ต้องลงทุนสร้างโรงเรือน อีกทั้งใช้วัสดุเหลือใช้ในครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์คือ โอ่งแตก หรือโอ่งร้าว นำมาเพาะเห็ด จึงได้เกิดวิธีการ "เพาะเห็ดโอ่งไม่ต้องใช้โรงเรือน"

คุณสถาพร ตะวันขึ้น บ้านเลขที่ 21 หมู่ที่ 4 ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 75120 เริ่มต้นด้วยการเพาะเห็ดโดยซื้อก้อนเชื้อมาเปิด แต่พบว่าจะต้องมีการลงทุนและมีความยุ่งยากในการสร้างโรงเรือน ถึงแม้มีข้อมูลว่าการเพาะในโรงเรือนเห็ดจะออกดอกได้ดี แต่ดูแล้วไม่ค่อยสะอาด จึงได้พยายามค้นหาวิธีการที่ลงทุนต่ำ มีวิธีการเพาะที่ง่าย และสะอาดปลอดภัย ได้ดอกเห็ดที่มีคุณภาพดี ที่บ้านคุณสถาพรมีโอ่งแตกอยู่และไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ จึงได้นำมาทดลองเพาะเห็ด วิธีการเพาะเห็ดโอ่งจึงเกิดขึ้นโดยไม่ต้องใช้โรงเรือน โดยเน้นเพื่อการบริโภคในครัวเรือน เพราะจะได้เห็ดที่มีความสด คุณภาพดี และรสชาติอร่อย

โดยใช้โอ่งเก่า โอ่งแตก หรือโอ่งร้าว เป็นที่เพาะ สำหรับวัสดุอื่นๆ ก็ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่ซื้อก้อนเชื้อเห็ดถุงชนิดที่ต้องการจะเพาะ กระสอบป่านใส่ข้าวสารหรือตาข่ายพรางแสงสีดำและบัวรดน้ำเท่านั้น ขั้นตอนการเพาะอันดับแรกจะต้องเลือกสถานที่ใช้เพาะควรเป็นใต้ร่มไม้หรือ บริเวณที่มีร่มเงา

วัสดุและอุปกรณ์ในการเพาะเห็ดในโอ่ง
โอ่งมังกร (โอ่งแตก หรือโอ่งร้าว) จำนวน 1 ใบ ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าหรือเห็ดถุงชนิดอื่นๆ จำนวน 20 ก้อน ซาแรนหรือกระสอบป่าน สำหรับปิดปากโอ่ง จำนวน 1 ผืน ไม้ไผ่ตีเป็นตะแกรง ขนาดความกว้างxยาว ให้พอดีกับขนาดโอ่งที่เตรียมไว้ กรอบไม้ทำฐานรองพื้นโอ่ง (ด้านนอก) ทรายหยาบ รองพื้นโอ่ง และเชือกฟาง เป็นต้น


