โคขุน และการเลี้ยงโคขุน



โคขุน และการเลี้ยงโคขุน หมายถึง การเลี้ยงโคที่ยังอายุน้อยให้เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้นๆ โดยการให้อาหารแก่โคที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งอาหารหยาบ และอาหารข้นอย่างเต็มที่ ในสภาพการเลี้ยงแบบขังคอกอย่างเดียวหรือร่วมกับการปล่อยแปลงหญ้า

ผู้เลี้ยงโคขุนแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ผู้เลี้ยงเพื่อผลิตลูกโคขุน หรือเรียก ฟาร์มพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ โดยจะเลี้ยงแม่พันธุ์โคเพื่อผลิตลูกโค เมื่อลูกโคหย่านม (7-8 เดือน) ก็จะขายให้แก่ผู้เกษตรกรรายอื่นเพื่อนำไปขุนหรือเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป การเลี้ยงลักษณะนี้มักมีแม่พันธุ์หลายตัว และต้องใช้พื้นที่มากพอ
2. ผู้เลี้ยงโคขุน เป็นการเลี้ยงโคขุนที่ได้จากการซื้อลูกโคหรือซื้อโคที่มีอายุน้อยจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาเลี้ยงดูให้เติบโตอย่างรวดเร็ว มักเป็นการเลี้ยงแบบคอกหรือปล่อยแปลงหญ้า ซึ่งอาจใช้พื้นที่มากตามจำนวนที่เลี้ยงโค
3. ผู้เลี้ยงวัวมัน เป็นการเลี้ยงโคขุนที่ใช้โคที่มีอายุมากหรือร่างกายซูบผอมที่หาซื้อจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาเลี้ยงขุนให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นก่อนส่งจำหน่าย การเลี้ยงลักษณะนี้จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักโคที่เกิดจากฟื้นฟูโคให้มีกลับมาอ้วนหรือเป็นการเพิ่มไขมันเป็นหลัก เนื่องจากเป็นโคที่มีร่่างกายซูบผอมหรือมีอายุมากแล้ว
ประเภทธุรกิจโคขุน
1. แบ่งตามขนาดของกิจการ
– รายย่อย มักเลี้ยงโคขุนเพียง 2-10 ตัว โดยการใช้อาหารในท้องถิ่นหรืออาหารข้นที่เตรียมเอง รวมถึงการซื้อจากท้องตลาด มักใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก มีพื้นที่น้อย
– ขนาดกลาง เลี้ยงโคขุน 30-50 ตัว ต้องใช้พื้นที่มาก ทั้งคอกโค และแปลงหญ้า มีการใช้อาหารข้นที่ผสมเอง และต้องจ้างแรงงาน
– ขนาดใหญ่ มักเลี้ยงโคขุนมากกว่า 50 ตัว ขึ้นไป เป็นการเลี้ยงที่ต้องใช้พื้นที่มากทั้งคอก และแปลงหญ้า มีการใช้อาหารข้นที่ผสมเองเพื่อลดต้นทุน และใช้แรงงานคน รวมถึงการใช้เครื่องทุ่นแรงในการจัดการอาหาร
2. แบ่งตามตลาด
– ตลาดขั้นสูง ต้องการเนื้อที่มีคุณภาพ คือ เป็นเนื้อโคที่มีอายุน้อย (ขุนแล้วอายุไม่เกิน 3 ปี) ได้รับการเลี้ยงดู และให้อาหารข้นในปริมาณมาก ไม่น้อยกว่า 5 เดือน โคที่นำมาเลี้ยงมักเป็นพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดี เมื่อขุนเสร็จจะได้ราคาสูง
– ตลาดชุมชน ตลาดประเภทนี้ต้องการโคที่อ้วน มีไขมันพอสมควร ไม่จำกัดอายุ ส่วนใหญ่จะใช้โคที่ปลดจากงาน มีเจริญเต็มที่แล้ว แต่ยังผอมอยู่ แล้วนำมาขุน 3-4 เดือน ด้วยอาหารข้นให้อ้วน ซึ่งส่วนน้ำหนักที่เพิ่มจะเป็นไขมันเป็นส่วนมาก เรียกโคประเภทนี้ว่า วัวมัน เนื้อมีราคาต่ำกว่าประเภทแรก แต่การเลี้ยงดูง่ายกว่า
ข้อพิจารณาการเลี้ยงโคขุนพันธุ์โคขุน
แหล่งของโคที่นำมาขุน อาจได้จากลูกโคในคอกผู้เลี้ยงเองหรือซื้อลูกโคจากแหล่งขายโคต่างๆ เช่น ตลาดนัดโค-กระบือ
1. โคพันธุ์พื้นเมือง
เป็นโคที่เนื้อมีไขมันน้อย ไม่เป็นที่นิยมเลี้ยง เนื่องจากมีอัตราการเติบโตต่ำ น้ำหนักโคเมื่อขุนเสร็จประมาณ 380 กิโลกรัม ได้เปอร์เซ็นต์ซากประมาณ 51%
– เริ่มขุนที่น้ำหนัก 150 กิโลกรัม จะใช้เวลาขุน 1 ปี
– เริ่มขุนที่น้ำหนัก 200 กิโลกรัม จะใช้เวลาขุน 7-8 เดือน
– เริ่มขุนที่น้ำหนัก 250 กิโลกรัม ใช้เวลา 5-6 เดือน
2. โคลูกผสมบราห์มันพื้นเมือง
มีเลือดบราห์มันประมาณ 50-85 เปอร์เซ็นต์ มีไขมันแทรกปานกลาง น้ำหนักเมื่อขุนเสร็จประมาณ 450 กิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์ซากประมาณ 56%
– เริ่มขุนที่น้ำหนัก 150 กิโลกรัม จะใช้เวลาขุน 10-12 เดือน
– เริ่มขุนที่น้ำหนัก 200 กิโลกรัม จะใช้เวลาขุน 8-9 เดือน
– เริ่มขุนที่น้ำหนัก 250 กิโลกรัม จะใช้เวลาขุน 5-6 เดือน
3. โคลูกผสมสามสายเลือด
โคที่มีเลือดผสมสามสายพันธุ์ ได้แก่
– บราห์มัน พื้นเมือง และชาร์โรเล่ส์
– บราห์มัน พื้นเมือง และลิมัวซิน
– บราห์มัน พื้นเมือง และซิมเมนทัล
ลักษณะที่ดีของโคพันธุ์ผสมนี้ คือ เลี้ยงง่าย เติบโตเร็ว มีคุณภาพซากดี มีเนื้อมาก ไขมันน้อย นิยมเลี้ยงมาก คือ พันธุ์ผสมของชาร์โรเล่ส์ รองลงมา คือ พันธุ์ผสมของลิมัวซิน เนื่องจากพันธุ์ผสมของชาร์โรเล่ส์มีขนาดใหญ่กว่า และเติบโตดีกว่า
– เริ่มขุนที่น้ำหนัก 150 กิโลกรัม จะใช้เวลาขุน 10-12 เดือน
– เริ่มขุนที่น้ำหนัก 250 กิโลกรัม จะใช้เวลาขุน 6 เดือน
4. ลูกโคนม และแม่โคที่คัดทิ้ง
โคนมคัดทิ้งจะเป็นลูกโคเพศผู้ และแม่โคนมที่มีอายุมากแล้ว เนื่องจากไม่สามารถผลิตน้ำนมได้ พันธุ์ที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ พันธุ์เรดเดน และโฮลสไตน์ฟรีเชียน (ขาวดำ) เป็นโคมีคุณภาพซากไม่ดีนัก ให้เนื้อสะโพกเล็ก และเนื้อเหลว แต่มีราคาถูกกว่าโคพันธุ์อื่นๆ เมื่อรับซื้อมาขุน
5. โคพันธุ์ผสมอินดูบราซิล
เป็นโคที่มีเลือดผสมอินดูบราซิล นิยมเลี้ยงมากที่สุดในภาคอีสาน เป็นโคที่มีโครงร่างใหญ่ รูปร่างสวยงาม ใบหูใหญ่ ยาว นิยมนำมาขุนทั้งตัวเมีย และตัวผู้ที่มีสายเลือดอินดูบราซิลน้อย รูปร่างไม่สวยงาม ตัวไม่ใหญ่ ส่วนตัวผู้ และตัวเมียที่มีสายเลือดอินดูบราซิลมาก รูปร่างใหญ่ รูปทรงสวยงามจะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์เป็นหลัก
อายุโค
การขุนโคเนื้อ มักใช้โคที่จะขุนอายุระหว่างหย่านมจนถึง 1 ปี ทั้งนี้ จำเป็นต้องดูลักษณะภายนอก เช่น การพิจารณารูปร่าง ต้องมีความใหญ่ มีลักษณะไม่ผอมโซจนเกินไป เพราะโคอาจจะอยู่ในสภาวะโรคร้าย หรือมีพยาธิรบกวนมาก หรือขาดอาหารจนอยู่ในสภาพที่ขุนไม่ขึ้นแล้ว นอกจากนั้น ยังมีองค์ประกอบอื่นให้นำมาร่วมพิจารณา คือ
1. ลูกโคหลังหย่านม (อายุระหว่าง 8-16 เดือน) จนถึงอายุปีเศษ จะมีอัตราการเจริญเติบโตสูง
และตอบสนองต่ออาหารสูงสุด จะทำให้ผู้ทำการขุนได้กำไรสูง โคที่มีอายุต่ำกว่านี้จะมีปัญหาในการเลี้ยงดูมาก และมีอัตราการตายสูง
2. ถ้าลูกโคได้รับอาหารอย่างเต็มที่มาตั้งแต่แรกคลอดอย่างต่อเนื่อง อัตราการเจริญเติบโตต่อวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะสูงสุดเมื่อถึงอายุ 1 ปี จากนั้นอัตราการเจริญเติบโตจะเริ่มลดลง จนเมื่ออายุ 4-5 ปี หรือเต็มวัย อัตราการเจริญเติบโตจะลด น้ำหนักตัวจะเริ่มต่ำลง กรณีที่ซื้อโคที่อ้วนแล้วมาขุนจึงควรเลือกลูกโคที่มีอายุไม่เกิน 1 ปีจะดีที่สุด
3. ถ้าหากว่าโคที่ซื้อมาขุนอยู่ในลักษณะผอม ไม่แคระแกร็น โคที่อายุ 2 ปี อัตราการเจริญเติบโตต่อวันจะมากกว่าโคอายุ 1 ปี และโคอายุ 1 ปี จะมีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันสูงกว่าโคที่หย่านมแล้ว
4. โคอายุ 2 ปี ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันสูง บางครั้งเมื่อมองในแง่เศรษฐกิจแล้วมิใช่ว่าจะดีกว่าโคหย่านมเสมอไป เพราะโคอายุ 2 ปี ประสิทธิภาพในการใช้อาหารด้อยกว่าโคที่หย่านม หรือจะกินอาหารมากกว่าโคหย่านมในการเปลี่ยนน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมเท่ากัน ดังนั้น ความสิ้นเปลืองอัตราการเจริญเติบโตต่อวันจึงไม่ได้เป็นปัจจัยที่สำคัญมากนักในแง่ของกำไรหรือขาดทุน
5. กำไรจากส่วนต่างราคาหลังขุน เช่น ซื้อลูกโคมาขุนในราคา 15 บาท/กิโลกรัม เมื่อขุนเสร็จ ขายได้ในราคา25 บาท/กิโลกรัม ซึ่งเิกิดจากการประเมินราคาจากรูปร่าง และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความผันแปรทางด้านราคาเนื้อโคที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวันหรือความแตกต่างของราคาเนื้อโคในแต่ละท้องถิ่น
6. โคอายุมาก มักมีปัญหาในการเลี้ยงดูน้อยกว่า ถ้าเพิ่งเริ่มต้นเลี้ยง และยังมีประสบการณ์น้อย ควรขุนโคใหญ่ก่อน เพราะโคใหญ่จะเลี้ยงขุนง่าย อัตราการเติบโตดี และไม่พบปัญหาในเรื่องโรค
7. โคที่ใช้ขุนเพื่อส่งตลาดที่ได้จากการขุนลูกโค ควรมีอายุน้อยกว่า 3 ปี เนื่องจากจะมีคุณภาพเนื้อที่ดีมาก แต่หากเป็นโคหนุ่มหรือโคที่มีอายุมากจะไม่จำกัดอายุ
8. ถ้าตลาดรับซื้อโคต้องการเนื้อโคที่ติดไขมันสีเหลือง ผู้เลี้ยงก็จะต้องซื้อหรือจัดหาโคที่มีอายุมาก คือ 4 ปี ขึ้นไปมาเลี้ยง แต่ไม่ควรนำโคที่มีอายุมากเกินไปมาขุน เพราะสุขภาพไม่ดี ขุนไม่ขึ้นมีโอกาสขาดทุนมาก
9. การขุนโคใหญ่ใช้เวลาน้อยกว่าการขุนโคเล็ก เช่น โคเต็มวัย ใช้เวลาขุนนานประมาณ 3 เดือน โค 2 ปี ใช้เวลาขุนนานประมาณ 4 เดือน โค 1 ปีครึ่ง ใช้เวลาขุนนานประมาณ 6 เดือน โค 1 ปี ใช้เวลาขุนนาน 8 เดือน และโคหย่านมใช้เวลาขุนประมาณ 10 เดือน ถ้าตลาดระยะสั้นดี หรือต้องการผลตอบแทนเร็ว ต้องขุนโคขนาดใหญ่ แต่ถ้าตลาดระยะยาวดี หรือตลาดยังไม่แน่นอน ควรขุนโคอายุน้อย เพื่อประวิงเวลา ซึ่งโคจะเติบโตไปได้เรื่อยๆ ส่วนโคใหญ่จะเจริญเติบโตช้าค่อนข้างมาก
10. โคเล็กต้องการอาหารที่มีระดับโปรตีนสูงกว่าโคอายุมาก ซึ่งอาหารที่มีระดับโปรตีนสูงมีราคาแพงกว่าอาหารที่มีระดับโปรตีนต่ำกว่า
11. โคอายุน้อยต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูง และอาหารหยาบคุณภาพดี ดังนั้นถ้าปลูกหญ้าที่มีคุณภาพสูง หรือมีหญ้าสดมากก็สามารถขุนโคเล็กได้ แต่ถ้ามีฟางมาก หรือมีแต่ฟางควรขุนโคใหญ่
12. ถ้าอาหารข้นมีราคาถูก ควรขุนโคตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ถ้าอาหารข้นมีราคาแพง ควรขุนโคใหญ่น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 250 กิโลกรัมเมื่อเริ่มเข้าขุน เพราะจะใช้เวลาสั้นกว่าโคที่มีอายุน้อย หรือเพื่อลดระยะเวลาการขุน
เพศโค
โดยทั่วไป การเลี้ยงโคขุนเพื่อผลิตเนื้อ เมื่อคำนึงถึงผลกำไรสูงสุดแล้ว ส่วนใหญ่นิยมการขุนโครุ่นเพศผู้ที่ตอนมากกว่าโครุ่นเพศผู้ที่ไม่ตอน ส่วนโคเพศเมียจะเป็นโครุ่น รวมถึงต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. กฎหมายเมืองไทยห้ามฆ่าโคเพศเมียเด็ดขาด เว้นแต่จะได้รับหนังสือรับรองว่าเป็นหมันไม่สามารถให้ลูกได้
2. โคเพศผู้มีเปอร์เซ็นต์ซากและคุณภาพซากมากกว่าโคเพศเมียเมื่อขุนเสร็จ
3. โคเพศผู้มีอัตราการเจริญเติบโตมากกว่าโคเพศเมียเมื่ออายุเท่ากัน และโครุ่นเพศผู้ไม่ตอน มีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันสูงกว่าโครุ่นเพศผู้ตอน 5-10 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังมีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่า 3-5 เปอร์เซ็นต์
4. โคเพศผู้มีโครงสร้างใหญ่กว่าโคเพศเมียเมื่ออายุเกินกว่าปีครึ่ง และโครุ่นเพศผู้ตอนจะมีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันสูงกว่าโครุ่นเพศเมีย 10-15 เปอร์เซ็นต์
5. โคเพศผู้เลี้ยงขุนทำกำไรให้แก่ผู้เลี้ยงมากกว่าโคเพศเมีย แต่ราคาโครุ่นเพศเมีย (ไม่ใช่โคแม่พันธุ์) ที่ซื้อมาขุนมักจะถูกกว่าโครุ่นเพศผู้ แต่เมื่อขุนเสร็จแล้วก็มักจะขายได้ราคาต่ำกว่าโครุ่นเพศผู้เช่นกัน
6. โครุ่นเพศเมียเริ่มสะสมไขมันและโตเต็มที่ก่อนโครุ่นเพศผู้ประมาณ 1 เดือน ทำให้ส่งตลาดได้เร็วกว่า แต่ซากจะมีขนาดเล็กไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
7. โคเพศเมียมีปัญหาเรื่องการเป็นสัดและการตั้งท้องในขณะขุน ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการตอน แต่การตอนโคเพศเมียทำได้ยากและต้องอาศัยความชำนาญ เพราะต้องใช้วิธีผ่าตัด
8. แม้ว่าโครุ่นเพศผู้ไม่ตอนจะมีอัตราการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงที่สุด แต่การเลี้ยงโคขุนเมื่อขังรวมกันหลายๆตัว จะมีปัญหาเรื่องความคึกคะนอง ขวิดกัน
9. ตลาดเนื้อเกรด 1 หรือตลาดเนื้อชั้นสูง ต้องการเนื้อที่มีไขมันแทรก ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้โคเพศผู้ที่ไม่ตอนได้
10. ตลาดเนื้อพื้นบ้านทั่วไปนิยมเนื้อที่มีไขมันสีเหลืองเข้มหุ้มซากหนาๆ จึงต้องการโคเพศผู้ตอน หรือโคเพศเมียที่มีอายุมาก หรือ “โคมัน” โดยให้ราคาสูงกว่าโคเพศผู้ไม่ตอน ส่วนตลาดเนื้อที่ใช้สำหรับทำลูกชิ้นต้องการเนื้อที่ไม่มีไขมันและสีเข้ม จึงนิยมใช้โคเพศผู้ไม่ตอน
สภาพโค
โคที่นำมาขุน ถ้าเป็นโค 1 ปี ควรคัดเลือกโคที่มีสภาพสมบูรณ์ ไม่ควรเป็นโคผอม เพราะมีโอกาสที่จะแคระแกร็น หรือขุนไม่ขึ้น เนื่องจาก โคทั่วไปจะมีอัตราการเติบโตมากในช่วงอายุ 1-2 ปี หลังจากนั้น อัตราการเติบโตจะค่อยๆลดลง
ส่วนโคที่มีอายุ 2 ปี โครงร่างได้ขยายใหญ่พอสมควรแล้ว ดังนั้น จึงสามารถคัดเลือกตัวที่มีลักษณะผอม แต่โครงร่างใหญ่นำมาขุนได้ เพราะหลังจากได้รับอาหารอย่างเพียงพอ โคจะมีอัตราการเจริญเติบโตแบบชดเชย และมีประสิทธิภาพการใช้อาหารจะสูงกว่าโคอ้วน การซื้อโคอายุ 2 ปี สามารถช่วยประหยัดเงินได้มาก และช่วยให้ได้กำไรจากส่วนต่างราคามากกว่าโคอ้วนเพราะราคาเนื้อโคก่อนขุน และหลังขุนมีราคาต่างกัน
การคัดเลือกโคเข้าขุน
การคัดเลือกโคมาขุน ควรยืนอยู่ห่างจากโคประมาณ 6-7 เมตร แล้วพิจารณาโคจากลักษณะภายนอก ดังนี้
1. เลือกโคที่มีกระดูกหน้าแข้งใหญ่ ขนาดของกระดูกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับปริมาณเนื้อโค คือ โคที่มีกระดูกใหญ่จะมีโครงร่างใหญ่ และมีเนื้อมากด้วย เพราะกระดูกเป็นตัวเกาะยึดของกล้ามเนื้อ ความจริงแล้วกระดูกมีราคาต่ำ แต่การเพิ่มเนื้อของโคที่มีกระดูกใหญ่เมื่อเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วจะมากกว่าการเพิ่มน้ำหนักของกระดูก และโคที่มีกระดูกใหญ่จะมีอัตราการเจริญเติบโต และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารดีกว่าด้วย ส่วนโคที่มีกระดูกหน้าแข้งเล็ก แสดงว่าโคตัวนั้นมีกระดูกและโครงร่างเล็ก
2. ระยะห่างระหว่างกระดูกเชิงกรานกับกระดูกก้นกบมาก ทำให้โคตัวนี้มีสัดส่วนสะโพกยาว และมีเนื้อส่วนที่มีราคาแพงมาก ส่วนโคที่มีระยะห่างระหว่างกระดูกเชิงกรานกับกระดูกก้นกบน้อย เป็นโคที่มีสะโพกสั้น และมีเนื้อส่วนที่ขายได้ราคาแพงน้อย
3. กระดูกก้นกบควรอยู่สูงและห่างจากกันมากๆ เป็นผลให้มีเนื้อส่วนท้ายมาก ซึ่งเนื้อส่วนท้ายมีราคาแพงเช่นกัน ถ้ากระดูกก้นกบอยู่ไม่ห่างกัน เนื้อส่วนท้ายจะน้อย
4. แนวสันหลังตรง และยาว หรืออีกนัยหนึ่งคือ ลำตัวยาว และลำตัวไม่ลึกนัก ซึ่งปกติส่วนครึ่งล่างของกลางลำตัวโคจะมีเนื้อน้อยและราคาต่ำ
การตอน
การตอน เป็นวิธีทำให้โคไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเพศได้ เพื่อจุดประสงค์ทำให้โคมีน้ำหนักเพิ่มได้เร็ว รวมถึงเหตุผลอื่น ได้แก่
1. เพื่อความสะดวกในการเลี้ยงดู กล่าวคือ ถ้าเลี้ยงโคที่ไม่ได้ตอนหลายตัวในคอกเดียวกันจะเกิดปัญหาขวิดกันเป็นแผล และคอกพัง ถ้าตอนแล้วปัญหานี้จะลดน้อยลง
2. ทำตามตลาดต้องการ กล่าวคือ ตลาดชั้นสูงและตลาดพื้นบ้านในภาคกลาง จะต้องการเนื้อโคที่มีไขมันมาก โคที่ไม่ตอนจะไม่มีไขมันหรือถ้ามีก็น้อยมาก ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด อย่างไรก็ตามโคในภาคใต้หรือตลาดมาเลเซีย นิยมโคที่ไม่ตอนมากกว่าโคที่ตอนแล้ว
การตอนโคควรทำตั้งแต่เริ่มขุน ถ้าหากทำการตอนระยะหลังเมื่อโคอ้วนแล้วจะทำให้โคบอบช้ำมาก และอาจจะชะงักการการเติบโตไประยะหนึ่ง
อาหาร และการให้อาหาร
1. อาหารข้น