ขั้นตอนการเพาะ

  1. นำไม้ที่เตรียมไว้สำหรับทำฐานรองโอ่งด้านนอก มาตีล้อมกรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยให้มีพื้นที่ว่างระหว่างกรอบไม้เพียงพอต่อการวางพื้นที่ผิวของโอ่งที่จะ วางในแนวนอน ไม่ให้โอ่งกลิ้ง
  2. นำโอ่งมาวางในแนวนอน บนฐานกรอบไม้ที่เตรียมไว้ในบริเวณที่มีร่มเงา และอากาศถ่ายเทสะดวก
  3. นำทรายหยาบมาเทรองพื้นโอ่งที่วางไว้ในแนวนอน กะให้มีความหนาประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อกักเก็บความชื้น
  4. นำตะแกรงไม้ไผ่ที่เตรียมไว้มาวางด้านในโอ่ง โดยให้มีพื้นที่ว่างด้านบนมากกว่าพื้นที่ว่างด้านล่าง
  5. นำก้อนเชื้อเห็ดมาเปิดดอก ด้วยวิธีการเปิดจุกก้อนเชื้อด้านบน บังคับให้ดอกออกเป็นกระจุกด้านบน ก่อนวางเรียงก้อนเชื้อเห็ดจนเต็ม (แล้วปิดปากโอ่งด้วยกระสอบป่านหรือซาแรน แล้วใช้เชือกผูกยึดกระสอบ (ด้านบน) กับขอบปากโอ่งให้แน่น โดยปล่อยชายกระสอบให้สามารถเปิดขึ้นลงได้
  6. รดน้ำบนก้อนเชื้อเห็ด เช้า-กลางวัน-เย็น ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไป ควรเพิ่มความชื้นโดยใช้กระบอกฉีดน้ำ พ่นน้ำให้เป็นฝอยๆ ในโอ่ง เพื่อเป็นการให้ความชื้นแก่ก้อนเห็ด แล้วปิดปากโอ่งไว้ หลังเพาะประมาณ 1 สัปดาห์ จะเริ่มมองเห็นตุ่มสีขาวเล็กๆ เกิดขึ้นบนก้อนเชื้อเห็ด ในช่วงนี้ต้องระวังเรื่องการรดน้ำ อย่าให้ดอกเห็ดโดนน้ำเป็นอันขาด มิฉะนั้น ดอกจะฝ่อและเน่าเสียหาย แต่ยังคงต้องพ่นน้ำให้ความชื้นอยู่ทุกวัน
  7. หลังจากสังเกตเห็นตุ่มดอกเห็ด ประมาณ 7-10 วัน ตุ่มเห็ดจะพัฒนาเป็นดอกเห็ดที่สามารถเก็บมารับประทานได้จนกว่าดอกเห็ดจะหมด รุ่น ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 1-3 เดือน
  8. ควรระมัดระวังเรื่องความชื้นในช่วงวันที่ 1-3 อย่าให้อุณหภูมิภายในโอ่งร้อน หรือขาดความชื้น ถ้าร้อนเกินไปให้เปิดปากกระสอบป่านเพื่อระบายอากาศออกจากโอ่ง
  9. น้ำที่ใช้สำหรับการรดก้อนเชื้อเห็ดจะต้องเป็นน้ำที่จืด มีค่า pH เป็นกลาง ไม่มีคลอรีนเจือปน เรื่องน้ำที่ใช้รดก้อนเห็ดนั้นสำคัญมาก ถ้าน้ำกร่อยหรือเค็มจะส่งผลให้เห็ดไม่ออกดอก น้ำที่ดีที่สุดคือ น้ำฝน หรือจะใช้น้ำประปาที่ผ่านการขจัดคลอรีนออกแล้วก็ได้ผลดีเช่นกัน (การรองน้ำประปาตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน จะช่วยขจัดคลอรีนออกไปได้)

เห็ดที่จะนำมาใช้ในการเพาะแต่ละชนิดนั้น จะมีความต้องการและลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน เช่น เห็ดประเภทนางรม หูหนู และเป๋าฮื้อ จะต้องการสภาพอากาศที่ร้อนชื้นจนถึงสภาพอากาศตามปกติ ส่วนเห็ดนางฟ้า เห็ดหอม จะต้องการอากาศที่ค่อนข้างเย็นในการเจริญเติบโต การเพาะเลี้ยงเห็ดชนิดใดๆ ควรจะมีการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดชนิดนั้นๆ ด้วย






การเพาะเห็ดในโอ่ง

ในสภาวะเศรษฐกิจไทยตกต่ำอยู่ในปัจจุบันนี้ มีประชาชนตกงานเป็นจำนวนมาก หรือแม้แต่เกษตรกรที่ปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์หลายรายประสบสภาวะกับการขาดทุน และผลผลิตราคาตกต่ำ ได้เปลี่ยนหันมาหาอาชีพเกษตรกรรมอื่นที่ทำได้เร็วและลงทุนไม่สูง อาชีพยอดนิยมที่สร้างรายได้เร็ว ได้แก่ การเพาะถั่วงอก การเพาะเห็ด ฯลฯ โดยเฉพาะการเพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์และการเพาะเห็ดในตะกร้าพลาสติคแบบ ไม่ใช้โรงเรือน หรือแม้แต่การปลูกตะไคร้ ข่า หรือพืชผักสวนครัวอีกหลายชนิด การเพาะเห็ดในโอ่งเพื่อบริโภคในครัวเรือนและการปลูกผักปลอดสารพิษในกระสอบ เป็นอาชีพเกษตรกรรมที่ทำง่ายและลงทุนไม่สูงมาก