อาหารข้นเป็นสิ่งจำเป็นในการเลี้ยงโคขุน เนื่องจากเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สูงมากกว่าอาหารปกติที่โคกิน เช่น อาหารหยาบทั่วไป เนื่องจาก การขุนโคมีระยะการเลี้ยงขุนเพียงไม่กี่เดือน ซึ่งต้องทำให้โคมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นให้เร็วที่สุด อาหารขั้นอาจได้จากอาหารสำเร็จรูปตามท้องตลาด และการหาวัตถุดิบมาผสมเอง แต่โดยทั่วไปเกษตรกรมักหาแหล่งวัตถุดิบมาผสมเป็นอาหารข้นใช้เอง  เช่น ข้าวโพด รำ และปลายข้าว กากมันสำปะหลัง กระดูกป่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง ใบกระถิน ยูเรีย รวมถึงผงแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม และฟอสฟอรัส เป็นต้น
การผสมอาหารข้น ควรนำเอาวัตถุดิบที่ใช้น้อยเช่น ยูเรีย เกลือ กระดูกป่น และวิตามิน ผสมกับอาหารประเภทพลังงานเพียง 20-30 กิโลกรัม ก่อน แล้วค่อยนำส่วนผสมอื่นเข้าผสม เพื่อให้วัตถุดิบที่มีปริมาณน้อยกระจายในวัตถุดิบอื่นได้อย่างทั่วถึง
การจัดเตรียมอาหารข้น
อาหารข้นประกอบด้วย อาหารประเภทพลังงาน อาหารประเภทโปรตีน เกลือแร่ วิตามิน และสารเสริมต่างๆ วัตถุดิบที่ต้องใช้ปริมาณมากที่สุด คือ อาหารพลังงาน เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ปลายข้าว รำ และมันสำปะหลัง การที่จะเลือกใช้ชนิดใดนั้น ขึ้นกับราคาในขณะนั้น และความสะดวกในการจัดหา
สำหรับอาหารโปรตีนที่นิยมใช้ คือ ใบกระถิน และยูเรีย แต่การใช้ยูเรียมีข้อจำกัด คือ สามารถใช้ยูเรียได้ไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ของอาหารข้น และต้องผสมให้เข้ากันดี มิฉะนั้นแล้ว ถ้าโคตัวใดได้รับยูเรียเข้าไปมากเกินไปก็จะถึงตายได้ และควรใช้กับโคที่มีตั้งแต่อายุ 7 เดือนขึ้นไป ส่วนเกลือป่น และกระดูกป่น จำเป็นต้องมีอยู่ในอาหารข้นประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์ ถ้าโคกินฟางเป็นอาหารหลัก อาจเพิ่มแคลเซียมจากเปลือกหอย หรือปูนมาร์ล 0.5% วิตามินส่วนใหญ่จุลินทรีย์ในกระเพาะสามารถสังเคราะห์ขึ้นมาอย่างเพียงพอ ยกเว้นวิตามินเอซึ่งร่างกายต้องการในปริมาณมาก อาจต้องเสริมลงในอาหารข้นบ้าง แต่ถ้าโคกินหญ้าสด หรืออาหารข้นที่มีข้าวโพด และใบกระถินอยู่พอควรก็ไม่ต้องเติม ส่วนรำเป็นอาหารที่ดี แต่มีปัญหาเรื่องการหืน จึงไม่ควรใช้รำเกิน 30 เปอร์เซ็นต์ ข้าวโพด และข้าวฟ่างที่ใช้ผสมอาหารควรบดเพียงหยาบๆ หรือเพียงบีบให้แบนยิ่งดี
2. อาหารหยาบ
หญ้าสด คือ อาหารหยาบที่เป็นอาหารหลักของโค โดยหญ้าสดเป็นแหล่งเยื่อใยที่ช่วยระบบย่อยอาหาร แหล่งวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ และจำเป็นอย่างยิ่งที่โคต้องกินหญ้าในทุกวัน เนื่องจาก หญ้าเป็นแหล่งอาหารสำคัญของจุลินทรีย์ในกระเพาะของโค หญ้าสดควรหญ้าอ่อนมีอายุประมาณ 15 ถึง 21 วัน
แหล่งของหญ้าอาจเป็นหญ้าที่หาได้จากท้องไร่ปลายนา โดยเฉพาะในฤดูฝนจะมีปริมาณที่เพียงพอ และหาได้ง่าย แต่หากเป็นฤดูแล้งมักจะขาดแคลน ทั้งนี้ สามารถแก้ปัญหาด้วยการปลูกหญ้าในแปลง แต่อาจต้องใช้น้ำเพื่อการดูแลมากขึ้น โดยเฉพาะในฤดูแล้ง หญ้าที่ควรปลูกเลี้ยงโคขุน คือ หญ้าขน หญ้ารูซี่ และหญ้ากินนี
นอกจากนั้น วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือใบพืชบางชนิดก็ถือเป็นแหล่งอาหารหยาบที่สามารถหาได้ง่าย เช่น ฟางข้าว เปลือกสับปะรด ใบข้าวโพด ใบกระถิน ใบมันสำปะหลัง ยอดอ้อย ต้นกล้วย เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้ก็สามารถทดแทน และเป็นแหล่งอาหารเสริมจากหญ้าได้เป็นอย่างดี
3. กากน้ำตาล
กากน้ำตาลเป็นผลพลอยได้จากการหีบอ้อย ซึ่งกากน้ำตาลอุดมไปด้วยอาหารประเภทแป้ง มีรสหวาน สัตว์ชอบกิน แต่มีโปรตีนน้อยมาก การให้โคกินจะไม่ให้ผสมกับน้ำ แต่จะใช้ราดใส่ในอาหารหยาบหรืออาหารข้น เช่น ราดผสมฟาง ราดผสมกับอาหารข้น เป็นต้น
กากน้ำตาลให้พลังงานสูง แต่ไม่ควรให้เกิน 20% เพราะจะทำให้โคท้องร่วง เนื่องจากมีโพแทสเซียมอยู่มาก มันสำปะหลังเป็นอาหารที่โคชอบกินมาก ส่วนสารเสริมต่างๆ ได้แก่ สารเร่งการเจริญเติบโต เช่น รูเมนซิน และยาปฏิชีวนะ ก็อาจใช้ตามความจำเป็น
ประโยชน์ของกากน้ำตาล
ลูกโค (ยังไม่หย่านม)
-น้อยมาก
-มีโปรตีนต่ำ แนะนาให้ใช้ราอ่อนแทนจะดีกว่า ถ้าจะให้ลูกโคกินกากน้ำตาล ห้ามผสมกับยูเรีย
โครุ่นและแม่โครีดนม
-น้อยมาก
-มีโปรตีนต่ำ แนะนาให้ใช้อาหารเม็ด หรือ ราแทน
โคขุน (ระยะแรก)
– น้อยมาก
– โคต้องการโปรตีนมาก เพื่อสร้างกระดูก และกล้ามเนื้อ
โคขุน (ตั้งแต่ 4-5เดือนขึ้นไป)
– มาก
– ช่วยเพิ่มไขมันแทรกในเนื้อ แนะนำให้โคกินกากน้ำตาลตามใจชอบ โดยค่อยๆเพิ่มทีละน้อย
4. แร่ธาตุก้อน
นอกจากอาหารหลักที่เป็นแป้ง โปรตีน ไขมัน และวิตามิน แล้ว การเลี้ยงโคขุนจำเป็นต้องเสริมแร่ธาตุให้แก่โคด้วย เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ทองแดง เป็นต้น เพื่อเสริมการทำงานของร่างกาย และส่งเสริมการเจริญเติบโต รวมทั้งกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
วิธีการเสริมแร่ธาตุ
จัดหาแร่ธาตุก้อนห้อยไว้เหนือรางอาหาร เพื่อให้โคเลียกิน แต่หากไม่มีแร่ธาตุก้อน ให้เสริมเกลือผสมกับอาหารหรือใช้แร่ธาตุผงผสม
อาหารที่เป็นพิษ
1. ข้าวนึ่ง
โคชอบกินข้าวนึ่ง เนื่องจากเป็นแป้งสุกที่ทีรสหวาน เมื่อโคกินเข้าไปจะเกิดการหมักของจุลินทรีย์ทำให้เกิดแอลกอฮอล์ และกรดในระบบทางเดินอาหาร จนกัดกระเพาะได้ ซึ่งไม่มียารักษา แต่ป้องกันได้โดยไม่ให้โคกินข้าวนึ่งหรือให้กินในปริมาณน้อย
2. ปุ๋ยยูเรีย
ปุ๋ยยูเรียที่ใช้สำหรับอาหารโคนิยมใช้สำหรับผสมกับอาหารหยาบ เพื่อช่วยในการหมัก และเป็นแหล่งเสริมโปรตีน ซึ่งต้องผสมในอัตราที่พอเหมาะ
3. มันสำปะหลัง
มันสำปะหลังสด ทั้งใบสด และหัวสด มีสารพิษไซยาไนด์ ถ้าโคกินมากจะทำให้โคป่วยตายได้ รวมถึงเกิดแก๊สในกระเพาะมากทำให้โคท้องโตจากแก๊สได้ แต่สามารถลดพิษได้โดยการนำใบหรือหัวที่ผ่าแล้วมาตากแดดแดดให้แห้งก่อน
4. ถุงพลาสติกหรือผ้า
โคมีพฤติกรรมที่ชอบเลีย และกินถุงพลาสติกหรือเสื้อผ้า เพราะมีรสจากการปนเปื้อนของอาหาร  สิ่งเหล่านี้ เมื่อโคกินเข้าไปจะย่อยไม่ได้ และเกิดอุดตันในระบบทางเดินอาหาร ทำให้โคจะกินอาหารน้อยลง และสูบผอม ซึ่งไม่มียารักษา ป้องกันได้โดยหมั่นเก็บถุงพลาสติก เศษผ้า หรือวัสดุต่างๆออกจากบริเวณเลี้ยงให้หมด
เทคนิคการขุนโค
ระยะแรก
เป็นช่วงเริ่มขุนให้ใช้อาหารข้นตามสูตรที่กล่าวมาแล้ว วันละ 2 ครั้ง
ระยะที่สอง
เป็นช่วงก่อนเดือนสุดท้ายของการขุน 1 เดือนให้เพิ่มการให้อาหารข้นเป็น วันละ 3 ครั้ง แต่ละครั้งให้น้อยกว่าระยะแรกตัวละครึ่งกิโลกรัม
ระยะสุดท้าย
คือเดือนสุดท้ายของการขุนให้เปลี่ยนแปลงสูตรโดยการเพิ่มปริมาณมันเส้นเพื่อให้โคอ้วนเร็วขึ้นดังนี้
สัปดาห์ที่ 1 : เพิ่มมันเส้น 2.5 กิโลกรัม จากอาหารข้น 100 กิโลกรัม
สัปดาห์ที่ 2 : เพิ่มมันเส้น 5.0 กิโลกรัม จากอาหารข้น 100 กิโลกรัม
สัปดาห์ที่ 3 : เพิ่มมันเส้น 7.5 กิโลกรัม จากอาหารข้น 100 กิโลกรัม
สัปดาห์ที่ 4 : เพิ่มมันเส้น 10 กิโลกรัม จากอาหารข้น 100 กิโลกรัม
ในเดือนสุดท้าย ให้อาหารวันละ 3 ครั้ง เช่นเดียวกับระยะที่สองคือให้น้อยกว่าปกติครึ่งกิโลกรัมเป็นการเร่งให้โคขุนมีความสม่ำเสมอในการกระจายไขมันพอกตัว ทำให้เนื้อที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ เมื่อตัดแต่งขายจะได้ราคาดีมากกว่าโคขุนที่มีการกระจายไขมันที่ไม่สม่ำเสมอ
ลักษณะโคเมื่อพร้อมส่งตลาด
การเจริญเติบโตจากเริ่มขุนกระทั่งส่งตลาด มี 3 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1
เป็นการเพิ่มการเจริญเติบโตของกระดูก ทำให้มีโครงร่างใหญ่พร้อมรับเนื้อ และมันที่จะสะสมในการขุนระยะต่อไป โครงร่างที่ใหญ่จะใช้เวลาในการสะสมเนื้อและไขมันนานกว่าโคที่มีโครงร่างเล็กกว่า
ระยะที่ 2
เป็นการสะสมกล้ามเนื้อทั่วร่างกายที่สำคัญ คือ สันในสันนอก หัวไหล่ สะโพก หากพบว่าโคตัวใดขุนมาถึงระยะนี้คือประมาณ 3 เดือน แล้วโคยังมีลักษณะไม่เหมาะสมควรตัดออกขายเป็นโคมัน ไม่ควรเก็บไว้ขุนต่อเพราะจะไม่มีกำไรลักษณะไม่เหมาะสมดังกล่าว มี 2 ประการคือ
– ผอม แสดงว่าโคพันธุ์ไม่ดี เลี้ยงไม่โต อาจเนื่องมาจากเป็นโคที่มีโครงร่างใหญ่เกินไปหรือไม่ก็โคลักษณะไม่ดี
– อ้วนกลม แสดงว่าโคมีโครงร่างเล็กเกินไป เลี้ยงเพียง 4 เดือนก็กลมเสียแล้วทำให้น้ำหนักส่งตลาดต่ำเกินไป ได้ราคาไม่ดีเท่ากับโคโครงร่างใหญ่
ระยะที่ 3
เป็นการสะสมไขมันได้แก่ ไขมันหุ้มตัว และไขมันแทรกกล้ามเนื้อที่พร้อมส่งตลาดจะมีความกลมจนเห็นได้ชัด โดยเฉพาะบริเวณสะโพกและโคนหาง จะปรากฏมีก้อนไขมัน 2 ก้อนอยู่ข้างโคนหาง สวาปไม่บุ๋ม เนื้อแน่น หาดปล่อยเกินระยะนี้ไป โคจะกินแต่อาหารแต่จะไม่โต และเนื้อจะยุบไม่เต่งตึง ควรรีบจับขายทันที โคขุนที่ดี ควรมีไขมัน(ไขมันหุ้มสันนอก)ที่วัดจากกลางหลังหนาไม่ต่ำกว่า 1.5 เซนติเมตร

การเลี้ยงโคขุน



                                   การเลี้ยงไก่ไข่


ถ้าพูดถึงวัตถุดิบที่นำมาทำอาหาร และที่ทุกบ้านต้องมีติดไว้ในครัวหรือตู้เย็น สิ่งนั้นที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ “ไข่ไก่”
ส่วนแหล่งที่มาของใข่ไก่นั้นก็มีทั้งแบบเลี้ยงเองตามธรรมชาติ กินเปลือกข้าว รำข้าว แมลง ตามท้องนา และอีกแบบที่นิยมเลี้ยงกันก็คือแบบโรงเรือน
เกษตรอีสานวันนี้ ก็อยากนำเสนอการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรือน สำหรับเป็นข้อมูลของเกษตกรอีสานบ้านเรา รวมถึงพี่น้องทางภาคอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นผู้เริ่มต้นเลี้ยงในครัวเรือนหรือผู้ที่คิดจะเลี้ยงเป็นอาชีพ ก่อนอื่นสิ่งหนึ่งที่เราควรรู้ก็คือ

พันธุ์ไก่ใข่

โดยจะแยกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ก็คือ
  1. ไก่พันธุ์แท้
    เป็นไก่ที่ได้รับการคัดเลือกและผสมพันธุ์มาเป็นอย่างดี จนลูกหลานในรุ่นต่อๆ มามีลักษณะรูปร่าง ขนาด สี และอื่นๆ เหมือนบรรพบุรุษไก่พันธุ์แท้
    ยกตัวอย่าง ไก่พันธุ์แท้ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ โร๊ดไอส์แลนด์แดง บาร์พลีมัทร็อค เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร
  2. ไก่พันธุ์ผสม
    ฟังดูอาจจะดูเป็นไก่ไม่ดี แต่ที่จริงแล้วเป็นไก่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์แท้ 2 พันธุ์ โดยมีจุดประสงค์ให้ลูกไก่ได้ข้อดีของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ เช่น ไข่ดก ทนทานโรค เป็นต้น ยกตัวอย่างไก่ผสมที่เป็นที่็นิยมก็คือ ไก่ไฮบรีด
  3. อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่