หลายคนต่างก็ทราบดีว่า อาชีพการเพาะเห็ดชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเห็ดฟาง ซึ่งมีวิธีเพาะหลากหลายรูปแบบ ที่นิยมกันมากในขณะนี้ก็คือการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติคแบบไม่ใช้โรงเรือน หรือการเพาะเห็ดฟางในกระสอบ โดยวิธีการเพาะใช้แรงงานไม่มากนัก และต้นทุนการผลิตต่ำ สำหรับเห็ดชนิดอื่นๆ อาทิ เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดภูฏาน เห็ดหูหนู ฯลฯ ส่วนใหญ่เกษตรกรจะซื้อเห็ดถุงมาเปิดดอก โดยทั่วไปการเพาะเห็ดดังกล่าวเหล่านี้จะต้องสร้างโรงเรือน ใช้เงินทุนสูงพอสมควร และถ้าจะเพาะในเชิงพาณิชย์ต้องตววจสอบเรื่องการตลาดให้ดีเสียก่อน แต่ถ้าจะเพาะเพื่อการบริโภคในครัวเรือนแบบเศรษฐกิจพอเพียง ลดความยุ่งยากและไม่ต้องลงทุนสร้างโรงเรือน อีกทั้งใช้วัสดุเหลือใช้ในครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์คือ โอ่งแตก หรือโอ่งร้าว นำมาเพาะเห็ด จึงได้เกิดวิธีการ "เพาะเห็ดโอ่งไม่ต้องใช้โรงเรือน"

คุณสถาพร ตะวันขึ้น บ้านเลขที่ 21 หมู่ที่ 4 ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม 75120 เริ่มต้นด้วยการเพาะเห็ดโดยซื้อก้อนเชื้อมาเปิด แต่พบว่าจะต้องมีการลงทุนและมีความยุ่งยากในการสร้างโรงเรือน ถึงแม้มีข้อมูลว่าการเพาะในโรงเรือนเห็ดจะออกดอกได้ดี แต่ดูแล้วไม่ค่อยสะอาด จึงได้พยายามค้นหาวิธีการที่ลงทุนต่ำ มีวิธีการเพาะที่ง่าย และสะอาดปลอดภัย ได้ดอกเห็ดที่มีคุณภาพดี ที่บ้านคุณสถาพรมีโอ่งแตกอยู่และไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ จึงได้นำมาทดลองเพาะเห็ด วิธีการเพาะเห็ดโอ่งจึงเกิดขึ้นโดยไม่ต้องใช้โรงเรือน โดยเน้นเพื่อการบริโภคในครัวเรือน เพราะจะได้เห็ดที่มีความสด คุณภาพดี และรสชาติอร่อย

โดยใช้โอ่งเก่า โอ่งแตก หรือโอ่งร้าว เป็นที่เพาะ สำหรับวัสดุอื่นๆ ก็ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่ซื้อก้อนเชื้อเห็ดถุงชนิดที่ต้องการจะเพาะ กระสอบป่านใส่ข้าวสารหรือตาข่ายพรางแสงสีดำและบัวรดน้ำเท่านั้น ขั้นตอนการเพาะอันดับแรกจะต้องเลือกสถานที่ใช้เพาะควรเป็นใต้ร่มไม้หรือ บริเวณที่มีร่มเงา

วัสดุและอุปกรณ์ในการเพาะเห็ดในโอ่ง
โอ่งมังกร (โอ่งแตก หรือโอ่งร้าว) จำนวน 1 ใบ ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าหรือเห็ดถุงชนิดอื่นๆ จำนวน 20 ก้อน ซาแรนหรือกระสอบป่าน สำหรับปิดปากโอ่ง จำนวน 1 ผืน ไม้ไผ่ตีเป็นตะแกรง ขนาดความกว้างxยาว ให้พอดีกับขนาดโอ่งที่เตรียมไว้ กรอบไม้ทำฐานรองพื้นโอ่ง (ด้านนอก) ทรายหยาบ รองพื้นโอ่ง และเชือกฟาง เป็นต้น