    ส่วนนี้เป็นสิ่งจำเป็นมากในการเลี้ยงไก่ไข่ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานอย่างเช่น ถาดหรือรางอาหาร รางน้ำ และอุปกรณ์ที่พิเศษขึ้นมาก็ยกตัวอย่าง เช่น
    1. อุปกรณ์การให้อาหาร มีหลายแบบ เช่น ถาดอาหาร รางอาหาร ถังอาหาร เป็นต้น
    2. อุปกรณ์ให้น้ำ มีหลายแบบขึ้นอยู่กับอายุไก่ เช่น แบบรางยาว แบบขวดมีฝาครอบ
    3. เครื่องกกลูกไก่ ทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแทนแม่ไก่ในตอนที่ลูกไก่ยังเล็กอยู่
    4. รังไข่ โดยปกติรังไข่จะควรมีความมืดพอสมควร และมีอุณหภูมิที่เย็น ซึ่งถ้าหากเลี้ยงแบบโรงเรือนก็จะเป็นรางที่ควรทำความสะอาดง่าย หรือถ้าใครเลี้ยงแบบปล่อย ก็ควรมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการออกไข่ อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น
    5. วัสดุรองพื้น จำพวก ฟางข้าว ซังข้าวโพด แกลบ เป็นต้น เพื่อความสะอาดและความสบายของตัวไก่
    6. อุปกรณ์การให้แสง ทั้งแสงจากธรรมชาติ และแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์
    มาที่ส่วนที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาหารและการให้อาหารของไก่ไข่ ผลผลิตที่ออกมานั้นจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ในส่วนของอาหารและวิธีการให้อาหารจึงสำคัญมาก
    เพราะเป็นตัวชี้วัดผลกำไรและขาดทุนได้เลยทีเดียว

    อาหารของไก่ไข่

    ส่วนประกอบของสารอาหารที่จำเป็นต่อไก่ไข่ ก็ไม่ได้ต่างจากมนุษย์มากเท่าไหร่ แต่สิ่งที่แตกต่างคือ วัตถุดิบที่นำมาใช้จะต้องเหมาะสมทั้งในเรื่องของ ราคา ปริมาณ และคุณภาพของสารอาหารที่ให้ โดยทางทีมงานอีสานร้อยแปด จะแบ่งให้ทุกคนดูง่ายๆ เป็น สารอาหาร 6 ประเภทใหญ่ๆ
    1. โปรตีน ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อในการเจริญเติบโตซ่อมแซมรักษา ในอาหารไก่ไข่ควรจะมีโปรตีนประมาณ  13-19%
    2. คาร์โบไฮเดรต มีหน้าที่ให้พลังงาน ให้ความอบอุ่น และเพื่อนำไปใช้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ควรจะมีอยู่ในอาหารไก่ไข่ประมาณ  38-61%
    3. น้ำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ช่วยในการย่อย การดูดซึม รักษาอุณหภูมิในร่างกาย และช่วยในการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
    4. ไขมัน มีหน้าทีให้ความอบอุ่นและพลังงานแก่ร่างกาย แต่ไม่ควรมากเกินไป
    5. วิตามิน ช่วยให้ไก่มีความต้านทานโรค และบำรุงระบบประสาท
    6. แร่ธาตุ ช่วยในการสร้างโครงกระดูก สร้างเลือด สร้างเปลือกไข่

      ชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่

      1. อาหารผสม เป็นอาหารผสมจากวัตถุดิบที่บดละเอียดแล้วหลายๆ อย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน สามารถนำไปเลี้ยงไก่ได้ทันที
      2. หัวอาหาร เป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบพวกโปรตีนจากพืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุ และยาต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหาร
      3. อาหารอัดเม็ด เป็นอาหารสำเร็จรูปมีให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับอายุของไก่
      4. อาหารเสริม เป็นอาหารที่นำไปเสริมเพื่อเพิ่มสารอาหารด้านต่าง ๆ ที่ยังขาด เพื่อให้ไก่ได้รับสารอาหารครบถ้วน
      ต่อมาเป็นที่อยู่อาศัยของไก่ไข่ ซึ่งในเนื้อหานี้จะเป็นการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ในโรงเรือน ซึ่งจะต้องสร้างให้เหมาะสมกับปัจจัยต่าง ๆ โรงเรือนจะต้องสร้างให้ถูกต้อง มีความแข็งแรง ทนทาน และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โรงเรือนที่ดีควรจะมีลักษณะดังนี้

      โรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่

      1. ป้องกันแดด ลม และฝนได้
      2. แข็งแรง ทนทาน ป้องกัน นก หนู แมว หรือสุนัขได้
      3. ทำความสะอาดได้ง่าย
      4. ห่างจากชุมชน และอยู่ใต้ลมของบ้าน เพราะจะได้ไม่มีกลิ่นรบกวน
      5. ใช้วัสดุที่หาง่าย ราคาถูก
      6. ถ้าสร้างหลายหลังควรมีระยะห่างมากกว่า 10 เมตร เพื่อให้ระบายอากาศได้ดีและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

        แบบโรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่

        ลักษณะของโรงเรือนไก่ไข่จะมีหลายแบบขึ้นอยู่กับงบประมาณ วัสดุ ความยากง่ายในการสร้าง รูปแบบของโรงเรือนไก่ไข่มีดังนี้
        1. แบบเพิงหมาแหงน
          แบบนี้จะสร้างง่าย ลงทุนน้อย แต่จะมีข้อเสียคือฝนอาจจะสาดเข้าทางด้านหน้าได้ง่าย และมีความแข็งแรงน้อย
        2. แบบหน้าจั่วชั้นเดียว
          ข้อดีคือแข็งแรงกว่าแบบเพิงหมาแหงน สามารถป้องกันแดด ลม ฝนได้ดีกว่า แต่จะมีค่าวัสดุ อุปกรณ์ และค่าก่อสร้างมากกว่าแบบเพิงหมาแหงน เพราะรูปแบบมีความซับซ้อนมากกว่า
        3. แบบหน้าจั่วสองชั้น
          แบบนี้จะคล้าย ๆ กับหน้าจั่วชั้นเดียว แต่จะต่างกันตรงที่มีหน้าจั่วชั้นที่ 2 เพิ่งขึ้นมาเพื่อช่วยระบายอากาศ ทำให้แบบนี้จะระบายความร้อนได้ดีและเย็นกว่าแบบหน้าจั่วชั้นเดียว แต่ก็จะมีค่าก่อสร้างแพงกว่าหน้าจั่วชั้นเดียว
        4. แบบหน้าจั่วกลาย
          คล้ายเพิงหมาแหงน แต่สามารถกันฝนได้ดีกว่า และมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างมากกว่าเพิงหมาแหงน
        5. แบบเพิงหมาแหงนกลาย
          แบบนี้จะมีกว่าเพิงหมาแหงนและแบบหน้าจั่ว เพราะมีการระบายอากาศ และกันฝน กันแดดได้ดีกว่า แต่ค่าใช้จ่ายถูกกว่าแบบหน้าจั่วหลาย

การเลี้ยงไก่ไข่

                           การปลูกหมาก



หมากเป็นไม้ยืนต้นตระกูลปาล์มเช่นเดียวกับมะพร้าว มีลําต้นสูงชะลูด ขนาดของลําต้นและทรงพุ่มจะแตกต่างจากพืชชนิดอื่น ๆ จึงเหมาะที่จะนํามาปลูกเป็นพืชแซม หรือปลูกแบบสวนหลังบ้าน ซึ่งในปัจจุบันนี้ สามารถส่งหมากออกไปจําหน่ายยังตลาดต่างประเทศในรูปของหมากแห้ง เพื่อนําไปใช้ในอุตสาหกรรมได้หลายชนิด เช่น ใช้ในการฟอกหนัง ทํายารักษาโรค ทําสี และส่งออกในรูปหมากดิบเพื่อบริโภค ฉะนั้น หมากจึงเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่เหมาะจะนํามาปลูกเพื่อเสริมรายได้แก่เกษตรกรพันธุ์

สามารถแบ่งพันธุ์ตามลักษณะของผลออกเป็น 2 ประเภท คือ พันธุ์ผลกลมแห้น และผลกลมรีการขยายพันธุ์การขยายพันธุ์หมากจะมี 2 ขั้นตอน คือการเพาะเมล็ดจากต้นพันธุ์ดีในแหลงเพาะให้งอกเสียก่อนแล้วจึงนําไปชําในแปลงหรือถุงพลาสติกให้เจริญเติบโตจนได้ขนาดพอเหมาะ ใช้เวลาประมาณ 6 - 8 เดือน จึงนําไปปลูกได้การปลูกหมากเป็นพืชแซมการปลูกหมากแซมพืชเกษตรกรรม เช่น ปลูกตามพื้นที่ว่าเปล่า ตามแนวแดน รั่วกําแพง สามารถปลูกหมาก ในระหว่างแถวหรือ แทรกในระหว่างแถวยางก็ได้
การปลูกหมากแซมในสวนยาง สามารถปลูกแซมในระหว่างแถว หรือหลุ่มว่าง ส่วนในสวนยางแบบยกร่องสามารถปลูกหมากริมคันร่องสวน โดยให้ต้นหมากอยู่ห่างจากต้นยางประมาณ 2 - 3 เมตร และห่างจากขอบร่องสวนประมาณ 0.5 เมตร ถ้าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ําควรขุดหลุม ขนาด 50 x 50 x 50 ซม. แต่ดินที่มีความ


อุดมสมบูรณ์สูง ขนาดหลุมเล็กกว่านี้ได้ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก และหินฟอสเฟต คลุกกับดินชั้นบนแล้ว กลบหลุมด้วยดินที่เหลือฤดูปลูกควรเป็นต้นฤดูฝน หลังจากที่มีฝนตกหนัก 1 - 2 ครั้งการปลูกเวลาปลูกควรตั้งต้นกล้าให้ตรง และให้ด้านบนของผลอยู่ระดับผิวดิน กลบดินให้แน่น ปักหลักค้ําต้นเพื่อกัน ต้นโยก รดน้ําให้ชุ่ม ควรทําร่มบังแดด เพื่อลดการคายน้ํา และป้องกันไม่ให้ใบไหม้การให้น้ําในหมากเล็กควรให้น้ํา 2 - 3 ครั้ง/สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นหมากโต ตกผลแล้วควรให้น้ําสัปดาห์ละ 1 ครั้ง การให้น้ําแต่ละครั้งควรให้ชุ่มทั่วแปลง แต่ถ้าเป็นหมากที่ปลูกโดยการยกร่อง ถ้าระดับน้ําในร่องสวนสูงพอ คือต่ํากว่าสันร่องประมาณ 50 ซม. อาจให้น้ําน้อยกว่าในที่ราบ

การดูแลรักษาหมากเมื่อปลูกแล้วต้องเอาใจใส่ดูแลรักษาพอสมควร ถ้าปล่อยปละละเลยต้นหมากจะเจริญเติบโตช้า และผลผลิตต่ํา ฉะนั้นจึงควรมีการปฏิบัติดูแลดังนี้การให้น้ําหลังจากปลูกแล้ว ควรรดน้ําให้ชุ่ม และรดน้ําต่อไปอีกประมาณ 1 เดือน โดยรด 2 วันต่อครั้ง ต้นหมากจะเกิดรากใหม่และตั้งตัวได้เมื่อต้นหมากโตแล้วควรดูแลให้น้ําอย่างสม่ําเสมอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งการใส่ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ยหลังจากเก็บเกี่ยวผลหมากหมดแล้ว ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์การกําจัดวัชพืชต้องหมั่นคอยกําจัดวัชพืชรอบ ๆ โคนต้นหมาก และควรพรวนดิน ใส่ปุ๋ย ให้น้ําพร้อมกันไปเลย


ในการปลูกสะตอหรือหมากเป็นพืชแซมเพื่อเสริมรายได้ นอกจากจะมีการดูแลรักษาที่ดีแล้ว ยังจะต้องคํานึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย ได้แก่ ทรงพุ่มของพืชที่ปลูกร่วมกัน เงินทุน ค่าแรงงาน ความสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษาสวน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในการจัดการภายหลังหมากเป็นพืชที่คู่กับคนไทยมานานแล้ว แม้ในปัจจุบันจะไม่นิยมกินหมากกัน แต่หมากยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ทั้งในรูปหมากสดและหมากแห้ง หมากแห้งใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ฟอกเส้นใย และทํายารักษา โรค และผลหมากสามารถใช้เป็นยาสมุนไพรในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น ใช้สมานแผล แก้ท้องเสีย รักษาโรคเหงือกและฟัน เป็นต้นแหล่งปลูกที่เหมาะสมสภาพภูมิอากาศหมากเจริญได้ดีในเขตที่มีอากาศอบอุ่นและร้อนชื้น ปริมาณน้ําฝน 1,300 - 1,500 มม./ปี มีฝนตกกระจายสม่ําเสมอตลอดปี ไม่น้อยกว่า 50 มม./เดือน อุณหภูมิที่เหมาะสม 25 - 35 องศาเซลเซียส มีแสงแดดมาก อากาศโปร่งควรเป็นที่โล่งแจ้ง ที่ระดับความสูง 200 - 1,500 เมตร จากระดับน้ําทะเลลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวที่มีการระบายน้ําดีน้ําไม่ขัง มีอินทรียวัตถุสูงการเพาะกล้าแปลงเพาะควรเป็นทราย ดินร่วนปนทราย หรือดินผสมขี้เถ้าแกลบ เพื่อไม่ให้น้ําขัง ควรมีการพรางแสง การวางผลหมากควรวางให้นอน หรือขั้วผลอยู่ด้านบน และวางในทิศทางเดียวกันให้เต็มพื้นที่ (ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร สามารถวางได้ 600-700 ผล) จากนั้นจึงกลบด้วยวัสดุเพาะให้มิด รดน้ําให้ชุ่มทุกวันหลังเพาะประมาณ 2 เดือน (เห็นหน่อแทงขึ้นมา) จึงย้ายลงแปลงชําต่อไป


การเก็บเกี่ยวหมากอ่อน เก็บเมื่ออายุประมาณ 1.5 เดือน หลังดอกบาน (200 ผล/1 กก.) ซึ่งมีตลาดเฉพาะ เช่น ไต้หวันหมากสด เก็บเมื่ออายุ3 - 6 เดือน เปลือกผลมีสีเขียว หมากแก่(หมากสง) เก็บเมื่ออายุ7 - 9 เดือนการแปรรูป

หมากซอย นําหมากดิบ หรือหมากสด เฉาะเอาเนื้อแล้วผ่าเป็น 2 ซีก จากนั้นซอยออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ หนาประมาณ 0.3 ซม. แล้วตากแดดให้แห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากซอย 3-5 กก. หมากกลีบส้ม ใช้หมากดิบปอกเอาเนื้อ แล้วผ่าประมาณ 5-7 กลีบ ตากแดดให้แห้งหมากเสี้ยว ใช้หมากดิบผ่าตามยาว 4-5 ชิ้น แล้วนํามาเจียน แกะเอาเนื้อให้ติดเปลือกนอก ตากแดด ให้แห้งหมากแว่น นําหมากสงที่เปลือกมีสีเขียวปนเหลือง เฉาะเปลือกออก แล้วหั่นหรือไสด้วยเครื่องไสหมากให้เป็นแว่น จากนั้นตากแดดให้แห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากแว่น 14-15 กก.หมากผ่าซีก ใช้หมากสุก ผ่าตามยาวเป็น 2 ซีก นําไปตากแดด 1 แดด แล้วแกะเนื้อออกจากเปลือก ตากแดดอีก 4 - 5 แดด จนแห้ง หมาก 1,000 ผล ได้หมากแห้ง 15 กก. ส่วนหมากผ่าสี่และหมากแห้งทั้งเมล็ด ตากแดด 1 แดดแล้วแกะเอาแต่เนื้อเหมือนหมากผ่าซีกการเก็บรักษาหมากแห้ง ควรเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด เก็บในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น เมื่อเก็บไว้นาน ๆ ควรนําออก ผึ่งแดดเป็นระยะเพื่อไล่ความชื้นที่สะสมอยู่ในภาชนะ



การปลูกหมาก

                             วิธีการปลูกและการดูแลรักษาต้นพลูกินหมาก


ชนิดของพลู

1. พลูเขียว หรือบางท้องที่จะนิยมเรียกว่าพลูใบใหญ่ ใบมีขนาดใหญ่ป้อมๆ แต่ใบบาง ลักษณะใบ
เหมือนใบโพธิ์ มีสีเขียวเข้มกว่าพันธุ์อื่น มีรสเผ็ดมาก พลูชนิดนี้นิยมทำเป็นพลูนาบ และนิยมนำไปใช้ใน
การประกอบพิธี
2. พลูขาวหรือพลูนวล ใบมีขนาดปานกลางเล็กกว่าพลูเขียว แต่ใบหนากว่าพลูเขียว ปลายใบเรียว
ลักษณะใบเหมือนใบพริกไทย มีสีเขียวออกนวล รสไม่เผ็ดมากนักเป็นที่นิยมของท้องตลาดและผู้บริโภค
3. พลูเหลืองหรือพลูทอง ใบมีขนาดเล็กกว่าพลูนวลเล็กน้อย ใบบางเหมือนพลูเขียว ปลายใบจะ
เรียวเหมือนพลูนวล ใบมีสีเหลืองออกสีทอง รสไม่เผ็ดมากนัก เป็นที่นิยมของท้องตลาดและผู้บริโภคมาก
การดูแลรักษายากกว่าพันธุ์อื่น

พลูขยายพันธุ์ด้วยการใช้เถา / การตอน / การปักชำยอด / การใช้ใบ /การทับกิ่ง

การปลูก
1. การเตรียมไม้ค้าง เนื่องจากพลูเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยที่ต้องอาศัยรากเจริญเกาะขึ้นไปกับค้าง
2. การเตรียมดิน การเตรียมดินทำได้โดยไถดินตากไว้อีกครั้งหนึ่ง จากนั้นก็ยกร่องให้สูงเพื่อช่วยใน
การระบายน้ำ ตากดินทิ้งไว้ระยะหนึ่งประมาณ 1-2 วัน แต่ถ้าบริเวณที่ปลูกเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนปน
ทรายควรใส่ปุ๋ยคอก เพื่อให้ดินร่วนและทำให้การอุดมสมบูรณ์มีเพิ่มมากขึ้น หากดินเหนียวหรือดินแน่น
จะต้องพรวนดิน ย่อยดินให้ร่วนเสียก่อนและต้องระวังอย่าให้มีน้ำขังในแปลงปลูก แล้วทำการขุดหลุมปลูก
หลุมปลูกมีขนาดประมาณ 50 x 50 ซม. และลึกประมาณ 60 ซม. ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 1.5-2.0
เมตร และระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1.50 เมตร
3. วิธีปลูก ก่อนที่จะปลูกพลูควรนำหญ้าแห้ง ใส่ลงในหลุมและจุดไฟเผา เพื่อฆ่าเชื้อโรคและ
ศัตรูพืชอื่นๆ ที่อาจจะอยู่ในหลุม จากนั้นก็ทำการลงไม้ค้างในดิน ส่วนดินที่จะใส่ลงหลุมควรเป็นดินผสมปุ๋ย

พลูจะชอบอากาศร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสมไม่ชอบแสงแดดจัดหรืออุณหภูมิที่สูงเกินไป เพราะจะทำให้ต้นพลูอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ดังนั้นจึงต้องพรางแสงแดดลดความร้อนด้วยการให้ร่มเงาหรือปลูกพืชอื่นให้ร่มเงามากขึ้น
นอกจากนี้สิ่งที่ให้ร่มเงายังมีประโยชน์ในการป้องกันลมอันอาจจะทำความเสียหายต่อก้านและใบพลู
พลูชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง pH 7-7.5 และการระบายน้ำดี ถ้าเป็นดินเหนียวจะต้องทำการระบายน้ำ
พลูไม่ชอบที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง อันเป็นสาเหตุที่จะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและเกิดโรคได้ง่าย
พลูจะชอบความชื้นสูงเป็นบริเวณที่ใกล้แหล่งน้ำหรือบริเวณที่มีฝนตกชุกสม่ำเสมอ