ขั้นตอนการเพาะ

  1. นำไม้ที่เตรียมไว้สำหรับทำฐานรองโอ่งด้านนอก มาตีล้อมกรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยให้มีพื้นที่ว่างระหว่างกรอบไม้เพียงพอต่อการวางพื้นที่ผิวของโอ่งที่จะ วางในแนวนอน ไม่ให้โอ่งกลิ้ง
  2. นำโอ่งมาวางในแนวนอน บนฐานกรอบไม้ที่เตรียมไว้ในบริเวณที่มีร่มเงา และอากาศถ่ายเทสะดวก
  3. นำทรายหยาบมาเทรองพื้นโอ่งที่วางไว้ในแนวนอน กะให้มีความหนาประมาณ 2-3 นิ้ว เพื่อกักเก็บความชื้น
  4. นำตะแกรงไม้ไผ่ที่เตรียมไว้มาวางด้านในโอ่ง โดยให้มีพื้นที่ว่างด้านบนมากกว่าพื้นที่ว่างด้านล่าง
  5. นำก้อนเชื้อเห็ดมาเปิดดอก ด้วยวิธีการเปิดจุกก้อนเชื้อด้านบน บังคับให้ดอกออกเป็นกระจุกด้านบน ก่อนวางเรียงก้อนเชื้อเห็ดจนเต็ม (แล้วปิดปากโอ่งด้วยกระสอบป่านหรือซาแรน แล้วใช้เชือกผูกยึดกระสอบ (ด้านบน) กับขอบปากโอ่งให้แน่น โดยปล่อยชายกระสอบให้สามารถเปิดขึ้นลงได้
  6. รดน้ำบนก้อนเชื้อเห็ด เช้า-กลางวัน-เย็น ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไป ควรเพิ่มความชื้นโดยใช้กระบอกฉีดน้ำ พ่นน้ำให้เป็นฝอยๆ ในโอ่ง เพื่อเป็นการให้ความชื้นแก่ก้อนเห็ด แล้วปิดปากโอ่งไว้ หลังเพาะประมาณ 1 สัปดาห์ จะเริ่มมองเห็นตุ่มสีขาวเล็กๆ เกิดขึ้นบนก้อนเชื้อเห็ด ในช่วงนี้ต้องระวังเรื่องการรดน้ำ อย่าให้ดอกเห็ดโดนน้ำเป็นอันขาด มิฉะนั้น ดอกจะฝ่อและเน่าเสียหาย แต่ยังคงต้องพ่นน้ำให้ความชื้นอยู่ทุกวัน
  7. หลังจากสังเกตเห็นตุ่มดอกเห็ด ประมาณ 7-10 วัน ตุ่มเห็ดจะพัฒนาเป็นดอกเห็ดที่สามารถเก็บมารับประทานได้จนกว่าดอกเห็ดจะหมด รุ่น ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 1-3 เดือน
  8. ควรระมัดระวังเรื่องความชื้นในช่วงวันที่ 1-3 อย่าให้อุณหภูมิภายในโอ่งร้อน หรือขาดความชื้น ถ้าร้อนเกินไปให้เปิดปากกระสอบป่านเพื่อระบายอากาศออกจากโอ่ง
  9. น้ำที่ใช้สำหรับการรดก้อนเชื้อเห็ดจะต้องเป็นน้ำที่จืด มีค่า pH เป็นกลาง ไม่มีคลอรีนเจือปน เรื่องน้ำที่ใช้รดก้อนเห็ดนั้นสำคัญมาก ถ้าน้ำกร่อยหรือเค็มจะส่งผลให้เห็ดไม่ออกดอก น้ำที่ดีที่สุดคือ น้ำฝน หรือจะใช้น้ำประปาที่ผ่านการขจัดคลอรีนออกแล้วก็ได้ผลดีเช่นกัน (การรองน้ำประปาตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน จะช่วยขจัดคลอรีนออกไปได้)

เห็ดที่จะนำมาใช้ในการเพาะแต่ละชนิดนั้น จะมีความต้องการและลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน เช่น เห็ดประเภทนางรม หูหนู และเป๋าฮื้อ จะต้องการสภาพอากาศที่ร้อนชื้นจนถึงสภาพอากาศตามปกติ ส่วนเห็ดนางฟ้า เห็ดหอม จะต้องการอากาศที่ค่อนข้างเย็นในการเจริญเติบโต การเพาะเลี้ยงเห็ดชนิดใดๆ ควรจะมีการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดชนิดนั้นๆ ด้วย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น