วิธีการปลูกและการดูแลรักษาต้นพลูกินหมาก

                                       เทคนิคการเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์ 


วัสดุ/อุปกรณ์ 
- บ่อซีเมนต์ขนาด 3x3 เมตร สูง 1.2 เมตร
- วัสดุสำหรับทำหลังคาปิดบ่อ
- ท่อ PVC ขนาด 3 นิ้ว ยาวท่อนละ 1 เมตร 5 ท่อน
- พันธุ์ปลาไหลจากธรรมชาติที่จับได้ โดยลุงดำจะคัดตัวที่เล็กไม่ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ มาเลี้ยง
การเลี้ยง 
- ใส่น้ำในบ่อซีเมนต์ ให้เต็มบ่อแล้วนำต้นกล้วยมาตัดเป็นท่อนๆจากนั้นก็นำไปแช่ในบ่อไว้ 15 วัน ทำเช่นเดิมอีกหนึ่งครั้ง เพื่อเป็นการลดความเป็นกรด – ด่างของบ่อซีเมนต์ ( บ่อใหม่ )
- นำต้นกล้วยออกทิ้งแล้วถ่ายน้ำออกจากนั้นก็ตากบ่อไว้ 7 วันเพื่อฆ่าเชื้อโรค
- จากนั้นก็นำน้ำมาใส่บ่อให้สูงประมาณ 4-5 นิ้ว
- นำท่อ PVC ที่เตรียมไว้มาใส่ในบ่อเพื่อให้เป็นที่อาศัยของปลาไหลโดยที่ไม่ต้องใส่โคลน ลงในบ่อ
- นำปลาไหลที่จับมาได้ปล่อยลงในบ่อแต่ต้องมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน
การให้อาหาร 
- ให้เศษปลาวันละ 1 ครั้งในตอนเช้า
การดูแลรักษา 
- ถ่ายน้ำเดือนละ 2 ครั้ง หรือเมื่อน้ำเริ่มเสีย
- ต้องมีการแยกปลาไหลที่ตัวเล็กออกเลี้ยงไว้ต่างหากเราะปลาจะกินกันเอง
ข้อดีของการเลี้ยงปลาไหล 
- เป็นอาชีพเสริมที่ดีอีกอาชีพหนึ่งเพราะมีต้นทุนต่ำ
- ขั้นตอนการเลี้ยงไม่ยุ่งยาก
- เมื่อคัดปลาที่ไม่ได้ขนาดออกแล้วสามารถนำมาเป็นอาหารให้กับปลาไหลได้
- เพื่อลดการสูญพันธุ์ของปลาไหลตามธรรมชาติ

เทคนิคการเลี้ยงปลาไหลในบ่อซีเมนต์

                                                        การเลี้ยงปลาช่อน  


 การเพาะเลี้ยงปลาช่อน 

         ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น แม่น้ำ  ลำคลอง หนอง บึง และทะเลสาบ มีชื่อสามัญ STRIPED ANAKE-HEAD FISH  และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa striatus ปลาช่อนเป็นปลาที่มีรสชาติดี  ก้างน้อย  สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด จึงทำให้การบริโภคปลาช่อนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันปริมาณปลาช่อนที่จับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง เนื่องจากการทำประมงเกินศักยภาพการผลิตตลอดจนสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำเสื่อมโทรมตื้นเขิน ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ทำให้ปริมาณปลาช่อนในธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์และความต้องการบริโภค การเลี้ยงปลาช่อนจึงเป็นแนวทางหนึ่งซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนโดยนำลูกปลาที่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติและจากการเพาะขยายพันธุ์มาเลี้ยงให้เป็นปลาโตขนาดตลาดต้องการต่อไป
 

  อุปนิสัย 

          โดยธรรมชาติปลาช่อนเป็นปลาประเภทกินเนื้อ กินสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ รวมทั้งปลาขนาดเล็กและแมลงในน้ำชนิดต่างๆ  เป็นอาหารเมื่ออาหารขาดแคลน ปลาจะมีพฤติกรรมกินกันเองโดยปลาช่อนตัวใหญ่จะกินปลาตัวเล็ก
 

  รูปร่างลักษณะ 

          ปลาช่อนเป็นปลาที่มีเกล็ด  ลำตัวอ้วนกลม  ยาวเรียว  ท่อนหางแบนข้าง  หัวแบนลง เกล็ดมีขนาดใหญ่ ปากกว้างมาก มีฟันซี่เล็กๆ  อยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง  ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังและครีบก้นยาวจนเกือบถึงโคนหาง  ครีบหางกลม ลำตัวส่วนหลังมีสีดำ ท้องสีขาว ด้านข้างลำตัวมีลายดำพาดเฉียง มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ ปลาช่อนจึงสามารถเคลื่อนไหวไปบนบกหรือฝังตัวอยู่ในโคลนได้เป็นเวลานานๆ
 

  การผสมพันธุ์วางไข่ 

          ปลาช่อนสามารถวางไข่ได้เกือบตลอดปี   สำหรับฤดูกาลผสมพันธุ์วางไข่จะเริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม – ตุลาคม ช่วงที่มีความพร้อมที่สุดคือเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม
          ในฤดูวางไข่ จะสังเกตความแตกต่างระหว่างปลาเพศผู้กับเพศเมียอย่างเห็นได้ชัดคือ  ปลาเพศเมีย ลักษณะท้องจะอูมเป่ง  ช่องเพศขยายใหญ่  มีสีชมพูปนแดง  ครีบท้องกว้างสั้น  ส่วนปลาเพศผู้ ลำตัวมีสีเข้มใต้คางจะมีสีขาว  ลำตัวยาวเรียวกว่าปลาเพศเมีย
           ตามธรรมชาติปลาช่อนจะสร้างรังวางไข่ในแหล่งน้ำนิ่งความลึกของน้ำประมาณ  30 –100 เซนติเมตร โดยปลาตัวผู้จะเป็นผู้สร้างรังด้วยการกัดหญ้าหรือพรรณไม้น้ำ และใช้หางโบกพัดตลอดเวลาเพื่อที่จะทำให้พื้นที่เป็นรูปวงกลม  เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 –40 เซนติเมตร ปลาจะกัดหญ้าที่บริเวณกลางของรัง ส่วนพื้นดินใต้น้ำ ปลาก็จะตีแปลงจนเรียบ  หลังจากที่ปลาช่อนได้ผสมพันธุ์วางไข่แล้ว  พ่อแม่ปลาจะคอยรักษาไข่อยู่ใกล้ๆ เพื่อมิให้ปลาหรือศัตรูอื่นเข้ามากินจนกระทั่งไข่ฟักออกเป็นตัว ในช่วงนี้พ่อแม่ปลาก็ยังให้การดูแลลูกปลาวัยอ่อน เมื่อลูกปลามีขนาด 2 – 3 เซนติเมตร  จึงแยกตัวออกไปหากินตามลำพังได้ ซึ่งระยะนี้เรียกว่า ลูกครอก หรือลูกชักครอก  ลูกปลาขนาดดังกล่าวน้ำหนักเฉลี่ย 0.5 กรัม ปลา กิโลกรัมจะมีลูกครอก ประมาณ 2,000 ตัว ลูกครอกระยะนี้จะมีเกษตรกรผู้รวบรวมลูกปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นอาชีพนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้เลี้ยงปลาอีกต่อหนึ่งในราคากิโลกรัมละ 70 – 100บาท ซึ่งรวบรวมได้มากในระหว่างเดือนมิถุนายน – ธันวาคม 
 

  การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ 

           ปลาช่อนที่นำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นปลาที่มีรูปร่าง  ลักษณะสมบูรณ์ ไม่บอบช้ำและมีน้ำหนักตั้งแต่ 800 – 1,000 กรัมขึ้นไป และอายุ ปีขึ้นไป
           ลักษณะแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ปลาช่อนที่ดีซึ่งเหมาะสมจะนำมาใช้ในการเพาะพันธุ์   แม่พันธุ์ควรมีส่วนท้องอูมเล็กน้อย  ลักษณะติ่งเพศมีสีแดงหรือสีชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบาๆที่ท้องจะมีไข่ไหลออกมามีลักษณะกลมสีเหลืองอ่อน ใส ส่วนพ่อพันธุ์ติ่งเพศควรจะมีสีชมพูเรื่อๆปลาไม่ควรจะมีรูปร่างอ้วนหรือผอมมากเกินไป เป็นปลาขนาดน้ำหนัก 800 – 1,000 กรัม
 

  การเพาะพันธุ์ปลาช่อน 

         ปลาช่อนเป็นปลาน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งที่ประชาชนนิยมบริโภค ทำให้ปริมาณปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด  สำหรับเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาช่อน เนื่องจากเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งนี้ ลูกปลาช่อนที่เกษตรกรรวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาช่อนดังนั้นการเพาะพันธุ์ปลาจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตพันธุ์ปลาช่อน
         ในการเพาะพันธุ์ปลาช่อนต้องคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาช่อนที่มีความสมบูรณ์  ซึ่งจะมีอายุ 1ปีขึ้นไป ขนาดน้ำหนัก 800 – 1,000 กรัม  บ่อเพาะพันธุ์ควรมีระดับความลึกของน้ำประมาณ 1.0 – 1.5 เมตร และมีการถ่ายเทน้ำบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดี มีการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ให้สมบูรณ์  ซึ่งจะทำให้พ่อแม่พันธุ์ปลาช่อนมีน้ำเชื้อและไข่ที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
 
             การเพาะพันธุ์ปลาช่อน ทำได้ วิธี คือ
         1. การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ  วิธีนี้ควรใช้บ่อเพาะพันธุ์เป็นบ่อดินขนาด 0.5 – 1.0 ไร่ พร้อมทั้งจัดสภาพสิ่งแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติ โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ในอัตรา 1:1 ให้ปลาเป็ดผสมรำเป็นอาหารในปริมาณ 2.5 – 3.0 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลา
         2. การเพาะพันธุ์โดยวิธีการผสมเทียมด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์
            สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสิงห์บุรี ดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาช่อนด้วยวิธีผสมเทียมโดยใช่ฮอร์โมน
สังเคราะห์ฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่เพื่อที่จะรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อหรือปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใช้ได้แก่ 
LHRHa  หรือ  LRH – a โดยใช้ร่วมกับโดมเพอริโดน (Domperidone)
        การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาช่อนโดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาช่อนวางไข่นั้น ด้วยการฉีดเพียงครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 30 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา กิโลกรัม ร่วมกับโดมเพอริโดน 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแม่ปลา กิโลกรัม ส่วนพ่อพันธุ์ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 15 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา กิโลกรัมร่วมกับโดมเพอริโดน 
5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักพ่อปลา 1 กิโลกรัม   จากนั้นประมาณ  8–10 ชั่วโมง  สามารถรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้เนื่องจากไข่ปลาช่อนมีไขมันมากเมื่อทำการผสม
เทียมจึงต้องล้างน้ำหลายๆครั้ง  เพื่อขจัดคราบไขมัน นำไข่ไปฟักในถังไฟเบอร์กลาสขนาด 
ตัน ภายในถังเพิ่มออกชิเจนผ่านหัวทรายโดยเปิดเบาๆ ในกรณีที่ปล่อยให้พ่อแม่ปลาผสมพันธุ์กันเอง หลังจากที่แม่ปลาวางไข่แล้วต้องแยกไข่ไปฟักต่างหากเช่นกัน
 

  การฟักไข่ 

           ไข่ปลาช่อนมีลักษณะกลมเล็ก เป็นไข่ลอย  มีไขมันมาก ไข่ที่ดีมีสีเหลือง  ใส  ส่วนไข่เสียจะทึบ ไข่ปลาช่อนฟักเป็นตัวภายในเวลา 30 –35 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 27 องศาเซลเซียส  ความเป็นกรด ด่าง  7.8 ความกระด้าง  56  ส่วนต่อล้าน
 

  การอนุบาลลูกปลาช่อน 

          ลูกปลาที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ลำตัวมีสีดำ มีถุงไข่แดงสีเหลืองใสปลาจะลอยตัวในลักษณะหงายท้องขึ้นอยู่บริเวณผิวน้ำ   ลอยอยู่นิ่งๆไม่ค่อยเคลื่อนไหว หลังจากนั้น  2 – 3 วันจึงพลิกตัวกลับลง และว่ายไปมาตราปกติโดยว่ายรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณผิวน้ำ
          ลูกปลาช่อนที่ฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัว   เมื่อถุงไข่แดงยุบ วันที่ จึงเริ่มให้อาหารโดยใช้ไข่แดงต้มสุกบดละลายกับน้ำผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากินวันละ ครั้ง เมื่อลูกปลามีอายุย่างเข้าวันที่ จึงให้ไรแดงเป็นอาหารอีก สัปดาห์ และฝึกให้อาหารเสริม เช่น ปลาป่น เนื้อปลาสดบด โดยใส่อาหารในแท่นรับอาหารรูปสี่เหลี่ยมซึ่งมีทุ่นผูกติดอยู่ ถ้าให้อาหารไม่เพียงพออัตราการเจริญเติบโตของลูกปลาจะแตกต่างกัน และพฤติกรรมการกินกันเอง ทำให้ตราการรอดตายต่ำจึงต้องคัดขนาดลูกปลา การอนุบาลลูกปลาช่อนโดยทั่วไปจะมีอัตราการรอดประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวันๆละ 50 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำ
 

  การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา 

         การเลี้ยงปลาช่อนเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้น นิยมเลี้ยงในบ่อดิน   ซึ่งมีหลักการเตรียมบ่อดินเหมือนกับการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่วๆไป  ดังนี้
            1.  ตากบ่อให้แห้ง
            2.  ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน ในอัตราประมาณ 60 – 100 กิโลกรัม ไร่ ทิ้งไว้ประมาณ 5 – 7 วัน
            3.  ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลา ในอัตราประมาณ 40 – 80 กิโลกรัม/ไร่
           4. สูบน้ำเข้าบ่อโดยกรองน้ำเพื่อไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ   จนกระทั่งมีระดับน้ำลึก 30–40 เซนติเมตร ระยะไว้ 1 – 2 วันจึงปล่อยลูกปลา ลูกปลาจะได้มีอาหารกินหลังจากที่ได้เตรียมอาหารธรรมชาติในบ่อ (ข้อ 3) เรียบร้อยแล้ว
           5. ก่อนปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำ ในภาชนะลำเลียงและบ่อให้ใกล้เคียงกัน  สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลาควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเช้า
 

  ขั้นตอนการเลี้ยง 

            ปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อ  อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาช่อนเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง โดยทั่วไปเกษตรกรนิยมเลี้ยงด้วยปลาเป็ด
            1. อัตราการปล่อยปลา ลูกปลาขนาด 8 – 10 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 30 – 35 ตัว กิโลกรัม ควรปล่อยในอัตรา 40-50 ตัว/ตารางเมตร และเพื่อป้องกันโรคซึ่งอาจจะติดมากับลูกปลา ให้ใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยงอัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน (3 ลิตร น้ำ 100 ตันในวันแรกที่จะปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น
            2. การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาช่อนลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงลูกปลาช่อนมีขนาดเล็ก คือ ปลาเป็ดผสมรำในอัตราส่วน 4 : 1 หรืออัตราส่วนปลาเป็ด 40 เปอร์เซ็นต์ รำ 30 เปอร์เซ็นต์ หัวอาหาร 30 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลา วางอาหารไว้บนตะแกรงหรือภาชนะแบนลอยไว้ใต้ผิวน้ำ 2 – 3เซนติเมตร ควรวางไว้หลายๆจุด
          3.  การถ่ายเทน้ำ   ช่วงแรกความลึกของน้ำในบ่อควรอยู่ที่ระดับ 30 – 40 เซนติเมตร  แล้วค่อยๆเพิ่มระดับน้ำ  สัปดาห์ละ 10 เซนติเมตร จนได้ระดับ 50 เซนติเมตร จึงถ่ายน้ำวันละครั้ง หลังจากอนุบาลลูกปลาในบ่อดินประมาณ เดือน ปลาจะเติบโตไม่เท่ากัน ใช้อวนลากลูกปลาเพื่อคัดขนาด มิฉะนั้นปลาขนาดใหญ่จะกินปลาขนาดเล็ก
            4.  ผลผลิต หลังจากอนุบาลปลาในช่วง เดือนแล้ว ต้องใช้เวลาเลี้ยงอีกประมาณ 4 – 5 เดือน จะให้ผลผลิต 1 – 2 ตัว/กิโลกรัม เช่นเนื้อที่ ไร่ งาน จะได้ผลผลิตมากกว่า6,000 กิโลกรัม
             5.   การจับ เมื่อปลาโตได้ขนาดตลาดต้องการจึงจับจำหน่าย  ก่อนจับปลาควรงดอาหาร 1 – 2 วัน
            6. การป้องกันโรค  โรคของปลาช่อนที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหา   คุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งสาเหตุเกิดจากการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ โดยการหมั่นสังเกตว่าเมื่อปลาหยุดกินอาหารจะต้องหยุดการให้อาหารทันที
 

  ผลผลิต  

           ช่วงเวลาในการเลี้ยงปลาช่อนประมาณ 8 – 9 เดือน  สำหรับปลาลูกครอก ส่วนปลาช่อนที่เริ่มเลี้ยงจากขนาดปลารุ่น 20 ตัว กิโลกรัม ถึงขนาดตลาดต้องการ ใช้เวลาเลี้ยงอีก 5เดือน น้ำหนักจะอยู่ระหว่าง 0.6 – 1.0 กิโลกรัม โดยทั่วไปน้ำหนักปลาที่ตลาดต้องการขนาด 0.5 – 0.7 กิโลกรัม สำหรับอัตราแลกเนื้อประมาณ 5 – 6 : 1 กิโลกรัม ผลผลิต 12 ตัน/ไร่
           สำหรับปลาผอมและเติบโตช้า เกษตรกรเลี้ยงปลาช่อนเรียกว่า ปลาดาบ
      
     นอกจากนี้น้ำที่ระบายออกจากบ่อปลาช่อน ควรนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเลี้ยงปลากินพืช เช่น ปลาบึก ปลานิล ฯลฯ
 

  การลำเลียง  

          ใช้ลังไม้รูปสี่เหลียมผืนผ้าภายในกรุสังกะสีกว้าง   58 เซนติเมตร ยาว 94 เซนติเมตร ความสูง 38 เซนติเมตร จุปลาได้ 50 กิโลกรัม สามารถขนส่งโดยรถยนต์บรรจุไปทั่วประเทศ จังหวัดสุพรรณบุรีจัดว่าเป็น
แหล่งเลี้ยงและส่งจำหน่ายปลาช่อนอับดับหนึ่งของประเทศโดยส่งไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่าภาคอื่นๆ  สำหรับภาควันออกเฉียงเหนือต้องการปลาน้ำหนัก 
300 – 400 กรัม และ 700 – 800 กรัม ส่วนภาคเหนือต้องการปลาน้ำหนักมากกว่า 300 – 400 กรัม และ มากกว่า 500 กรัมขึ้นไป

แนวโน้มด้านการตลาด 

         ปลาช่อนเป็นปลาที่มีรสชาติดีอีกทั้งยัง  สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายรูปแบบ จึงมีผู้นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายทำให้แนวโน้มด้านการตลาดดี สามารถส่งผลผลิตและผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศได้
 

  ปัญหาอุปสรรค 

           1. เนื่องจากปลาช่อนเป็นปลากินเนื้อและกินจุ  จำเป็นต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำในช่วงการเลี้ยง
           2. ต้นทุนอาหารการเลี้ยงปลาส่วนใหญ่หากใช้ปลาทะเลเป็นหลักซึ่งมีราคาสูงขึ้นก็จะมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตปลาช่อนสูงขึ้นตามไปด้วย

การเลี้ยงปลาช่อน